1 / 30

BC 427: การเรียนครั้งที่ 5

BC 427: การเรียนครั้งที่ 5. โดย อ.เพ็ญจิรา คันธวงศ์. แผนการสอนสำหรับการเรียนครั้งที่ 5. ทบทวนเนื้อหาในการเรียนครั้งที่ 4 แจ้งเรื่องการขยายเวลาส่งงานกลุ่มแบบสมบูรณ์ แจ้งเรื่องเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบปฎิบัติ Time Value Of Money (ต่อ).

judith
Download Presentation

BC 427: การเรียนครั้งที่ 5

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. BC 427: การเรียนครั้งที่ 5 โดย อ.เพ็ญจิรา คันธวงศ์

  2. แผนการสอนสำหรับการเรียนครั้งที่ 5 • ทบทวนเนื้อหาในการเรียนครั้งที่ 4 • แจ้งเรื่องการขยายเวลาส่งงานกลุ่มแบบสมบูรณ์ • แจ้งเรื่องเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบปฎิบัติ • Time Value Of Money (ต่อ)

  3. แจ้งเรื่องการเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อสอบในการเรียนครั้งที่ 7 • นำแผ่นดิสก์เปล่า 1 แผ่น Format แล้ว ปลอดไวรัส เขียนชื่อ - นามสกุล เลขที่ในห้อง เลขที่ Section คำอธิบาย Section ของตัวเองลงบนแผ่นก่อนเข้าห้องสอบให้พร้อมไม่อนุญาตให้ยืมเพื่อน • อนุญาตให้นำกระดาษจด (Cheat Note) เข้ามาดูได้เพียง 1 แผ่น (หน้าหลัง) เท่านั้นด้วยกระดาษขนาด A4 ส่วนสมุดจด หรือ Sheet อื่นๆ ไม่อนุญาตเด็ดขาด

  4. หากมีการ copy file กัน ดูกัน ปรึกษากัน ยืมแผ่นดิกส์กัน คุยกัน หรือ ผิดกติกาอื่นใดๆ จะมีการหักคะแนนครั้งละ 3 คะแนน • คะแนนเต็มสำหรับการสอบปฏิบัติ คือ 20 คะแนน สอบเนื้อหาตั้งแต่การเรียนครั้งที่ 1 ถึง การเรียนครั้งที่ 6 ในส่วนของภาคปฏิบัติ

  5. Time Value Of Money (ทบทวน และ ต่อ) 1. Single Sum • FV, PV, Rate 3. Annuity • FV Annuity, PV Annuity • Intrayear Compounding • Nper 2. Mixed Cashflow Stream

  6. NPER • การคำนวณ เพื่อหาจำนวนงวด หรือ Number of periods ในเรื่อง Time Value of Money • คำถาม: นักศึกษาต้องการซื้อบ้านในราคา 1,000,000 บ. โดยชำระเงินดาวน์ 15% ส่วนที่เหลือผ่อนชำระทุกสิ้นเดือน เดือนละ 50,000 บ. อัตราดอกเบี้ย 24% ต่อปี นักศึกษาจะต้องผ่อนชำระทั้งสิ้นกี่งวด และกี่ปี

  7. การหา NPER ทำได้โดยใช้ฟังก์ชัน =NPER(rate,payment,present value,future value,type) (ดู Class5_TVM(Cont) - “ต้องการบ้าน” และ “ต้องการบ้านInput”)

  8. 3. A Mixed Cashflow Stream • Present Value (PV) ของ a mixed cashflow คือ เงินสดที่มีจำนวนแตกต่างกัน โดยได้รับมาหรือจ่ายออกไป ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น คุณได้รับเงิน 1,000 บ.ใน 1 ปีจากตอนนี้ และได้รับอีก 2,000 บ.ในอีก 2 ปีข้างหน้า และ 3,000 บ. ในอีก 3 ปีข้างหน้า และอีก 4,000 บ.ในอีก 4 ปีข้างหน้า

  9. ในการหา The Present Value of a Mixed Cashflow Stream เป็นสิ่งสำคัญเพราะบริษัทต่างๆ ใช้เทคนิคนี้ในการวิเคราะห์ว่า บริษัทได้กำไรจากการลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งหรือไม่ ทำได้โดยใช้สูตร =NPV(rate, inflow 1, inflow 2, …, inflow 29)

  10. inflow = การชำระเงินหลายๆ งวด เมื่อจำนวนเงินแต่ละครั้งแตกต่างกัน NPV = มาจากคำว่า Net Present Value = มูลค่าสุทธิ ณ ปัจจุบัน คำถามคุณได้รับเงิน 1,000 บ.ใน 1 ปีจากตอนนี้ และได้รับอีก 2,000 บ.ในอีก 2 ปีข้างหน้า และ 3,000 บ. ในอีก 3 ปีข้างหน้า และอีก 4,000 บ.ในอีก 4 ปีข้างหน้า ถ้าอัตราผลตอบแทนในขณะนั้นคือ 10% อยากทราบว่า

