1 / 46

ท วี ป เ อ เ ชี ย

ท วี ป เ อ เ ชี ย. แผนที่ทวีปเอเชีย. ข น า ด แ ล ะ รู ป ร่ า ง เ อ เ ชี ย.

Download Presentation

ท วี ป เ อ เ ชี ย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทวีปเอเชีย

  2. แผนที่ทวีปเอเชีย

  3. ขนาดและรูปร่างเอเชีย - ขนาด รูปร่างทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นแผ่นดิน ผิวโลกทั้งหมด มีเนื้อที่ประมาณ 44,391,162 ตารางกิโลเมตร (17,139,455 ตารางไมล์) หรือมีขนาดใหญ่กว่าออสเตรเลีย ซึ่งเป็นทวีปที่เล็กที่สุดประมาณ 5 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าถึง 120 เท่า ระยะทางจากเหนือสุดถึงใต้สุดของทวีปมีความยาวประมาณ 6,500 กิโลเมตร และตะวันออกสุดถึงตะวันตกสุด ยาวประมาณ 9,600 กิโลเมตร

  4. ที่ตั้งและอาณาเขต ถ้าไม่นับหมู่เกาะของอินโดนีเซียแล้ว ทวีปเอเชียจะมีดินแดนอยู่ทางซีกโลกเหนือทั้งหมด โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ในทะเลคารา ทะเลลัฟเตฟ และทะเลไซบีเรียตะวันออก จุดเหนือสุดอยู่ที่ แหลมซิลยูสกิน ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ละติจูด 77 องศา 45 ลิปดาเหนือ เกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือ ได้แก่ เกาะเซเวอร์นายาเซมลีอา หมุ่เกาะไซบีเรีย และเกาะแรงเจล ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในเขตทะเลเบริง ทะเลโอค็อตสก์ ทะเลญี่ปุ่น ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ โดยมีคาบสมุทรเบริง คาบสมุทรคามซัตกา และคาบสมุทรเกาหลีเป็นส่วนของแผ่นดินใหญ่ด้านนี้ จุดตะวันออกสุด อยู่ที่ อีสต์เคป ประเทศสหพันธรัฐรัสเซียที่ลองจิจูด 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก เกาะใหญ่ ได้แก่ เกาะแซคาลิน เกาะฮอนซู เกาะฮอกไกโด เกาะชิโชกุ เกาะคิวซู เกาะใต้หวัน และเกาะลูซอน

  5. ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย น่านน้ำทางตอนใต้ ได้แก่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซียและอ่าวเอเดน จุดใต้สุด ของภาคพื้นทวีปอยู่ที่ แหลมปิไอ ประเทศมาเลเซียที่ละติจูด 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรประมาณ 150 กิโลเมตร เกาะใหญ่ทางทิศใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาะลังกา เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา และเกาะชวา ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลแดง คลองสุเอช ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ เทือกเขาคอเคซัส ทะเลแคสเปียน และเทือกเขาอูราล จุดตะวันตกสุด อยู่ที่ แหลมบาบา ประเทศตุรกี ที่ลองจิจูด 26 องศา 04 ลิปดาตะวันออก เกาะใหญ่ ได้แก่ เกาะไซปรัส

  6. ลักษณะภูมิประเทศ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันหลายชนิด ในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ได้ 5เขตคือ 1.เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปเอเชียในเขตไซบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตโครงสร้างแบบหินเก่าที่เรียกว่า แองการาชีลด์ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีน่าไหลผ่าน บริเวณนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก แต่ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ราบ เพราะเนื่องจากมีภูมิอากาศหนาวเย็นมากและทำการเพาะปลูกไม่ได้ 2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ และมักมีดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ได้แก่ ที่ราบลุ่มฮวงโห ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ

  7. ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส ที่ราบลุ่มแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ในประเทศสหภาพพม่า 3.เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ ตอนกลางประกอบไปด้วยที่ราบสูง และเทือกเขามากมาย เทือกเขาสูงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัวไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ปามีร์นอต หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก จากปามีร์นอตมีเทือกเขาสูง ๆ ของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้ เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้ มีบางส่วนที่จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือ มีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชาน

  8. และแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลนอย เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือ ได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้ง 2 นี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนว ในเขตประเทศตุรกี คือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาปอนติก และแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส 4.เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เขตที่ราบสูงตอนกลางเป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างเทือกเขาที่หินใหม่ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงยูนนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง ชื่อ ตากลามากัน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนลุนแต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากและมีอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทราย

  9. 5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้5.เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของทวีปเอเชียซึ่งมีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงดังกล่าว ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน ในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากภูมิประเทศในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปซึ่งแบ่งเป็น 5 เขต แล้ว ทวีปเอเชียยังประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ ได้แก่ หมู่เกาะในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหมู่เกาะเหล่านี้มีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งทั้งที่ดับแล้วและบางลูกยังทรงพลังอยู่ซึ่งมีโอกาสที่จะระเบิดขึ้นมาได้อีก เช่น ภูเขาไฟหมู่เกาะญี่ปุ่นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะอินโดนีเซีย ดินแดนดังกล่าว มักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อย ๆ และยังมีดินอันอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกอีกด้วย

  10. ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ เนื่องจากเอเชียเป็นทวีปใหญ่ มีดินแดนตั้งแต่ขั้วโลกเหนือลงไปจนถึงใต้เส้นศูนย์สูตร ทำให้มีลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ดังนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ได้แก่ 1.ที่ตั้ง ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกโลกเหนือ คือ จากศูนย์สูตรถึงขั้วโลกทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศทุกชนิด ตั้งแต่เขตร้อนถึงเขตหนาวเย็นแบบขั้วโลก 2.ขนาด เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก โดยมีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟเคนเซอร์และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าทวีปเอเชียมีทั้งอากาศร้อน อบอุ่น และหนาว 3.ความใกล้-ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีดินแดนบางส่วนที่อยู่ติดชายทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากทะเลแต่มีดินแดนภายในบางแห่งที่อยู่ห่างไกลจากพื้นน้ำมาก ทำให้อิทธิพลของพื้นน้ำไม่สามารถเข้าไปถึงภายในทวีปได้อย่างทั่วถึง ภายในทวีปจึงมีอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด และฤดูหนาวอากาศหนาวจัดขณะที่บริเวณชายฝั่งทะเลมีอากาศไม่แตกต่างกันมากนักระหว่างกลางวันกลางคืน และระหว่างฤดูกาลต่าง ๆ

  11. 4.ความสูงต่ำของพื้นที่ ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้มีลักษณะอากาศแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน เช่น เขตที่ราบที่เมืองเดลี อยู่ที่ละติจูด 28 องศาเหนือ ไม่เคยมีหิมะเลย แต่ที่ยอดเขาดัวลากีรี ซึ่งสูง 8,172 เมตร (26,810 ฟุต)ซึ่งอยู่ในละติจูดเดียวกันกลับมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี 5.ลมประจำที่พัดผ่าน มีลมประจำหลายชนิดพัดผ่านทวีปเอเชีย ได้แก่ 5.1 ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศเหนือพื้นทวีปทางซีกโลกเหนือและพื้นมหาสมุทรทางซีกโลกใต้ 5.2 พายุหมุน เช่น ลมใต้ฝุ่น ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไซโคลน ที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น 6.กระแสน้ำ มีน้ำเย็นโอยาชิโว ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเทศ มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโวไหลผ่าน อิทธิพลของกระแสน้ำทั้งสองนี้ ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตก

  12. เขตภูมิอากาศ จากปัจจัยต่างๆดังกล่าว ทำให้ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก ซึ่งจำแนกได้ 11 เขตดังนี้ 1.ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น เขตอากาศแบบป่าดิบชื้นอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาเหนือ ถึง10องศาใต้ ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่มากนักมีปริมาณฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร(80 นิ้ว) ต่อปี และมีฝนตกตลอดปี พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ ซึ่งไม่มีฤดูที่ผลัดใบและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ส่วนบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่งทะเลมีพืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าชายเลน 2.ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน เขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนหรือร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินแดนที่อยู่เหนือละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันประมาณปีละ 6 เดือน ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย และคาบสมุทรอินโดจีน เขตนี้เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ปริมาณน้ำฝนจะสูงในบริเวณด้านต้นลมและมีฝนตกน้อยในด้านปลายลมหรือที่เรียกว่า เขตเงาฝน

