580 likes | 701 Views
หลักสูตรการพัฒนา ยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน. โครงการพัฒนาหลักสูตรการค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. หลักสูตรยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน. วัตถุประสงค์
E N D
หลักสูตรการพัฒนายุทธศาสตร์การค้าอาเซียนหลักสูตรการพัฒนายุทธศาสตร์การค้าอาเซียน โครงการพัฒนาหลักสูตรการค้าและการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ITD – ASEAN Trade Strategies
หลักสูตรยุทธศาสตร์การค้าอาเซียนหลักสูตรยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน • วัตถุประสงค์ • ให้บุคลากรทางการค้าและเศรษฐกิจเข้าใจสภาพแวดล้อมด้านการค้าและการลงทุนภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีผลต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดน และ • ให้บุคลากรทางการค้าและเศรษฐกิจของไทยสามารถกำหนดยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศและการค้าชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ • หลักสูตรขั้นพื้นฐาน 30 ชั่วโมง • ระยะเวลาฝึกอบรม 5 วันๆ ละ 6 ชั่วโมง • การเรียนการสอนครอบคลุมการบรรยาย 21 ชั่วโมง และการฝึกปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ 9 ชั่วโมง
เนื้อหาหลัก: หลักสูตรยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน ขอบเขตของยุทธศาสตร์การค้า การจัดทำยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน การฝึกภาคปฏิบัติ International Trade and Development Curriculum
ขอบเขตของยุทธศาสตร์การค้าขอบเขตของยุทธศาสตร์การค้า • วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การค้า • สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน • ยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชน • รักษาเสถียรภาพด้านราคา • เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจ • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม • ขอบเขตของยุทธศาสตร์การค้า • การจัดการความสัมพันธ์ทางการค้า • การส่งเสริมการค้า • การกำกับและอำนวยความสะดวกทางการค้า • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้า International Trade and Development Curriculum
การจัดการความสัมพันธ์ทางการค้าการจัดการความสัมพันธ์ทางการค้า • มุ่งเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างประเทศ • มุ่งเน้นความสัมพันธ์ในลักษณะรัฐต่อรัฐเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนระหว่างประเทศในลักษณะทวิภาคีหรือภูมิภาค โดยรูปแบบของการจัดการความสัมพันธ์ทางการค้าอาจทำได้หลายลักษณะ • การจัดทำความตกลงการค้าเสรี • การจัดทำข้อตกลงการค้าหรือบันทึกความเข้าใจ (MOU) • การส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า • การแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้บริหารระดับสูงระดับประเทศ • การจัดตั้งคณะกรรมการธิการร่วมระหว่างรัฐภาคี • การเข้าร่วมเวทีการประชุมระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ • การแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่เป็นทูตพาณิชย์เพื่อรักษาหรือเพิ่มระดับความสัมพันธ์ทางการค้า ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ขอบเขตด้านการจัดการส่งเสริมการค้าและการลงทุนขอบเขตด้านการจัดการส่งเสริมการค้าและการลงทุน • การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของประเทศตนกับประเทศอื่น รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้น เช่น • การจัดงานแสดงสินค้า (Trade Fairs) • Trade Mission • Business Matching • การโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้า/บริการของประเทศตนเองในกลุ่มตลาดเป้าหมาย • การร่วมกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำในการส่งเสริมการแสดงและใช้สินค้าที่ผลิตจากประเทศตน • การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการา • การจัดประกวดรางวัล • การจัดทำข้อมูลการค้า • การให้เงินสนับสนุนการทำวิจัย ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ขอบเขตการกำกับและการอำนวยความสะดวกทางการค้าขอบเขตการกำกับและการอำนวยความสะดวกทางการค้า การกำกับการค้า (Trade Regulation) เป็นการออกกฎระเบียบและมาตรการขึ้นเพื่อกำกับการค้าให้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของการค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) หมายถึงการพัฒนาให้มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยให้การดำเนินการทางการค้าและลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินและค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน (ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากระยะเวลาการรอคอยและภาระเอกสารที่ซ้ำซ้อน) เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ขอบเขตด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้าขอบเขตด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้า • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการค้า (Trade Infrastructure) เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการค้าสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากได้ เช่น • ด่านศุลกากรแบบครบวงจร • ศูนย์กระจายสินค้า • นิคมอุตสาหกรรม • เขตปลอดอากรศุลกากร • เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) • ท่าเรือ ท่าอากาศยาน รถไฟให้บริการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศ เส้นทางถนนเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศ • สถาบันการเงินหรือกองทุนเพื่อสนับสนุนการทำการค้า ฯลฯ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
องค์กรที่มีส่วนกำหนดยุทธศาสตร์การค้าของอาเซียนองค์กรที่มีส่วนกำหนดยุทธศาสตร์การค้าของอาเซียน • หน่วยงานภาครัฐ • สภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวง ICT ฯลฯ • หน่วยงานภาคเอกชน • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม สภาวิชาชีพ ฯลฯ • องค์การระหว่างประเทศ • สำนักเลขาธิการอาเซียน • องค์การการค้าโลก • องค์การศุลกากรโลก • องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ฯลฯ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
หน่วยงานของประเทศในอาเซียนที่มีบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์การค้าหน่วยงานของประเทศในอาเซียนที่มีบทบาทกำหนดยุทธศาสตร์การค้า มาเลเซีย:Economic Planning Unit of Prime Minister’s Department สิงคโปร์:Ministry of Trade and Industry (MTI) ฟิลิปปินส์:National Economic and Development Authority (NEDA) บรูไน:Brunei Economic Development Board (BEDB) กัมพูชา:Ministry of Economy and Finance (MEF) ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำนโยบายการค้าของประเทศสมาชิก WTO WTO กำหนดให้สมาชิกทุกประเทศต้องจัดทำนโยบายการค้า รวมทั้งทบทวนนโยบายการค้า (Trade Policy Review) เป็นประจำ กรณีของประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น มีภาระต้องจัดทำการทบทวนนโยบายการค้าทุก 2 ปี ประเทศอื่นๆ อีก 16 ประเทศที่เป็นประเทศการค้าชั้นนำจะต้องจัดทำทุก 4 ปี ประเทศที่เหลืออื่นๆ จะต้องจัดทำทุก 6 ปี การจัดทำนโยบายการค้าเพื่อแสดงความโปร่งใสของการกำหนดนโยบาย ตลอดจนเพื่อให้ประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ ได้รับและเข้าใจนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกที่ได้รับการทบทวน ITD – ASEAN Business Development Curriculum
เนื้อหาใน Trade Policy • สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในภาพรวม • พัฒนาการเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญ พัฒนาการด้านการค้าและการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ • กรอบนโยบายการค้าและวัตถุประสงค์เชิงนโยบาย • โครงสร้างของการกำหนดนโยบายการค้า กฎหมายและกฎระเบียบการค้าที่สำคัญของการค้าสินค้า ความตกลงและข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ • นโยบายและวิธีปฏิบัติของมาตรการทางการค้า • มาตรการทางการค้าที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการนำเข้ามาตรการทางการค้าที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการส่งออกมาตรการอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการลงทุนและการค้า (มาตรการส่งเสริมการลงทุน การแข่งขัน) • นโยบายการค้าจำแนกตามรายสาขา • สาขาเกษตรกรรม ป่าไม้ประมงเหมืองแร่พลังงานการเงิน สื่อสาร ขนส่ง จัดจำหน่าย ท่องเที่ยว บริการวิชาชีพ ฯลฯ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษายุทธศาสตร์การค้าไทยตั้งแต่ปี 2540-2559 • ยุทธศาสตร์การค้าระยะปี 2540-2544 • การพัฒนาศักยภาพของคน ปรับปรุงทักษะฝีมือแรงงานให้คนไทยทุกคนมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้นในกระบวนการผลิตและสามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม • การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยแนวทางการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งและเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ การปรับโครงสร้างการผลิตให้เข้มแข็งเพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ ชุมชน และบริการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษายุทธศาสตร์การค้าไทยตั้งแต่ปี 