1 / 45

การบ่มและ การป้องกันคอนกรีตสด

การบ่มและ การป้องกันคอนกรีตสด. ผู้จัดทำ. 1. น . ส . กันยา ตำบัน รหัสนักศึกษา 5210110033 2. นาย ษณ กร บุญจรูญรักษ์ รหัสนักศึกษา 5210110621 3. นาย ไรน่าน หลงอะ หลี รหัสนักศึกษา 5210110510 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

kacy
Download Presentation

การบ่มและ การป้องกันคอนกรีตสด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบ่มและ การป้องกันคอนกรีตสด

  2. ผู้จัดทำ 1. น.ส. กันยา ตำบัน รหัสนักศึกษา 5210110033 2. นาย ษณกร บุญจรูญรักษ์ รหัสนักศึกษา 5210110621 3. นาย ไรน่าน หลงอะหลี รหัสนักศึกษา 5210110510 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  3. การบ่ม ( Curing )คือ วิธีการที่ช่วยให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของซีเมนต์ เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง • วิธีการทำโดยให้น้ำแก่คอนกรีตหลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว

  4. หน้าที่สำคัญของการบ่มคอนกรีตมีด้วยกัน 2 ประการคือ 1. ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากเนื้อคอนกรีต 2. รักษาระดับอุณหภูมิให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม • สำหรับวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการบ่มคอนกรีต คือ 1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังและความทนทาน 2. เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต โดยรักษาระดับอุณหภูมิ ให้เหมาะสม และลดการระเหยของน้ำให้น้อยที่สุด

  5. ระยะเวลาของการบ่ม (TIME OF MOIST CURING) • ระยะเวลาการบ่มพิจารณาจากความชื้นที่ใช้ในการบ่มคอนกรีต เนื่องจากมีอิทธิพลต่อการพัฒนากำลังคอนกรีตโดยตรง ตราบใดที่ยังมีความชื้น การทำปฏิกิริยาของซีเมนต์ยังคงมีอยู่ การบ่มทำให้มีการพัฒนากำลังได้รวดเร็วในระยะแรก และค่อย ๆ ช้าลงในระยะเวลาต่อมา ดังนั้น การบ่มคอนกรีตในระยะแรก เป็นช่วงที่สำคัญ • ในงานโครงสร้างคอนกรีตโดยทั่วไป การบ่มชื้นคอนกรีต ควรมีการบ่มต่อเนื่องกันจะได้ค่ากำลังที่ดี แต่ถ้ามีการบ่มชื้นช่วงระยะหนึ่ง และบ่มต่อในอากาศ ค่ากำลังอัดที่ได้รับจะมีค่าลดลง ดังแสดงในรูปที่ 8.14

  6. ในทางปฏิบัติงานก่อสร้างคอนกรีตโดยทั่วไป หลังจากถอดแบบแล้ว ระยะเวลาการบ่มไม่สามารถบ่มต่อเนื่องจนถึงอายุ 28 วัน ตามกำหนด เนื่องจากข้อจำกัดทางด้าน เวลา แบบหล่อคอนกรีตตลอดจนค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาแล้ว การบ่มคอนกรีตในระยะแรก เป็นช่วงที่สำคัญ เช่น ที่อายุ 3-7 วัน ซึ่งแล้วแต่ประเภทของปูนซีเมนต์ที่ใช้ เพราะระยะเวลาการพัฒนากำลังคอนกรีตของช่วงระยะเวลา 3-7 วัน สามารถให้ค่ากำลังอัดสูงถึง 70-80 % ของกำลังอัดที่อายุ 28 วัน

  7. หมายเหตุ • ในงานคอนกรีตบางประเภทที่ต้องการให้คอนกรีตแข็งตัวเร็ว (FAST SETTING CONCRETE) เช่น งานก่อสร้างถนน ซ่อมแซมถนน ชิ้นส่วนคอนกรีตอัดแรง เป็นต้น จะต้องบ่มคอนกรีตต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาการเปิดใช้งานนั้น ๆ

