1 / 89

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment of Assets)

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment of Assets). การด้อยค่าสินทรัพย์ คือ อะไร. การที่สินทรัพย์มีมูลค่าราคาตามบัญชี (Book Value) สูงกว่า มูลค่าที่คาดว่าจะได้จากการขาย หรือ การใช้งานสินทรัพย์นั้น. มูลค่าจากการใช้. ราคาขายสุทธิ. เลือกมูลค่าที่สูงกว่า.

junior
Download Presentation

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment of Assets)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment of Assets)

  2. การด้อยค่าสินทรัพย์ คือ อะไร การที่สินทรัพย์มีมูลค่าราคาตามบัญชี (Book Value) สูงกว่า มูลค่าที่คาดว่าจะได้จากการขาย หรือ การใช้งานสินทรัพย์นั้น

  3. มูลค่าจากการใช้ ราคาขายสุทธิ เลือกมูลค่าที่สูงกว่า มูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับคืน ราคาตามบัญชี มีมูลค่าต่ำกว่า ไม่ใช่ ใช่ สินทรัพย์ไม่ด้อยค่า รายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ (impairment loss)

  4. แนวคิดเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิมแนวคิดเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม 1. ลูกหนี้กำหนดให้ประมาณจำนวนหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ และตั้งเป็นบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2. สินค้าคงเหลือราคาต้นทุนเดิมหรือราคาตลาด (มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ) แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า

  5. แนวคิดเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม (ต่อ) 3. เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมหากมูลค่าของเงินลงทุนฯ ลดลงในลักษณะที่ไม่ใช่เป็นการชั่วคราว ให้ปรับปรุงราคาตามบัญชีลดลง 4. เงินลงทุนทั่วไปหากมูลค่าของเงินลงทุนระยะยาวมีการลดลงอย่างถาวร ให้ปรับปรุงราคาตามบัญชีลดลง

  6. แนวคิดเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับเดิม (ต่อ) 5. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์หากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำกว่าราคาสุทธิตามบัญชีให้บันทึกราคาตามบัญชีลงเท่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน 6. เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สามารถเลือกปฏิบัติได้ ดังนี้(1) เป็นสินทรัพย์ถาวร ปฏิบัติตาม TAS 9 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์(2) เป็นเงินลงทุนระยะยาว แสดงในราคาทุนหรือราคา ประเมินตามหลักเกณฑ์อย่างมีระบบตาม TAS 17

  7. สินทรัพย์อะไรที่ด้อยค่าได้สินทรัพย์อะไรที่ด้อยค่าได้ สินทรัพย์ทุกประเภท (มีตัวตน และไม่มีตัวตน) รวมถึงสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็นเงินลงทุน ต่อไปนี้ • เงินลงทุนในบริษัทย่อย • เงินลงทุนในบริษัทร่วม • เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า • เงินลงทุนทั่วไป

  8. สินค้าคงเหลือ (LCM) สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาก่อสร้างระยะยาว ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ตาม IAS 12 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน ตาม IAS 19 employee benefits สินทรัพย์ทางการเงิน ตาม IAS 32 และ 39 TAS 36ไม่ครอบคลุมสินทรัพย์ประเภทใด

  9. ปัญหาเกี่ยวการปฏิบัติตาม TAS 1. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน • ต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระทุกกรณีหรือไม่ • RA = higher of NSP or VIU • มูลค่าจากการใช้ (VIU) 2. การประมาณกระแสเงินสดและอัตราคิดลด • หลักฐานจากภายนอก • การใช้ดุลยพินิจ

  10. ลักษณะของงบการเงินที่ดีลักษณะของงบการเงินที่ดี 1. งบการเงินเข้าใจได้ มีข้อมูลที่สะท้อนถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 2. เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจ 3. เชื่อถือได้ ใช้หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 4. เปรียบเทียบได้ งบการเงินใช้หลักการบัญชีเดียวกัน

  11. เกณฑ์ในการวัดค่ารายการในงบการเงินเกณฑ์ในการวัดค่ารายการในงบการเงิน • หลักราคาทุน (historical cost) >จำนวนเงินหรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทน ที่นำไปแลกสินทรัพย์ ณ วันที่ได้สินทรัพย์มา งบการเงินแสดงถึงจำนวนเงินที่กิจการได้ลงทุน

