1 / 32

SLAPP

ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย ในการจัดการกับการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ. LAW. SLAPP. Strategic Lawsuit against Public Participation. การดำเนินคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ. เนื้อหาการนำเสนอ. นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs. 01. 0 2. 0 3.

judithb
Download Presentation

SLAPP

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย ในการจัดการกับการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ LAW SLAPP Strategic Lawsuit against Public Participation การดำเนินคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ

  2. เนื้อหาการนำเสนอ นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs 01 02 03 04 05 สถานการณ์ SLAPPs ในประเทศไทย กลไกทางกฎหมายในการจัดการ SLAPPs ในประเทศไทย บทสรุปและข้อเสนอแนะ หลักการและแนวทางในการจัดการกับคดี SLAPPs

  3. SLAPP 01 นิยามและความคิดทั่วไปเกี่ยวกับ SLAPPs

  4. นิยามความหมาย • SLAPPs = Strategic Lawsuit against Public Participation = การฟ้องคดียุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมสาธารณะ • SLAPPs ได้รับการศึกษาจริงจังโดย Penelope Cananและ George Pring • SLAPPs เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ(Judicial Harassment) โดยเป็นการมุ่งคุกคามเฉพาะเจาะจงที่การมีส่วนร่วมสาธารณะหรือการใช้สิทธิทางการเมืองของประชาชน • การฟ้องคดี SLAPPs เป็นไปเพื่อข่มขู่ มุ่งตอบโต้ หรือฟ้องเพื่อหยุดลงโทษการพูด หรือต่อต้านกิจกรรมทางการเมือง

  5. การฟ้องคดี SLAPPs จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงใน 3 เรื่องสำคัญ • การแปลงข้อพิพาท (Dispute Transformation) • การแปลงเวทีการต่อสู้ (Forum Transformation) • การแปลงประเด็น (Issue Transformation) • ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย • เวทีของกระบวนการยุติธรรมหรือศาล • ความเสียหายต่อส่วนตัวของผู้ฟ้องคดี • ข้อโต้แย้งทางการเมือง • เวทีสาธารณะ • ความเสียหายต่อสาธารณะ VS

  6. เกณฑ์การพิจารณาคดีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs เดิม CananและPringได้ใช้หลักเกณฑ์ 4 ประการ เพื่อจำแนกกรณีศึกษาในงานวิจัยของพวกเขา เป็นการฟ้องคดีแพ่ง รวมถึงการฟ้องแย้ง หรือการร้องสอด เป็นการฟ้องต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนอกภาครัฐ (NGOs) • จากการสื่อสารที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อการดำเนินการหรือผลลัพธ์ทางรัฐบาล (government action or outcome) เกี่ยวกับสาธารณะหรือประเด็นที่มีความสำคัญทางสังคม Note : ปัจจุบัน คดี SLAPPs ได้ขยายขอบเขตคลุมลักษณะของคดีประเภทอื่นนอกจากคดีแพ่ง รวมถึงฟ้องต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดๆไม่เฉพาะแต่ NGOs เช่น ฟิลิปปินส์ กำหนดให้คดี “SLAPPs” ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีทางแพ่ง อาญา และปกครอง และครอบคลุการฟ้องบุคคลหรือหน่วยงใดๆที่สังหักหน่วยงานรัฐด้วยเป็นต้น

  7. เกณฑ์การพิจารณาคดีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs ในรายงานชิ้นนี้จึงกำหนดนิยามของ SLAPPs ว่าคือ การฟ้องคดีเพื่อคุกคามการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ หรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ เป็นการฟ้องคดีแพ่ง การแจ้งความหรือฟ้องอาญา ฟ้องคดีปกครอง เป็นการฟ้องต่อบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร สมาคม หรือหน่วยงานใดๆ • จากการการใช้สิทธิหรือสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ (การใช้เสรีภาพในการพูด การแสดงออก หรือเสรีภาพสื่อ หรือสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ หรือสิทธิในการร้องเรียนต่อรัฐบาล) เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือประเด็นที่มีความสำคัญทางสังคม (สิ่งใดๆที่เกี่ยวข้องกับนัยสำคัญ เป็นประโยชน์ มีความสำคัญ หรือเกี่ยวกับสวัสดิภาพสาธารณะ สังคมหรือชุมชน )

