1 / 21

การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข

การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข

Download Presentation

การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไข การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงือนไขเป็นการระบุค่าเฉพาะของข้อมูลที่ต้องการเรียกดูอาจจะใช้เงื่อนไขเพื่อดึงดูข้อมูลของพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 3000 เป็นต้นดังนั้นการเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยมีโอเปอร์เรเตอร์ทางตรรกะหรือ โอเปอเรเตอร์ของ SQL เป็นต้นเป็นตัวประกอบในการแสดงเงื่อนไข การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขจะใช้วลีหรืออนุประโยค WHERE ต่อท้ายวลีหรืออนุประโยค FROM รูปแบบคำสั่ง

  2. รูปแบบ SELECT Column1, Column2... FROM table name WHERE CONDITION;

  3. ในอนุประโยค WHERE ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ชื่อคอลัมน์ โอเปอเรเตอร์การเปรียบเทียบซึ่งแบ่งออกเป็นโอเปอเรเตอร์ทางตรรกะ (LOGICAL OPERATER) โอเปอเรเตอร์ SQL รวมถึงการใช้โอเปอเรเตอร์ BOOLEAN ข้อมูลเฉพาะที่ต้องการแสดงเป็นเงื่อนไขของชื่อคอลัมน์ที่ระบุในข้อ 1 อาจเป็นค่าคงที่ (CONSTANT) กลุ่มของข้อมูลหรือ นิพจน์(EXPRESSON) หรือชื่อคอลัมน์อื่นที่ต้องการนำมาเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะที่เป็นประเภทตัวอักษรหรือ วัน เดือน ปี (DATE) เมื่อนำมาเป็นเงื่อนไขเฉพาะจะต้องมีเครื่องหมาย ‘ ‘ กำกับ

  4. ในอนุประโยค WHERE ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 1. ชื่อคอลัมน์ 2. โอเปอเรเตอร์การเปรียบเทียบซึ่งแบ่งออกเป็นโอเปอเรเตอร์ทางตรรกะ (LOGICAL OPERATER) โอเปอเรเตอร์ SQL รวมถึงการใช้โอเปอเรเตอร์ BOOLEAN 3. ข้อมูลเฉพาะที่ต้องการแสดงเป็นเงื่อนไขของชื่อคอลัมน์ที่ระบุในข้อ 1 อาจเป็นค่าคงที่ (CONSTANT) กลุ่มของข้อมูลหรือ นิพจน์(EXPRESSON) หรือชื่อคอลัมน์อื่นที่ต้องการนำมาเปรียบเทียบข้อมูลเฉพาะที่เป็นประเภทตัวอักษรหรือ วัน เดือน ปี (DATE) เมื่อนำมาเป็นเงื่อนไขเฉพาะจะต้องมีเครื่องหมาย ‘ ‘ กำกับ

  5. เครื่องหมายการแสดงการเปรียบเทียบค่าข้อมูลเครื่องหมายการแสดงการเปรียบเทียบค่าข้อมูล โอเปอเรเตอร์ความหมาย = เท่ากับ > มากกว่า >= มากเท่ากับ < น้อยกว่า <= น้อยกว่าเท่ากับ <> ไม่เท่ากับ

  6. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลทั้งตาราง ที่มีเงือนไขเงินเดือนมากกว่า 30000 คำสั่งที่ใช้คือ Select * From EMPLOYEE WHERE SALARY>30000;

  7. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูล รหัส ชื่อพนักงาน รหัสแผนก ของพนักงานที่มีตำแหน่ง MANAGER คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNUM, EMPNAME, DEPNO From EMPLOYEE WHERE POSITION ='MANAGER';

  8. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลชื่อพนักงานที่มีเงินเดือนต่อปีมากกว่า 300000 คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNAME, SALARY From EMPLOYEE WHERE SALARY*12>300000

  9. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง BETWEEN... AND.... BETWEEN...AND เป็นโอเปอรเรเตอร์ที่กำหนดเงื่อนไขของคอลัมน์เป็นค่าระหว่างค่าสองค่า การใช้ BETWEEN...AND จะแสดงต่อท้ายชื่อคอลัมน์ที่ถูกระบุให้เป็นเงื่อนไข

  10. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลที่แสดงชื่อ และเงินเดือนของพนักงานที่มีเงินเดือนอยู่ระหว่าง 20000 กับ 50000 คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNAME, SALARY From EMPLOYEE WHERE SALARY BETWEEN 20000 AND 50000; หรือ

  11. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง IN IN เป็นโอเปอรเรเตอร์ที่ใช้กับเงื่อนไขของคอลัมน์ที่ต้องการระบุเงื่อนไขเป็นกลุ่มของข้อมูลโดย IN จะแสดงต่อท้ายชื่อคอลัมน์ที่ถูระบุเป็นเงื่อนไข และกลุ่มของข้อมูลที่เป็นข้อมูลเฉพาะของคอลัมน์ที่เป็นเงื่อนไขนี้ จะระบุในวงเล็บ และมีเครื่องหมาย , คั่น