  12. เกณฑ์ในการวัดค่ารายการในงบการเงินเกณฑ์ในการวัดค่ารายการในงบการเงิน • หลักมูลค่าที่จะได้รับ (recoverable amount) > จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ขายสินทรัพย์ได้ขณะนั้น งบการเงินสะท้อนถึงฐานะการเงินที่แท้จริง ณ วันที่ในงบการเงิน

  13. เมื่อใดกิจการต้องพิจารณาเรื่องการด้อยค่าเมื่อใดกิจการต้องพิจารณาเรื่องการด้อยค่า เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อว่า สินทรัพย์อาจด้อยค่า การวัดค่าและวิธีปฏิบัติทางบัญชี CA > RA --> เกิด impairment loss RA = higher of NSP or VIU ข้อกำหนดของ TAS 36

  14. อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสินทรัพย์จะด้อยค่า • แหล่งข้อมูลจากภายนอก • ราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลงอย่างเป็นสาระสำคัญ • มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการ อย่างเป็นสาระสำคัญ • อัตราดอกเบี้ยตลาดหรืออัตราผลตอบแทนจากการ ลงทุนเพิ่มขึ้น จนน่าจะมีผลต่อการคิดอัตราคิดลด ที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าจากการใช้ • สินทรัพย์สุทธิสูงกว่ามูลค่าตลาด (NAV > Mkt. Cap.)

  15. อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสินทรัพย์จะด้อยค่า (ต่อ) แหล่งข้อมูลจากภายใน สินทรัพย์ล้าสมัย หรือ ชำรุดเสียหาย มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะการใช้สินทรัพย์ ที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการอย่างเป็นสาระสำคัญ มีหลักฐานจากภายในที่บ่งว่าการใช้งานเชิงเศรษฐกิจ ของสินทรัพย์ลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้

  16. อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสินทรัพย์จะด้อยค่า (ต่อ) หลักฐานจากภายใน รวมถึง กระแสเงินสดใช้ไปในการจัดหาสินทรัพย์บำรุงรักษา หรือเพื่อให้สินทรัพย์นั้นใช้งานได้มีจำนวนสูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้อย่างมีสาระสำคัญ กระแสเงินสดที่ได้รับจริงหรือกำไรขาดทุนที่เกิดจากสินทรัพย์ลดลงกว่างบประมาณอย่างมีสาระสำคัญ

  17. อะไรเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าสินทรัพย์จะด้อยค่า (ต่อ) หลักฐานจากภายใน (ต่อ) รวมถึง • กระแสเงินสดสุทธิที่ประมาณว่าได้รับจากสินทรัพย์ หรือ กำไรจากการดำเนินงานลดลงอย่างมีสาระสำคัญ หรือขาดทุนตามประมาณที่เกิดจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ • มีขาดทุนจากการดำเนินงาน หรือ กระแสดเงินสดสุทธิเป็นยอดติดลบ เมื่อนำตัวเลขของงวดปัจจุบันรวมกับประมาณการ

  18. ราคาตามบัญชี (Carrying Amount - CA) • ราคาของสินทรัพย์ หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (ค่าตัดจำหน่ายสะสม) และ ค่าเผื่อการด้อยค่า ของสินทรัพย์ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน (Recoverable Amount - RA) • ราคาขายสุทธิ (Net Selling Price) หรือ มูลค่าจากการใช้ (Value in Use) แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

  19. ราคาขายสุทธิ (Net Selling Price - NSP) • จำนวนที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์ - ค่าใช้จ่ายในการขายสินทรัพย์ (หักต้นทุนในการจำหน่าย) มูลค่าจากการใช้ (Value in Use - VIU) • มูลค่าปัจจุบัน (PV) ของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และจากการจำหน่ายสินทรัพย์ ณ วันสิ้นอายุการใช้งาน

  20. ราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ หาจากไหน 1) ราคาตามสัญญาซื้อขายที่เกิดจากากรต่อรอง อย่างเป็นอิสระ 2) ถ้าไม่มีราคาตาม 1) ให้ใช้ราคาซื้อขายในตลาด ซื้อขายคล่อง 3) ถ้าไม่มี 1) และ 2) ให้ประมาณราคาขาย (จากข้อมูลที่ดีที่สุดที่หาได้) ซึ่งคาดว่า กิจการ จะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์ (หักต้นทุนในการจำหน่าย)

  21. มูลค่าจากการใช้ (VIU) คำนวณอย่างไร 1. ประมาณจากกระแสเงินสดรับและจ่ายการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง และจากการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน 2. ใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสม เพื่อคิดลดกระแสเงินสดในข้อ 1. ยกเว้น...