  8. ข้อแนะนำเพื่อการพิจารณาว่าคดีใดเป็น SLAPPs ผู้ฟ้องคดี SLAPPs จะไม่ระบุออกมาตรงๆว่าคดีที่ฟ้องนั้นเป็น SLAPPs จึงมีข้อแนะนำสำหรับการพิจารณาดังนี้ การกระทำที่ถูกกล่าวหาเป็นการกระทำที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญหรือไม่? ผู้ถูกฟ้องเป็นกลุ่มหรือประชาชนที่กระตือรือร้นทางการเมืองและการมีส่วนร่วมสาธารณะหรือไม่? • มีความพยายามใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางเศรษฐกิจหรืออำนาจรัฐกดดันผู้ถูกฟ้องหรือไม่? ผู้ฟ้องคดีมีประวัติการดำเนินคดีเพื่อข่มขู่นักวิจารณ์หรือนักเคลื่อนไหวหรือไม่? มีการเรียกร้องค่าเสียหายในจำนวนที่สูงเกินจริง ไม่ได้สัดส่วนกับความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นหรือไม่? ผู้ฟ้องไม่ได้ให้หลักฐานที่แท้จริงเพื่อแสดงว่าผู้ถูกฟ้องมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดใช่หรือไม่ ผู้ฟ้องคดีมีความพยายามประวิงคดีออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้หรือไม่?

  9. ความแตกต่างระหว่างคดี SLAPPs กับคดีทั่วไป • คดี SLAPPs มีลักษณะแตกต่างจากคดีสามัญทั่วไป เพราะผู้ฟ้องคดีไม่ได้ต้องการแสวงหาความยุติธรรม ไม่ได้คาดหวังถึงผลของคดี • แต่มีเป้าหมายเพื่อข่มขู่ หรือกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนแรงและหยุดวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านไป ด้วยการดูดทรัพยากร บังคับให้ฝ่ายตรงข้ามใช้จ่ายเงินเพื่อต่อสู้คดี ลดทอนประสิทธิภาพในการทำงาน การทำกิจกรรม เวลา สร้างความกดดันทางอารมณ์และลดทอนกำลังใจ • คดี SLAPPs ไม่เพียงแต่หยุดยั้งการมีส่วนร่วมสาธารณะที่กำลังดำเนินอยู่เท่านั้น แต่ยังสร้างความกลัว ความท้อใจที่จะทำกิจกรรมหรือการมีส่วนร่วมสาธารณะในอนาคต • และขยายความหวาดกลัวและส่งข้อความแห่งการข่มขู่ต่อสังคมโดยรวม ซึ่งในระยะยาวย่อมส่งผลเสียต่อระบอบประชาธิปไตย

  10. 02 สถานการณ์ SLAPPs ในประเทศไทย

  11. ภาพรวมของข้อมูลตามระยะเวลาภาพรวมของข้อมูลตามระยะเวลา • จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆและนำมาคัดกรองแล้ว (ไม่ได้แทนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด แต่คือข้อมูลที่ค้นพบ) นับแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน (31 พฤษภาคม 2562) พบกรณีที่เข้าข่ายเป็น SLAPPs อย่างน้อย 212 กรณี • ปี 2556 พบคดี SLAPPs มีจำนวนเพิ่มอย่างมีนัยะสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากข้อพิพาทกรณีเหมืองแร่ และกรณีอานดี้ ฮอลล์ • ปี 2557 คดีเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจากกรณีข้อพิพาทเหมืองแร่ที่ยังดำเนินไป ประกอบกับเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

  12. ภาพรวมข้อมูลตามประเภทคดีและการดำเนินคดีภาพรวมข้อมูลตามประเภทคดีและการดำเนินคดี • ในจำนวนกรณีที่รวบรวมไว้ 212 กรณี มี • คดีแพ่ง 9 กรณี • คดีแพ่งและอาญา 7 กรณี • คดีอาญา 196 กรณี • การยื่นฟ้องคดีต่อศาลเอง 59 กรณี • คดีแพ่ง 9 กรณี ทั้งหมดยื่นฟ้องโดยบริษัทเอกชน • คดีแพ่งและอาญา 7 กรณี ส่วนใหญ่ยื่นฟ้องโดยบริษัทเอกชน มีกรณีเดียวที่ฟ้องโดยเจ้าหน้าที่รัฐ • คดีอาญา 43 กรณี ส่วนใหญ่เป็นการฟ้องโดยบริษัทเอกชน รองลงมาเป็นบุคคลในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ เช่น ข้าราชการ บอร์ดรัฐวิสาหกิจ แพทย์ ฯลฯ โดยหน่วยงานรัฐ 2 กรณี และรัฐวิสาหกิจ 2 กรณี • ร้องทุกหรือกล่าวโทษ 153 กรณี • ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการตามรูปแบบของการดำเนินคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายโดยเฉพาะการกล่าวโทษโดย คสช. และ ปอท. นอกนั้นเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ เช่น กองทัพเรือ, หน่วยงานทหาร, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, สำนักงาน กกต. ฯลฯ • มีการร้องทุกข์บริษัทเอกชน เพียง 11 กรณี บางกรณีร้องทุกข์ไว้ แต่สุดท้ายก็ใช้วิธีฟ้องเอง

