690 likes | 1.04k Views
สรุป การคลังภาครัฐ. ความหมาย. บุญชนะ อัตถากร >>>> มองการคลังว่าคือ ปัญหา กล่าวว่า การคลังภาครัฐ หมายถึง ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 4 ประการใหญ่ ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร ( RESOURCES ALLOCATION ) ปัญหาการกระจายรายได้ของประชาชาติ ( INCOME DISTRIBUTION ). ความหมาย.
E N D
ความหมาย • บุญชนะ อัตถากร>>>> มองการคลังว่าคือ ปัญหา กล่าวว่า การคลังภาครัฐ หมายถึง ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 4 ประการใหญ่ • ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร(RESOURCES ALLOCATION) • ปัญหาการกระจายรายได้ของประชาชาติ(INCOME DISTRIBUTION)
ความหมาย • ปัญหาการทำให้คนมีงานทำ(FULL EMPLOYMENT) • ปัญหาเสถียรภาพของระดับราคาและการพัฒนาเศรษฐกิจ(PRICE-LEVEL STABILITY AND ECONOMIC GROWTH)
ความหมาย • RICHARD A. MUSGRAVE และ PEGGY B. MUSGRAVE >> มองการคลังคือ บทบาท กล่าวว่า การคลัง คือ การที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจ ใน 4 ด้านดังนี้ • การจัดสรรทรัพยากร(THE ALLOCATION FUNCTION) • การกระจายรายได้(THE DISTRIBUTION FUNCTION)
ความหมาย • การรักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(THE STABILIZATION FUNCTION) • การประสานงบประมาณ(C00RDINATION)
ต่างประเทศ หน่วยผลิต หน่วยครัวเรือน รัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
สรุปความหมาย • การคลังภาครัฐ ประกอบด้วย การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนแนวปฏิบัติต่างๆเกี่ยวกับการหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ ภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล บทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ระดับประเทศ/ท้องถิ่น รวมมทั้งผลกระทบจากกิจกรรมที่มีผลต่อสังคมและประเทศโดยส่วนรวม
ระบบการคลัง • หมายถึง องค์ประกอบของสถาบันการคลังต่างๆ ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างของระบบการคลัง และทำงานเกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ระบบบริหารการคลังประกอบด้วยระบบบริหารการคลังประกอบด้วย • กำหนดนโยบายและวางแผนการคลัง • บริหารงบประมาณแผ่นดิน • จัดเก็บภาษีอากรและหารายได้ประเภทต่างๆ • บริหารหนี้สาธารณะ • บริหารเงินคงคลัง(รับ-จ่าย-เก็บรักษา-สำรองเงิน) • บริหารเงินนอกงบประมาณ
ระบบบริหารการคลังประกอบด้วยระบบบริหารการคลังประกอบด้วย • บริหารพัสดุ • บริหารทรัพย์สินแผ่นดิน • ระบบบัญชีและระบบข้อมูลข่าวสาร • ตรวจสอบและรายงานทางการคลัง • ประเมินผลทางการคลัง
นโยบายการคลัง(FISCAL POLICY) • หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด
นโยบายทางการเงิน(MONETARY POLICY) • หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวกับการกำหนดจำนวนหรือปริมาณเงินของประเทศ
วิธีการของนโยบาย • นโยบายการคลัง มีวิธีที่สำคัญคือ • การกำหนดรายจ่ายต้องจัดทำเป็นงบประมาณก่อน • การหารายได้ของรัฐโดยการเก็บภาษีอากร ต้องคำนึงถึงความชอบธรรม การสร้างรายได้ให้พอเพียง และหลักความสามารถในการจ่าย(ของผู้เสียภาษี) • ในกรณีที่รายได้ของประเทศไม่เพียงพอต่อรายจ่าย รัฐอาจเลือกใช้วิธีการก่อหนี้
วิธีการของนโยบาย • นโยบายการเงิน มีวิธีการที่สำคัญคือ • การเพิ่ม/ลดประมาณเงินสดสำรอง • การเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ย • การรับช่วงซื้อลด • การซื้อ/ขายพันธบัตรรัฐบาล
วิธีการศึกษาการคลังภาครัฐวิธีการศึกษาการคลังภาครัฐ • ศึกษาตามแนวความจริงที่เกิดขึ้น(POSITIVE/PREDICTIVE APPROACH) ศึกษาโดยใช้แบบจำลอง เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชน แล้วนำไปคาดคะเนหรือพยากรณ์พฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต(อดีต-กำลังเป็นอยู่-กำลังจะเป็นในอนาคต) โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์และการคลัง
วิธีการศึกษาการคลังภาครัฐวิธีการศึกษาการคลังภาครัฐ • ศึกษาตามแนวทางที่ควรจะเป็น(NORMATIVE/OPTIMAL THEORY) ใช้หลัก WHAT OUGHT TO BE และ ทฤษฏีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ตั้งทฤษฎีขึ้นมาก่อน แล้วพิจารณาจากทฤษฎีว่า ระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นควรเป็นอย่างไร? จากนั้นจึงพิจารณาสภาพจริงที่เป็นอยู่ แล้ววิเคราะห์ว่า รัฐควรใช้นโยบายหรือมาตรการใดที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
วิธีศึกษาการคลังภาครัฐที่ดีที่สุดคือวิธีศึกษาการคลังภาครัฐที่ดีที่สุดคือ ทั้ง 2 แบบควบคู่กัน โดย • วิเคราะห์แบบ POSITIVE เพื่อตอบปัญหาว่า สิ่งที่กำลังเป็นอยู่เป็นอย่างไร? • วิเคราะห์แบบ NORMATIVE เพื่อตอบปัญหาว่า สิ่งที่ควรจะเป็นนั้นควรเป็นอย่างไร?
