370 likes | 507 Views
ข้อบกพร่อง ข้อเสนอแนะ. การรายงานผลการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ. ดร.มีชัย พลทองทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา สพป.กพ.เขต 1. ข้อบกพร่องการเขียน รายงานผลการปฏิบัติงาน ( 2 ปีย้อนหลัง). ความไม่ชัดเจน ของการนำเสนอลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงตาม มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐาน วิทย ฐานะ
E N D
ข้อบกพร่อง ข้อเสนอแนะ การรายงานผลการปฏิบัติงานผลงานทางวิชาการ ดร.มีชัย พลทองทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนนิยมราษฎร์วิทยา สพป.กพ.เขต 1
ข้อบกพร่องการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน(2 ปีย้อนหลัง) • ความไม่ชัดเจนของการนำเสนอลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ • ขาดความน่าเชื่อถือการนำเสนอข้อมูลในภาพรวม
ขาดความสอดคล้องของการนำเสนอ การปฏิบัติกับผลการปฏิบัติ • ขาดข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน • ขาดรูปธรรมของผลที่เกิดกับนักเรียน ครู โรงเรียนและชุมชน • ขาดการตรวจสอบการพิมพ์และ การจัดระบบการนำเสนอ
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน 1. จัดทำโครงการและแผนงานในการเขียนเอกสาร • ศึกษาหลักเกณฑ์การประเมิน • พิจารณาว่าแต่ละหัวข้อ จะนำเสนออะไรและมีหลักฐานอะไรประกอบบ้าง
2. การนำเสนอเอกสาร ตอบโจทย์ 3 ประการ • บริหารอะไร ( What) • บริหารอย่างไร ( How to) • ผลการบริหารเป็นอย่างไร ( Out put) 3. ต้องตระหนักและดำเนินการตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด (การนำเสนอรายงานต้องง่ายในการอ่านของผู้ตรวจ)
ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการ • จากผลการศึกษาระเบียบวาระการประชุมของ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญ เกี่ยวกับตำแหน่งและวิทยฐานะ พ.ศ. 2549-2551
ลักษณะของผลงานทางวิชาการลักษณะของผลงานทางวิชาการ 1. ผลงาน งานแต่ง เรียบเรียง งานแปล หนังสือ บทความทางวิชาการ 2. ผลงานวิจัย 3. ผลงานในลักษณะอื่น • การประเมินงาน/โครงการ + คู่มือ • สื่อนวัตกรรมทางการศึกษา • เอกสารประกอบการปฏิบัติหน้าที่
ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการ • ด้านคุณภาพ • ด้านประโยชน์
ข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ • เนื้อหาสาระขาดความสมบูรณ์ • ไม่ครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา • ขาดการนำทฤษฎี หลักการที่เสนอในบทที่ 2 มาใช้ในการศึกษา • การเรียบเรียงเนื้อหาไม่เป็นระบบเดียวกัน • ไม่มีระบบการกำหนดหัวข้ออ้างอิง
ข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ • การอ้างอิงเอกสารเก่ามาก • อ้างอิงไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกันระหว่างในเนื้อหากับบรรณานุกรม • รูปแบบการนำเสนอไม่ถูกต้องตามหลักของผลงานทางวิชาการประเภทนั้น ๆ • รูปแบบการเขียนรายงานไม่ชัดเจน ทำให้เนื้อหาภายในเล่มสับสน
ข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ • วิธีการดำเนินการไม่ชัดเจน • ขาดความน่าเชื่อถือ • ไม่ปรากฏการนำหลักการในบทที่ 2 มาประยุกต์/เสนอแนวทางใหม่ • เป็นงานปกติของผู้บริหาร • ไม่พบว่าได้มีวิธีการพัฒนาที่แปลกใหม่ /ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์น้อย
ข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านคุณภาพของผลงานทางวิชาการ • มีข้อสงสัยว่าเลียนแบบงานวิจัยผู้อื่น • ขาดความประณีต และขาดความรอบคอบ ในการพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม
ข้อบกพร่องด้านประโยชน์ของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ • ผลงานทางวิชาการไม่สามารถเป็นแบบอย่างได้ เพราะ • มีข้อบกพร่องทั้งด้านความสมบูรณ์ของเนื้อหา และความถูกต้องตามหลักวิชา • ผลงานมีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ • มีคุณค่าน้อย
ข้อบกพร่องด้านประโยชน์ของผลงานทางวิชาการข้อบกพร่องด้านประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ • ไม่สื่อถึงความเชี่ยวชาญของผู้เสนอขอ • ไม่ชัดเจนว่าผลงานนั้นให้ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและชุมชนอย่างไร • ไม่ปรากฏหลักฐานการเผยแพร่ • ปรากฏหลักฐานการเผยแพร่ แต่ขาด ความน่าเชื่อถือว่าได้ปฏิบัติจริง
การเขียนรายงานการวิจัย (ด้านคุณภาพ)
การเขียนรายงานการวิจัย (ด้านประโยชน์)