2540-2559 ITD – ASEAN Business Development Curriculum • ยุทธศาสตร์การค้าระยะปี 2545-2549 • การเตรียมความพร้อมของเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ ให้มีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง • เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตและบริการ โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วให้คุ้มค่า และพัฒนาให้มีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน • เน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และระบบสหกรณ์ ให้เป็นฐานรากที่เข้มแข็งในการสร้างรายได้ของประเทศ ตลอดจนเน้นความเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและบริการอย่างเป็นระบบครบวงจร • ปรับปรุงระบบเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเอกภาพในการเจรจาทางการค้า และเสริมสร้างอำนาจต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว • ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้ โดยพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ และพัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง วิถีชีวิต สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน ตลอดจนการส่งเสริมไทยเที่ยวไทย และการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
กรณีศึกษายุทธศาสตร์การค้าไทยตั้งแต่ปี 2540-2559 ITD – ASEAN Business Development Curriculum • ยุทธศาสตร์การค้าระยะปี 2550-2554 • การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ โดยสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนและสนับสนุนให้ชุมชนรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพเพื่อนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้สร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการ สร้างระบบบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนควบคู่กับการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการ การตลาด และทักษะการประกอบอาชีพ • ปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และความเป็นไทย โดยปรับโครงสร้างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่ใช้กระบวนการพัฒนา Cluster และห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเครือข่ายชุมชนบนรากฐานความรู้สมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างสินค้าที่มีคุณภาพและมูลค่าสูง มีตราสินค้าเป็นที่ยอมรับของตลาด พัฒนาโรงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ • สนับสนุนการให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม โดยส่งเสริมการแข่งขันการประกอบธุรกิจในระบบอย่างเสรี เป็นธรรม และป้องกันการผูกขาด
กรณีศึกษายุทธศาสตร์การค้าไทยตั้งแต่ปี 2540-2559 ITD – ASEAN Business Development Curriculum • ยุทธศาสตร์การค้าระยะปี 2555-2559 • การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME • ผลักดันให้มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งและแข่งขันได้ด้วยการปรับโครงสร้างการค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเอเชีย แอฟริกา และเศรษฐกิจภายในประเทศ ปรับโครงสร้างภาคบริการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มกับสาขาบริการที่มีศักยภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม • พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งครอบคลุมถึงการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพและยั่งยืนด้วยการใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ สู่อุตสาหกรรมฐานความรู้เชิงสร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยพัฒนาความเชื่อมโยงของระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่างๆ และพัฒนาฐานลงทุนโดยในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน • สร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน • การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว • ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนและการประกอบธุรกิจในเอเชีย • ปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเสริมสร้างศักยภาพชุมชนท้องถิ่นให้รับรู้และเตรียมพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลง
กรณีศึกษาแผนแม่บทกระทรวงพาณิชย์ 2555-2564 ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้าข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์การค้า • กลุ่มข้อมูลการค้า • การเติบโตของมูลค่าการค้าการลงทุน ประเทศคู่ค้าหลัก การปรับตัวลดลงของภาษีที่เรียกเก็บ มาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี กฎระเบียบการเข้าเมืองและการทำงาน สิทธิพิเศษที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ ฯลฯ • กลุ่มข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอก • GDP per capita อัตราเงินเฟ้อ อัตราการว่างงาน ค่าแรงขั้นต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีค่าครองชีพ หนี้สาธารณะ ราคาพลังงาน ผลิตภาพของแรงงาน ฯลฯ • กลุ่มข้อมูลด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า • ความสะดวกในการจดทะเบียนธุรกิจ ความสะดวกในการขอรับสินเชื่อ ความสะดวกในการขออนุญาตก่อสร้าง ความทันเวลาของการจัดส่งสินค้า การรักษาข้อมูลและความลับทางการค้า ฯลฯ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
การจัดทำยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
1. การวางแผนกลยุทธ์ ข้อมูลย้อนกลับ Feedback การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในองค์กร การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายนอก วิสัยทัศน์ Vision จุดแข็ง Strengths โอกาส Opportunities พันธกิจ / Mission จุดอ่อน Weaknesses อุปสรรค Threats เป้าประสงค์ Goal กลยุทธ์ Strategy แผนงาน / งาน / โครงการ / ผลผลิต / กิจกรรม / งบประมาณ • การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี • การพัฒนาองค์กร • การบริหารทรัพยากรบุคคล • การสั่งการ / ประสานงาน • การรายงานผลงาน / งบประมาณ • เทคโนโลยีสารสนเทศ • วัฒนธรรมองค์กร • องค์การแห่งการเรียนรู้ • การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร • ฯลฯ 2. การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ • การจัดทำรายงานผลงานประจำปี • การควบคุมภายใน / การตรวจสอบภายใน • การประเมินผลสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทุก 3-5 ปี • ฯลฯ 3. การควบคุมและประเมินผล แผนกลยุทธ์ กระบวนการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
McKinsey’s 7 S Model ของ R. Waterman การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
External Environment External Environment ? โอกาส ? อุปสรรค ? โอกาส ? ภัยคุกคาม Politics การเมือง International Economics Operational Environment Operational Environment ต่างประเทศ เศรษฐกิจ ชุมชน ตลาดแรงงาน ตลาด องค์การ องค์การ ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คู่แข่ง ผู้ส่งวัตถุดิบ Social Technology สังคม เทคโนโลยี การสังเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ ITD – ASEAN Business Development Curriculum SWOT Analysis
O 2000 1500 1000 500 1500 1000 2500 2000 500 1000 1500 500 W S 500 1000 1500 T การกำหนดตำแหน่งขององค์การ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ระดับของการกำหนดกลยุทธ์ระดับของการกำหนดกลยุทธ์ กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์ระดับหน่วยงาน กลยุทธ์ในระดับของกิจกรรม การทบทวนกลยุทธ์และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ความต้องการของ ประชาชน ผลลัพธ์ Outcomes ผลกระทบ (Impacts) ที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม การวัดประสิทธิผล (ปริมาณ คุณภาพ เวลา) ผลผลิต Outputs สิ่งของและบริการที่จัดทำเพื่อประชาชน การวัดประสิทธิภาพ (ต้นทุน) ทรัพยากรที่ใช้ไปเพื่อการผลิตและบริการ ทรัพยากรที่ใช้ไป การจัดทำแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ขั้นตอนหลักการจัดทำแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขั้นตอนหลักการจัดทำแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ITD – ASEAN Business Development Curriculum
การคำนวณต้นทุนกิจกรรม ABC วิเคราะห์กิจกรรม (Activity Analysis) ค่าใช้จ่ายของกิจกรรม (Activity Costing) ผลการปฏิบัติงาน (Performance Measure) - พจนานุกรมกิจกรรม (Activity Dictionary) - ค่าใช้จ่ายบุคลากร - ค่าใช้จ่ายเจาะจง - ค่าใช้จ่ายปันส่วน - ปริมาณผลงานของ กิจกรรม การคำนวณต้นทุนกิจกรรม ITD – ASEAN Business Development Curriculum
การจัดทำยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน: กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าเสรี • หลักการของไทยในการเจรจาการค้าเสรี • การเจรจาระดับพหุภาคี ร่วมผลักดันให้การเจรจารอบโดฮาสำเร็จโดยเร็ว • การเจรจาระดับภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการเจรจาร่วมกับอาเซียนเป็นลำดับแรก ทั้ง AEC และการเจรจาการค้าเสรีขออาเซียนกับคู่เจรจา (ASEAN FTA) • การเจรจาระดับทวิภาคีจะให้ความสำคัญกับ • การเจรจาที่ค้างอยู่โดยประเมินผลประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวรองรับ • เจรจากับประเทศใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น GCC Mercosur และชิลี • สร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศที่มีศักยภาพ เช่น รัสเซีย แอฟริกาใต้ เป็นต้น ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA • หลักการในการจัดทำ FTA ของไทย • การจัดทำความตกลงการค้าเสรีควรทำในกรอบกว้างครอบคลุมการเปิดเสรีทั้งการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน รวมทั้งการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ควรมีความยืดหยุ่นให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศคู่เจรจาเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย • การจัดทำความตกลงการค้าเสรีควรให้สอดคล้องกับกฎของ WTO ซึ่งมีเงื่อนไขการให้การเปิดเสรีครอบคลุมการค้าสินค้าและบริการอย่างมากพอ สร้างความโปร่งใส และเปิดให้สมาชิกอื่นตรวจสอบความตกลง • การจัดทำความตกลงการค้าเสรีควรยึดหลักการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยคำนึงถึงสถานะของไทยที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในกรณีที่คู่เจรจาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ไทยควรเรียกร้องความยืดหยุ่นเพื่อให้มีเวลาในการปรับตัวนานกว่าหรือจัดทำข้อผูกพันในระดับต่ำกว่า ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA • เป้าหมาย • เพื่อสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการส่งออก และปรับโครงสร้างการผลิตในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น • เพื่อรักษาตลาดเดิมที่เป็นตลาดหลักของไทย เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และและขยายตลาดใหม่ทั้งในแนวกว้างและเจาะลึกในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ตลาดที่เป็นประตูการค้าในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ชิลี และแอฟริกาใต้ เป็นต้น ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA: รายสาขา • เกษตร • เน้นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร และอาหารแปรรูป • สินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว ให้เจรจาโดยมีเวลาในการปรับตัวที่นาน • สินค้าเกษตรและอาหาร จะมีปัญหาเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัยมาก ความปลอดภัยด้านอาหาร และสิ่งแวดล้อม ให้เจรจาลด/ยกเลิก หรือปรับไม่ให้เป็นอุปสรรค ขณะเดียวกันให้พัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกด้านการค้าโดยการทำ MRA และ การถ่ายทอดเทคโนโลยี • กำหนดมาตรฐานการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาแปรรูปเพื่อการส่งออกให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัย ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA: รายสาขา • อุตสาหกรรม • เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการส่งออกของไทย และกลุ่ม cluster ที่มีการร่วมลงทุนผลิตที่เป็น production network สาขาที่สำคัญ ที่ไทยมีศักยภาพมาก ได้แก่ แฟชั่น (เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ รองเท้า) ยานยนต์และชิ้นส่วน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน และของแต่งบ้าน • มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรฐานสินค้า (TBT) สิ่งแวดล้อม ให้เจรจาลด/ยกเลิก หรือปรับไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า พัฒนาการผลิตภายในประเทศให้ได้มาตรสากล และจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (MRA) • การเจรจากำหนดเงื่อนไข Rules of Origin ต้องสะท้อนสภาพการผลิตในประเทศ และในประเทศต้องปรับการผลิตอุตสาหกรรมต้นน้ำให้มากขึ้น ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA: รายสาขา • บริการ • เปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ positive-list approach • เน้นธุรกิจบริการที่มีความพร้อม เช่น ท่องเที่ยว สุขภาพ ก่อสร้างออกแบบ • สนับสนุนธุรกิจที่มีอนาคต เช่น ICT logistics บันเทิง ซ่อมบำรุง • กลุ่มธุรกิจบริการที่ยังไม่พร้อม เช่น ธนาคาร ประกันภัย โทรคมนาคม ขนส่ง ให้มี transition period 10 ปี ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การเจรจา FTA: รายสาขา • ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า • เน้นระดับการคุ้มครองภายใต้ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าใน WTO เป็นหลัก • ควรแสวงหาความร่วมมือจากประเทศคู่เจรจาในการอำนวยความสะดวกด้านการขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยในต่างประเทศ เช่น การขอรับการคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิของไทย • ผลักดันให้ประเทศคู้เจรจาให้ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยมีผลประโยชน์ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งที่มาทางชีวภาพ • ส่งเสริมความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การใช้ประโยชน์ในข้อมูลสิทธิบัตร เพิ่มศักยภาพและทักษะของนักประดิษฐ์ของไทยในการวิจัยพัฒนาต่อยอด ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ยุทธศาสตร์การเจรจา JTEPA • การเจรจาจะต้องคำนึงถึงนโยบาย กฎระเบียบ โครงสร้างการผลิต ความสามารถทางการแข่งขันของไทย การพัฒนาเศรษฐกิจ และผลประโยชน์โดยรวมของผู้บริโภคและประชาชนไทย โดยภาครัฐจะต้องจัดให้มีมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันผลกระทบจากการค้าที่เหมาะสม • แนวทางการเจรจาการค้าสินค้า • ไทยควรนำสินค้าทุกรายการที่กำหนดไว้ในรายการที่ต้องทบทวน (R) มาเจรจากันใหม่ โดยสามารถเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างการเปิดตลาดการลดภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งขนาด 3000 ซีซี กับสินค้าเกษตรอื่นๆ ของไทย เช่น สตาร์ชมันสำปะหลัง และไส้กรอก ส่วนการเจรจาเปิดตลาดนำเข้ารถยนต์นั่งขนาด 1,500 – 3,000 ซีซี ควรทำด้วยความรอบคอบเพราะอาจมีผลกระทบกับผู้ผลิตในไทย • เจรจาแก้ไขปัญหาสินค้าเดิมที่มีอยู่ ได้แก่ (ก) กฎถิ่นกำเนิดปลาทูน่ากระป๋อง (ข) การเจรจาเรื่องอุปสรรคที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะมาตรการสุขอนามัยที่ใช้บังคับกับสินค้าอาหารและเกษตรของไทย และขอให้พิจารณาขยายประเภทของผลไม้ที่ได้อนุญาตให้จำหน่ายในญี่ปุ่นมากขึ้น • พิจารณาให้ญี่ปุ่นยอมเจรจาเปิดตลาดสินค้าที่เดิมไม่ผูกพันเปิดตลาด (X) เพิ่มเติม เช่น แป้ง และข้าว รวมทั้งเพื่อชดเชยกับการที่ไทยยินยอมเปิดตลาดสินค้าเหล็กให้กับญี่ปุ่นอย่างมาก
ยุทธศาสตร์การเจรจา JTEPA • แนวทางการเจรจาด้านบริการ • การเจรจาเปิดตลาดบริการภายใต้ JTEPA ไม่ควรให้เกินกว่าภายใต้ AFAS โดยในส่วนของการค้าบริการที่ญี่ปุ่นกำหนดให้มีการทบทวน เช่น ค้าส่งค้าปลีก นั้น อาจยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากไทยอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายค้าส่งค้าปลีก ตลอดจนไม่ควรนำเงื่อนไขด้านการผลักดันให้คนไทยเข้าไปทำงานเป็นพนักงานสปาได้เพื่อมาแลกเปลี่ยนกับการเปิดตลาดให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติม • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือด้านการบริการ เช่น การศึกษา การเงิน และ ICT มากกว่าการเจรจาเปิดตลาด ตลอดจนยังไม่ควรเจรจาเรื่องการรวมข้อบทการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐไว้ เนื่องจากไทยยังไม่มีความพร้อม • แนวทางการเจรจาความร่วมมือ • เจรจาจัดทำความร่วมมือในเชิงรุก เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการจัดทำโครงการความร่วมมือที่มุ่งผลการยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของไทยกับญี่ปุ่นร่วมกัน • เน้นบทบาทการร่วมมือการทำงานของทั้งสองฝ่าย
ยุทธศาสตร์การเจรจา JTEPA • เร่งประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์จากการค้าเสรี และในรูปธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้สิทธิประโยชน์มากขึ้นทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด • ยกระดับ SME ของไทยเข้าสู่การเป็น Smart Exporter / Smart Trader เพื่อยกระดับความรู้และความชำนาญในการทำตลาดญี่ปุ่น โดยพิจารณาใช้แนวทางความร่วมมือและร่วมค้ากับญี่ปุ่น รวมทั้งอาจใช้ความชำนาญของญี่ปุ่นในการทำตลาดในประเทศอื่นได้ • พัฒนามาตรฐานและคุณภาพสินค้าและบริการ เนื่องจากตลาดผู้บริโภคญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันสูงในการเลือกซื้อและเลือกใช้สินค้า/บริการ • พัฒนาตลาด ช่องทางการจำหน่าย ระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น การวิจัยตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น • สินค้าส่งออกหลักของไทยที่มีอัตราการเติบโตสูงในตลาดญี่ปุ่นที่ควรเร่งทำตลาดมากขึ้น ได้แก่ • ไก่ปรุงสุก ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ ปลากระป๋อง ผลิตภัณฑ์พลาสติก พลาสติกขั้นปฐม เครื่องสำอาง แชมพู อัญมณีและเครื่องประดับ ปลาแช่แข็ง ข้าว ดีบุก เส้นใยประดิษฐ์ • สินค้าส่งออกระดับรองที่มีศักยภาพที่มีอัตราเติบโตสูงในตลาดญี่ปุ่นที่ควรเร่งทำตลาดมากขึ้น ได้แก่ • กระดาษ ผลิตภัณฑ์จากข้าว หมากฝรั่ง ยา ลำโพง ปลาแห้ง แมงกะพรุน ผลิตภัณฑ์สังกะสี หมูแช่แข็ง ซิเมนต์ • สินค้าส่งออกเดิมแต่มีแนวโน้มเติบโตลดลงในตลาดญี่ปุ่น ที่ต้องเร่งเจาะตลาด / พัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ • แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เลนซ์ เฟอร์นิเจอร์ กล้องถ่ายรูป รองเท้า กาแฟ ไอศครีม