ขอบข่ายการศึกษาการคลังภาครัฐขอบข่ายการศึกษาการคลังภาครัฐ • มหภาค(MACRO ) การกำหนดนโยบายและการบริหาร • จุลภาค(MICRO)การจัดการเกี่ยวกับกิจการการคลัง กิจกรรม ส่วนย่อยลงมา
หน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล • คือ หน้าที่ในกำหนดนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งบทบาทในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมาย
เหตุผลที่ทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ • เป็นเรื่องของส่วนรวม • เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหลายทาง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รัฐไม่เกี่ยวไม่ได้ • รัฐระดมทรัพยากรได้ดีกว่าเอกชน
เหตุผลที่ทำให้รัฐแทรกแซงกิจการทางเศรษฐกิจเหตุผลที่ทำให้รัฐแทรกแซงกิจการทางเศรษฐกิจ • รักษากฎหมายและจัดระเบียบสังคม • กำหนดกลไกตลาด • จัดสรรสินค้า/บริการ โดยเฉพาะสินค้าที่มีผลกระทบภายนอก • สร้างกลไกการตัดสินใจเลือกให้ประชาชน • ป้องกันการผันผวนทางเศรษฐกิจ • สร้างความเป็นธรรม
สรุปความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของภาครัฐกับเอกชนสรุปความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของภาครัฐกับเอกชน • ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม รัฐมีบทบาทมาก • ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เอกชนมีบทบาทมาก รัฐมีบทน้อย • ระบบเศรษฐกิจยุคข้อมูลข่าวสาร/โลกาภิวัฒน์ แบ่งโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ภาคเอกชน กับภาครัฐ ++ปัจจุบันเป็นแบบผสมเป็นส่วนใหญ่++
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าและบริการ • ถ้าอุปสงค์มากกว่าอุปทาน แสดงถึง มีผู้บริโภคมากกว่าปริมาณการผลิต---สินค้าแพงขึ้น • ถ้าอุปสงค์น้อยกว่าอุปทาน แสดงถึง มีผู้บริโภคน้อยกว่าปริมาณการผลิต--สินค้าราคาต่ำลง
สินค้าและบริการสาธารณะสินค้าและบริการสาธารณะ • เกณฑ์การพิจารณา • พิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการ • แบ่งแยกการบริโภคจากกัน>>ความสามารถในการกีดกันคนบางกลุ่มไม่ให้สามารถซื้อสินค้า/บริการได้ เช่น ทางด่วน • ลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค>>คนที่มาใช้บริการคนที่2-3-4ต่อๆไป ได้รับความไม่สะดวกจากการใช้สินค้า/บริการชนิดเดียวกัน เช่น ถนน
พิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการพิจารณาจากลักษณะสินค้าและบริการ
เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) • พิจารณาจากความต้องการ • ความต้องการนั้นเป็นชนิดไหน?>>เอกชนหรือสาธารณะ • ความต้องการนั้นถูกบำบัดด้วยสินค้าประเภทใด>>เอกชน/สาธารณะ ประเภทของความต้องการ • ความต้องการสาธารณะ>>ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตกอยู่กับสังคม เช่น การรักษาความปลอดภัยของตำรวจ ปลอดภัยทั้งสังคม ไม่ใช่แค่คนคนเดียว • ความต้องการเอกชน>>ประโยชน์ที่เกิดขึ้นตกอยู่กับผู้บริโภคคนนั้นๆ เช่น หิวก็ไปกินข้าว อิ่มคนเดียว
เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) รากฐานของความต้องการที่เกิดขึ้น • สินค้าเอกชน>>เกิดจากความสมัครใจของคนๆคนนั้น • สินค้าสาธารณะ>>ถูกชักนำหรือบังคับ ประเภทของความต้องการ • PRIVATE WANTS>>ความต้องการที่ตกอยู่กับเอกชน และ สมัครใจ • SOCIAL WANTS>>ความต้องการที่ตกอยู่กับสังคม และเป็นความสมัครใจ