  8. ตารางที่ 8.1 ข้อแนะนำระยะเวลาการบ่มคอนกรีต (ที่มา : DAVIS, TROXEL, KELLY, 1979, COMPOSITION AND PROPERTIES OF CONCRETE)

  9. กรรมวิธีการบ่ม 2.การบ่มที่อุณหภูมิสูง 1.การบ่มที่อุณหภูมิปกติ การป้องกันการสูญเสียน้ำ การบ่มด้วยไอน้ำความดันสูง การเพิ่มความชื้น การบ่มด้วยไอน้ำความดันต่ำ การใช้กระดาษกันน้ำซึมได้คลุม การขังน้ำ การพรมน้ำหรือฉีดน้ำ การใช้แผ่นพลาสติกคลุม การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม การบ่มด้วยน้ำยาเคลือบผิวคอนกรีต การบ่มโดยใช้แบบหล่อ

  10. การบ่มที่อุณหภูมิปกติการบ่มที่อุณหภูมิปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ • 1. การบ่มโดยการเพิ่มน้ำ เป็นการเพิ่มน้ำให้ผิวหน้าคอนกรีตในระยะเริ่มแข็งตัวโดยตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน้ำที่ใช้บ่มจะต้องไม่มีสสารที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต ไม่ทำให้ผิวคอนกรีตเปลี่ยนสี และควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำบ่มที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าคอนกรีตเกิน 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากโดยฉับพลันและทำให้คอนกรีตแตกร้าวได้ • สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  11. 1.1 การขังน้ำ (PONDING) • เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่มีพื้นราบ เช่น แผ่นพื้นทั่วไป , ดาดฟ้า , พื้นสะพาน , ถนน, ทางเท้า , สนามบิน • วิธีการทำโดยใช้ดินเหนียวหรือก่ออิฐทำเป็นคัน โดยรอบของงานคอนกรีตที่จะบ่ม แล้วขังน้ำให้คอนกรีตเปียกอยู่อย่างต่อเนื่อง • ข้อควรระวัง  อย่าให้น้ำที่ใช้บ่มมีอุณหภูมิต่ำกว่า คอนกรีตเกิน 10 oC  ระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากน้ำรั่วออกจาก นบ จนทำให้ผิวหน้าคอนกรีตแห้ง

  12. ข้อดี ข้อเสีย • ทำได้สะดวก,ง่าย,ราคาถูก • วัสดุหาได้ง่าย เช่นดินเหนียวและน้ำ • ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้ • ซ่อมแซมได้สะดวก,รวดเร็ว และ ประหยัดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ทำคันดินเหนียวและพังก็สามารถ ซ่อมได้ทันที • ต้องหมั่นตรวจดูรอยร้าวของ ดินเหนียวที่นำมาใช้อยู่เสมอ • ต้องเก็บทำความสะอาดภายหลังการบ่ม • กรณีเป็นพื้นอาคารหลายชั้นจะไม่เหมาะ เพราะต้องก่อสร้างชั้นถัดไป (ยกเว้นพื้นดาดฟ้า)

  13. 1.2 การรดน้ำหรือฉีดพ่นน้ำ (SPRINKLING ORSPRAYING) • เหมาะกับโครงสร้างทั้งที่อยู่ในแนวราบและแนวดิ่ง เช่น ผนัง , กำแพง , และ พื้น เป็นต้น • วิธีการฉีดน้ำหรือพรมน้ำด้วยหัวฉีดหรือท่อยาง นิยมใช้ในการบ่มระยะเริ่มต้นเพื่อให้ผิวคอนกรีตที่เริ่มแข็งตัวชื้นอยู่ตลอดเวลา • ข้อควรระวัง คือ น้ำอาจชะผิวคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวดี ทำให้ผิวเสียหายได้ และไม่ควรใช้น้ำบ่มที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าคอนกรีตเกิน 10 oC

  14. ข้อดี ข้อเสีย • ทำได้สะดวก ได้ผลดี • ค่าใช้จ่ายถูก • ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้ • ไม่ต้องดูแลตลอดเวลา • ไม่เหมาะกับสถานที่ที่หาน้ำได้ยาก • ไม่สะดวกกับการฉีดกับกำแพงใน • แนวดิ่ง เพราะน้ำจะแห้งเร็ว