  13. พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้เป็นป่ามรสุมหรือป่าไม้ผลัดใบในเขตร้อน พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นใบไม้กว้างและเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีค่าในทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้จันทร์ ไม้ประดู่ เป็นต้น ป่ามรสุมมีลักษณะเป็นป่าโปร่งมากกว่าป่าไม้ในเขตร้อนชื้น ซึ่งบางแห่งอาจมีไม้ขนาดเล็กขึ้นปกคลุมบริเวณพื้นดินชั้นล่าง และบางแห่งมีป่าไผ่หรือหญ้าขึ้นปะปนอยู่ด้วย 3. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน มีลักษณะอากาศคล้ายกับเขตมรสุม คือ มีฤดูหนึ่งที่แห้งแล้งกับฤดูหนึ่งที่มีฝนตก แต่มีปริมาณฝนน้อยกว่า คือ ประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร (40-60 นิ้ว)อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดีย พม่า และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ เป็นป่าโปร่งแบบป่าเบญจพรรณ ถัดเข้าไปตอนใน จะเป็นทุ่งหญ้าสูงตั้งแต่ 60-360 เซนติเมตร ซึ่งจะงอกงามดีในฤดูฝน แต่แห้งแล้งเฉาตายในฤดูหนาว เพราะช่วงนี้มีอากาศแห้งแล้ง

  14. 4.ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น4.ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น เขตมรสุมอบอุ่นเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตอบอุ่น แต่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม มีฝนตกในฤดูร้อนฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่ ภาคตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี ฮ่องกง ตอนเหนือของอินเดีย ในลาว และตอนเหนือของเวียดนาม พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นประเภทไม้ผลัดใบหรือป่าไม้ผสม มีทั้งไม้ใบใหญ่ที่ผลัดใบ และไม้สนที่ไม่ผลัดใบ ปัจจุบันป่าไม้เหล่านี้ถูกโค่นทำลายลงไปมากเพื่อใช้เป็นที่เพาะปลูก เช่น ในประเทศจีนและเกาหลีทางใต้ของเขตนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ ส่วนทางเหนือที่มีอากาศหนาวกว่าเป็นป่าไม้ผสมและป่าไม้ผลัดใบ เช่น ต้นโอ๊ก เมเปิล และถ้าขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาว พืชพันธุ์ธรรมชาติจะเป็นไม้สนที่มีใบเขียวตลอดปี 5.ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป เขตอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่ บริเวณทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญี่ปุ่น และตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย มีฤดูร้อนที่อากาศร้อน เพราะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันยาวกว่ากลางคืนปีละ 5-6เดือน เป็นเขตที่ปลูกข้าวโพดได้ดี เพราะมีฝนตกในฤดูร้อน ประมาณ750-1,000มิลลิเมตร (30-40นิ้ว)ต่อปี ฤดูหนาวอากาศหนาวอุณหภูมิเฉลี่ยถึง –7องศาเซลเซียส (18 องศาฟาเรนไฮต์)เป็นเขตที่ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิมีมาก

  15. พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าผสมระหว่างป่าไม้ผลัดใบและป่าสน ลึกเข้าไปเป็นทุ่งหญ้า สามารถเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลี และเลี้ยงสัตว์พวกโคนมได้ ส่วนแถบชายฝั่งทะเลมีการทำป่าไม้เล็กน้อย 6.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น เป็นเขตที่มีความรุนแรง มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน และอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว มีฝนตกบ้างในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ได้แก่ บริเวณภาคตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ตอนกลางของประเทศตุรกีตอนเหนือของภาคกลางของอิหร่าน ในมองโกเลีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น ทุ่งหญ้าบริเวณดังกล่าวบางแห่งที่มีชลประทานเข้าถึงจะใช้เป็นที่เพาะปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้ายและเลี้ยงสัตว์ได้ดี 7.ภูมิอากาศแบบทะเลทราย เป็นเขตภูมิอากาศที่ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีมาก ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ภายใต้ทวีปหรือบริเวณที่มีภูเขาปิดล้อม ทำให้อิทธิพลของมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึงมีปริมาณฝนน้อยกว่าปีละ 250 มิลลิเมตรสำหรับบริเวณทะเลทรายบริเวณที่มีน้ำและต้นไม้ขึ้นนั้นเรียกว่าโอเอซิสซึ่งมีพืชพันธุ์แบบทะเลทราย เช่น อินทผลัม ตะบองเพชร เป็นต้น

