410 likes | 942 Views
กระบวนการพัฒนาการสื่อสาร. ความคิดกับภาษา. ความคิด.
E N D
กระบวนการพัฒนาการสื่อสารกระบวนการพัฒนาการสื่อสาร ความคิดกับภาษา
ความคิด • ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ "ความรู้ คือ อำนาจ" อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้เกิดอำนาจได้นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถ ในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสาร ให้อยู่ในรูปขององค์ความรู้ และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่จะสามารถเป็นเช่นนั้นได้ จะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิต นั่นคือ "คิดเป็น"
ความคิดกับภาษา • การคิด คือ กระบวนการการทำงานของจิตใจมนุษย์เพื่อหาคำตอบหรือทางออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลของกระบวนการคิดก็คือ ความคิดนั่นเอง • การคิดเป็นทักษะอย่างหนึ่งซึ่งจะตองพัฒนาอย่างคล่องแคล่วชำนาญและมีคุณภาพสูงความคิดที่มีคุณภาพสูงจะช่วยแก้ปัญหา
ทิศทางในการคิด • คิดในทางวัฒนะ หมายถึง การคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คิดหาทางประนีประนอม • คิดในทางหายนะ หมายถึง ความคิดที่ก่อให้เกิดการเดือดร้อน เช่น คิดใส่ร้ายผู้อื่น
ภาษากับการแสดงความคิดภาษากับการแสดงความคิด • ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนไม่มีใครเคยเห็นหรือสามารถจับต้องได้ การที่บุคคลแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูด การกระทำคือ เป็นเพียงพฤติกรรมภายนอกเท่านั้น • ภาษาเป็นระบบสัญลักษณ์มีกฏเกณฑ์ควบคุมกำกับไว้หมายความว่า ภาษาของมนุษย์ทุกภาษาประกอบด้วยสัญลักษณ์ คือ ถ้อยคำที่อาจนำมาเรียบเรียงเข้าด้วยกัน
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งสมมติฐาน และข้อสมมติที่อยู่เบื้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกลู่ทางต่างๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผล มากกว่าข้อเสนอเดิม
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่สอง การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่สาม การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่สี่ การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิด การแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่ห้า การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่หก การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่เจ็ด การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่แปด การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่เก้า การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
วิธีการคิดแบบ 10 มิติ • ประการที่สิบ การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์
การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์ • การสื่อสารเป็นพฤติกรรมหรือกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ความคิดอารมณ์ ความรู้สึก ทักษะโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งอาจเป็นคำพูด หนังสือ ภาพ หรือตัวเลขเป็นสื่อ • การสื่อสารเป็นการอธิบายความหมายในทางใดทางหนึ่งทางใดและมีสัญลักษณ์ของการส่งและการรับสารภายในบริบทหรือสภาพแวดล้อมหนึ่ง ๆ
ความสำคัญของการสื่อสารต่อสังคมความสำคัญของการสื่อสารต่อสังคม • การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นให้มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์และสร้างวัฒนธรรมอันศิวิไลซ์การสื่อสารช่วยให้มนุษย์ทราบความเคลื่อนไหวของโลกและสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง • การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการสร้างสังคมมนุษย์ให้ดำรงอยู่ต่อไปไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปขนาดไหน
มหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมมหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อธุรกิจและอุตสาหกรรม • พลังของการสื่อสารจะทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว • พลังแห่งการสื่อสารช่วยสร้างภาพลักษณ์และภาพพจน์ที่ดีของสินค้าและองค์กร • สร้างบรรยากาศของการแข่งขันทางธุรกิจและอุตสาหกรรม • ช่วยให้ผู้บริโภคจดจำระลึกถึงและตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการ
มหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อวัฒนธรรมมหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อวัฒนธรรม • การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบสาน ธำรงวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมประจำชาติ • การสื่อสารเป็นเครื่องมือรณรงค์และเผยแพร่วัฒนธรรม • การสื่อสารเป็นสะพานเชื่อมประชาคมโลกให้รู้จักและเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
มหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อสาธารณสุขมหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อสาธารณสุข • การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันและรักษาสุขภาพ • การสื่อสารเป็นจูงใจและกระตุ้นให้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติเพื่อสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพและสาธารณสุข
มหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อการศึกษามหัศจรรย์แห่งการสื่อสารต่อการศึกษา • การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคลเกิดปัญญาสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่น • การสื่อสารเป็นสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถาบันการศึกษา • การสื่อสารมีบทบาทในการสร้างทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการของสังคม • การสื่อสารเป็นเครื่องมือและกลไกลสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้มีภูมิกันทางความคิด
จุดประสงค์การสื่อสาร • เพื่อแจ้งให้ทราบ • เพื่อโน้มน้าวหรือชักจูงใจ • เพื่อจรรโลงใจ • เพื่อผ่อนคลายหรือให้ความบันเทิง
จุดประสงค์การนำไปใช้ • ส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างวิธีการสร้างสรรค์งานนิยมใช้ในงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์คือต้องเกิดผลทันทีทันใด • จุดประสงค์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร • ผู้ส่งสาร • สาร • สื่อหรือช่องทาง • ผู้รับสาร
ความคิดสร้างสรรค์ • การคิดสร้างสิ่งใหม่ หรือการนำสิ่งเดิมมาปรับปรุงสิ่งใหม่เพื่อจุดประสงค์ใหม่เพื่อจุดประสงค์ใหม่เป็นการคิดนอกกรอบ
ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ • ความคิดสร้างสรรค์ทำให้มนุษย์ค้นพบสิ่งใหม่ส่งผลให้โลกก้าวหน้าสามารถตอบสนองความต้องการปัจจุบันถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้สร้างสรรค์
ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ • มนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์เมื่อได้รับการกระตุ้น พลังสร้างสรรค์นั้นจะปรากฏดังนั้นในกระบวนการสร้างสรรค์ จึงเน้นไปที่สิ่งกระตุ้นเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ จินตนาการ ระดมสมอง วาบความคิด และมีความศรัทธาในอุดมการณ์
ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ขั้นตอนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ • แรงบันดาลใจ เป็นภาวะกระทบใจ เกิดจากสิ่งรอบตัว • จินตนาการ ภาพเพ้อฝัน ภาพในอนาคต เกิดจากความคิดคำนึงเป็นความรู้สึก • การระดมสมอง เป็นการส่งเสริมให้บุคคลคิดหลายทิศทางให้มากที่สุดในเวลาที่จำกัด • การวาบความคิด เป็นประกายความคิดแรกที่เกิดขึ้น • ศรัทธาในอุดมการณ์ เป็นความเชื่อมั่นในคุณค่าของแนวคิดที่เป็นประโยชน์
การส่งสารและรับสารอย่างสร้างสรรค์การส่งสารและรับสารอย่างสร้างสรรค์ • คุณสมบัติผู้ส่งสาร • มีจุดประสงค์ที่ชัดเจน • เลือกเนื้อหาสาระสะท้อนความรู้ ทัศนคติ วัฒนธรรม • มีทักษะในการสื่อสาร เรียงลำดับเนื้อหาให้เกิดความชัดเจน
คุณสมบัติผู้รับสาร • รับรู้รหัสของสารที่มีการตกลงกันไว้ • มีทักษะในการรับสาร จัดลำดับความสำคัญของสาร • มีจุดประสงค์ในการรับสารอย่างชัดเจน • มีทัศนคติใกล้เคียงกัน • คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างระบบสังคมและวัฒนธรรม
การรับสารอย่างสร้างสรรค์การรับสารอย่างสร้างสรรค์ • คือ ความสามารถในการเลือกสรร ข้อมูลอย่างชาญฉลาด นำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านอื่น ๆ อย่างรอบด้านจัดกลุ่มเนื้อหาและประมวลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อจุดมุ่งหมายในการสื่อสาร
ความสำคัญของการรับสารอย่างสร้างสรรค์ความสำคัญของการรับสารอย่างสร้างสรรค์ • เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาค้นคว้า • เป็นวิธีคัดเลือกข้อมูลแบบประสมประสาน บูรณาการ • เป็นการเสริมสร้างวิเคราะห์ข้อมูลนำไปสู่การสังเคราะห์ • ช่วยพัฒนาระบบการคิดการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลไม่ไหลตามกระแสนิยม
แนวคิดในการรับสารอย่างสร้างสรรค์แนวคิดในการรับสารอย่างสร้างสรรค์ • เป็นคุณสมบัติที่ฝึกฝนได้ • การฝึกทักษะในการรับสารอย่างสร้างสรรค์จะช่วยให้เกิดความแม่นยำในการตัดสินใจ • เป็นการฝึกฝนการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านส่งผลให้เกิดความรู้กว้างขว้างลึกซื้งและมีความรอบคอบ
ขั้นตอนการรับสารอย่างสร้างสรรค์ขั้นตอนการรับสารอย่างสร้างสรรค์ • ขั้นที่ 1 การเลือกสรรข้อมูล เป็นการระดมสมองเพื่อพิจารณาเลือกรับข้อมูลที่สอดคล้องและตรงกับความต้องการของข้อมูล • ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงข้อมูล เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการหาความสัมพันธ์จากแนวคิดเดิมไปสู่มิติอื่น ๆ • ขั้นที่ 3 การจัดกลุ่มข้อมูล เป็นการจัดกลุ่มจัดระบบข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์หาข้อสรุป • ขั้นที่ 4 การประมวลข้อมูลเป็นการแปลข้อมูล ตีความ หรือสรุปความสำหรับตัดสินใจเพื่อนำไปปฏิบัติ