1 / 30

Academic

Academic. การค้นหาและวัดอัตราเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Trigger Tool จัดทำโดย นสภ.พิชญาภรณ์ ศรีคำ. Griffin FA, Resar RK. The Global Trigger Tool for Measuring Adverse Events. IHI 2007:1-44. Outline. ความเป็นมาและเหตุผลของ Trigger Tool คำจำกัดความ -Trigger

josef
Download Presentation

Academic

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Academic การค้นหาและวัดอัตราเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้ Trigger Tool จัดทำโดย นสภ.พิชญาภรณ์ ศรีคำ Griffin FA, Resar RK. The Global Trigger Tool for Measuring Adverse Events. IHI 2007:1-44.

  2. Outline • ความเป็นมาและเหตุผลของ Trigger Tool • คำจำกัดความ -Trigger -เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ -ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น • ระดับความรุนแรง • วิธีการใช้ Trigger Tool

  3. ความเป็นมาและเหตุผลของ Trigger Tool • ที่ผ่านมาการค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มักจะมุ่งเน้นการรายงานความผิดพลั้งหรือความคลาดเคลื่อน (error)ที่เกิดขึ้น • พบว่าการรายงานอุบัติการณ์ครอบคลุมเพียง 10-20% ของ error และไม่ค่อยเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่โรงพยาบาลจะต้องมองหาวิธีการที่ได้ผลกว่าในการค้นหาเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย และดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย

  4. Trigger Tool • IHI ได้นำเสนอ “The Global Trigger Tool for Measuring Adverse Events” เพื่อเป็นแนวทางการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังโดยใช้ triggerเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  5. คำจำกัดความ • Trigger • เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ • ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  6. ความหมายของ Trigger • ตัวกระตุ้น • ตัวจุดประกาย • ตัวส่งสัญญาณ • สิ่งบอกเหตุ ตัวอย่างที่คุ้นเคย: • เมื่อแพทย์สั่งหยุดยาและสั่งยาแก้แพ้ ทำให้เภสัชกรสงสัยว่าผู้ป่วยอาจจะแพ้ยา

  7. Trigger • หมายถึง ลักษณะ กระบวนการ เหตุการณ์ หรือผลลัพธ์บางประการที่สามารถค้นหาหรือมองเห็นได้ง่าย และมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AE) ในการดูแลผู้ป่วย

  8. การจัดกลุ่ม trigger เป็น 6 modules • Care module In-Hospital Stroke ให้ประเมินสาเหตุของการเกิด stroke เหตุการณ์อาจจะเป็นภาวะแทรกซ้อนของการทำหัตถการ หรือการรักษาที่นำมาสู่ stroke • Medication module -INR > 6 มองหาว่ามีเลือดออกมาจาก over-anticoagulation หรือไม่ -Glucose Less than 50 mg/dlไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกรายที่มีระดับน้ำตาลต่ำจะมีอาการ ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการก็อาจจะไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ให้ทบทวนการใช้ insulin หรือยาลดน้ำตาลที่นำมาสู่การมีอาการ

  9. Surgical module Return to Surgery การผ่าตัดซ้ำเป็น trigger ซึ่งควรกระตุ้นให้มีการตรวจสอบว่ามีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเนื่องจากการผ่าตัดครั้งที่แล้วหรือไม่ เช่น การมีเลือดออกจากการผ่าตัดครั้งแรกซึ่งต้องเข้าไปผ่าตัดซ้ำเพื่อหยุดเลือด • Intensive care module Readmission to the Intensive Care Unit การกลับเข้านอน ICU ซ้ำแสดงถึงโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่หอผู้ป่วยหรือจากนอกโรงพยาบาล ให้มองหาความสัมพันธ์กับสาเหตุ เช่น การเกิด pulmonary edemaซึ่งเป็นผลจากการให้น้ำมากเกินไปหรือจากการสำลัก

  10. Perinatal module Infant Serum Glucose < 50 mg/dl บันทึกอาการและอาการแสดงอาจจะพบในของพยาบาล เช่น ซึม, ตัวสั่น, ทุรนทุราย,ซึ่งในกรณีเหล่านี้ถือว่าเป็นอันตรายที่เกิดขึ้น • Emergency department module Readmission to the ED within 48 Hours ให้มองหาการวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาด อันตรกิริยาของยา การติดเชื้อ หรือสาเหตุอื่นๆ ซึ่งนำผู้ป่วยกลับมาที่ห้องฉุกเฉิน Time in ED Greater than 6 Hours การอยู่ในห้องฉุกเฉินเป็นเวลานานแสดงให้เห็นถึงประเด็นการจัดการไหลเวียนผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วยได้

  11. ความสัมพันธ์ระหว่าง Trigger กับ AE • Trigger คือ การพบเหตุการณ์ที่เป็นสภาวะล่อแหลมที่อาจจะเกิด AE แต่ก็มิได้เกิด AE เสมอไป • ผู้ป่วยแต่ละรายอาจพบ 1 Trigger หรือหลาย Trigger หรือไม่พบเลย ก็ได้ • ในแต่ละ Trigger อาจพบหลาย AE หรืออาจไม่มี AE ก็ได้ • Trigger บางตัวก็เป็น AE ในตัวเองด้วย • เมื่อพบ Trigger ตัวใดให้ทบทวนหา AE ที่สัมพันธ์กันก่อน แล้วค่อยมองหา AE อื่นๆ