  13. ผู้ที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องคดีผู้ที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องคดี

  14. ประเด็นที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีประเด็นที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี

  15. การกระทำที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีการกระทำที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดี

  16. ความผิดทางกฎหมายที่ถูกนำมาฟ้องคดีความผิดทางกฎหมายที่ถูกนำมาฟ้องคดี สัดส่วนกฎหมายปกติกับกฎหมายเฉพาะกิจ กฎหมายปกติ

  17. รูปแบบการสร้างภาระ • การฟ้องผู้เกี่ยวข้องในปริมาณมากๆไว้ก่อน • อุปสรรคจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การปล่อยชั่วคราว การสนับสนุนจากกองทุนยุติธรรม • 05 • 04 • 03 • การกระจายความกลัวโดยการไล่ฟ้องผู้สนับสนุนด้วยข้อหาร้ายแรง • 02 • ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีในเขตอำนาจศาลที่ไกลจากภูมิลำเนาของจำเลย • 01 • มีการฟ้องจากเหตุการณ์เดียวกัน เป็นหลายคดี

  18. 03 หลักการและแนวทางในการจัดการกับคดี SLAPPs

  19. กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับคดี SLAPPs สิทธิทางการเมือง สิทธิในชื่อเสียง/การเข้าถึงศาล VS ผู้ฟ้อง (เอกชน) ความมั่นคง ฯลฯ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน/ การร้องเรียน/การเข้าถึงศาล ผู้ถูกฟ้อง เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการร้องเรียน ร้องทุกข์ สิทธิชุมชน ประโยชน์สาธารณะ ผู้ฟ้อง (รัฐ) ความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน

  20. กฎหมาย Anti - SLAPPs ในต่างประเทศ • ทำให้ข้อพิพาทย้ายจากศาลกลับมาสู่เวทีทางการเมืองหรือสาธารณะโดยเร็วที่สุด • ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิทางการเมืองกับสิทธิของบุคคลในการฟ้องร้องคดีโดยสุจริตเพื่อเยียวยาความเสียหายด้วย • ข้อโต้แย้งทางกฎหมาย • เวทีของกระบวนการยุติธรรมหรือศาล • ความเสียหายต่อส่วนตัวของผู้ฟ้องคดี • ข้อโต้แย้งทางการเมือง • เวทีสาธารณะ • ความเสียหายต่อสาธารณะ VS

  21. กฎหมาย Anti - SLAPPs ในต่างประเทศ • หลักเกณฑ์สำคัญของกฏหมายจะประกอบด้วย • ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมาย • การอนุญาตให้จำเลยมีช่องทางเฉพาะในการยื่นคำร้องเพื่อให้ยกฟ้องตั้งแต่เริ่มต้น (อาจจะเรียกว่า Motion to strike/a special motion to strike/motion to dismiss/) ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมาย • กำหนดให้ต้องมีการไต่สวนคำร้องอย่างเร่งด่วนการพักหรือจำกัดการพิจารณา การกำหนดกระบวนการไต่สวน การอุทธรณ์ ฯลฯ • กำหนดภาระการพิสูจน์และหลักเกณฑ์การพิสูจน์ของคู่กรณี • กำหนดการชดใช้และบทลงโทษสำหรับคู่กรณี ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงค่าเสียหายเชิงลงโทษ • เรื่องอื่นๆอาทิ การกำหนดให้อัยการสูงสุดหรือหน่วยงานรัฐเข้าแทรกแซงช่วยเหลือคดีแก่ผู้ถูกฟ้อง การรายงานผลคดี กฎหมาย AntiSLAPP หรือมักเรียกว่ากฎหมายคุ้มครองการมีส่วนร่วมสาธารณะ (The Citizens Participation Act / The Public speech protection act/Protection of Public Participation Act) ถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันมี 32 มลรัฐที่มีกฎหมาย) ส่วนประเทศอื่นๆก็ได้แก่ แคนาดา(Quebec, ontario) และออสเตรเลีย (Australian Capital Territory) ในอาเซียนก็มีฟิลิปปินส์