  22. มูลค่าจากการใช้ (VIU) คำนวณอย่างไร (ต่อ) ข้อยกเว้น สินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังนี้ เป็นลูกหนี้เงินกู้ที่มีหลักประกัน เป็นลูกหนี้ที่มีปัญหา หลักประกันที่มีอยู่เป็นแหล่งชำระหนี้เพียง แหล่งเดียว VIU = ราคายุติธรรมของหลักประกันที่มีอยู่

  23. การประมาณกระแสเงินสดในอนาคตการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต 1. อาศัยข้อสมมติที่สมเหตุสมผลที่มีหลักฐานจากภายนอกสนับสนุน 2. อาศัยประมาณการทางการเงินล่าสุดจากฝ่ายบริหารครอบคลุมเวลา 5 ปี 3. ประมาณการเงินสดหลังจากช่วงเวลาในข้อ 2 ให้ปรับด้วยอัตราการเติบโตที่ คงที่หรือลดลงยกเว้น มีเหตุผลสนับสนุนว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น(Co.’s growth rate =< industry or national growth rate)

  24. ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต อย่างไร ประมาณกระแสเงินสดในอนาคต รวมถึง 1. การคาดการณ์กระแสเงินสดรับจากการใช้อย่างต่อเนื่อง 2. การคาดการณ์กระแสเงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อข้อ 1 3. การคาดการณ์กระแสเงินสดที่จะรับ (จ่าย) จากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้น เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน

  25. ประมาณกระแสเงินสดในอนาคตอย่างไรประมาณกระแสเงินสดในอนาคตอย่างไร ประมาณกระแสเงินสดในอนาคตไม่รวมถึง การปรับโครงสร้างในอนาคตที่ยังไม่ตัดสินใจเป็นที่แน่นอน รายจ่ายฝ่ายทุนในอนาคตที่ทำให้สินทรัพย์ดีขึ้น กระแสเงินสดรับหรือจากกิจกรรมจัดหาเงิน ภาษีเงินได้ที่รับหรือจ่ายไป

  26. หาอัตราคิดลดอย่างไร ต้องพิจารณาถึง ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนของกิจการ อัตราการกู้ยืมส่วนเพิ่มที่กิจการต้องจ่าย อัตราการกู้ยืมอื่นในตลาด และปรับปรุงอัตราข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราตลาด และไม่รวมความเสี่ยงเกี่ยวกับการคาดการณ์กระแสเงินสด

  27. หาอัตราคิดลดอย่างไร โดยปกติกิจการใช้อัตราคิดลดเพียงอัตราเดียวในการประเมิน VIU กิจการอาจใช้อัตราคิดลดที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา หาก VIU มีความผันผวนต่อความเสี่ยงที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลานั้น ๆ หรือมีความผันผวนต่อโครงสร้างของอัตราดอกเบี้ย

  28. การหาอัตราคิดลดจาก WACC อัตราคิดลด = kd [ debt ]+ ks [ equity ] debt+equity debt+equity kd = อัตราส่วนผลตอบแทนในหนี้ ks = อัตราส่วนผลตอบแทนในทุน

  29. การหาอัตราคิดลดจาก CAPM อัตราคิดลด = RF + BETA x ( RM - RF ) RF = อัตราผลตอบแทนที่ปลอดความเสี่ยง BETA = ค่าความผันผวนของราคาตลาด (หุ้น) RM= อัตราผลตอบแทนโดยรวมที่ผู้ลงทุน ต้องการ (Return by market)

  30. สินทรัพย์อะไรบ้างที่ต้องรับรู้และวัดค่าขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์อะไรบ้างที่ต้องรับรู้และวัดค่าขาดทุนจากการด้อยค่า หากมีข้อบ่งชี้ที่แสดงว่าสินทรัพย์อาจด้อยค่าแล้ว กิจการต้องประมาณ RA ของสินทรัพย์ ดังนี้ 1. สินทรัพย์แต่ละรายการ 2. หน่วยของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หากประมาณ จากสินทรัพย์แต่ละรายการไม่ได้ รวมถึง - ค่าความนิยม - สินทรัพย์องค์กร

  31. หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด คืออะไรCash Generation Unit (CGU) หมายถึง สินทรัพย์กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุได้ว่า การใช้สินทรัพย์นั้นจะก่อให้เกิดเงินสดรับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอิสระจากกระแสเงินสดรับที่เกิดจากสินทรัพย์อื่น หรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น

