210 likes | 357 Views
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเชิงรุก : อย่างไรดีกับประชาคมอาเซี่ยน (สุขภาพจิตเคลื่อนที่). รศ . ดร . ดาราวรรณ ต๊ะปินตา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. น้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
E N D
การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชเชิงรุก: อย่างไรดีกับประชาคมอาเซี่ยน (สุขภาพจิตเคลื่อนที่) รศ.ดร.ดาราวรรณ ต๊ะปินตา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคงน้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ และความก้าวหน้า สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
ประชาคมอาเซี่ยน • การรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศ และสุขภาพ
ไทยจะได้ประโยชน์อะไร จาก AEC • ช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส • โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและ ธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
Mutual Recognition Arrangements : MRAs • การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ1.วิศวกรรม (Engineering Services)2.พยาบาล (Nursing Services)3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services)4.การสำรวจ (Surveying Qualifications)5.แพทย์ (Medical Practitioners)6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)7.บัญชี (Accountancy Services)
MRA สาขาวิชาชีพการพยาบาล • หลักการคือ เปิดให้พยาบาลที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ • พยาบาลต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในประเทศอื่นต้องผ่านการประเมินและอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกำกับดูแล) ในประเทศที่รับให้ทำงาน (ของประเทศไทย คือ สภาการพยาบาล)
อ้างอิงจาก มติชน http://parunnews.wordpress.com/2012/01/25/asean-nurse/ • ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในผู้ส่งออกพยาบาลรายใหญ่ที่สุดให้แก่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐ เนื่องจากพยาบาลฟิลิปปินส์มีทักษะสูงและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ อย่างไรก็ตาม ฟิลิปปินส์ขาดเงินทุนที่จะสนับสนุนอาชีพนี้ โดยสภาวะล้นเกินของพยาบาลนั้นเป็นผลมาจากความต้องการพยาบาลที่ลดน้อยลงจากต่างประเทศ ซึ่งภาวะดังกล่าว บวกกับโอกาสที่ดีไม่แพ้กันจากภายในภูมิภาคจะทำให้แนวโน้มของการไหลเข้าของพยาบาลฟิลิปปินส์สู่ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซียเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ และก็จะเพิ่มการแข่งขันสำหรับพยาบาลในประเทศต่างๆอีกด้วย
อ้างอิงจาก มติชน http://parunnews.wordpress.com/2012/01/25/asean-nurse/ • ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีความกังวลว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานและสินค้าอย่างเสรีในอาเซียน จะนำไปสู่การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อต่างๆ จึงควรมีกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน ในการควบคุมและป้องกันโรค • ส่วนการบริการทางการแพทย์จะรับภาระหนักมากขึ้น มีการประเมินว่าในปี 2558 จะมีผู้มารับบริการสาธารณสุขจากโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นมากรวมถึงกว่า 2 ล้านคน • ทั้งนี้ หากมีการผลิตบุคลากรที่เพียงพอ จะทำให้ประเทศไทยมีรายได้ในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ถึง 1 แสนล้านบาท
อ้างอิงจาก มติชน http://parunnews.wordpress.com/2012/01/25/asean-nurse/ • อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอรัฐบาล พบว่า จำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสาธารณสุขรวมกันทั้งสิ้นกว่า 29,000 คน เป็นการด่วน • โดยเฉพาะวิชาชีพแพทย์นั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนอีกถึง 1,200 คน จากปัจจุบันที่ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรแพทย์อยู่แล้ว 10,719 คน ดังนั้น หากรัฐบาลไม่มีการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหานี้ จะทำให้อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการขาดแคลนแพทย์ถึง 11,974 คน และขาดแคลนทันตแพทย์อีก 3,267 คน • ขณะที่วิชาชีพพยาบาล ต้องเพิ่มเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน 5,454 คน จากปัจจุบันที่ขาดแคลนอยู่แล้วถึง 16,030 คน เท่ากับว่าจะขาดแคลนรวมกันถึง 21,628 คน
กลุ่มอาชีพพยาบาล ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาล คนที่ 2 ก็มีความเห็นไม่ต่างกันว่า ขณะนี้ประเทศไทยผลิตพยาบาลได้ประมาณ 9,000-10,000 คนต่อปี ในอีก 3 ปีข้างหน้า จบใหม่อีกประมาณ 9,000 คน ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ใช้บริการในประเทศไทย เมื่อพิจารณาหลักสูตรการเรียนพยาบาล สำหรับในประเทศไทยนั้น ใช้เวลาเรียนประมาณ 4 ปี จึงจะให้ออกไปทำงาน แต่ในต่างประเทศส่วนใหญ่เรียนต่ำกว่า 4 ปี ที่สำคัญพยาบาลไทยยังมีจุดแข็งที่เรื่องของความอ่อนโยน มีใจรักบริการ ดังนั้นในเรื่องของทักษะการทำงานและการให้บริการจึงมั่นใจได้ว่าพยาบาลไทยไม่เป็นรองใคร หากจะมีจุดอ่อนบ้างก็ตรงที่พยาบาลไทยอาจจะมีปัญหาด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องให้เรียนเสริมเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ในสถาบันการศึกษาเอกชนส่วนใหญ่จัดให้เรียนแบบ 2 ภาษา เพื่อให้ใช้ภาษาได้ทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอาเซียน
ถามว่าการเปิดเออีซีเป็นเรื่องน่ากลัว หรือทำให้พยาบาลของไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกแย่งงานหรือไม่ เรื่องนี้สภาการพยาบาลไม่ห่วง ไม่น่าหนักใจ แต่ยอมรับว่าก็อาจจะมีพยาบาลต่างชาติ เช่น ฟิลิปปินส์ เข้ามาทำงานบ้าง แต่โดยหลักการของสภาการพยาบาลที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภค ควบคุมวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่จะเข้ามาเป็นพยาบาลในประเทศไทย จะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ และจะต้องสำเร็จหลักสูตรจากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การยอมรับและรั บรอง ดังนั้น พยาบาลต่างชาติที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยก็จะต้องเสนอเอกสารเพื่อให้สภาการพยาบาลตรวจสอบว่าหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่จบเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ในกลุ่มประเทศอาเซียนจะต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลกัน นอกจากนี้จะต้องเข้าสอบใบอนุญาตซึ่งข้อสอบเป็นภาษาไทยด้วย ซึ่งในระยะแรกหลังเปิดเออีซีจะเป็นเรื่องยากสำหรับพยาบาลต่างชาติที่ประสงค์ เข้ามาทำงานในประเทศไทย” ดร.กฤษดา กล่าว
นอกจากนี้ ดร.กฤษดา ยังบอกว่า ปัจจุบันพยาบาลทั้งหมดกระจายอยู่ในโรงพยาบาลของรัฐร้อยละ 80-85 อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนร้อยละ 12-15 หากโรงพยาบาลเอกชนจะรับพยาบาลต่างชาติเข้ามาทำงานก็ถือว่าเป็นส่วนที่น้อยมา ก ส่วนกรณีพยาบาลไทยประสงค์ที่จะไปทำงานในต่างประเทศ ก็ถือว่าเป็นสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ไม่มีการปิดกั้นใดๆ แต่สภาการพยาบาลจะไม่ส่งเสริม เพราะยึดหลักปกป้องคนไทยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแม้จะมีการเปิดเออีซี แต่ด้วยจุดแข็งของพยาบาลไทยจึงเป็นที่ต้องการของนานาชาติ ซึ่งขณะนี้พบว่า มีพยาบาลไทยไปขอแปรเอกสารบ้างแล้ว โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีประมาณ 700 คนต่อปี แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ไปทำงานในต่างประเทศทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังพบว่าพยาบาลไทยไม่ได้ไปทำงานในกลุ่มอาเซียน แต่ส่วนใหญ่เดินทางไปประเทศนอกกลุ่มอาเซียน ซึ่งได้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าด้วย แต่ที่น่ากังวลมากกว่านั้นคือ ขณะนี้พบว่าตามแนวชายแดนด้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีโรงพยาบาลเอกชนไปลงทุนเพื่อรับลูกค้าที่มีฐานะจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจจะมีการเปิดรับสมัครพยาบาลที่มาจากประเทศติดชาย แดนไทยเข้ามาทำงานด้วย เพราะใช้ภาษาสื่อสารกับลูกค้าต่างชาติได้ ซึ่งหากเป็นดังเช่นที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้พยาบาลไทยถูกแย่งงานไปบางส่วนแน่นอน
ผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชน • สุขภาพจิตต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลง • โรคระบาดที่มาพร้อมกับคน • ปัญหายาเสพติด • ปัญหาอาชญากรรม ที่มากับคน • มีโอกาสถูกแย่งงาน ความด้อยโอกาส • ต้องมีปัญหาด้านภาษา • การปรับตัวด้านวัฒนธรรม (culture shock) • การปรับตัวในการอยู่ร่วมกับชนชาติต่างๆ
การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาทางจิตเวชในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่การส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาทางจิตเวชในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่ • การให้ความรู้ในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง • วิธีการคิดที่เหมาะสม การคิดตามความเป็นจริง การคิดทางบวก เป็นต้น • การปรับตัวเรื่องการใช้ภาษา • การปรับตัวด้านวัฒนธรรม • ลักษณะงานที่เปลี่ยนไป เช่นทำงานเป็นกะ • การค้นหาปัญหาสุขภาพจิตในยุคของการเปลี่ยนแปลง • การประเมินภาวะเครียด • การประเมินภาวะซึมเศร้า • กรประเมินความสุข ฯลฯ
การดูแลรักษาในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่การดูแลรักษาในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่ • การลดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความซึมเศร้า • การให้การดูแลช่วยเหลือคนไทยในชุมชน • การให้การดูแลช่วยเหลือต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย • ปัญหาทางจริยธรรม • การให้การบำบัดเบื้องต้น • การให้การปรึกษา • การบำบัดทางจิต • การส่งต่อการรักษาที่เหมาะสมของชุมชนลักษณะใหม่
การฟื้นฟูสุขภาพจิตในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่การฟื้นฟูสุขภาพจิตในงานสุขภาพจิตเคลื่อนที่ • การฟื้นฟูผู้ที่ไม่มีครอบครัวในประเทศไทย • การหางาน • การเป็นปากเป็นเสียงให้ • การสนับสนุนทางสังคม • การส่งกลับประเทศในกรณีที่จำเป็น • การดูแลอย่างต่อเนื่อง • การเยี่ยมบ้าน แคมป์ • ความปลอดภัยของพยาบาล