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • ทดสอบได้/เชื่อมโยงกับปัญหาการวิจัย • สมมติฐานการวิจัย • สอดคล้องการวัตถุประสงค์การวิจัย • นิยามศัพท์เฉพาะ สะท้อน • คำสำคัญของการวิจัย(Key word) • ครอบคลุมตัวแปร • สอดคล้องกับเครื่องมือ/แบบวัดของการวิจัย
ควรมีกรอบแนวคิดในการวิจัยควรมีกรอบแนวคิดในการวิจัย
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องจริงๆกับงานวิจัย • ทันสมัย • แสดงฐานการคิดของงานวิจัย • อธิบายตัวแปรและความเชื่อมโยงของตัวแปรต่าง ๆ
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างการกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ชัดเจน • กลุ่มตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร • ต้องอธิบายเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีที่ใช้เลือกกลุ่มตัวอย่าง • ใช้ภาษาให้ถูกต้อง (การเลือกตัวอย่าง/การสุ่มตัวอย่าง)
การสร้างเครื่องมือวิจัยการสร้างเครื่องมือวิจัย • สอดคล้องกับนิยามศัพท์เฉพาะ • แบบวัดแต่ละฉบับ ผู้ตอบต้องมีความเข้าใจคำถามและสามารถมีข้อมูลพอที่จะตอบได้ • ต้องแสดงคุณภาพของเครื่องมือทั้ง ความเที่ยงตรง ( validity) และความเชื่อมั่น(reliability)
การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล • สถิติที่ใช้ต้องเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่ได้(ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง) • การแปลผลคะแนน/แปลความหมายของคะแนน • มีความชัดเจน • อธิบายให้ชัดว่าใช้เกณฑ์อะไรในการแปลผล
การเขียนข้อเสนอแนะ • ข้อเสนอแนะ : เป็นผลมาจากงานวิจัย ควรเสนอ 2 ประเด็น • เสนอเพื่อการนำไปใช้ • เสนอเพื่อทำการวิจัยต่อไป • การเสนอแนะต้องเป็นไปตามหลักวิชา มิใช่เสนอตามใจชอบ
การอ้างอิง • เอกสารอ้างอิงต้องทันสมัย • ควรนำเสนอตามลำดับปี พ.ศ./ค.ศ.ของเอกสาร • เชิงอรรถกับบรรณานุกรมต้องสอดคล้องกัน
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม • การนำเสนอเอกสารต้องคงเส้นคงวา (หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย เชิงอรรถ บรรณานุกรม ตาราง ภาพประกอบ ภาคผนวก) • งานวิจัยควรมุ่งเน้นการแก้ปัญหาและผลที่เกิดกับโรงเรียน • อาจเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ งานวิจัยเชิงคุณภาพ งานวิจัยผสม
ข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินโครงการข้อเสนอแนะการเขียนรายงานการประเมินโครงการ • ความสำคัญจำเป็นและสภาพปัจจุบันปัญหา • อธิบายให้ชัดเจนถึง เหตุผล ความจำเป็น ปัญหา สิ่งที่จะพัฒนา • ประเมินโครงการเดียว/หลายโครงการพร้อมกัน
วิธีการประเมิน • ระบุให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไร/ประเมินอย่างไร • หลักสำคัญที่ควรระบุ : ใช้แนวคิดของใคร • ระบุประเด็นที่จะประเมินให้ชัดเจน • ใครเป็นผู้ประเมินบ้าง (บางคนอาจประเมินหลายประเด็น/บางคนประเมินประเด็นเดียว) • วิธีที่ใช้ในการประเมิน • ผู้ขอไม่ควรเป็นผู้ประเมินเพราะอาจลำเอียงได้
ผลการประเมินโครงการ • การเขียนรายงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน • ต้องรายงานเป็นเรื่อง ๆ /ประเด็น ๆ • ควรระบุว่า จากการประเมินจะปรับปรุงโครงการอย่างไร จะพัฒนาโครงการอย่างไร / ยุติโครงการ
การนำเสนอรายงาน • เน้นความถูกต้องและเหมาะสมของรูปแบบ • ความสมบูรณ์ของเนื้อหา • ความทันสมัยของเอกสารอ้างอิง • ความคงเส้นคงวาของการนำเสนอรายงาน
ผลงานทางวิชาการอื่น ๆ: ตำรา คู่มือ • ควรจัดทำเป็นรูปเล่ม • มีคำนำ • สารบัญชัดเจน • มีชื่อบทและชื่อตอน • นำเสนอเนื้อหาสาระตามหลักวิชา หลีกเลี่ยงภาษาพูด
มีการอธิบาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ • มีการสรุปแต่ละตอน • มีการอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจงและทันสมัย • มีบรรณานุกรมที่สมบูรณ์ • ควรมีการนำเสนองานวิจัยประกอบ • มีการนำเสนอแนวคิดของผู้เขียนประกอบ • เอกสารต้องมีคุณภาพและมีประโยชน์
สรุปข้อเสนอแนะการจัดทำผลงานทางวิชาการสรุปข้อเสนอแนะการจัดทำผลงานทางวิชาการ • ควรตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน • ศึกษากฎ กติกาก่อนเริ่มลงมือเขียน • ต้องเชื่อว่า เราทำได้และจะทำต่อไป • ต้องบริหารเวลาให้ได้
สรุปข้อเสนอแนะการจัดทำผลงานทางวิชาการสรุปข้อเสนอแนะการจัดทำผลงานทางวิชาการ • ทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง • รู้จักคิด ค้นและเขียน • ทำเป็นส่วน ๆ เป็นตอน ๆ • คิดได้เขียนไปก่อน แล้วกลับมาประเมิน/ทบทวนภายหลัง
ขอให้ประสบความสำเร็จดังใจหวังขอให้ประสบความสำเร็จดังใจหวัง