ยุทธศาสตร์การเจรจา JTEPA • พิจารณาท่าทีในการยอมรับนำมาตรฐานสินค้า/บริการของญี่ปุ่นมาใช้กับมาตรฐานสินค้า/บริการภายในประเทศ • กำหนดท่าทีการเจรจาเปิดตลาดบริการและการลงทุนให้มีความชัดเจนว่าต้องการจะใช้ FTA เป็นเครื่องมือในการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาในประเทศ ขณะที่กฎระเบียบปัจจุบันไม่เอื้อต่อการเปิดตลาดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนและทำงาน • กำหนดมาตรการเยียวยาและมาตรการรองรับผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าสินค้า/บริการ • สินค้านำเข้าหลักของญี่ปุ่นที่มีอัตราการเติบโตสูงในตลาดไทย ที่ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย ได้แก่ • เหล็กและผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องประดับเงิน รถบัสและรถบรรทุก • สินค้านำเข้าระดับรองที่มีอัตราเติบโตสูงในตลาดไทย ที่ควรพิจารณาญี่ปุ่นที่ควรพิจารณาเฝ้าระวัง ได้แก่ • ผลิตภัณฑ์นม จักรยาน และชา
Trade Logistics Material Sourcing • การอำนวยความสะดวกทางการค้า • การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การพัฒนาผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ • การสร้างเครือข่ายการค้า • การพัฒนาระบบกระจายสินค้า • การพัฒนาเครื่องมือลดความเสี่ยงการค้า • การสร้างกิจกรรมทางการค้าบนโครงสร้างพื้นฐาน TransportLogistics ManufacturingLogistics Manufacturing TransportLogistics After-SalesServices กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์โลจิสติกส์การค้า ประหยัดต้นทุน ตอบสนองความ ต้องการตลาด สร้างความน่า เชื่อถือในการ ส่งมอบสินค้า ITD – ASEAN Business Development Curriculum
Vision–ไทยมีระบบโลจิสติกส์และ LSP ที่มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอินโดจีนและจีนตอนใต้ ยุทธศาสตร์ 1: พัฒนาระบบอำนวยความ สะดวกทางการค้า ยุทธศาสตร์ 2: ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์และบริการเกี่ยวเนื่อง คณะอนุกรรมการโลจิสติกส์ทางการค้า ยุทธศาสตร์ 3: เพิ่มศักยภาพการจัดการของผู้ใช้บริการโลจิสติกส์และ ขยายเครือข่ายกระจายสินค้า ยุทธศาสตร์ 4: เพิ่มศักยภาพการจัดการ โลจิสติกส์สินค้ายุทธศาสตร์แบบครบวงจร ITD – ASEAN Business Development Curriculum
ยุทธศาสตร์ 1: พัฒนาระบบอำนวยความสะดวกทางการค้า • พัฒนาการให้บริการออกหนังสือสำคัญเพื่อการส่งออกและนำเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ • เจ้าภาพ คือ กรมการค้าต่างประเทศ • ทบทวนและปรับกฎระเบียบการค้าให้สอดคล้องกับโลกาภิวัฒน์ทางการค้าและการลงทุน • เจ้าภาพ คือ กระทรวง ICT • พัฒนาระบบใบรับรองด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยใช้ระบบคำขอกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ (Single Window Entry) เพื่อช่วยลดเวลาติดต่อขอรับใบรับรองการส่งออก • เจ้าภาพ คือ กรมส่งเสริมการส่งออก
ยุทธศาสตร์2: ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ • ยกร่างกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ • เจ้าภาพ คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า • พิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางการส่งเสริมการลงทุนในกิจการให้บริการโลจิสติกส์ที่ไทยมีความต้องการลงทุนมาก • เจ้าภาพ คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน • ธุรกิจที่ต้องการ เช่น เรือชายฝั่ง ขนส่งทางบกระหว่างประเทศ สายการบินขนส่งสินค้า และ Cool / Cold Chain Logistics • จัดโครงการ Logistics Clinic เพื่อให้คำปรึกษาการจัดการของธุรกิจโลจิสติกส์ไทย • เจ้าภาพ คือ กระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) • ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรโลจิสติกส์ • เจ้าภาพ คือ กระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) • จัดโครงการนำร่องลดต้นทุนกระจายสินค้า (ลดต้นทุนขนส่งเที่ยวเปล่า) • เจ้าภาพ คือ กระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการส่งออก และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
ยุทธศาสตร์ 3: เพิ่มศักยภาพการจัดการ โลจิสติกส์ทางการค้าของธุรกิจและเครือข่ายกระจายสินค้า • จัดโครงการ Logistics Clinic เพื่อให้คำปรึกษาการจัดการของธุรกิจการค้าและส่งออก สินค้าเกษตร • เจ้าภาพ คือ กระทรวงพาณิชย์ (กรมส่งเสริมการส่งออก /กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) • ส่งเสริมผู้ส่งออกรายย่อยรวมยอดการขนส่งเพื่อต่อรองอัตราค่าระวางและเงื่อนไขบริการกับผู้ขนส่งสินค้า • เจ้าภาพ คือ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย • ปรับกฎระเบียบสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย • เจ้าภาพ คือ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย • เพิ่มช่องทางการส่งออกด้วยการใช้ศูนย์กระจายสินค้าในต่างประเทศ • เจ้าภาพ คือ กรมส่งเสริมการส่งออก