  15. 1.3 การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม (WET COVERING) • เหมาะกับโครงสร้างที่อยู่ในแนวราบ เช่น พื้น แต่ถ้าใช้กระสอบก็สามารถใช้กับโครงสร้างที่อยู่ในแนวดิ่ง เช่น ผนัง และกำแพง • วิธีการ เช่นนำผ้าใบ กระสอบ ซึ่งอุ้มน้ำได้ ถ้าเป็นผ้าใบควรเป็นสีขาว เพราะสะสมความร้อนได้ดี และรอยต่อต้องเหลื่อมกันให้มาก ถ้าใช้ฟางหรือขี้เลื่อยคลุมควรหนาไม่น้อยกว่า 15 ซม. คลุมให้ทั่วและฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ • ข้อควรระวัง คือวัสดุที่คลุมต้องเปียกชุ่มอยู่เสมอ การคลุมต้องคลุมให้วัสดุคลุมเหลื่อมกัน วัสดุที่ใช้คลุมต้องปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต หรือทำให้คอนกรีตด่าง สำหรับงานในแนวดิ่ง ต้องยึดวัสดุคลุมให้แน่นหนา ไม่เลื่อนหล่นลงมาได้ โดยเฉพาะเวลาที่ราดน้ำ

  16. ข้อดี ข้อเสีย • ได้ผลดีมาก ราคาไม่สูงเกินกว่าที่จะทำ • ทำได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ในกรณีที่ใช้ผ้าใบและกระสอบ • ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้ • สามารถหาวัสดุมาใช้ได้ง่าย • ถ้าอากาศร้อนจะแห้งเร็ว • ที่กว้างๆถ้าใช้ผ้าใบคลุมจะเสียค่าใช้จ่ายมาก • ต้องฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ • ต้องพิจารณาก่อนที่จะนำมาใช้ ว่าวัสดุนั้นเป็นอันตรายต่อซีเมนต์ หรือผิวคอนกรีตหรือไม่

  17. 2. การบ่มโดยการป้องกันการสูญเสียน้ำเป็นการใช้วัสดุปิดทับ อาทิ เช่น กระดาษกันน้ำซึม , แผ่นผ้าพลาสติก , น้ำยาบ่มคอนกรีต และการบ่มโดยใช้แบบหล่อ ทำหน้าที่เป็นแผ่นคลุม หรือเป็นฟิล์มเคลือบผิวคอนกรีต เพื่อลดการสูญเสียน้ำที่ระเหยออกจากคอนกรีต • สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  18. 2.1 การใช้กระดาษกันน้ำซึมได้คลุม(WATERPROOF PAPER) • กระดาษกันน้ำซึมได้ ควรมีคุณภาพตามข้อกำหนดของ ASTM C 171 มี 2 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นของกระดาษเหนียวยึดติดด้วยชั้นของกาวประเภทยางมะตอยเสริมความเหนียวด้วยใยแก้ว และมีคุณสมบัติยืดหดตัวไม่มาก • นิยมใช้กับงานคอนกรีตแนวระดับ เช่น พื้น ดาดฟ้า • วิธีการ วางกระดาษกันน้ำซึมได้บนผิวคอนกรีตให้เรียบและเหลื่อมกัน ผนึกด้วยเทปหรือใช้ทรายทับ • ข้อควรระวัง คือ บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นจะต้องผนึกให้แน่นและกระดาษต้องไม่มีร่องรอยฉีกขาด หรือชำรุด

  19. ข้อดี ข้อเสีย • ทำได้สะดวก รวดเร็ว • ป้องกันคอนกรีตไม่ให้แห้งได้เร็ว • แต่ต้องคอยราดน้ำด้วย • ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้ • ราคาแพง • ไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน • ไม่สะดวกในการเก็บรักษาต่อไป • เมื่อนำมาใช้งานต่อ

