1 / 23

การเขียนโครงการทางธุรกิจ

การเขียนโครงการทางธุรกิจ. ความหมายของโครงการ ความสำคัญของโครงการ ลักษณะของโครงการที่ดี ประเภทของโครงการ องค์ประกอบของโครงการ วิธีเขียนโครงการ. ความหมายของโครงการ.

jovan
Download Presentation

การเขียนโครงการทางธุรกิจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนโครงการทางธุรกิจการเขียนโครงการทางธุรกิจ • ความหมายของโครงการ • ความสำคัญของโครงการ • ลักษณะของโครงการที่ดี • ประเภทของโครงการ • องค์ประกอบของโครงการ • วิธีเขียนโครงการ

  2. ความหมายของโครงการ โครงการ หมายถึง การวางแผนดำเนินงานหรือกิจกรรมล่วงหน้า โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน กำหนดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

  3. ความสำคัญของโครงการ • โครงการสามารถสนองนโยบายหน่วยงานได้ • ใช้เป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน เพราะเมื่อปฏิบัติงานเสร็จสิ้นต้องรายงานผลโครงการทุกครั้ง • การดำเนินงานตามโครงการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์เร็วขึ้น • ประหยัดทรัพยากรเนื่องจากมีโครงการเป็นตัวกำหนด • ทำให้บุคลากรในหน่วยงานได้ร่วมรับผิดชอบอย่างทั่วถึง

  4. ลักษณะของโครงการที่ดีลักษณะของโครงการที่ดี • สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาหน่วยงานหรือองค์กรได้ • มีรายละเอียด วัตถุประสงค์ และเป้าหมายชัดเจน สามารถดำเนินงานได้จริง • มีรายละเอียดของโครงการเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หลักการและเหตุผลสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และการประเมินผล • ตอบสนองความต้องการชุมชน สังคมส่วนใหญ่ และประเทศชาติ • โครงการสอดคล้องกับแผนงานหลักและนโยบายขององค์กร

  5. ลักษณะของโครงการที่ดี (ต่อ) • โครงการกำหนดขั้นตอนจากข้อมูลที่เป็นความจริง และเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์อย่างรอบคอบแล้ว • ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็น • มีระยะเวลาดำเนินงานที่แน่นอน ระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดโครงการ • รายละเอียดของโครงการเข้าใจง่าย สามารถติดตามประเมินผลได้

  6. ประเภทของโครงการ • แบ่งตามเนื้อเรื่อง -โครงการทางวิชาการ -โครงการทางธุรกิจ • แบ่งตามระยะเวลา -โครงการระยะสั้น -โครงการระยะยาว

  7. ประเภทของโครงการ (ต่อ) • แบ่งตามผู้นำเสนอ -โครงการที่เสนอโดยบุคคลคนเดียว -โครงการที่เสนอโดยกลุ่ม -โครงการที่เสนอโดยหน่วยงาน

  8. การวางแผนโครงการ • โครงการอะไร ชื่อโครงการ • ใครทำผู้รับผิดชอบโครงการ • ทำเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไรระยะเวลาดำเนินงาน • ทำไมจึงทำโครงการนี้หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมา • ทำเพื่ออะไรวัตถุประสงค์ • ทำแล้วได้อะไร มีคุณภาพและปริมาณเท่าใดเป้าหมาย • ทำที่ไหน สถานที่

  9. การวางแผนโครงการ (ต่อ) • ทำอย่างไรวิธีดำเนินงาน • ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด ได้จากไหน งบประมาณ • เมื่อโครงการสำเร็จ ได้อะไรบ้างผลที่คาดว่าจะได้รับ • ขณะทำมีปัญหาอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรค • ทำอย่างไรจะรู้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์การประเมินผล

  10. องค์ประกอบของโครงการ • ชื่อโครงการ • ผู้รับผิดชอบโครงการ • ระยะเวลาดำเนินงาน • หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมา • วัตถุประสงค์ • เป้าหมาย