  12. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลรหัส ชื่อ เงินเดือน และรหัสผู้บังคับบัญขาของพนักงานที่มีรหัสผู้บังคับบัญชาเป็น 1002 2002 และ 3004 คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNUM, EMPNAME,SALARY,MRGNO From EMPLOYEE WHERE MRGNO IN ('1002', '2002', '3004'); หรือ

  13. เช่น ต้องการเรียกดูข้อมูลของพนักงานที่อยู่แผนกที่มีรหัส 20 และ 40 โดยให้แสดงเรียงตามเงินเดือนจากมากไปหาน้อย คำสั่งที่ใช้คือ Select * From EMPLOYEE WHERE DEPNO IN('20', '40') ORDER BY SALARY DESC;

  14. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง LIKE LIKE เป็นโอเปอรเรเตอร์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลของคอลัมน์ที่เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษรเท่านั้น โดยยังไม่ทราบค่าที่แน่นอนทั้งหมดของข้อมูลที่จะค้นหา หรือรู้เพียงบางตัวอักษรเท่านั้น โอเปอเรเตอร์ LIKE จะระบุต่อท้ายชื่อคอลัมน์ที่เป็นเงื่อนไข โดยจะใช้สัญญาลักษณ์ช่วยในการค้นหาข้อมูลเป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Wild Card (อักขระพิเศษ) ดังนี้ ตัวอักขระพิเศษความหมาย * แทนอักษรใดๆ กี่ตัวก็ได้ ? แทนอักษรใดๆ 1 ตัว

  15. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้คำสั่ง LIKE LIKE เป็นโอเปอรเรเตอร์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลของคอลัมน์ที่เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษรเท่านั้น โดยยังไม่ทราบค่าที่แน่นอนทั้งหมดของข้อมูลที่จะค้นหา หรือรู้เพียงบางตัวอักษรเท่านั้น โอเปอเรเตอร์ LIKE จะระบุต่อท้ายชื่อคอลัมน์ที่เป็นเงื่อนไข โดยจะใช้สัญญาลักษณ์ช่วยในการค้นหาข้อมูลเป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Wild Card (อักขระพิเศษ) ดังนี้ ตัวอักขระพิเศษความหมาย * แทนอักษรใดๆ กี่ตัวก็ได้ ? แทนอักษรใดๆ 1 ตัว

  16. เช่น ต้องการเรียกดูข้อชื่อพนักงานที่ขึ้นต้นด้วยอักษร S อย่างเดียว คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNAME From EMPLOYEE WHERE EMPNAME LIKE"S*"; หรือ

  17. เช่น ต้องการเรียกดูข้อชื่อพนักงานที่ลงท้ายด้วยอักษร E อย่างเดียว คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNAME From EMPLOYEE WHERE EMPNAME LIKE"*E"; หรือ

  18. เช่น ต้องการเรียกดูข้อชื่อพนักงานที่มีอักษร Hเป็นตัวที่2ตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ คำสั่งที่ใช้คือ Select EMPNAME From EMPLOYEE WHERE EMPNAME LIKE"?H*"; หรือ

  19. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้คำสั่งIS NULL IS NULL เป็นโอเปอเรเตอร์ที่ใช้ในแสดงค่าของคอลัมน์ที่มีค่าเป็นค่าว่าง หรือไม่มีค่า เช่น ให้แสดงชื่อคอลัมน์ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชา คำสั่งที่ใช้คือ Select * From EMPLOYEE WHERE MRGNO IS NULL;

  20. นอกจากโอเปอเรเตอร์ของSQL ทั้ง 4 ที่กล่าวมาข้างต้น โอเปอเรเตอร์เหล่านี้ยังสามารถใช้เป็นเงื่อนไขในเชิงปฏิเสธ โดยใช้ NOT นำหน้าดังนี้ โอเปอเรเตอร์ความหมาย NOT BETWEEN ... AND ไม่มีค่าอยู่ระหว่างค่า สองค่าที่ระบุ NOT IN ไม่มีค่าที่เป็นกลุ่มข้อมูล ที่ระบุ NOT LIKE ไม่มีค่าตามตัวอักษรหรือ สัญญาลักษณ์ IS NOT NULL ไม่มีค่าเป็นค่าว่าง

  21. การเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้โอเปอเรเตอร์บูลีนการเรียกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขโดยใช้โอเปอเรเตอร์บูลีน การเรียกดูข้อมูลที่มีเงื่อนไขมากกว่าหนึ่งเงื่อนไข สามารถใช้โอเปอเรเตอร์บูลีนเป็นตัวเชื่อมโยงเงื่อนไขดังกล่าว โอเปอเรเตอร์บูลีน ประกอบด้วย AND ใช้เชื่อมเงื่อนไขสองเงื่อนไข โดยข้อมูลที่จะแสดง ออกมาจะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขทั้งสอง OR ใช้เชื่อมเงื่อนไขสองเงื่อนไข โดยข้อมูลที่จะแสดง ออกมาจะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง NOT ใช้แสดงหน้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุ

More Related