  20. 2.2 การใช้แผ่นพลาสติกปิดคลุม (PLASTIC SHEETING) • แผ่นพลาสติก ควรมีคุณภาพตามข้อกำหนดของ ASTM C 171 การใช้แผ่นพลาสติกทำงานได้ง่ายมีน้ำหนักเบา และควรใช้แผ่นพลาสติก สีขาวเพื่อสะท้อนแสงแดด ไม่อมความร้อน • สามารถใช้ได้ในงานคอนกรีตทั้งในแนวราบและแนวตั้ง โดยเฉพาะ งานที่ไม่เน้นลักษณะผิวที่ปรากฏ เช่น รางน้ำ , พื้นหลังคา , พื้นถนน ,ขอบทาง • วิธีการ วางแผ่นพลาสติกบนผิวคอนกรีตให้เรียบและเหลื่อมกันผนึกด้วยเทป หรือใช้ทรายทับ • ข้อควรระวัง คือ จะต้องวางไม่ให้มีรอยย่น เพื่อลดรอยด่าง รอยต่อต้องผนึกให้ติดแน่น

  21. ข้อดี ข้อเสีย • มีน้ำหนักเบา ปฏิบัติงานง่าย • ได้ผลดีในการป้องกันน้ำที่ระเหยออกไปจากคอนกรีต • ไม่ต้องราดน้ำให้ชุ่มอยู่ภายใน • บางมาก ชำรุดง่าย • ต้องหาของหนักทับเพื่อกันปลิว • ราคาแพงถ้าใช้ในการคลุมงาน คอนกรีตที่กว้างๆ

  22. 2.3 การใช้น้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต (CURING COMPOUND) • น้ำยาบ่มคอนกรีต ควรมีคุณภาพตามข้อกำหนดของ มอก. 841 หรือ ASTM C 309 เป็นสารที่เคลือบบนผิวคอนกรีตซึ่งเมื่อแห้งแล้วจะเป็นแผ่นบาง สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำระหว่างการแข็งตัวของคอนกรีตในช่วงแรกได้ • ใช้ได้กับโครงสร้างพิเศษต่างๆ ที่ต้องการใช้งานเร็ว เช่น พื้นสนามบิน , หลังคากว้าง ๆ , หลังคาเปลือกบาง , พื้นถนน , อาคารสูง

  23. วิธีการสามารถใช้งานได้ทันที มีหลายสีด้วยกัน เช่น ใส ขาว เทาอ่อน และดำ สำหรับสีขาวจะเหมาะสมกว่าเพราะสะท้อนความร้อนและแสงได้ดีกว่า โดยการใช้ฉีดพ่นคลุมพื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วๆ เช่นลานบินหลังคากว้างๆ หรือตึกสูงๆที่ส่งน้ำไปได้ลำบาก โดยควรฉีดพ่นซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง • ข้อควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงผิวคอนกรีตที่ยังคงมีการเยิ้มอยู่ หรือยังคงมีการระเหยของน้ำที่ผิวมากเกินไป และไม่ควรฉีดพ่นน้ำยาบ่มลงบนเหล็กเสริม หรือที่รอยต่อของการก่อสร้าง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวต้องการการยึดเกาะที่ดีกับคอนกรีตที่จะเทต่อไปภายหลัง

  24. ข้อดี ข้อเสีย • สะดวก รวดเร็ว • ได้ผลดีพอสมควร ถ้าน้ำยานั้นเป็นของแท้และมีความเข้มข้นตามมาตรฐานของผู้ผลิต • ไม่ต้องคอยลดน้ำ • ไว้ใช้ในกรณีที่การบ่มด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล • ค่าใช้จ่ายสูง • ต้องจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับพ่นทุกครั้ง • ต้องใช้บุคลากรที่เคยทำการพ่นมาก่อน • น้ำยาเคมีที่ใช้พ่นอาจทำอันตรายแก่ผู้ที่อยู่ในระยะใกล้เคียงได้

