1 / 36

ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน.test

jomejp
Download Presentation

ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN

  2. รายชื่อผู้จัดทำ 1.นายสหัสวรรษ สุทธิรักษ์ เลขที่ 3 ม.5/11 2.นายรวิสุต รอดไฝ เลขที่ 5 ม.5/11 3.นายอรรถพร อึ้งทวีทรัพย์ เลขที่ 10 ม.5/11 เสนอ ครูแพรวพรรณ เรืองแก้ว

  3. บทคัดย่อ โครงงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ISโดยจัดทำเรื่อง สมาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีจุดมุ่งหมายในการ ค้นคว้า ดังนี้ • 1. เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติของอาเซียน • 2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประเทศต่างๆของอาเซียนการดำเนินการศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียง เรื่องประเทศอาเซียน10ประเทศมีขั้นตอน ดังนี้ • 1)กำหนดชื่อเรื่อง 2)กำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษา • 3)วางโครงเรื่อง 4)จัดทำฉบับร่าง • 5)ตรวจทานแก้ไข 6)จัดทำฉบับจริง ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า อาเซียนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากและเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นการทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสิ่งต่างๆให้เจริญมากขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และทางด้านการเมืองการปกครอง ได้อย่างดียิ่งขึ้น

  4. บทที่ 1 บทนำ • ที่มา ความสำคัญและความเป็นมาของประเทศอาเซียน10ประเทศอาเซียนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากเพราะเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนทั้งหมด10ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และยังมีอาเซียนบวก3 คือ ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นดิฉันจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้เพราะว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและเป็นที่ใกล้ตัวอีกเรื่องหนึ่ง ดิฉันนั้นได้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เราจึงตัดสินใจเลือกเรื่องนี้และได้จัดทำเป็นโครงงาน1เล่มเพื่อที่จะเป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้และเป็นแนวทางในการเรียนรู้อีกด้วยจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของอาเซียน2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการเมืองการเมืองการปกครอง3. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ4. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม5. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับดอกไม้ การแต่งกาย อาหารประจำประเทศ6.เพื่อเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์

  5. ขอบเขตของโครงงานที่จะทำการศึกษา1.เลือกทำโครงงาน เรื่อง ประเทศอาเซียน10ประเทศ2.จัดทำโครงงานจำนวน1เล่ม • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ1.ทำให้เห็นถึงความสำคัญของอาเซียนมากขึ้น2.เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน3.เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียน4.ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ไม่มากก็น้อย

  6. บทที่ 2เอกสารที่เกี่ยวข้อง • ความเป็นมาของอาเซียน อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ได้ลงนามใน“ปฏิญญา กรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ ของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียในเวลาต่อมาได้มีบูรไนดารุสซาราม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ

  7. วัตถุประสงค์หลัก ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่1.ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการบริหาร2.ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค3.เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค4.ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี5.ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้6.เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม7.เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆและองค์การระหว่างประเทศ

  8. หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียนหลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน • ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย– การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียมบูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ– สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับภายนอก– หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน– ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี– การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง– ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

  9. ประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550

  10. คำขวัญ“One Vision, One Identity, One Community”(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม) • สัญลักษณ์อาเซียน“ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้”หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน • ธงอาเซียน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงสีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)ปฏิญญากรุงเทพ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510กฎบัตรอาเซียน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ

  11. ประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประเทศไทย Thailand• ปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข• ประกอบด้วยประชาชนเชื้อสายไทยกว่า 80% ชาวจีน 10% ชาวมาเลย์อีก 3% นอกจากนั้นยังมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ• ความเป็นมิตรและการรับรองแขกผู้มาเยือน จนได้รับสมญานามว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม”• เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจจากยุโรปข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 514,000 ตารางกิโลเมตรเมืองหลวง กรุงเทพมหานครประชากร ประมาณ 65 ล้านคนภาษาราชการ ภาษาไทยศาสนา พุทธ (95%) อิสลาม คริสต์ ฯลฯ (5%)พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ฯวันชาติ 5 ธันวาคม

  12. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 559.5 พันล้าน USDGDP Per Capita 8,000 USDReal GDP Growth ร้อยละ 4.7ทรัพยากรสำคัญ ดีบุก ก๊าซธรรมชาติอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์สกุลเงิน บาทอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 5.5สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ก๊าซธรรมชาติ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ สินแร่โลหะ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ยานพาหนะและอุปกรณ์สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลแล • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรปตลาดส่งออกที่สำคัญ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป

  13. ประทศอินโดนีเซีย(INDONESIA)• เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก• ทรัพยากรธรรมชาติมาก (น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ สัตว์น้ำ)• เป็นแหล่งประมงที่ใหญ่ที่สุดของไทย• มีบทบาทสูงในกลุ่ม NAM และ OICข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตรเมืองหลวง กรุงจาการ์ตา (Jakarta)ประชากร 245.5 ล้านคนภาษาราชการ อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)ศาสนา อิสลาม (88%) คริสต์ (8%) ฮินดู (2%) พุทธ (1%) ศาสนาอื่น ๆ (1%)พื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร

  14. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 432.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐGDP Per Capita 1,946 ดอลลาร์สหรัฐReal GDP Growth ร้อยละ 6.3ทรัพยากรสำคัญ น้ำมัน ถ่านหิน สัตว์น้ำอุตสาหกรรมหลัก น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เหมืองแร่สกุลเงิน รูเปียห์อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 11.85 สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมัน เหล็ก ท่อเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ เคมีภัณฑ์สินค้าส่งออกที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอตลาดนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯตลาดส่งออกที่สำคัญ EU ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์

  15. ประเทศฟิลิปปินส์(REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)• ผลักดันความร่วมมือในด้านการค้า พลังงาน ความมั่นคง• ประสบปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง• เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดของไทยมาเป็นเวลานานและมีมุมมองยุทธศาสตร์ร่วมกันในหลายด้าน• ประสบปัญหาจากขบวนการมุสลิมแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ข้อมูลทั่วไปพื้นที 298,170 ตร. กม.เมืองหลวง กรุงมะนิลาประชากร 91 ล้านคนภาษาราชการ Filipino และอังกฤษศาสนา โรมันคาทอลิก (83%) โปรเตสแตนท์ (9%)วันชาติ 12 มิถุนายน

  16. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 142.3 พันล้าน USDGDP Per Capita 1,563.73 USDReal GDP Growth ร้อยละ 4.4-4.9ทรัพยากรสำคัญ สินแร่โลหะ ก๊าซธรรมชาติ ทองแดงและทองคำอุตสาหกรรมหลัก เสื้อผ้า ยา เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไม้ และอาหารแปรรูป • สกุลเงิน เปโซอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9-11สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เหล็ก ยานพาหนะ และพลาสติกสินค้าส่งออกที่สำคัญ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลเสื้อผ้าสำเร็จรูป และยานพาหนะตลาดนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง สิงคโปร์ตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน จีน เกาหลีใต้

  17. ประเทศมาเลเซีย MALAYSIA• มีบทบาทสำคัญในองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ต้องการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ OIC ภายในปี ค.ศ. 2009 โดยใช้ศักยภาพด้านการบริหารธนาคารอิสลาม และอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตรเมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ประชากร 27.73 ล้านคนภาษาราชการ มาเลย์ศาสนา อิสลาม (60%) พุทธ (19%) คริสต์ (12%)วันชาติ 31 สิงหาคม

  18. ข้อมูลเศรษฐกิจสกุลเงิน ริงกิตGDP 53.55 พันล้าน USDGDP Per Capita 1,931.2 USDReal GDP Growth ร้อยละ 6.3ทรัพยากรสำคัญ ยางพารา น้ำมันปาล์ม น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ไม้สักอุตสาหกรรมหลัก อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.0สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เครื่องจักรอุตสาหกรรมสินค้าแปรอาหารสินค้าส่งออกที่สำคัญ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว ปิโตรเลียม เฟอร์นิเจอร์ ยาง น้ำมันปาล์มตลาดนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ไทยตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน ไทย ฮ่องกง

  19. ประเทศสิงคโปร์ REPUBLIC OF SINGAPORE • เป็นศูนย์กลางธุรกิจด้านการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงินและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ) โดยมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐานและการโทรคมนาคมที่ทันสมัย มีระบบการศึกษาและการแพทย์ที่ดีในเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีและต่อเนื่องมีรัฐบาลที่สะอาด มีการฉ้อราษฎรบังหลวงน้อยข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 699.4 ตร. กม.เมืองหลวง สิงคโปร์ประชากร 4.6 ล้านคนภาษาราชการ อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬศาสนา พุทธ (42.5%) อิสลาม (14.9%) คริสต์ (14.6%) ฮินดู (4%) ไม่นับถือศาสนา (25%)วันชาติ 9 สิงหาคม