  22. 04 กลไกทางกฎหมายในการจัดการ SLAPPs ในประเทศไทย

  23. คดีอาญา • การต้องพิสูจน์และยกฟ้องคดีโดยรวดเร็ว ชั้นศาล ชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวน/พนักงานอัยการ ชั้นสั่งคดี พนักงานอัยการ • ชั้นการตรวจคำฟ้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161/1 มีข้อจำกัดไม่ใช้กับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์และไม่มีขั้นตอนที่ชัดเจน • ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/2 มีข้อจำกัดไม่ใช้กับคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ • กลั่นกรองสำนวน ตรวจสอบค้นหาความจริง สอบสวนเพิ่มเติม สั่งไม่ฟ้อง • สั่งไม่ฟ้องคดีอาญาเพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะฯ ตามพรบ.องค์กรอัยการฯ มาตรา 21 ประกอบระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ฯ • รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเพื่อทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความผิดที่มีการกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิด และพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และทำความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง การชดใช้และการลงโทษ : คดีอาญาไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องสั่งจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ ค่าเสียหาย รวมถึงมาตรการลงโทษอื่นแก่คู่กรณี

  24. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 “ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ หากความปรากฏต่อศาลเองหรือมีพยานหลักฐานที่ศาลเรียกมาว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจำเลยหรือโดยมุ่งหวังผลอย่างอื่นยิ่งกว่าประโยชน์ที่พึงได้โดยชอบ ให้ศาลยกฟ้อง และห้ามมิให้โจทก์ยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันนั้นอีก การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาอื่นซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรด้วย”

  25. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165/2 “ในการไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยอาจแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูล และจะระบุในคำแถลงถึงตัวบุคคล เอกสาร หรือวัตถุที่จะสนับสนุนข้อเท็จจริงตามคำแถลงของจำเลยด้วยก็ได้ กรณีเช่นว่านี้ ศาลอาจเรียกบุคคล เอกสาร หรือวัตถุดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งคดีได้ตามที่จำเป็นและสมควร โดยโจทก์และจำเลยอาจถามพยานศาลได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล”

  26. คดีแพ่ง • การต้องพิสูจน์และยกฟ้องคดีโดยรวดเร็ว • ไม่มีกลไกที่ชัดเจน • การชดใช้และการลงโทษ • หากคู่ความฝ่ายใดแพ้คดี ศาลจะสั่งให้จ่ายค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดี หากโจทก์ชนะคดี จำเลยต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ หากจำเลยชนะคดี โจทก์จะต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำเลย • ค่าใช่จ่ายดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องเสียไปจากการดำเนินคดี ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าขาดประโยชน์จากการถูกดำเนินคดี ฯลฯ ซึ่งหากผู้ถูกฟ้องคดีต้องการที่จะให้โจทก์ชดใช้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะต้องไปดำเนินคดีทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายต่างหาก

  27. LAW LAW 05 บทสรุปและข้อเสนอแนะ SLAPP

  28. สรุปและข้อสังเกตประการสำคัญสรุปและข้อสังเกตประการสำคัญ องค์กรหรือหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่ใช้อำนาจทางปกครอง มีบทบาทสำคัญในการดำเนินคดี SLAPPs คดี SLAPPs ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นคดีอาญาและก่อให้เกิดภาระมากกว่าคดีแพ่ง • คดีส่วนใหญ่ (จากข้อมูลที่สำรวจพบ) เข้ามาทางช่องทางของพนักงานอัยการ

  29. ข้อเสนอแนะ : แนวทางปฏิบัติคดีอาญา รัฐหรือหน่วยงานรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจ ควรยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะ 1 2 3 ชั้นสอบสวน ชั้นสั่งคดี ชั้นศาล • ควรกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการใช้อำนาจตามมาตรา 161/1 • ควรใช้กลไกไต่สวนมูลฟ้องทั้งในคดีที่ราษฏรเป็นโจทก์และคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โดยเฉพาะหากมีการร้องขอจากผู้ต้องหาว่าคดีนั้นเข้าข่ายเป็นคดี SLAPPs • พนักงานอัยการ ควรพิจารณานำ พ.ร.บ. องค์กรอัยการฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 ประกอบระเบียบ อสส. ว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนฯ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 มาพิจารณาปรับใช้กับคดี SLAPPs ให้มากขึ้น • พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ควรร่วมกันตรวจสอบค้นหาความจริงและนำหลักการสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญมาพิจารณาประกอบ เพื่อกลั่นกรองและยุติคดีโดยเร็ว • ไม่เพิ่มภาระโดยไม่จำเป็นแก่ผู้ถูกฟ้อง กองทุนยุติธรรมควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคดี SLAPPs