  16. พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าโปร่งมีการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก 8.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฝนตกในฤดูหนาว ได้แก่ เลบานอล ซีเรีย เป็นต้น พืชพันธุ์ธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ต้นเตี้ย ไม้หนาม ผลไม้ได้แก่ ส้ม องุ่น เป็นต้น 9.ภูมิอากาศแบบไทกา ภูมิอากาศฤดูหนาวยาวนานที่สุด ฤดูร้อนมีระยะสั้นได้แก่ ภาคเหนือของไซบีเรีย พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าสน เป็นแนวยาวทางเหนือของทวีป เรียกว่า ไทกา 10.ภูมิอากาศแบบทุนดรา ได้แก่ทางตอนเหนือสุดของทวีปเอเชีย บริเวณนี้มีฤดูหนาวยาวนานมากมีหิมะคลุมตลอดปี ไม่มีฤดูร้อน พืชพันธุ์ธรรมชาติ เช่น มอสส์ เป็นต้น 11.ภูมิอากาศแบบสูง ในเขตที่สูงอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูงเฉลี่ยประมาณ 1 องศาเซสเซียสต่อความสูง 180 เมตร มีหิมะปกคลุมทั้งปี

  17. ป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น

  18. ป่าไทกา ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น

  19. ทะเลทราย ทุนดรา

  20. ลักษณะทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ 1. แร่ธาตุ เอเชียเป็นทวีปที่อุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆที่สำคัญมีดังนี้ - ถ่านหิน ทวีปเอเชียมีถ่านหินมากที่สุดในโลกคือ ประมาณ 3 ใน 5 ของปริมาณถ่านหินสำรองของโลกแหล่งสำคัญอยู่ในประเทศจีน อินเดีย ไซบีเรีย และในคาบสมุทรเกาหลี - เหล็ก มีสินแร่เหล็กอยู่ถึง 2 ใน 3 ของปริมาณเหล็กสำรองของโลก แหล่งสำคัญมีในจีน อินเดีย - ดีบุก ทวีปเอเชียผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดในโลก ได้แก่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย - ปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ ทวีปเอเชียเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดในโลก แหล่งน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติได้แก่ บริเวณอ่าวเปอร์เชีย ทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ทวีปเอเชียยังมีแร่ธาตุอยู่อีกหลายชนิดที่มีปริมาณมากได้แก่ ทังสเตน โครไมต์ แมงกานีส ปรอท สังกะสี ไมกา และรัตนชาติ

  21. 2. ดิน ความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรดินย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิอากาศและลักษณะภูมิประเทศ ในเขตอากาศแบบทุนดราและไทกาที่มีหิมะปกคลุม เป็นดินชื้นแฉะไม่สามารถนำทรัพยากรดินมาใช้ในการเกษตรได้ ในเขตอบอุ่นที่มีปริมาณฝนปานกลางดินมีความอุดมสมบรูณ์ ในเขตแห้งแล้งและที่สูงดินขาดความชื้นจึงเป็นดินที่ไม่อุดมสมบรูณ์ ส่วนเขตร้อนชื้นส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง เนื่องจากมีฝนตกชุก น้ำฝนชะล้างสารอาหารของพืชออกไป จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ดินอุดมสมบรูณ์ในเขตร้อน ได้แก่ดินตะกอนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆและดินภูเขาไฟในหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอินโดนีเซียและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เหมาะแก่การปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย 3. น้ำ เขตภูมิอากาศแบบมรสุมและเขตศูนย์สูตรโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลและเป็นภูมิประเทศด้านต้นลม จะมีฝนตกชุกจึงเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนพื้นที่อยู่ลึกเข้าไปหรือด้านปลายลมที่มีปริมาณฝนน้อยเป็นเขตแห้งแล้ง และบางแห่งมีการสร้างเขื่อนที่มีแม่น้ำสายยาวไหลผ่าน สามารถนำทรัพยากรน้ำมาใช้ประโยชน์ได้

  22. 4. ป่าไม้ เอเชียมีพื้นที่ป่าไม้มากกว่าทุกทวีป ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้สนเนื้ออ่อน ลักษณะป่าไม้ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าไทกา ซึ่งเป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญที่สุดของทวีป ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่นเป็นป่าไม้เนื้อแข็งผสมป่าสน ได้แก่ ไม้เมเปิล ไม้โอ๊ค ไม้วอลนัต ป่าไม้เขตร้อนส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ ที่มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ได้แก่ ไม้มะฮอกกานี ไม้มะเกลือ ไม้ยางส่วนในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งยาวนานขึ้นส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ 5. สัตว์ป่า เขตป่าไม้ของเอเชียมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนและพื้นที่ป่าไม้เขตอบอุ่น ส่วนสัตว์น้ำมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำภายในทวีปมากมายและการที่ทวีปเอเชียมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรถึงสามด้านจึงเป็นทวีปที่มีทรัพยากร สัตว์น้ำเค็มมากด้วย