  11. องค์ประกอบของโครงการ (ต่อ) • สถานที่ • วิธีดำเนินงาน • งบประมาณ • ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ปัญหาและอุปสรรค • การประเมินผล

  12. ชื่อโครงการ • ชัดเจน เหมาะสม เข้าใจง่าย เพื่อแสดงถึงลักษณะงานที่จะปฏิบัติ “โครงการชวนน้องอ่านหนังสือ” “โครงการวัยรุ่นรักษ์วัฒนธรรม”

  13. ผู้รับผิดชอบโครงการ • ระบุชื่อบุคคล ตำแหน่ง หน้าที่ แทนการระบุชื่อหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ในการติดตาม หากต้องการให้กลุ่มคนร่วมรับผิดชอบด้วยควรลงชื่อบุคคล ตามด้วยกลุ่มบุคคล

  14. ระยะเวลา • ระบุวันที่เริ่มปฏิบัติโครงการจนกระทั่งถึงวันสิ้นสุดโครงการโดยระบุวันที่ เดือน ปี ถึง วันที่ เดือน ปี ให้ชัดเจน ไม่ควรใช้คำว่า “1 สัปดาห์” “3 เดือน” ซึ่งไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการเมื่อไร

  15. หลักการและเหตุผล • ความจำเป็นของโครงการ โดยชี้แจงหากทำแล้วเกิดผลดีอย่างไร วิธีเขียนให้เขียนบรรยายเป็นความเรียง ไม่ควรเขียนเป็นข้อ ๆ โดยเขียนถึงสภาพปัจจุบันที่เป็นปัญหา หากทำโครงการนี้แล้วจะดีขึ้นอย่างไร หรือเขียนอ้างอิงคำสั่ง นโยบาย ระเบียบ ทฤษฎี ความสำคัญ โดยยกขึ้นมาแล้วหาข้อมูลมาสนับสนุนให้สมเหตุสมผล ตอนท้ายให้ย้ำถึงผลดีที่จะได้รับ

  16. วัตถุประสงค์ • สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล เขียนให้ชัดเจน ระบุสิ่งที่ต้องการอย่างมีเหตุผล 1. เพื่อใหพนักงานมีความรู้ความเข้าใจในระเบียบวินัยของบริษัท 2.เพื่อปลูกฝังให้พนักงานประพฤติปฏิบัติตามระเบียบวินัยของบริษัท

  17. เป้าหมาย • การคาดหวังถึงผลที่จะได้รับว่ามีคุณภาพและปริมาณเท่าใด “พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ 60 คน เห็นคุณค่าและประพฤติอยู่ในกรอบของระเบียบวินัยของบริษัทเพิ่มขึ้น 70%”

  18. สถานที่ • ระบุพื้นที่บริเวณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ

  19. วิธีดำเนินงาน • เขียนตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานเรียงตามลำดับว่าจะทำอย่างไร ระบุวันเวลา สถานที่ให้ชัดเจน มักเขียนในรูปปฏิทิน ควรเขียนแนวทางปฏิบัติกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คือปฏิบัติกิจกรรมใดบรรลุวัตถุประสงค์ข้อใด กิจกกรรมต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์

  20. งบประมาณ • ให้ระบุรายละเอียดค่าใช้จ่ายและจำนวนเงิน และทรัพยากรอื่น ๆ โดยแยกประเภทค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน และระบุแหล่งที่มาของงบประมาณ ผู้เขียนโครงการต้องประมาณค่าใช้จ่ายให้เพียงพอ และต้องคำนึงถึงความประหยัด

  21. ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ให้ระบุว่าเมื่อดำเนินงานตามโครงการจนครบถ้วนแล้วจะได้รับผลอะไรบ้าง โดยเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

  22. ปัญหาและอุปสรรค • ให้ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ เพื่อจะได้ทำการป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น

  23. การประเมินผลโครงการ • ให้ระบุวิธีการประเมินหรือประเด็นที่ควรประเมิน เพื่อจะได้รู้ว่าการดำเนินงานตามโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด

More Related