  25. 2.4 การบ่มโดยแบบหล่อ (FORMWORK) • แบบหล่อไม้ที่เปียก และแบบหล่อเหล็ก สามารถป้องกันการสูญเสียความชื้นได้ดี วิธีนี้จัดได้ว่าง่ายที่สุด • ใช้ได้กับโครงสร้าง เช่น ฐานราก , เสา , คาน , ผนัง , กำแพง • วิธีการเพียงแค่ทิ้งแบบหล่อให้อยู่กับคอนกรีตที่หล่อไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ และคอยดูแลให้ผิวด้านบนคอนกรีตมีน้ำอยู่ โดยน้ำนั้นสามารถไหลซึมลงมาระหว่างแบบหล่อกับคอนกรีตได้ • ข้อควรระวัง ระยะเวลาในการถอดแบบหล่อควรพิจารณาจากผลการทดสอบกำลังของคอนกรีตโดยตรง

  26. ข้อดี ข้อเสีย • ทำได้สะดวก • ใช้คนงานระดับกรรมกรทำได้ • ต้องใช้ไม้แบบจำนวนมาก • ช้า เพราะต้องนำไม้แบบไปใช้งาน ด้านอื่นต่อไป • ถ้าเป็นไม้แบบเก่า, ต้องเสียเวลาทำ ความสะอาดไม้แบบ

  27. การบ่มที่อุณหภูมิสูง • สามารถเร่งอัตราการเพิ่มกำลังได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กับการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น ท่อ คานและพื้น เป็นต้น รูป ผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการบ่มกับกำลังอัดของคอนกรีต

  28. ข้อดีในการปฏิบัติ • สามารถผลิตได้อย่างรวดเร็ว • ประหยัดแบบหล่อ เพราะสามารถถอดแบบได้เร็ว • คอนกรีตมีกำลังสูงเร็ว ทนต่อการเคลื่อนย้ายและใช้งานได้ดี

  29. 1. การบ่มด้วยไอน้ำที่มีความกดดันต่ำ (Low Pressure Steam Curing) • อุณหภูมิที่ใช้อยู่ระหว่าง 40-100 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิที่ให้ผลดีที่สุดจะอยู่ระหว่าง 65-80 องศาเซลเซียส การเลือกอุณหภูมิที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอัตราการเพิ่มกำลังและกำลังสูงสุดที่ต้องการ อุณหภูมิสูงจะทำให้กำลังสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและกำลังประลัยสูงสุดจะมีค่าต่ำ อุณหภูมิที่ต่ำให้กำลังประลัยสูงสุดที่สูงแต่ด้วยอัตราการเพิ่มกำลังที่ต่ำ ดังแสดงในรูป

  30. รูป ผลของอุณหภูมิของการบ่มด้วยไอน้ำที่ความกดดันต่ำที่มีต่อกำลังของคอนกรีตในระยะแรก

  31. ขั้นตอนการควบคุมอุณหภูมิ • บ่มคอนกรีตไว้ที่อุณหภูมิปกติประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนที่จะสัมผัสกับไอน้ำ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันเบื้องต้นก่อน • เพิ่มอุณหภูมิ โดยอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิไม่ควรให้เกิน 30 oC ต่อชั่วโมง • รักษาระดับของอุณหภูมิ จนกระทั่งมีกำลังเท่าที่ต้องการ • ลดอุณหภูมิ โดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิระหว่าง 20-30 oCต่อชั่วโมง • โดยทั่วไประยะเวลาของการบ่มไอน้ำจะใช้เวลาทั้งหมดไม่เกิน 18 ชั่วโมง

  32. รูป ขั้นตอนการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการบ่ม ด้วยไอน้ำที่ความกดดันต่ำ รูป อิทธิพลของผลคูณระหว่างเวลาและอุณหภูมิ ต่อผลการเพิ่มของกำลังอัด

  33. 2. การบ่มด้วยไอน้ำที่มีความกดดันสูง (High Pressure Steam Curing) • หากต้องการบ่มคอนกรีตด้วยอุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส เราต้องให้ ความกดดันสูงขึ้นและต้องบ่มคอนกรีตในภาชนะที่ปิดสนิท ซึ่งมีชื่อว่า Autoclave อุณหภูมิที่ใช้จะอยู่ในช่วง 160-220 องศา-เซลเซียส ที่ความดัน 6-20 atmสารประกอบที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีภายใต้สภาวะดังกล่าว มีคุณสมบัติต่างจากสารประกอบซึ่งบ่มที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส และมีผลดี ดังนี้