  23. การประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพของชาวเอเชียอาจจำแนกได้ดังนี้ 1.การเกษตร ลักษณะการเกษตรย่อมแตกต่างไปตามลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศและประชากร กล่าวคือในเขตที่ราบที่มีปริมาณฝนเพียงพอและประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมีการเพาะปลูกพืชอย่างหนาแน่นเพื่อเลี้ยงตนเอง ในเขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่เบาบางเป็นการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอย ในขตทุ่งหญ้า ประชากรมักประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่ถ้ามีการชลประทานดีก็จะเพาะปลูกควบคู่ไปด้วย ส่วนในเขตอากาศหนาวเย็น เขตทะเลทรายและเขตภูเขาสูงเป็นบริเวณที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน มะกอก ชา ฝ้าย ปอ ป่าน ยางพารา เป็นต้น ปัญหาการเพาะปลูก คือ ปัญหาเกี่ยวกับดิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากตัวการธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์ที่เพาะปลูกพืชซ้ำซากและไม่บำรุงดิน การขาดระบบชลประทาน

  24. 2. การเลี้ยงสัตว์ เขตอากาศแห้งแล้งในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และตอนกลางของทวีป ซึ่งเป็นเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ประชากรมีอาชีพเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน สัตว์เลี้ยงได้แก่ อูฐ แพะ แกะ โค ม้าและจามรี โดยเลี้ยงเพื่อใช้นมและเนื้อเป็นอาหาร เขตอากาศร้อนชื้นและอบอุ่นชื้นเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและส่งเป็นสินค้าออกสัตว์เลี้ยงได้แก่ สุกร ไก่ เป็ดและปลา ส่วนโค กระบือและม้า ส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อใช้งาน ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงสัตว์ คือ การขาดแคลนทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำ เกิดโรคระบาด 3. การประมง เป็นอาชีพที่สำคัญควบคู่ไปกับการเพาะปลูก บริเวณที่มีการประมงหนาแน่นได้แก่ น่านน้ำแถบชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่อ่าวไทยไปจนถึงช่อง แคบเบริง มีกระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว ไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็นโอยาชิโวเป็นแหล่งที่มีอาหารอุดม ทำให้มีสัตว์น้ำอยู่มาก เรียกว่า คูริลแบงก์ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่จับปลามากที่สุดในโลก นอกจากการจับปลาแล้ว การเลี้ยงปลาในบ่อและตามชายทะเล การงมหอยมุกและการหาสาหร่ายทะเล ซึ่งทำกันทั่วไป ปัญหาเกี่ยวกับการประมง ได้แก่ ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ปัญหาการขยายน่านน้ำในทะเลหลวงของบางประเทศ ปัญหาน้ำเน่าเสียหรือตื้นเขินในแหล่งน้ำจืดบางแห่ง

  25. 4. การทำป่าไม้ อาชีพป่าไม้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือการทำป่าไม้ในเขตร้อนและการทำป่าไม้ในเขตหนาว ป่าไม้ในเขตร้อนเป็นไม้เนื้อแข็ง มีในประเทศพม่า ไทย อินเดีย เวียดนาม ลาว กัมพูชาและในประเทศกลุ่มหมู่เกาะ ผลิตผลที่ได้มักนำไปใช้ในการก่อสร้าง ส่วนป่าไม้ในเขตหนาวเป็นป่าสน ผลิตผลที่ได้ นำไปทำกระดาษและลังไม้ ปัญหาเกี่ยวกับการทำป่าไม้ ได้แก่ การตัดโค่นต้นไม้ ขาดวิธีการอนุรักษ์ต้นไม้ เครื่องมือตัดไม้มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ตัดไม้ได้มากขึ้น สภาพป่าถูกทำลายเร็วขึ้นทำให้พื้นที่ป่าและจำนวนไม้ลดลงเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น ปัญหาดินพังทะลาย ปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน ปัญหาสัตว์ป่าขาดที่อยู่อาศัย ปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาระบบนิเวศวิทยา เป็นต้น 5. การทำเหมืองแร่ เอเชียเป็นทวีปที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุนานาชนิด เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นเทือกเขาที่มีอายุต่างๆกัน แต่ที่ไม่ได้นำออกมาใช้ประโยชน์มากนักเพราะ ยังขาดการสำรวจ ขาดการลงทุน ขาดแคลนเทคโนโลยีและการคมนาคมขนส่งไม่สะดวก แร่สำคัญที่ขุดขึ้นมาใช้ ได้แก่ เหล็ก ถ่านหิน ดีบุก น้ำมัน แมงกานีส เพชร พลอย เป็นต้น