  30. ข้อเสนอแนะ : เชิงนิติบัญญัติ สารบัญญัติ • การแก้ไขกฎหมายหรือลดทอดความเป็นอาชญากรรมในความผิดบางเรื่อง อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ • ยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา • แก้ไขพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 • ทบทวนความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, 215, 216 เป็นต้น

  31. วิธีสบัญญัติ มีความจำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายเพื่อประสิทธิภาพในการต่อต้าน SLAPPs โดยการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ หรือร่างกฎหมายใหม่ (แพ่งหรืออาญา) ควรนำแนวทางAnti SLAPPs มาพิจารณา ดังนี้ การชดใช้และการลงโทษ การไต่สวน คำร้อง ขอบเขตการคุ้มครอง ช่องทางยื่นคำร้องให้ยกฟ้อง ภาระการพิสูจน์ ควรให้การคุ้มครองในขอบเขตกว้าง ให้คุ้มครองการดำเนินคดีจากการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะหรือการดำเนินการอื่นใดเพื่อสนับสนุนการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะทั้งหมด ควรกำหนดให้มีการไต่สวนอย่างเร่งด่วน หรือกำหนดกรอบเวลาในการไต่สวนคำร้องไว้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความล่าช้าในการดำเนินการการกำหนดเรื่องการพักหรือจำกัดการพิจารณา กระบวนการไต่สวน รวมทั้งการอุทธรณ์ ฯลฯ กำหนดภาระการพิสูจน์และหลักเกณฑ์การพิสูจน์ของคู่กรณีให้ชัดเจนว่าต้องพิสูจน์ถึงขนาดไหน ทั้งฝ่ายที่ยื่นคำร้อง (จำเลยในคดีหลัก) และฝ่ายที่ต้องตอบโต้คำร้อง (โจทก์ในคดีหลัก) กฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดให้สามารถยื่นคำร้องขอยุติการดำเนินคดีได้ จึงควรมีการกำหนดขั้นตอนนี้ในกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในคดีอาญาหรือคดีแพ่ง ทั้งนี้ ควรกำหนดกรอบเวลาในการยื่นคำร้องให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ควรกำหนดการชดใช้ให้แก่ผู้ถูกฟ้องเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและค่าทนายความที่สมเหตุสมผล ค่าเสียหายและการลงโทษอื่นๆ เพื่อการยับยั้ง และควรกำหนดให้ชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี ในกรณีที่ศาลปฏิเสธคำร้องและเห็นว่าคำขอยุติคดีไม่เหมาะสมหรือเพื่อประวิงเวลา

  32. เรื่องอื่นๆ • การกำหนดกลไกช่วยเหลือ รวมถึงการให้พนักงานอัยการหรือหน่วยงานรัฐเข้าแทรกแซงช่วยเหลือคดีแก่ผู้ถูกฟ้อง • การรายงาน • ควรมีการกำหนดให้ในคดีที่ผู้ยื่นฟ้องเป็นผู้ทำสัญญากับรัฐบาล หากพิสูจน์และศาลยกฟ้องเพราะเป็นคดี SLAPPs แล้ว ควรให้มีการส่งคำวินิจฉัยของศาลไปยังหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่ทำธุรกิจผู้ทำสัญญากับรัฐบาลนั้นด้วย • ในคดีที่ฟ้องโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งศาลตัดสินว่าเป็น SLAPPs หน่วยงานของรัฐนั้นจะต้องรายงานผลการตัดสินต่อคณะรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร • ข้อเสนอเพิ่มเติมกรณีคดีอาญา • กำหนดบทบาทของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ โดยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนและหรือพนักงานอัยการ เมื่อได้รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษใดๆ หรือในการดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีของบุคคลที่ถูกจับกุม พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการผู้ทำการสอบสวนมีหน้าที่พิจารณาโดยทันทีว่าการร้องทุกข์นั้นเป็น SLAPPs หรือไม่ หากพบว่ามีทำนองเดียวกับคดี SLAPPs ให้สั่งยุติคดีทันที • ควรมีการกำหนดสิทธิในการยื่นคำร้องให้ยุติคดีและขั้นตอนต่างๆในชั้นพนักงานอัยการให้ชัดเจนด้วย

More Related