  11. เงินดังกล่าวจะมีมูลค่าเท่าใดในเวลาปัจจุบัน (ดู Class5_TVM(Cont) “NPV ได้เงิน” และ “NPV ได้เงิน Input”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินรายงวดนั้น จะมีมูลค่าเป็น 7,547.98 บ. ณ เวลาปัจจุบัน คำถาม คุณกำลังวางโครงการที่จะลงทุน ซึ่งคาดว่าในสิ้นปีแรกจะต้องเสียเงิน 55,000 บ. และสิ้นปีต่อมาได้

  12. ได้เงิน 95,000 บ. ตามด้วย 140,000 บ. และ 185,000 ณ สิ้นปีที่สอง สามและสี่ นอกจากนั้น คุณจะต้องลงทุนเป็นเงิน 250,000 บ. โดยจ่ายในตอนต้นปีที่ 1 และค่าอัตราผลตอบแทนเป็น 12% สำหรับการประเมินผลการลงทุนนี้ อยากทราบว่า ณ เวลาปัจจุบัน มูลค่าของเงินดังกล่าวเป็นเท่าไร (ดู Class5_TVM(Cont) - “NPVลงทุน” และ “NPVลงทุนInput”)

  13. ผลลัพธ์ที่ได้คือ การลงทุนดังกล่าว จะมีมูลค่าจะติดลบ (ขาดทุน) เป็นเงิน6,153.65 บ. ณ เวลาปัจจุบัน แสดงว่า คุณจะไม่ได้รับกำไรจากการลงทุนในครั้งนี้ • สำหรับ inflow สามารถมีได้มากถึง 29 ตัว (แต่จริงๆ แล้วจำนวนนี้จะมีมากเท่าไรก็ได้ เมื่อนำเรื่องค่าอาร์เรย์ มาเป็นอาร์กิวเมนต์ในสูตร - ดูข้อมูลเพิ่มเติม “คู่มือการใช้งาน Microsoft Excel สำหรับ Window 95 หน้า 226”)

  14. NPV แตกต่างจาก PV ใน 2 แง่หลักๆ คือ 1. การหา PV ใช้ PV = จำนวนเงินเพียงก้อนเดียว ที่รับหรือจ่าย ณ เวลาปัจจุบัน หรือ payment = จำนวนเงินหลายๆ จำนวน ที่รับหรือจ่ายในจำนวนที่เท่ากัน และระยะเวลาในการจ่ายก็เท่ากันด้วย แต่ NPV ใช้ inflow = จำนวนเงินหลายๆ จำนวน ที่รับหรือจ่ายในจำนวนที่แตกต่างกัน

  15. 2. การหา PV อนุญาตให้การจ่ายและการรับเกิดขึ้นที่ตอนต้นงวดหรือสิ้นงวดได้ โดยระบุได้ที่ค่า Argument “type” ว่าจะเป็น “0 = ที่ตอนสิ้นสุดของงวด” หรือ ว่าจะเป็น “1 = ที่ตอนเริ่มต้นของงวด” แต่ NPV ไม่มีการให้ระบุค่า “type” ดังนั้น เมื่อใช้ฟังก์ชัน NPV จะถือว่าการจ่ายและ การรับทั้งหมดต้องเกิดขึ้นที่ตอนสิ้นสุดของงวด

  16. ถ้ามีจำนวนค่าใช้จ่าย ที่เป็นหนึ่งในอาร์กิวเมนต์ inflow ของฟังก์ชันต้องชำระตอนต้นงวดของงวดแรก ผู้ใช้ฟังก์ชัน NPV ไม่ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนั้นเป็น inflow ตัวหนึ่งของฟังก์ชัน หรือ ไม่ควรรวมอยู่ใน Argument ของฟังก์ชัน ดังนี้ =NPV(12%, -250000 ,-55000,95000, 140000,185000) -------> ผิด...สำหรับโจทย์ข้างต้น แต่ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนี้ นอกวงเล็บแทน =NPV(12%,-55000,95000,140000, 185000) -250000 -------> ถูก

  17. ในทางตรงกันข้าม ถ้าค่าใช้จ่ายนี้จะต้องจ่ายออกไปตอนสิ้นสุดของงวดแรก ผู้ใช้ฟังก์ชัน NPV ควรจะรวมค่าใช้จ่ายนี้เป็นลบ โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของอาร์กิวเมนต์ inflow ตัวแรก เช่น ถ้าเปลี่ยนโจทย์ในคำถามที่กล่าวมาแล้ว เป็น …คุณจะต้องลงทุนเป็นเงิน 250,000 บ. โดยจ่ายในตอนสิ้นปีที่ 1 ….. จะได้ฟังก์ชัน ดังนี้ =NPV(12%,(-250000-55000),95000, 140000,185000) -------> ถูก...สำหรับโจทย์ที่แก้แล้ว