  26. ปัญหาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ได้แก่ การขาดเครื่องมือที่ทันสมัย ขาดแคลนเงินทุน ตลาดรับซื้อมักกดราคา การสนับสนุนกิจการค้าแร่ ยังไม่กว้างขวาง 6.อาชีพอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นแบบหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน สินค้าที่ผลิตมักเป็นงานฝีมือ หรือของที่ระลึก เช่น การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม ทอพรม ทำเครื่องโลหะ เครื่องแกะสลัก เครื่องจักสาน เป็นต้น ญี่ปุ่นสามารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งไปจำหน่ายทั่วโลกได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวันและสิงคโปร์ยังได้รับการจัดเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชียด้วย ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ได้แก่ การไม่ได้รับความเชื่อถือจากตลาดมากนัก สินค้าถูกกดราคา การขาดแคลนเงินทุน คุณภาพของสินค้าบางอย่างยังไม่ได้มาตรฐานเท่าของทวีปยุโรป

  27. 7. การค้าขาย ปัจจุบันประเทศต่างๆของเอเชียได้มีการติดต่อค้าขายกับทุกภูมิภาคของโลก มีสินค้าหลากหลายและมีมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นมาก ประเทศที่มีการค้ากับต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นมีรายได้จากการค้าระหว่างประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าออกที่สำคัญ ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งส่งข้าวเป็นสินค้าออกรายใหญ่ที่สุดของโลก การสั่งสินค้าเข้าจากต่างประเทศนั้น ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ จะสั่งเข้าน้ำมันและถ่านหิน เนื่องจากขาดแคลนพลังงาน ส่วนประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้จะสั่งเข้าเครื่องจักรกล ยานยนต์และอาหาร การค้าของประเทศต่างๆในเอเชีย ส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายเสียดุลกับต่างประเทศยกเว้น ประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น บรูไน อิรัก คูเวต โอมาน ซาอุดิอาระเบียและมาเลเซีย เป็นต้น

  28. ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม ประชากร 1. การกระจายของประชากร ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ กล่าวคือ บริเวณที่ประชากรเบาบางเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และหนาวเย็นเกินไป เช่น ในไซบีเรียและภาคกลางของทวีปหรือเป็นบริเวณที่เป็นภูเขาสูงสลับสับซ้อน ได้แก่ เขตทะเลทรายในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรและตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ เช่น ลุ่มแม่น้ำฮวงโห ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำคงคา ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นต้น และในเกาะบางเกาะที่มีดินอุดมสมบรูณ์ เช่น เกาะของประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น การเพิ่มประชากรในทวีปเอเชียมีอัตราค่อนข้างสูง เพราะอัตราการเกิดในหลายประเทศมีสูงมาก แต่อัตราการตายกลับลดต่ำลง เนื่องจากความเจริญด้านการแพทย์และสาธารณสุขดีขึ้น

