1 / 19

หลักสูตรฝึกอบรม การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

หลักสูตรฝึกอบรม การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. มนสิช สิทธิสมบูรณ์.

joshua-cruz
Download Presentation

หลักสูตรฝึกอบรม การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักสูตรฝึกอบรมการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหลักสูตรฝึกอบรมการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มนสิช สิทธิสมบูรณ์

  2. แผนการจัดการเรียนรู้ก็คือ แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดรายวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3. แผนการจัดการเรียนรู้ก่อให้เกิดประโยชน์แผนการจัดการเรียนรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ • เกิดการวางแผนล่วงหน้า • ส่งเสริมให้ครูผู้สอนค้นคว้าหาความรู้ • เป็นคู่มือการสอนสำหรับตัวครูผู้สอนและครูที่สอนแทน • เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลด้านการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล • เป็นหลักฐานแสดงความเชี่ยวชาญ • และนำไปเป็นผลงานทางวิชาการได้

  4. ในแผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้ในแผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบดังนี้ • มาตรฐานการเรียนรู้/สาระสำคัญ • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง • จุดประสงค์การเรียนรู้ • จุดประสงค์นำทาง • สาระการเรียนรู้ • กิจกรรมการเรียนรู้ • สื่อ • การวัดและประเมินผล • แหล่งเรียนรู้ • กิจกรรมเสนอแนะ • บันทึกผลหลังสอน

  5. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ดวยตัวเองได้ • ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ • โดย ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมต่างๆดังนี้ • การจัดกิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมมากที่สุด • พัฒนากระบวนการคิดและสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ • ทำให้สิ่งที่ยากและซับซ้อนมีลำดับขั้นตอนเพื่อง่ายต่อการนำไปปฏิบัติได้ • ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์นำทางทุกข้อเพื่อไปสู่วัตถุประสงค์ปลายทางได้ • สอนให้เกิดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเองโดยลดการบอกและให้ท่องจำน้อยลง • ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมและลงมือปฏิบัติ • ให้ผู้เรียนแสวงหาค้นหาค้นพบเองสรุปข้อความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น • กระตุ้นเสริมแรงให้เกิดกำลังใจ เพื่อผู้เรียนคิดหลากหลายและคิดสร้างสรรค์ • ฝึกการวิเคราะห์ความคิดและการปฏิบัติของผู้เรียน • ฝึกการนำเสนอข้อมูล • ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้จากกันและกัน • ฝึกการสื่อความหมายตามสภาพจริงมากขึ้น • ให้ผู้เรียนได้ใช้ทั้งปัญญาอารมณ์และร่างกายในการเคลื่อนไหวเพื่อการเรียนรู้ตามธรรมชาติ

  6. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวในการสอนดังนี้ครับครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวในการสอนดังนี้ครับ • เตรียมการสอนทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน • ต้องจัดสิ่งแวดล้อม บรรยากาศให้ปลุกเร้า จูงใจ และเสริมแรง • เอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคล และแสดงความเมตตาอย่างทั่วถึง • จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์ • ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิด ฝึกทำ และฝึกแก้ปัญหา • ส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  7. บทบาทผู้เรียน • มีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ฝึกปฏิบัติจนค้นพบความถนัดและวิธีการของตน • ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม • ฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างจินตนาการ • ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหาทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน • ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง • เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ • ฝึกตนเองให้มีวินัย และมีความรับผิดชอบในการทำงาน • ใฝ่หาความรู้ต่อเนื่อง • ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา

  8. ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

  9. ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำอธิบายรายวิชา มาตรฐานการเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1.1 วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดเนื้อหาหลัก และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เช่น คำอธิบาย กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้น ป.1 หน่วยที่ 1 รวบรวมความรู้และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ในด้านการช่วยเหลือตนเองการมีสุขนิสัยที่ดี การรักษาความสะอาดของร่างกาย การระมัดระวังอุบัติเหตุ แล้วนำมาอภิปราย ซักถามจัดกลุ่มลำดับ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติ เปรียบเทียบ ผลดี ผลเสียของการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติกำหนดเป็นแนวปฏิบัติของตนในการสร้างสุขภาพและรายงานผลของการเสริมสร้างสุขภาพต่อกลุ่ม เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสุขภาพของตน สามารถสังเกต วิเคราะห์ ทำนายการเปลี่ยนแปลง และกำหนดวิธีปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในการเสริมสร้างสุขนิสัยที่ดีมีความชื่นชมต่อการเจริญเติบโต ของตน

  10. จากตัวอย่างข้างต้นสามารถวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา(ดูตามสีของข้อความ)ได้ดังนี้จากตัวอย่างข้างต้นสามารถวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา(ดูตามสีของข้อความ)ได้ดังนี้ ลองมาทดสอบความรู้กันหน่อยดีไหม

  11. 1.2 จัดทำโครงสร้างรายวิชา เป็นการนำเนื้อหาหลัก ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจำนวนเวลามาย่อยลง เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องที่สอน • ตัวอย่าง จากตารางการวิเคราะห์หลักสูตรข้างต้นสามารถนำมาจัดทำโครงสร้างรายวิชาได้ดังนี้

  12. จากตารางโครงสร้างรายวิชา(ต่อ)จากตารางโครงสร้างรายวิชา(ต่อ)

  13. ขั้นตอนที่ 2 กำหนดสาระสำคัญ สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการ วิธีการที่ต้องการ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การเขียนสาระสำคัญจะเขียนในลักษณะข้อความที่สรุปเนื้อหา เป้าหมายอย่างสั้น ๆ จะเขียนเป็นความเรียงหรือเขียนเป็นข้อก็ได้ ตัวอย่างกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สารอาหาร

  14. ขั้นตอนที่ 3 กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนมีหรือบรรลุ การเขียนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังนั้นจะต้องเขียนให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ (Knowledge)เจตคติ (Attitude) กระบวนการ (Process)และเขียนในเชิงพฤติกรรม ตัวอย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สารอาหาร

  15. ขั้นตอนที่ 4 กำหนดสาระการเรียนรู้ คือ รายละเอียดของเรื่องที่ใช้จัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการและแนวปฏิบัติ โดยอาจจะเขียนเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้หรือเขียนเฉพาะหัวข้อเนื้อหานั้น ๆ ก็ได้ ตัวอย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ม. 4 เรื่อง สารอาหาร ลองเขียนในแบบฝึกปฏิบัติ 5 ดูนะครับ

  16. ขั้นตอนที่ 5 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนซึ่งต้องจัดให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร ในขั้นตอนนี้เรานำเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยวิธีการต่าง ๆ มาใช้

  17. ก็มีด้วยกันหลายวิธีนะครับ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) การสอนแบบโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer) การสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Based) การสอนแบบบูรณาการ (Integrate Teaching) การสอนแบบถามตอบ (Ask and Question Model) การสอนด้วยรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) การสอนแบบโครงงาน (Project Method) การสอนด้วยรูปแบบการเรียนเป็นคู่(Learning Cell) การสอนโดยใช้กิจกรรมในแหล่งชุมชน (The Use of Community Activities) การสอนแบบทดลอง (Laboratory Method) การสอนแบบโครงการ (Project Method) การสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)

  18. การสอนแบบอภิปราย (Discussion Group) การสอนแบบพัฒนาความสามารถเฉพาะ (Talents Unlimited) วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ (Role Playing) วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา (Problem Solving) กิจกรรมที่ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ (Hands – on Activity) เรียนจากของเล่น (Learning from Toy) วิธีสอนแบบอุปนัย(Inductive Method) วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) วิธีการสอนโดยใช้หมวก 6 ใบ วิธีการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย

  19. Thank you

More Related