  32. การพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดการพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสด บริษัท A ผลิตสินค้า ก. ชนิดเดียว และเป็นเจ้าของ โรงงาน 1, 2 และ 3 โรงงาน 1 ผลิตชิ้นส่วนให้โรงงาน 2 และ โรงงาน 3 นำไปผลิตต่อและขายสินค้า โดยโรงงาน 2 และโรงงาน 3 เป็นอิสระจากกัน กรณี 1 ชิ้นส่วนจากโรงงาน 1 มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ หน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดมี 3 หน่วย คือ โรงงาน 1 โรงงาน 2 และ โรงงาน 3

  33. การพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดการพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสด กรณี 2 ชิ้นส่วนจากโรงงาน 1 ไม่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ หน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดมี 1 หน่วย คือ โรงงาน 1+โรงงาน 2+โรงงาน 3 เนื่องจากกระแสเงินสดที่โรงงาน 1 จะได้รับขึ้นอยู่กับการขายสินค้า ก ซึ่งโรงงาน 2 และ 3 ผลิต

  34. BTS มีสัญญากับ กทม. ที่จะให้บริการเดินรถไฟฟ้า 2 สาย กรณี 1 ไม่มีสัญญาอื่นระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินรถ หน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดมี 2 หน่วย คือ รถไฟฟ้าแต่ละสาย การพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสด

  35. การพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดการพิจารณาหน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสด กรณี 2 กทม. มีสัญญาเพิ่มเติมว่า BTS ไม่สามารถเดินรถไฟฟ้าเฉพาะสายใดสายหนึ่งได้ หน่วยที่ก่อให้เกิดเงินสดมี 1 หน่วย คือ กลุ่มของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สายรวมกัน

  36. ค่าความนิยม (Goodwill) และสินทรัพย์องค์กรด้อยค่าได้อย่างไร • GW และสินทรัพย์องค์กร ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่น จึงไม่มี RA ของ GW และสินทรัพย์องค์กร • แต่ต้องกำหนด RA ของสินทรัพย์ที่รวม GW และสินทรัพย์องค์กรนั้นรวมอยู่ด้วย โดยปันส่วน GW และสินทรัพย์องค์กรให้กับสินทรัพย์นั้น และประเมินการด้อยค่าสินทรัพย์

  37. ค่าความนิยม (Goodwill) ด้อยค่าได้อย่างไร ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รวม GW อยู่ด้วย โดย 1. ปันส่วน GW ให้หน่วยที่เล็กที่สุด ตามลำดับดังนี้ 1.1 ปันส่วน BV ของ GW ให้ CGU ได้อย่าง สมเหตุสมผล และสม่ำเสมอ 1.2 เปรียบเทียบ RA กับ BV ของ GW + CGU ว่า ด้อยค่าหรือไม่ 2. หากปันส่วนตามข้อ 1 ไม่สมเหตุสมผลให้ปันส่วน GW ให้หน่วยของสินทรัพย์ที่ใหญ่ขึ้น โดยใช้วิธี ตามข้อ 1.1 และ 1.2

  38. สินทรัพย์องค์กร คืออะไร หมายถึง • สินทรัพย์แต่ละรายการ หรือ กลุ่มสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับที่เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่น หรือกลุ่มสินทรัพย์ • BV ของสินทรัพย์องค์กรไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ CGU ซึ่งอยู่ภายใต้การพิจารณา เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ เนื่องจากไม่ใช่สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับโดยตรงของกิจการ

  39. ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์องค์กร อย่างไร • ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์องค์กร เหมือน การทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่รวม GW

  40. ตัวอย่างการคำนวณสินทรัพย์ด้อยค่าตัวอย่างการคำนวณสินทรัพย์ด้อยค่า 31 ธันวาคม 2537 บริษัท A ซื้อบริษัท B 100% ในราคา 4,000 บาท ซึ่งมีมูลค่ายุติธรรม (fair value) ดังนี้ รายการ จำนวนเงิน สินทรัพย์หมุนเวียน 1,200 CGU 1 1,600 CGU 2 960 CGU 3 640 ค่าความนิยม 600 หนี้สิน (1,000) รวม 4,000