  29. 2.เชื้อชาติ ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมากที่สุดประกอบด้วยหลายเชื้อชาติด้วยกัน ได้แก่ • เชื้อสายมองโกลอยด์ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พวกมองโกลอยด์เหนือ เป็นประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ได้แก่ ชาวทิเบต ชาวจีน ชาวญี่ปุ่น และชาวเกาหลี และพวกมองโกลอยด์ใต้ อยู่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียได้แก่ ชาวไทย พม่า ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย รวมทั้งชนกลุ่มน้อยแถบภูเขาในประทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยในหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • เชื้อสายคอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรปแต่ตาและผมมีสีดำ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และทางภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ ชาวอาหรับ ชาวปากีสถาน ชาวอินเดีย และประชากรในประเทศเนปาล และภูฏาน • เชื้อสายนิกรอยด์ เป็นชาวเอเชียผิวดำ ได้แก่ ชาวพื้นเมืองทางภาคใต้ของอินเดีย (ดราวิเดียน) และชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในส่วนต่างๆของเอเชีย ได้แก่ พวกเงาะซาไก เซมัง ปาปวน ส่วนใหญ่พวกนี้มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ผมหยิก ได้แก่ประชากรที่อาศัยทางภาคใต้ของอินเดีย ในศรีลังกา ในคาบสมุทรมลายูและในหมู่เกาะต่างๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  30. 3. ภาษา ทวีปเอเชียมีภาษาที่ใช้กันนับพันภาษาซึ่งจำแนกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ • กลุ่มภาษาตุรคิก ใช้กันทางภาคใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย • กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาของชาวรัสเซียกลางและตะวันตกเฉียงใต้ • กลุ่มภาษาตุงกูสิก ใช้กันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน • กลุ่มภาษาจีน เป็นกลุ่มภาษาที่ประชากรส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียใช้พูดกัน และภาษาจีนกลุ่มอื่นๆซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในประเทศจีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น • กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน เป็นกลุ่มภาษาในเอเชียใต้ • กลุ่มภาษาอิเรเนียน เป็นกลุ่มภาษาที่ใช้พูดกันแถบที่ราบสูงอิหร่าน • กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ได้แก่ภาษาทิเบต และภาษาของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • กลุ่มภาษามองโกล ได้แก่ภาษามองโกเลีย และภาษาที่ใช้กันในไซบีเรียของสหพันธรัฐรัสเซีย

  31. ปัจจุบันนี้ภาษาในทวีปเอเชียบางกลุ่มมีผู้ใช้มากขึ้นเช่นภาษาของจีน โดยเฉพาะภาษาแมนดาริน ขณะเดียวกันภาษาบางกลุ่มกลับมีจำนวนผู้ใช้น้อยลงเช่นกลุ่มภาษาตุงกูสิกที่ใช้กันทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ส่วนอินเดียมีภาษาถิ่นมากมายและเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีเป็นภาษาทางราชการ 4. ศาสนา ศาสนาที่สำคัญของโลกทุกศาสนาต่างเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย ซึ่งมีแหล่งกำเนิด ดังนี้ • เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นต้นกำเนิดของศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และอิสลาม ศาสนายูดาย เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นต้นกำเนิดของ ศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกขณะนี้ โดยได้เผยแผ่ไปสู่ยุโรป และซีกโลกตะวันตกอื่นๆและชาวยุโรปนำมาเผยแผ่สู่ทวีปเอเชียอีกครั้งหนึ่ง ศาสนาอิสลาม เกิดภายหลังศาสนาคริสต์ประมาณ 600 ปี เป็นศาสนาที่สำคัญของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนานี้ยังได้เผยแผ่เข้าสู่ภาคเหนือของอินเดีย ดินแดนทางตอนเหนือของอ่าวเบงกอล คาบสมุทรมลายู และประเทศอินโดนีเซีย

  32. เอเชียใต้ เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู มีความเชื่อมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาเก่าแก่ของโลกเมื่อประมาณ 5000ปี และเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของชาวอินเดีย กระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ส่วน พระพุทธศาสนาเกิดก่อนศาสนาคริสต์ประมาณ 500 ปี และถึงแม้จะเกิดในอินเดีย แต่ก็มีชาวอินเดียนับถือพระพุทธศาสนาน้อย แต่มีผู้นับถือกันมากในทิเบต ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา • เอเชียตะวันออก เป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิขงจื้อ เต๋า และชินโต ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่จีน ก็ปรากฏว่า หลักธรรมของศาสนาพุทธสามารถผสมผสานเข้ากับคำสอนของขงจื้อได้ดี ส่วนในญี่ปุ่นพระพุทธศาสนายังมีปัญหากับปรัชญาและความคิดในศาสนาชินโตอยู่บ้าง

  33. ลักษณะทางด้านการเมืองการปกครองลักษณะทางด้านการเมืองการปกครอง ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ ญี่ปุ่น อิสราเอล อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ ระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แก่ จีน ลาว เวียดนาม ระบอบผสมระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตยหรือเผด็จการ ได้แก่ สหภาพพม่าอิรักในอดีต

