1 / 7

สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้ง

สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้ง. ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2554. รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด. พบพื้นที่การระบาด 11 จังหวัด รวม 14,740 ไร่

june
Download Presentation

สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้ง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้งสรุปสถานการณ์การระบาดเพลี้ยแป้ง ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2554

  2. รายงานสถานการณ์การระบาด 46 จังหวัด พบพื้นที่การระบาด 11จังหวัดรวม14,740 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังยืนต้นทั้งประเทศ (10,414,051ไร่)โดยมีพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้น 1,007ไร่หรือร้อยละ 7.33 เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ระบาดสัปดาห์ที่ผ่านมา(13,733ไร่) จังหวัดที่พบการระบาด คงที่ได้แก่ พิษณุโลก สระบุรี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ และสกลนคร จังหวัดที่พบการระบาด เพิ่มขึ้นได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และสุพรรณบุรี พื้นที่ระบาดจำแนกตามอายุ มันปะหลัง 1 – 4 เดือน 7,649 ไร่ มากว่า 4 – 8 เดือน 6,293 ไร่ มากกว่า 8 เดือน 798 ไร่ จังหวัดที่พบการระบาด ลดลงได้แก่ ขอนแก่น กาญจนบุรี และมหาสารคาม

  3. ปัจจัยที่มีผลทำให้การระบาดเพิ่มขึ้นปัจจัยที่มีผลทำให้การระบาดเพิ่มขึ้น ในบางพื้นที่มีการปลูกมันสำปะหลังใหม่ แต่เกษตรกรไม่ได้ทำการแช่ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังด้วยสารเคมีก่อนปลูก

  4. ปัจจัยที่มีผลทำให้การระบาดลดลงปัจจัยที่มีผลทำให้การระบาดลดลง 1. ผลจากการปล่อยแมลงช้างปีกใสและแตนเบียน Anagyrus lopeziอย่างต่อเนื่องและศัตรูธรรมชาติทั้งสองชนิด สามารถทำลายเพลี้ยแป้งจึงทำให้ปริมาณเพลี้ยแป้งลดลง 2. ในพื้นที่ที่มีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศความชื้นสูง เป็นสภาพไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์และการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง ทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยแป้งลดลง

  5. การคาดการณ์ • เนื่องจากสภาพอากาศ สัปดาห์ที่ผ่านมาและอีก ๗ วันข้างหน้า ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง มันสำปะหลังแตกยอดใหม่เจริญเติบโตได้ดี และปริมาณของเพลี้ยแป้งสีชมพูลดลง เป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังแต่ให้เกษตรกรมีการเฝ้าระวังต่อไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับเพลี้ยแป้งสีเขียวและเพลี้ยแป้งแจ๊คเบียส อาจมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนในพื้นที่แห้งแล้ง ฝนไม่ตก การระบาดของเพลี้ยแป้งสีชมพูจะยังคงมีอยู่ ดังนั้นขอให้เกษตรกรเฝ้าระวังการระบาด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เคยมีการระบาด และดำเนินการควบคุมทันทีเมื่อพบเพลี้ยแป้ง ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1. การปล่อยแตนเบียนของหน่วยงานราชการและเอกชน จากวันที่ 1 ก.พ. 53 – 24 ส.ค. 54 รวมปล่อยทั้งหมด 6,009,234 คู่ ควบคุมพื้นที่ระบาด 120,184.68 ไร่ กรมส่งเสริมการเกษตร3,512,702คู่สถาบันพัฒนามันสำปะหลัง 1,334,300คู่ กรมวิชาการเกษตร 396,385คู่โรงแป้งมันฯ 10 บริษัท 765,847คู่ 2. การปล่อยแมลงช้างปีกใส ของกรมส่งเสริมการเกษตร รวมการปล่อยสะสมถึง วันที่24 ส.ค. 2554 จำนวน2,670,921ตัว ควบคุมพื้นที่ระบาด 26,709.21ไร่ ผลการปล่อย จากการติดตามประเมินผลในพื้นที่หลังการปล่อย 1 เดือน พบปริมาณเพลี้ยแป้งในพื้นที่ปล่อยลดลงและพบปริมาณไข่แมลงช้างปีกใสในธรรมชาติเพิ่มขึ้น

  6. แนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้งแนวทางการควบคุมการระบาดเพลี้ยแป้ง แผนการเฝ้าระวัง - ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนสำรวจติดตามติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 1 ครั้งจากแปลงติดตามสถานการณ์ แผนการเตือนภัย - เมื่อสำรวจพบเพลี้ยฯมีแนวโน้มการระบาดให้ประกาศเตือนภัยทางหอกระจายข่าวและวิทยุท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แนวทางการควบคุมเพลี้ยแป้งด้วยวิธีผสมผสาน (1) หลีกเลี่ยงช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมกับการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยแนะนำให้ปลูกมันสำปะหลังช่วงต้นฤดูฝน ไม่ควรปลูกในช่วงปลายฝน เพราะต้นมันสำปะหลังที่ปลูกใหม่อายุ 1 -4 เดือน หากมีสภาพอากาศแห้งแล้งจะอ่อนแอและถูกเข้าทำลายได้ง่าย (2) กรณีแปลงที่มีการระบาดรุนแรง ไถเก็บซากพืชไปเผาทำลาย และพักดินตัดวงจรการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยการปลูกพืชอื่นทดแทน (3) ใช้พันธุ์จากแหล่งเชื่อถือได้ ไม่มีเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังติดกับมาท่อนพันธุ์ (4) ไถตากดินหรือไถระเบิดดินดาน ตากทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน (5) แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีก่อนปลูก (6) สำรวจเพลี้ยแป้งทุกสัปดาห์ (7) หากพบเพลี้ยแป้งต้องรีบกำจัดและแจ้งเจ้าหน้าที่(8) ควบคุมเพลี้ยแป้งโดยการปล่อยแมลงช้างปีกใสและแตนเบียน

More Related