460 likes | 1.91k Views
โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิรา ภรณ์ กอนต๊ะ กัน เลขที่ 11 นางสาว ชนกนันท์ ชัยแก้ว เลขที่ 14 นาสาว บุณฑิ ตา โครงกาบ เลขที่ 16 นางสาวรสสุคนธ์ พึ่งศรี เลขที่ 20. โทรสาร.
E N D
โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิราภรณ์กอนต๊ะกัน เลขที่ 11 นางสาวชนกนันท์ ชัยแก้ว เลขที่ 14 นาสาวบุณฑิตา โครงกาบ เลขที่ 16 นางสาวรสสุคนธ์ พึ่งศรี เลขที่ 20
โทรสาร หรือ แฟกซ์ คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopierในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมล์แทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว
เครื่องโทรสารเครื่องแรกออกแบบขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1843 ซึ่งโทรสารก็ได้รับความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานภาพหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1925 และในบางธุรกิจเริ่มในราวทศวรรษ 1960 ในทศวรรษ 1980 ระบบการให้รหัสอันหลักแหลมโดยอาศัยไมโครโพรเซสเซอร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาทำให้สามารถสร้างเครื่องโทรสารที่ทำงานรวดเร็วและราคาไม่แพงใช้ในงานส่งผ่านภาพกราฟิกไปทางสายโทรศัพท์ธรรมดาลักษณะพิเศษของโทรสารคือความสามารถที่จะตัดปัญหาเรื่องเวลาสากลและข้อขีดกั้นทางภาษาภาพถูกส่งมาอย่างช้าๆและผู้รับก็จะแปลภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายโทรสารเป็นที่นิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากระบบการเขียนไม่เหมาะกับการส่งด้วยรูปแบบอื่น ผู้ที่ผลิตคนแรกคือ Alexander Bain ชาว สก็อตแลนด์
หลักการทำงาน การทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การทำงานด้านส่งที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเป็นข้อมูลเพื่อจัดส่ง (Sending Operation) การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบสื่อสาร (Transmission) และการทำงานด้านรับที่ทำหน้ารับสัญญาณแล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสาร (Receiving Operation)การส่งผ่านข้อมูลจะส่งผ่านตามคู่สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ หรือคลื่นไมโครเวฟขึ้นอยู่กับสถานที่และระบบการสื่อสารที่ใช้ ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเพื่อจัดส่ง ลักษณะการทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การสแกน (Scanning) การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto -Electric Conversion) และ เทคนิคการส่งผ่านระบบสื่อสาร (Transmission Technique)
1.การสแกน (Scanning) ตัวอักษรหรือรูปภาพประกอบด้วยจุดเล็กๆ จำนวนมากรวมกัน จุดเล็กๆ เหล่านี้เรียกว่า “ จุดภาพ ” ที่ด้านส่งของเครื่องโทรสารจะมีขบวนการจัดแจงเอกสาร หรือรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพ เพื่อแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electric Signals) ในขณะที่ด้านรับของเครื่องโทรสารมีการทำงานที่ย้อนกลับกับด้านส่ง ขบวนการหรือวิธีการแปลงรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพที่ด้านส่ง หรือแปลงจุดภาพ กลับเป็นเอกสารหรือรูปภาพที่ด้านรับของเครื่องโทรสาร เรียกว่า “ การสแกน ” ทิศทางของการสแกนจะเหมือนกัน ทั้งด้านรับและด้านส่ง คือ การสแกนจากซ้ายไปขวาตามแนวนอน และการสแกนจากบนลงล่างตามแนวตั้ง การสแกนตามแนวนอนเรียกว่า การสแกนหลัก และสแกนตามแนวตั้ง เรียกว่า การสแกนย่อย
2. การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto - Electrical Conversion) ในขณะเริ่มต้นของการสแกน เครื่องโทรสารจะยิงแสงตกกระทบที่เอกสารต้นฉบับ และอาศัยหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงตกกระทบกับพื้นที่ที่มีสีแตกต่างกัน เช่น สีขาวกับสีดำ โดยสีขาวจะสะท้อนแสงได้ดีกว่าสีดำ ดังนั้นความเข้มของแสงสะท้อนที่ได้จากเอกสาร จะมีความแตกต่างกัน จากนั้นแสงสะท้อนจะถูกส่งผ่านเลนซ์นูนในการรวมแสง แล้วส่งให้วงจรทำหน้าที่แปลงระดับความเข้มของแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto-Electrical Conversion Element) สัญญาณทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “ สัญญาณภาพ ” (Picture Signal)
3. เทคนิคการส่งสัญญาณ (Transmission Technique) เครื่องโทรสารด้านส่งจะต้องมีการเข้ารหัสสัญญาณภาพ ( Picture Signal) และทำการผสมสัญญาณ ( Modulate ) ก่อนที่จะถูกส่งไปยังเครื่องโทรสาร ด้านรับตามลำดับ การพัฒนาของเครื่องโทรสารด้านรับตามลำดับ การพัฒนาของเครื่องโทรสารสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่1 (Group I: G1) การกำหนดระบบที่ใช้กับเครื่องโทรสารสมัยเริ่มแรก เรียกว่า “ กลุ่มที่หนึ่ง ” (Group I: G1) โดยการนำสัญญาณภาพ ที่ได้การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วทำการผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation: AM) หรือแบบเอฟเอ็ม (Frequency Modulation: FM) เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณผ่านระบบสื่อสาร
กลุ่มที่ 2 (Group II: G2) มาตรฐานของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สอง ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี คศ. 1976 ( พ.ศ. ๒๕๑๙ ) เป็นการพัฒนาปรับปรุงการผสมสัญญาณ และการแยกสัญญาณ โดยใช้การผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม วีเอสบี (Amplitude Modulation Vestigial Sideband: AM VSB) หรือการผสมสัญญาณแบบพีเอ็ม วีเอสบี (Phase Modulation Vestigial Sideband: PM VSB) ทำให้สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งข้อมูลเอกสารขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๓ นาที โดยรายละเอียดของเอกสารมีความละเอียดของความหนาแน่นของเส้นสแกนเท่ากับเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่หนึ่ง