  34. สามารถใช้คอนกรีตได้ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะคอนกรีตมีกำลังสูงทัดเทียม กับการบ่มปกติเป็นเวลา 28 วัน • มีการหดตัวและการล้าลดลงมาก • ทนเกลือซัลเฟตได้ดีขึ้น • กำจัด Efflorescence • มีความชื้นต่ำภายหลังการบ่ม  ในทางปฏิบัติการบ่มชนิดนี้จะเสียค่าใช้จ่ายสูง และใช้ได้กับคอนกรีตสำเร็จรูปเท่านั้น เช่น ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ใยหิน ( AsbestosCement Product ) และอิฐทรายปูนขาว ( Sand-Lime Brick )

  35. ขั้นตอนการบ่มไอน้ำความดันสูงขั้นตอนการบ่มไอน้ำความดันสูง • บ่มคอนกรีตไว้ที่อุณหภูมิปกติระยะหนึ่งเพื่อให้คอนกรีตมีความแข็งแรงพอสำหรับทำงาน • เพิ่มความร้อนให้กับคอนกรีตอย่างสม่ำเสมอและไม่เร็วเกินไป โดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง • คงความร้อนที่อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 5-8 ชั่วโมง • ลดความร้อน โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที  การบ่มไอน้ำความดันสูง สามารถใช้ได้กับปูนซีเมนต์ -ปอร์ตแลนด์เท่านั้น

  36. การบ่มและการป้องกันคอนกรีตที่เทในสภาพอากาศร้อนการบ่มและการป้องกันคอนกรีตที่เทในสภาพอากาศร้อน • ที่อุณหภูมิสูงปฏิกิริยาไฮเดรชั่นเกิดขึ้นเร็ว ทำให้คอนกรีตเกิดการก่อตัวและแข็งตัวเร็วขึ้น เป็นผลให้กำลังของคอนกรีตไม่สูงเท่าที่ควร นอกจากนี้ถ้าอุณหภูมิสูง การระเหยของน้ำก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย ซึ่งนำไปสู่การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวของคอนกรีตในสภาพพลาสติก (Plastic Shrinkage Crack) และการแตกลายงา (Crazing)ได้

  37. อุณหภูมิของคอนกรีตสดขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของส่วนผสม คู่มือการตรวจสอบคอนกรีต ACI 305 R ได้ให้สูตรการคำนวณ ดังนี้ T = 0.22(TaWa+TcWc)+TwWw+TaWwa 0.22(Wa+Wc)+Ww+Wwa เมื่อ T คือ อุณหภูมิของคอนกรีต (องศาเซลเซียส) 0.22 คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนความร้อนจำเพาะ (Specific Heat) ของวัสดุแห้งต่อน้ำ W คือ น้ำหนักของส่วนผสม (กก./) และ a,c,w,waคือ มวลรวมแห้ง,ปูนซีเมนต์,น้ำ, น้ำในมวลรวม ตามลำดับ

  38. การเทคอนกรีตที่อุณหภูมิสูงจึงควรลดอุณหภูมิของคอนกรีตสดให้ไม่เกิน 20-30oC ซึ่งอุณหภูมิยิ่งต่ำจะยิ่งดีต่อการพัฒนากำลัง • ทำกำบังลมและกำบังแดดให้กับมวลรวม และที่ผิวหน้าของคอนกรีต • พ่นละอองน้ำให้ชื้นและป้องกันการแห้งตัวของผิวหน้าคอนกรีตก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัว • ทำการบ่มให้เร็วที่สุด เพราะการรดน้ำบนคอนกรีตจะช่วยลดความร้อนของคอนกรีตได้ด้วย • ลดอุณหภูมิของมวลรวม โดยการฉีดน้ำหรือการให้น้ำเย็นผ่านท่อน้ำที่ขดอยู่ภายในกองมวลรวม