  12. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ • IHI: การบาดเจ็บทางร่างกายโดยไมได้ตั้งใจ เป็นผลมาจากการดูแลรักษาส่งผลให้ต้องมีการเฝ้าระวัง รักษา หรือนอน รพ.เพิ่มขึ้น หรือทำให้เสียชีวิต • WHO: เหตุการณ์ทีก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เกิดความสูญเสียทางร่างกายหรือการทำหน้าที่ ซึ่งอาจจะเป็นการเสียชีวิต การเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ความทุกข์ทรมาน ความพิการ ทางร่างกาย สังคม หรือจิตใจก็ได้ • Thai HA: การบาดเจ็บ อันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการดูแลรักษา มิใช่กระบวนการตามธรรมชาติของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น หรืออวัยวะในร่างกายต้องสูญเสียการทำ หน้าที่

  13. ระดับความรุนแรง • IHI ได้นำวิธีการแบ่งระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทางยาที่ NCC MERP กำหนดขึ้นมาประยุกต์ใช้ โดยเลือกนับเฉพาะเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย (harm) ต่อผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นผลจากความผิดพลั้งหรือไม่ก็ตาม

  14. อันตราย (harm) • คือ การสูญเสียโครงสร้างหรือการสูญเสียการทำหน้าที่ของร่างกายหรือจิตใจ ซึ่งอาจเป็นการสูญเสียชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

  15. ระดับของอันตราย (NCC MERP Index) • Category E:อันตรายชั่วคราวต่อผู้ป่วย ต้องให้การรักษา • Category F:อันตรายชั่วคราวต่อผู้ป่วย ต้องให้นอนโรงพยาบาล หรือ ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น • Category G:อันตรายถาวรต่อผู้ป่วย • Category H:อันตรายรุนแรงถึงขั้นต้องให้การรักษาเพื่อช่วยชีวิต • Category I: ผู้ป่วยเสียชีวิต

  16. วิธีการใช้ Trigger Tool เพื่อการทบทวนเวชระเบียน

  17. ขั้นตอนในการดำเนินการขั้นตอนในการดำเนินการ • 1. กำหนดช่วงเวลาของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ซึ่งควรจะมีการทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 3 เดือน • 2. กำหนดแหล่งข้อมูลและ trigger ใช้วิธีการสุ่มเลือกเวชระเบียน หรือเกณฑ์คัดกรองที่จะค้นหา high risk chart • 3. นำเวชระเบียบที่ได้รับการสุ่ม หรือนำ high risk chart มาทบทวนเพื่อพิจารณาว่ามีเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่ อันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอยู่ในระดับใด

  18. ขั้นตอนในการดำเนินการ(ต่อ)ขั้นตอนในการดำเนินการ(ต่อ) • 4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคำนวณอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ต่อพันวันนอน และวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ • 5. สรุปลักษณะการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างความตระหนักและการพัฒนาบุคลากร

  19. การทบทวนเวชระเบียน

  20. การทบทวนเวชระเบียน • 1. ทบทวนเวชระเบียนอย่างน้อย 20 ฉบับต่อเดือนสำหรับแต่ละโรงพยาบาล และสามารถกระจายการทบทวนออกไปได้ • 2. ใช้วิธีการสุ่มเลือกเวชระเบียน โดยเลือกจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เมื่อเลือกผู้ป่วยมาได้แล้ว ควรพิมพ์รายการมาโรงพยาบาลทุกครั้งของผู้ป่วยรายนั้นออกมา

  21. กระบวนการทบทวนเวชระเบียน(ต่อ)กระบวนการทบทวนเวชระเบียน(ต่อ) • 3. ทบทวนเฉพาะเวชระเบียนที่มีการบันทึกสมบูรณ์แล้ว ควรเลือกผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลไปแล้วไม่น้อยกว่า 30 วันเพื่อให้สามารถตรวจพบ readmission ภายใน 30 วันได้ • 4. ใช้เวลาในการทบทวนเวชระเบียนแต่ละฉบับไม่เกิน 20 นาที • 5. ควรให้ผู้ทบทวนที่มีประสบการณ์เป็นผู้ฝึกให้แก่ผู้ทบทวนมือใหม่ การทบทวนควบโดยทั้งผู้มีประสบการณ์และมือใหม่สำหรับเวชระเบียน 20 ฉบับแรกของมือใหม่ และช่วยตอบข้อสงสัยต่างๆ จะช่วยให้เกิดมาตรฐานในการทบทวนดีขึ้น

  22. 6. กระบวนการทบทวน • ก) การให้รหัสเมื่อจำหน่าย(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อน การวินิจฉัยโรคบางอย่าง) • ข) บันทึกสรุปจำหน่าย(มองหาสรุปการประเมินและการรักษาที่เฉพาะเจาะจงระหว่างนอนโรงพยาบาล) • ค) คำสั่งการใช้ยาของแพทย์และบันทึกการให้ยา (MAR) • ง) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ • จ) บันทึกการผ่าตัด • ฉ) บันทึกทางการพยาบาล • ช) progress note ของแพทย์ • ซ) ถ้ามีเวลาพอ อาจจะดูส่วนอื่นของเวชระเบียน เช่น บันทึกการซักประวัติ ตรวจร่างกาย • การปรึกษา

  23. IHI Trigger

  24. Thai HA Trigger

  25. Thank You

More Related