  34. สถานที่ที่สำคัญของทวีปเอเชียสถานที่ที่สำคัญของทวีปเอเชีย

  35. พระราชวังโปตาลา  เมืองลาซา ตั้งอยู่ที่ประเทศทิเบตเมืองลาซา  บนยอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 11,830 ฟุต  มีความยาวและกว้างด้านละ 900 ฟุต  อาคารสร้างแบบป้อมขนาดใหญ่มีกำแพงก่อเป็นชั้นๆ  ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์ดาไลลามะประมุขศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน  แต่ในปัจจุบันถูกปกครองโดยจีน  ทำให้องค์ดาไลลามะต้องลี้ภัยมาอยู่ที่ประเทศอินเดีย  และสถานที่นี้ได้เป็นพระราชวังต้องห้ามด้วย

  36. บุโรพุทโธ สถานที่ตั้ง บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ บุโรพุทโธ ( Borobudur ) พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร ตั้งอยู่บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ห่างจากเมืองยอกยากาตาร์ ( Yogyakata ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถาานขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์รวมแห่งความภาคภูมิใจของชาวอินโดนิเซีย และชาวพุทธทุกคน ซึ่งหวังจะไปแสวงบุญสักครั้งหนึ่งในชีวิต

  37. เจดีย์บุโรพุทโธรูปทรงดอกบัวนี้ก่อสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา หรือศิลปะชวาภาคกลางที่ผสมผสาานระหว่างอินเดียและอินโดนีเซียได้อย่างกลมกลืนที่สุด บุโรพุทโธเปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้นส่วนฐานของเจดีย์ประกอบด้วยขั้นบันไดใหญ่ 4 ขั้น รอบ ๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยม กำแพงรอบฐานมีภาพนูนตำไม่น้อยกว่า 160 ภาพส่วนนี้อยู่ในขั้นกามาธาตุ หรือขั้นตอนที่มนุษย์ยังผูกพันอย่างใกล้ชิดกับความสุขความร่ำรวยทางโลกส่วนที่สอง คือส่วนบนของฐานที่มีบันไดรูปกลม ฐาน 6 ชั้นที่มีรูปสลักนูนต่ำเกือบ 1,400 ภาพที่แสดงพุทธประวัติ ถือเป็นขั้นรูป ธาตุ คือขั้นตอนที่มนุษย์หลุดพ้นจากกิเลสทางโลกมาได้บางส่วนส่งวนที่สามคือส่วนของฐานกลมที่มีเจดีย์เล็ก ๆ 3 ขั้นล้อมรอบสถูปองค์ใหญ่ทึ่สุดที่หมายถึงจักรวาล คือขั้นอรูปธาตุ ที่มนุษย์ไม่ผูกพันกับทางโลกอีกต่อไป ปัจจุบันบุโรพุทโธจัดเป็นมรดกของยูเนสโกที่มีความลี้ลับมหัศจรรย์ทั้งทางด้านการก่อสร้างสถาปัตยกรรมรูปทรงภายนอก และมหัศจรรย์ในด้านสัญลักษณ์และความหมายที่รอให้มนุษย์ได้ศึกษาตีความกันต่อไป

  38. ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ สถานที่ตั้ง เทือกเขาหิมาลัย ประเทศ เนปาล ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ (Everest) สูง 8848 เมตร (29,028 ฟุต) จุดสูงสุดของโลกตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างเนปาลและทิเบต ชาวเนปาลเรียกยอดเขานี้ว่า สการ์มาถา (Sagarmatha-ยอดเขาพระสมุทร) ส่วนชาวทิเบตเรียก โชโมลุงกะมา (Chomolungma-พระแม่เจ้า) ส่วนชื่อภาษาอังกฤษมาจากนายพลนักสำรวจชาวอังกฤษ จอร์จ เอเวอร์เรสต์ (George Everest) ซึ่งมาปฏิบัติงานในอินเดียราวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แต่นักปีนเขาคณะแรกที่สามารถพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้สำเร็จก็คือ เซอร์เอ็ดมันด์ ฮิลลารี (Sir Edmund Hillary) ชาวนิวซีแลนด์ และเตนจิง นอร์เก (Tenzing Norgay) ชาวเชอร์ปา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953

  39. จบการนำเสนอ :))*

  40. แบบทดสอบ นักเรียนคิดว่าทวีปเอเชียมีความเจริญในด้านใดบ้างจงอธิบาย

More Related