  39. การบ่มและการป้องกันสำหรับการเทคอนกรีตหลาการบ่มและการป้องกันสำหรับการเทคอนกรีตหลา • สำหรับงานคอนกรีตหลา จะเกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในคอนกรีต กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งอาจทำให้เกิดการแตกร้าวจากอุณหภูมิ (Thermal Cracking)ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการลดอุณหภูมิ เริ่มต้นอาจทำได้หลายวิธี เช่น • การลดอุณหภูมิของคอนกรีตเอง โดยใช้ทรายและหินที่มีอุณหภูมิต่ำ หรือใช้น้ำเย็นในการผสม • การใช้วัสดุผสมที่ช่วยลดความร้อนจากปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เช่น ใช้เถ้าลอยแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน • การห่อหุ้มรอบคอนกรีตด้วยฉนวนกันความร้อนเพื่อลดความแตกต่างของอุณหภูมิภายในเนื้อคอนกรีต

  40. การบ่มด้วยฉนวนมีวิธีการ ดังนี้ • นำกระสอบคลุมผิวหลังจากเทคอนกรีต • ฉีดน้ำที่มีอุณหภูมิปกติลงบนกระสอบให้พอชุ่ม • คลุมด้วยแผ่นพลาสติก โดยให้แผ่นทับซ้อนกันอย่างน้อย 15 cm. • ทำการวางโฟมที่หนาอย่างน้อย 2 cm. วางบนแผ่นพลาสติก • วางแผ่นพลาสติกทับโฟมเอาไว้ • ควรหาวัสดุวางทับเพื่อกันแผ่นพลาสติกปลิว • บ่มจนอุณหภูมิคอนกรีตที่แกนกลางลดลงมาในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกร้าว

  41. การบ่มและการป้องกันคอนกรีตที่เทในสภาพอากาศหนาวการบ่มและการป้องกันคอนกรีตที่เทในสภาพอากาศหนาว • ปัญหาของการเทคอนกรีตในอากาศที่หนาวเย็นเกิดจากการที่น้ำเกิดการแข็งตัว ปูนซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาไม่ได้เพราะขาดน้ำ ถ้าคอนกรีตสามารถก่อตัวได้แต่ยังมีกำลังต่ำและมีการแข็งตัวของน้ำ คอนกรีตก็จะเสียหายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเทคอนกรีตในอุณหภูมิที่สูงขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดการแข็งตัวของน้ำ และป้องกันคอนกรีตให้มีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนากำลังเบื้องต้นในการต้านทานอากาศหนาวเย็น ทั้งนี้การใส่สารกักกระจายฟองอากาศก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

  42. ตารางแสดง อุณหภูมิต่ำสุดของคอนกรีตสำหรับการเทคอนกรีตในอากาศหนาว

  43. ดังนั้นในการผสมคอนกรีตจึงต้องเพิ่มอุณหภูมิให้กับส่วนผสมซึ่งสามารถคำนวณได้เช่นเดียวกับการเทคอนกรีตในอากาศร้อน • การเพิ่มอุณหภูมิทำได้โดยการใช้น้ำร้อน หรือการให้ไอน้ำโดยตรงต่อมวลรวม นอกจากนี้จะไม่เทคอนกรีตสัมผัสกับพื้นดินที่เย็นโดยตรงแต่ให้ใช้ไม้แบบเป็นฉนวนกั้น • หลังจากเทคอนกรีตแล้ว ป้องกันโดยการใช้ฉนวนหุ้มและใส่เครื่องทำความร้อนไว้ภายใน แต่ต้องระวังไม่ให้คอนกรีตแห้งและควรให้ความร้อนเฉลี่ยทั่วทั้งคอนกรีต • เมื่อครบระยะเวลาของการป้องกันแล้วก็ลดอุณหภูมิ ซึ่งอุณหภูมิที่ยอมให้ลดได้ใน 24 ชม. อยู่ระหว่าง 11-28oC ขึ้นอยู่กับขนาดของคอนกรีต

More Related