  18. PRESENT VALUE OF A GROWING ANNUITY • ในการหา Present Value ของ a growing(เพิ่มขึ้น) annuity(เงินเป็นงวดๆ) จะใช้ฟังก์ชัน NPV คำถาม คุณถูกรางวัลล็อตเตอรี่โดยคุณจะได้รับเงินเป็นจำนวน 100,000 บ. ทุกปี ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง ปีที่ 4 และจะได้รับอีก 200,000 บ. ในปีที่ 5 ถึงปีที่ 7 หากอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 9% อยากทราบว่า เงินดังกล่าวนี้มีมูลค่าเท่าใดสำหรับคุณ ณ เวลาปัจจุบัน

  19. (ดู Class5_TVM(Cont) - “ล็อตเตอรี่” และ “ล็อตเตอรี่Input”) ผลลัพธ์ที่ได้คือ การถูกล็อตเตอรี่ดังกล่าว จะมีมูลค่าเท่ากับ 682,618.58 บ. ณ เวลาปัจจุบัน

  20. LOAN PAYMENT และ การใช้ฟังก์ชัน PMT • ในการคำนวณ Loan (เงินกู้) Payment นี้ คือ การหาจำนวนของ Annuity (เงินเป็นงวดๆ) • ในการคำนวณหาจำนวน Loan นี้ จะเกี่ยวข้องกับการนำเงินกู้ออกมา ณ เวลาปัจจุบัน และ มีความประสงค์จะจ่ายคืนออกไปด้วยจำนวนเงินหลายๆ จำนวนที่เท่ากันในภายหลัง

  21. คำถาม ในสิ้นปี 1992 บริษัทฟิลม์สีโกดักมีเงินกู้ระยะยาวอยู่จำนวน 7,202,000 บ. หากเราคาดการณ์ว่าเงินกู้ดังกล่าวนี้มีอัตราดอกเบี้ย 9% สำหรับการจ่ายเงินจำนวนนี้คืนในระยะเวลา 10 ปี อยากทราบว่า บริษัทฟิลม์สีโกดักต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละเท่าใด

  22. การใช้ฟังก์ชัน PMT • ฟังก์ชัน PMT จะคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องชำระต่องวด เพื่อจ่ายเงินกู้ตามระยะเวลาหนึ่ง ฟังก์ชันนี้มีรูปแบบเป็น =PMT(rate,number of periods,present value, future value, type) การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - โกดักInput)

  23. ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินกู้ดังกล่าว บริษัทฟิลม์สีโกดักจะต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละ 1,122,216.29 บ. (ผลลัพธ์ติดลบเพราะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องจ่ายออกไป)

  24. คำถาม สมมติว่า คุณต้องจ่ายคืน เงินกู้ ซื้อบ้านจำนวน 100,000 บ. โดยมีระยะเวลาที่ต้องใช้คืน 25 ปี สมมติว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 8% แล้วคุณจะต้องชำระเงินต่อเดือนเท่าไร

  25. การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - กู้เงินผ่อนบ้านInput) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เงินกู้ดังกล่าว คุณจะต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละ 771.82 บ. (ผลลัพธ์ติดลบเพราะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องเสีย)

  26. Amortization Schedule • นอกจากนั้น เรายังสามารถนำข้อมูลจากโจทย์ข้างต้น ไปสร้าง Amortization (การตั้งทุนชำระหนี้) Schedule (ตาราง) • Amortization Schedule มีจะข้อมูลเกี่ยวกับ มูลค่าของ “ดอกเบี้ย” และ มูลค่าของ “เงินต้น” ที่ผู้กู้เงินจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ • บริษัทจำต้องจำแนก “ดอกเบี้ย” เงินกู้ที่บริษัทกู้มา เพราะ

  27. “ดอกเบี้ย” ของเงินกู้ ดังกล่าว สามารถนำไปลดภาษีของบริษัทได้ • นอกจากนั้น มูลค่า “ดอกเบี้ย” ของเงินกู้ ในระยะแรก จะมีมูลค่าสูง แต่มูลค่า “เงินต้น” ของเงินกู้ ในระยะแรก จะมีมูลค่าต่ำ

  28. ในทางตรงกันข้าม ในระยะหลังๆ ของการจ่ายเงินกู้ มูลค่า “ดอกเบี้ย” เงินกู้จะมีมูลค่าต่ำ แต่มูลค่า “เงินต้น” เงินกู้จะมีมูลค่าสูง • จากคำถาม ฟิลม์สีโกดัก…..

  29. คำถาม ในสิ้นปี 1992 บริษัทฟิลม์สีโกดักมีเงินกู้ระยะยาวอยู่จำนวน 7,202,000 บ. หากเราคาดการณ์ว่าเงินกู้ดังกล่าวนี้มีอัตราดอกเบี้ย 9% สำหรับการจ่ายเงินจำนวนนี้คืนในระยะเวลา 10 ปี อยากทราบว่า บริษัทฟิลม์สีโกดักต้องจ่ายเงินใช้คืนปีละเท่าใด จากข้อมูลข้างต้น ให้สร้าง Amortization Schedule ของบริษัทฟิลม์สีโกดัก

  30. การแก้ปัญหาโจทย์ที่กล่าวมาด้วยฟังก์ชันนี้ ดู (Class5_Loan_OnWeb - AmortInput)

More Related