เกณฑ์การพิจารณา(ต่อ) • MERIT WANTS>>ความต้องการที่มาจากการบังคับ ประโยชน์อาจตกอยู่กับตนเองหรือสังคมก็ได้ • MIXED WANTS>>ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง
ผลกระทบภายนอก • HARVEY S.ROSEN >>ให้ความหมายว่า --เมื่อกิจกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง(อาจเป็นผู้บริโภคหรือผู้ผลิต)ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสวัสดิการของผู้อื่น โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาด
ผลกระทบภายนอก • E.J.MISCAN>>ให้ความหมายว่า --ผลที่กระทบการผลิตหรือการบริโภคของบุคคลอื่นโดยตรง เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้ก่อไม่ได้จงใจ แต่เกิดจากผู้กระทำไม่รู้ตัวและมิได้นำสิ่งนี้มาคำนึงถึงในกระบวนการตัดสินใจของเขา
ผลกระทบภายนอก • NICHOLAS HENRY>>ให้ความหมายว่า --เกิดเมื่อรัฐนำนโยบายสาธารณะหนึ่งไปปฏิบัติในสังคมแล้ว ก่อให้เกิดผลกระทบอีกด้านหนึ่งขึ้น
ผลกระทบภายนอก(EXTERNALITY) • ผลที่เกิดจากการกระทำของหน่วยผลิตหรือผู้บริโภคแล้วกระทบโดยตรงต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของการผลิต/การบริโภค/การแลกเปลี่ยนของหน่วยผลิตหรือบุคคลนั้นๆ
ชนิดของผลกระทบภายนอก(ดูจากผล)ชนิดของผลกระทบภายนอก(ดูจากผล) • เป็นคุณประโยชน์(POSITIVEEXTERNALITY) —ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากขึ้น/ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนมากขึ้น 2. เป็นโทษ(NEGATIVE EXTERNALITY) --ผู้บริโภคได้รับความพอใจน้อยลง/ผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนน้อยลง
ประเภทของผลกระทบภายนอกประเภทของผลกระทบภายนอก • ด้านเทคนิค—เช่น เมื่อมีผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งซื้อสินค้าหนึ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสูงขึ้นกว่าเดิม กระทบกระเทือนต่อผู้บริโภครายอื่น • จากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ชัดเจน • จากสินค้าและบริการสาธารณะ--โรงงานต้นแม่น้ำปล่อยน้ำเสีย
ข้อพิจารณาของรัฐในการเข้าไปแก้ไขผลกระทบภายนอกข้อพิจารณาของรัฐในการเข้าไปแก้ไขผลกระทบภายนอก • ธรรมชาติของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆ มักมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเป็นหลัก และมักก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก • รัฐต้องวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นว่ากระทบต่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล/ส่วนรวม/สังคม หรือส่งผลเสียต่อต้นทุนส่วนบุคคล/ต้นทุนทางสังคม • รัฐสามารถใช้อำนาจและมาตรการทางการคลัง ในการแก้ปัญหาเมื่อไม่สามารถแก้ไขกลไกการตลาด
รูปแบบการเข้าไปแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกของรัฐรูปแบบการเข้าไปแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกของรัฐ • เกี่ยวข้องกับคนไม่มาก—จ่ายค่าทดแทนความเสียหาย , เจรจาตกลงกันเอง , รัฐเข้าไปไกล่เกลี่ย เพื่อประนีประนอม • เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก—มาตรการทางภาษี/เงินอุดหนุน , ออกกฎหมาย , ใช้เครื่องมือป้องกันผลกระทบนั้น , รวมหน่วยผลิตเข้าด้วยกัน
ลักษณะการเกิดผลกระทบภายนอกลักษณะการเกิดผลกระทบภายนอก ผล เหตุ
หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • จัดสรรทรัพยากรของสังคม >>ทรัพยากรของสังคม หมายถึง ที่ดิน แรงงาน ทุน เทคโนโลยี รัฐต้องกระจายอย่างทั่วถึง >>ความต้องการของประชาชนมี 2 อย่างคือ สินค้าและบริการเอกชน และสินค้าสังคม/สินค้าสาธารณะ การจะเข้าแทรกแซงทางเศรษฐกิจรัฐต้องคำนึงถึง ความต้องการสินค้าและบริการ , ประสิทธิภาพในผลิตของรัฐและเอกชน , ประเมินการจัดสวัสดิการในสังคม
หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • กระจายรายได้และความมั่งคั่งทางสังคม >>รัฐต้องเข้ามาดูแลให้สินค้า/บริการที่ผลิตขึ้น มีการจำหน่ายจ่ายแจกให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง >>สังคมไม่มีความเหลื่อมล้ำมากนัก >>ประชาชนทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • รักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ >>รัฐสนับสนุนและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและมีเสถียรภาพ สร้างสรรค์ความเติบโตทางเศรษฐกิจ >>รักษาภาวะการมีงานทำในตลาดแรงงานให้อยู่ในอัตราสูง
หน้าที่ความรับผิดชอบในทางเศรษฐกิจตามแนวทางของ MUSGRAVE • ประสานการใช้งบประมาณ >>ควบคุมดูแลการนำงบประมาณไปใช้ในทางเศรษฐกิจให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของแต่ละนโยบาย
ความแตกต่างระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการจำแนกภารกิจความแตกต่างระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการจำแนกภารกิจ • ความแตกต่างด้านเครื่องมือที่ใช้ในการจัดสรรทรัพยากร • เอกชน—ใช้กลไกราคา • รัฐบาล—ใช้เครื่องมือเยอะ ทั้งกฎหมาย มาตรการทางภาษี • ความแตกต่างด้านเป้าหมาย • เอกชน—มุ่งหวังกำไร - รายได้ – ประโยชน์สูงสุด • รัฐบาล—ให้บริการและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน
รายรับของรัฐบาล รายรับ รายจ่ายสาธารณะ ไม่ใช่รายได้ รายได้ การขายสิ่งของ/ บริการของรัฐ เงินกู้ เงินคงคลัง ภาษีอากร รัฐพาณิชย์ (รัฐวิสาหิจ) รายได้อื่น -เงินช่วยเหลือ -เงินบริจาค
ความหมาย • รายได้รัฐบาล—เงินหรือทรัพยากรที่รัฐบาลได้มา และสามารถนำไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ โดยที่รัฐไม่มีข้อผูกพันที่ต้องชำระคืน • รายรับรัฐบาล—เงินหรือทรัพยากรที่รัฐบาลได้มา และสามารถนำไปใช้ในกิจการต่างๆของรัฐ แต่รัฐมีข้อผูกพันที่ต้องชำระเงินหรือทรัพยากรดังกล่าวคืน
รายได้ รายรับ ภาษี ไม่ใช่ภาษี เงินบังคับกู้ยืม หนี้สาธารณะ ค่าบริการ สินค้าสาธารณะ เงินบริจาค ค่าปรับต่างๆ
แหล่งที่มาของรายได้ของรัฐแหล่งที่มาของรายได้ของรัฐ • รายได้ ส่วนใหญ่ มาจากภาษีอากร(79.2) • รายได้ส่วนน้อย มาจาก • รัฐพาณิชย์(5.1) • ขายสิ่งของและบริการ(0.8) • ประเภทอื่น(1.3)
ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ในภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา เก็บภาษีได้น้อย เหตุจาก • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ • ภาวะเงินฝืด • ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ภาวะที่รัฐมีนโยบายต้องใช้จ่ายเกินกว่าประมาณการรายได้ เหตุจาก • แผนเร่งรัดพัฒนาประเทศ • รัฐมีนโยบายเร่งด่วน • เกิดทุกข์ภัยธรรมชาติ • เกิดวิกฤติอันตรายต่อประเทศชาติ
ภาวะการคลังในกรณีพิเศษภาวะการคลังในกรณีพิเศษ • ประมาณการรายรับของประเทศ อาจหาได้จากแหล่ง • เงินคงคลัง • เงินกู้/หนี้สาธารณะ