กลุ่มที่ 3 (Group III: G3) เครื่องโทรสารในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง เทคนิคที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นแบบ แอนะล็อก (Analog) แต่ในกลุ่มที่สามได้นำรูปแบบการส่งสัญญาณแบบ ดิจิทอล (Digital) รวมทั้งใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อใช้ในการลดปริมาณข้อมูล (Data Compression Process Coding Mode or Coding Scheme) ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยอัตราเร็วถึง ๙๖๐๐ บิทต่อวินาที (Bit/sec) ลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งเอกสารต้นฉบับขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๑ นาที ในการสแกนแต่ละครั้งจะมีจำนวนจุดภาพที่เป็นสีขาว และจุดภาพที่เป็นสีดำที่ต่อเนื่องกัน
กลุ่มที่ 4 (Group 4: G4)มาตรฐานของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สี่ เป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิทอล โดยต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายข้อมูลสาธารณะ ( Public data network: PDN)ได้แก่ โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับวงจร (Circuit – Switched Public data Network: CSPDN) โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับกลุ่มข้อมูล (Packet – Switched Public Data Network: PSPDN) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล ( Integrated Services Digital Network: ISDN) และโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
วิธีการใช้เครื่องโทรสารวิธีการใช้เครื่องโทรสาร กรณีเชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์เข้ากับเครื่องพิมพ์ 1. ยกหูโทรศัพท์ จากนั้นกดหมายเลขแฟกซ์ปลายทางจากเครื่องโทรศัพท์ และกด 1 บนเครื่องพิมพ์เพื่อส่ง กด ปุ่ม B/Wหรือปุ่ม Color ( บนเครื่องพิมพ์ )จากนั้นวางสายโทรศัพท์หลังจากกดปุ่ม B/W หรือปุ่ม Color หน้าเครื่องพิมพ์จะขึ้นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1. Dialing 2. Connecting 3. Sending (ขั้นตอนที่ 1-3 จะโชว์หมายเลขปลายทางที่กำลังส่งแฟกซ์ ) 4. Document Text 1 5. Complete 6. กลับสู่หน้า panel stand by Fax.
ส่วนประกอบของเครื่องโทรสารส่วนประกอบของเครื่องโทรสาร
ส่วนประกอบของเครื่องโทรสารส่วนประกอบของเครื่องโทรสาร จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ด้วยกัน 1.เครื่องแสกนเอกสาร สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้ สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ
2.เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องพิมพ์ (อังกฤษ: Computer printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความและ/หรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใสเครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่า เครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะเป็นแลนไร้สายและ หรืออีเทอร์เน็ต
3.เครื่องรับ-ส่งข้อมูล อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง คือ สายโทรศัพท์ (Telephone Line)สายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้กันมานาน ในระบบการสื่อสารข้อมูล สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pair : STP)มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กตีเกลียวคู่ แต่ละคู่มีฉนวนหุ้มอีกชั้นเรียกว่า Shield เพื่อลดสัญญาณสอดแทรก
การบำรุงรักษาเครื่องโทรสารการบำรุงรักษาเครื่องโทรสาร 1.ใช้เครื่องโทรสารให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้ 2. ปัดฝุ่นละออง และทำความสะอาดเครื่องโทรสาร อย่าให้ฝุ่นเกราะ โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาเช็ด 3. สำรวจสายต่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เสมอ ระมัดระวังอย่าให้สายไฟเกิดการหักงอ 4. สายต่อส่วนที่ยาวเกินไป ให้ม้วนเป็นวงกลมเก็บไว้ 5. อย่าให้สายต่อถูกความร้อน ทับพาดผ่านสายไฟ จะทำให้สายเสียและรบกวนสัญญาณ 6.ตรวจสอบเครื่องอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เครื่องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา 7. ตรวจตรากระดาษโทรสารให้มีอยู่ในเครื่องเสมอ และควรจะต้องมีปริมาณเพียงพอสำหรับการรับสารได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาหลังเลิกงาน วิธีการใส่กระดาษต้องใส่ให้ถูกต้อง 9. ตรวจดูการวางหูโทรศัพท์ของเครื่องว่าวางถูกหรือไม่ หากวางไม่ตรงแท่นจะทำให้รับสัญญาณไม่ได้
คำถาม 1.การสแกนตามแนวนอนเรียกว่าการสแกนแบบใด 2. ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเพื่อจัดส่ง ลักษณะการทำงานประกอบด้วย กี่ส่วนอะไรบ้าง 3. อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึง อะไร 4. ข้อเสียของการรับ – ส่งเอกสารโดยใช้โทรสารคืออะไร 5. เครื่องโทรสารในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง เทคนิคที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นแบบใด
คำตอบ 1. การสแกนตามแนวนอนเรียกว่า การสแกนหลัก 2. 3 ส่วน คือ การสแกน การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และ เทคนิคการส่งผ่านระบบสื่อสาร 3. หมายถึง สื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง คือ สายโทรศัพท์ 4. ข้อเสียคือ เอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป 5. แบบ แอนะล็อก (Analog)