  20. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 147,542 ล้าน USD • 12GDP Per Capita 32,074 USDReal GDP Growth ร้อยละ 7.7ทรัพยากรสำคัญ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมหลัก การผลิต การก่อสร้างการคมนาคมขนส่งและโทรคมนาคมการเงินและการธนาคารสกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปรอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.1สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าน้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหารสินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าตลาดนำเข้าที่สำคัญ มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทยตลาดส่งออกที่สำคัญ มาเลเซีย สหรัฐฯ สหภาพยุโรป

  21. ประเทศบรูไน BRUNEI DARUSSALAM • • ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและแรงงาน• มีนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และส่งเสริม Medical Tourism เริ่มพิจารณาขยายการค้าการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับไทยในการเพิ่มการค้า การลงทุนกับบรูไน และร่วมกันเข้าไปลงทุนในประเทศที่สามมากขึ้นข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 5,765 ตาราง กม.เมืองหลวง บันดาร์ เสรี เบกาวันประชากร 381,371 คนภาษาราชการ มาเลย์ (Malay)ศาสนา อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และฮินดูวันชาติ 23 กุมภาพันธ์

  22. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 13.54 พันล้าน USDGDP per capita 35,496 USDGDP Growth ร้อยละ 1.6อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.3สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติสินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าสินค้าเกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไนทรัพยากรสำคัญ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติอุตสาหกรรมหลัก น้ำมัน อาหาร (สินค้าเกษตรและประมง) และเสื้อผ้าตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลียตลาดนำเข้าที่สำคัญ อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

  23. ประเทศเวียดนาม THE SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM • • เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และมีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค• เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน การบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่องศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพ และยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ• ถูกจับตามองว่าจะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวไม่สมดุล อัตราเงินเฟ้อสูงมาก• ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี 2563จข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 331,690 ตร.กม.เมืองหลวง กรุงฮานอยประชากร 87 ล้านคน • 14ภาษาราชการ เวียดนามศาสนา พุทธ (มหายาน)วันชาติ 2 กันยายน

  24. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 73.5 พันล้าน USDGDP Per Capita 835 USDReal GDP Growth ร้อยละ 6.52ทรัพยากรสำคัญ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่บ๊อกไซต์อุตสาหกรรมหลัก อาหาร สิ่งทอ รองเท้า เหมืองแร่ ปูนซีเมนต์สกุลเงิน ด่งอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 22.14สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ วัสดุสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ เสื้อผ้า และสิ่งทอ อาหารทะเล ยางพารา ข้าว กาแฟ รองเท้าตลาดนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีนตลาดส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป

  25. ประเทศลาว LAOS • • สามารถเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว• เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล แต่สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สาม ในอนุภูมิภาคข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร • 15เมืองหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ประชากร ประมาณ 6 ล้านคนภาษาราชการ ภาษาลาวศาสนา พุทธ (75%) นับถือผี (16-17%)วันชาติ 2 ธันวาคม

  26. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 3.94 พันล้าน USDGDP Per Capita 678 USDReal GDP Growth ร้อยละ 7.6สกุลเงิน กีบอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.4ทรัพยากรสำคัญ ไม้ ข้าว ข้าวโพด เหล็ก ถ่านหิน ทองคำ แหล่งน้ำผลิตไฟฟ้าอุตสาหกรรมหลัก โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องนุ่งห่มสินค้านำเข้าที่สำคัญ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่ออุปโภคบริโภคสินค้าส่งออกที่สำคัญ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน เสื้อผ้าสำเร็จรูปตลาดนำเข้าที่สำคัญ ไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนีตลาดส่งออกที่สำคัญ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์

  27. ประเทศพม่า MYANMMAR • • สหภาพพม่ามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบทรัพยากรธรรมชาติ ตลาดการค้า แรงงานแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) และเป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย • 16• สหภาพพม่าเป็น “critical factor” ในยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคของไทย ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภายในพม่าหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ความมั่นคงบริเวณชายแดน ฯลฯข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 657,740 ตร.กม.เมืองหลวง เนปิดอว์ประชากร 55.4 ล?านคนภาษาราชการ พม่าประมุข พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย

  28. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 9.3 พันล้าน USDGDP Per Capita 97 USDสกุลเงิน จ๊าตอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 30สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูปสินค้าส่งออกที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุงตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน สิงคโปร์ ไทยตลาดส่งออกที่สำคัญ ไทย อินเดีย จีนReal GDP Growth ร้อยละ 3.5ทรัพยากรสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุอุตสาหกรรมหลัก เกษตร สิ่งทอ และสินค้าอุปโภคบริโภค

  29. ประเทศกัมพูชา CAMBODIA• มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมี พรมแดน ทางบกติดต่อกันยาว 798 กม. และมีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลประมาณ 26,000 ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”• เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้าและแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วน ทาง ยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต• เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญระหว่างไทย กับลาวและเวียดนามตอนใต้ข้อมูลทั่วไปพื้นที่ 181,035 ตร.กม.เมืองหลวง พนมเปญประชากร 14.45 ล้านคนภาษาราชการ เขมรกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี

  30. ข้อมูลเศรษฐกิจGDP 8.63 พันล้าน USD2GDP per capita 1,800 USD4GDP Growth ร้อยละ ร้อยละ 10.33อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ร้อยละ 18.7สินค้าส่งออกที่สำคัญ เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า ปลา ไม้ ยางพารา บุหรี่และข้าวสินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนt และเครื่องใช้ไฟฟ้าสกุลเงิน เรียล (Riel) 4,006 เรียล (Riel)อุตสาหกรรมหลัก สิ่งทอ สินค้าเกษตรแปรรูป การท่องเที่ยวตลาดส่งออกที่สำคัญ สหรัฐฯ (66.6%) เยอรมนี (9.6%) สหราชอาณาจักร (5.5%) แคนาดา (4%) เวียดนาม (2.7%)ตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน (18.1%) ฮ่องกง (16.8%) เวียดนาม (12.3%) ไทย (12.2%) ไต้หวัน (10.9%)

  31. บทที่3วิธีดำเนินงานโครงงานบทที่3วิธีดำเนินงานโครงงาน • วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา1.เว็บไซต์อินเทอร์เน็ต2.ปากกา ดินสอ3.หนังสือ4.สมุด • วิธีดำเนินการศึกษา1. เลือกเรื่องที่ต้องการทำ คือ เรื่องประเทศอาเซียน10ประเทศ2. เมื่อได้เรื่องก็รวบรวมข้อมูล และช่วยแก้ไขภาษาและเนื้อหาใจความให้เหมาะสม3. จัดเตรียมอุปกรณ์การทำโครงงาน เรื่อง ประเทศอาเซียน10ประเทศ4. จัดทำ โครงงาน เรื่อง ประเทศอาเซียน10ประเทศ

  32. บทที่ 4ผลการดำเนินงานโครงงาน อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่อง สันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)

  33. 3.มาเลเซีย โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ 8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538 เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

  34. บทที่ 5สรุปผลการดำเนินงาน • สรุปผลการศึกษาในการจัดทำโครงงาน เรื่อง ประเทศอาเซียน10ประเทศ ผู้จัดทำโครงงานได้สอดแทรกสาระความรู้จนถึงคุณค่าของอาเซียน ความเป็นมา ความสำคัญและประเทศอาเซียนแต่ละประเทศเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นำเสนอออกมาเป็นรูปแบบของโครงงาน ตลอดจนสามารถนำความรู้จากโครงงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จากการดำเนินดังกล่าวสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ • 1. เพื่อศึกษาความเป็นมา • 2. เพื่อศึกษาประเทศในอาเซียน • 3. เพื่อศึกษาเศรษฐกิจ • 4. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติของแต่ละประเทศ

  35. ประโยชน์ที่ได้รับ1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาเซียน2. ได้รู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของอาเซียน4. คนทั่วไปได้รับความรู้ จากโครงงานเล่มนี้5.สามารถนำไปประยุตก์ใช้ในชีวิตประจำวันข้อเสนอแนะการทำโครงงานเล่มนี้น่าจะเจาะลึกมากกว่านี้และให้มีความหลากหลายมากขึ้น

  36. เอกสารอ้างอิง • อาเซียนคืออะไร สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2557จากสื่อออนไลน์ http://www.thai-aec.com/418#ixzz3D1EHslze • อาเซียน10ประเทศ สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2557จากสื่อออนไลน์http://www.thaimaster.info/pornpilai/wannisa/asean/asean_info.html#1

More Related