ยุทธศาสตร์ 6: ยกระดับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์สินค้ายุทธศาสตร์แบบครบวงจร • โลจิสติกส์ข้าว • ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในโลจิสติกส์ของข้าว (คน.) • สนับสนุนการพัฒนารูปแบบการขนส่งที่เอื้อต่อการลดต้นทุนขนส่งข้าว (คมนาคม) • ส่งเสริมให้คลังสินค้า / ไซโลวางระบบจัดการคลังให้สอดรับปริมาณผลผลิตและความต้องการ (อคส.) • จัดระบบคลังสินค้าและไซโลให้สามารรักษาคุณภาพข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการ (คน. / อคส.) • จัดตั้งศูนย์ให้บริการโลจิสติกส์ข้าวหอมมะลิเกรดพรีเมี่ยม (อคส.) • จัดระบบ LSP สำหรับข้าวโดยเฉพาะ (คน.) • ปรับกฎระเบียบคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น (คน.) • โลจิสติกส์ผักและผลไม้ • ส่งเสริมให้เกษตรและผู้ค้าพัฒนาระบบจัดการคุณภาพทั้งการผลิต การเก็บเกี่ยว การคัดแยก และบรรจุภัณฑ์ (กรมวิชาการเกษตร) • พัฒนามาตรฐานกลางสินค้าผักผลไม้เพื่อการส่งออก (มกอช.) • พัฒนาเกษตรกรรู้จักเทคนิคการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก (สอ.) • พัฒนาศูนย์สินค้าเน่าเสียง่ายเพื่อสนับสนุนการส่งออ (คน.) • ขยายตลาดและเพิ่มช่องทางจำหน่ายผักผลไม้ไทยในต่างประเทศ (สอ.) • พัฒนาความร่วมมือกับท่าเรือ/ท่าอากาศยานในต่างประเทศเพื่อเป็นประตูการค้าผักผลไม้ส่งออกของไทย
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การค้าอาเซียนในระดับจังหวัด: ระยอง ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การค้าอาเซียนในระดับจังหวัด: ระยอง • เมืองที่ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล แหล่งผลิตอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กับความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • พันธกิจของจังหวัด • พัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวให้คงสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด • ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอย่างเหมาะสมและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการ และมีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ พัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างพอเพียง • ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้องค์ความรู้เพื่อสร้างความแตกต่างและความโดดเด่น • พัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน • พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมระยองให้มีความเข้มแข็งและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • พัฒนาให้จังหวัดระยองเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การผลิตสินค้าและบริการในภูมิภาคอาเซียนบนฐานปัญญา นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ITD – ASEAN Business Development Curriculum
กรณีศึกษาการจัดทำยุทธศาสตร์การค้าอาเซียนในระดับจังหวัด: ระยอง • กลยุทธ์ของจังหวัดระยองสู่อาเซียน • พัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการและการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานเพื่อตรียมความพร้อมของแรงงานไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียน • ส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นและการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องควบคู่กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศหลัก รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาสากลอื่นที่เหมาะสมและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนการเรียนรู้วัฒนธรรมและสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตของคนในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน • ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุขและความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และมาตรฐานการให้บริการเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพของภูมิภาค • พัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการพัฒนาและความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากลสามารถเชื่อมโยงอำนวยความสะดวกในการเดินทาง การค้า และการขนส่งสินค้าข้ามแดนและผ่านแดน • พัฒนาการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การผลิตสินค้าและบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ITD – ASEAN Business Development Curriculum