  41. บริษัทคาดว่าค่าความนิยมมีอายุการใช้ประโยชน์ ประมาณ 20 ปี ณ 31 ธันวาคม 2542 มีข้อบ่งชี้ว่าหน่วยสินทรัพย์ที่ 1 มีการด้อยค่า ซึ่งมีราคาตามบัญชี ดังนี้ CGU 1ราคาทุนค่าเสื่อมราคาสะสมBVNSP ที่ดิน 600 - 600 580 อาคาร 400 100 300 240 เครื่องจักร X 200 50 150 100 เครื่องจักร Y 100 25 75 30 เครื่องจักร Z 300 75 225110 รวม 1,6002501,3501,060 มูลค่าจากการใช้ CGU 1 เท่ากับ 1,170 บาท

  42. กรณีปันส่วนค่าความนิยมได้อย่างสมเหตุสมผล ได้ดังนี้ รายการCGU1CGU2CGU3รวม FV ปี 37 1,600 960 640 3,200 สัดส่วน FV 50% 30% 20% 100% BV 1,350 820 530 2,700 ปันส่วน GW 225135 90 450* BVหลังปันส่วน1,5759556203,150 450* = [ 600 - (600/20 x 5) ]

  43. VIU = 1,170 NSP = 1,060 เลือกมูลค่าที่สูงกว่า RA = 1,170 BV = 1,575 มีมูลค่าต่ำกว่า รายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ = 405

  44. การบันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าการบันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่า 1. ลดค่าความนิยม (GW) ที่เคยปันส่วนให้กับ CGU 1 จำนวน 225 บาท 2. ลด BV ของสินทรัพย์แต่ละรายการของ CGU 1 ตามสัดส่วนของ BV ของสินทรัพย์แต่ละรายการนั้น

  45. ปันส่วนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จำนวน 180 บาท (405-225) ดังนี้ CGU 1BV ปันส่วน BVNSP รายการด้อยค่าหลังปันส่วนNSP ที่ดิน 600 80 520580 อาคาร 300 40 260 230 เครื่องจักร X 150 20 130 100 เครื่องจักร Y 75 10 65 40 เครื่องจักร Z 225 30 195110 รวม 1,3501801,1701,060

  46. TAS 36 กำหนดว่า การปันส่วนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ต้องไม่ลด BV ของสินทรัพย์ให้ต่ำกว่า จำนวนสูงสุดของ 1. ราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ 2. มูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ 3. ศูนย์ ดังนั้น จึงต้องปันส่วนรายการด้อยค่าของสินทรัพย์ใหม่

  47. กรณีตัวอย่างนี้ BV ของที่ดินหลังปันส่วนน้อยกว่า NSPกิจการจึงต้อง • ปันส่วนรายการด้อยค่าของที่ดินให้มีจำนวนเท่ากับ 20 บาท เพื่อ BV ที่ปันส่วนใหม่เท่ากับ NSP (580 บาท) และ • ส่วนที่เหลือ จำนวน 60 บาท (80-20) ปันส่วนให้ สินทรัพย์อื่น ดังนี้

  48. ปันส่วนรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จำนวน 180 บาท (405-225) ดังนี้ CGU 1BV ปันส่วน BVNSP รายการด้อยค่าหลังปันส่วน ที่ดิน 600 20580 580 อาคาร 300 64 236 230 เครื่องจักร X 150 32118 100 เครื่องจักร Y 75 16 59 40 เครื่องจักร Z 225 48 177110 รวม 1,3501801,1701,060

  49. การบันทึกบัญชีขาดทุนจากการด้อยค่า เดบิต รายการขาดทุนจากการด้อยค่า 405 เครดิต ค่าเผื่อการด้อยค่า - GW 225 ค่าเผื่อการด้อยค่า - ที่ดิน 20 ค่าเผื่อการด้อยค่า - อาคาร 64 ค่าเผื่อการด้อยค่า - เครื่องจักร X 32 ค่าเผื่อการด้อยค่า - เครื่องจักร Y 16 ค่าเผื่อการด้อยค่า - เครื่องจักร Z 48 ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ลดมูลค่าสินทรัพย์ในงบดุล

  50. กรณีค่าความนิยมไม่สามารถปันส่วนได้อย่างสมเหตุสมผลกรณีค่าความนิยมไม่สามารถปันส่วนได้อย่างสมเหตุสมผล ด้อยค่า 430 สมมติว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 RA ของบริษัท B = 2,720 BV ของบริษัท B = 3,150 RA ของ CGU1 = 1,170 BV ของ CGU1 = 1,350 ด้อยค่า 180

More Related