250 likes | 655 Views
สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร. บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา. มาตรา ๑๕๖๑ “บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ใน กรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของ มารดา ” พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 11 บุตรที่มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
E N D
สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร กฎหมายครอบครัว
บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาบุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา มาตรา ๑๕๖๑ “บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา” • พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มาตรา 11 • บุตรที่มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย • บุตรนอกสมรสหากบิดาได้ยอมให้ใช้ชื่อสกุลก็เป็นเหตุให้ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555(7) • ดังนั้นหากบุตรนอกสมรสมาใช้ชื่อสกุลของบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหาย หรือขอให้ศาลสั่งห้ามใช้ก็ได้ เพราะเป็นการใช้โดยมิได้รับอำนาจตามมาตรา 18 • ในทางตรงกันข้ามหากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ แม้ภริยาชอบด้วยกฎหมายของบิดาจะมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของสามีได้ ตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 ภริยาจะฟ้องว่าบุตรนอกสมรสของสามีใช้ชื่อสกุลอันเป็นการละเมิดต่อภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาไม่ได้ (ฎีกาที่ 1435/2523) กฎหมายครอบครัว
ห้ามผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีห้ามผู้สืบสันดานฟ้องบุพการี • มาตรา ๑๕๖๒ “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” • ผู้ฟ้องจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย • บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ห้าม • แต่หากบิดารับรองโดยพฤตินัยแล้วก็ฟ้องไม่ได้ • บุตรบุญธรรมฟ้องผู้รับบุตรบุญธรรมได้ • บุตรจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ไม่ได้ • บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจะฟ้องแทนบุตรก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน • บุตรฟ้องบุพการีในฐานะอื่นที่มิใช่ในฐานะส่วนตัว เช่น ในฐานพนักงานอัยการ ผู้อนุบาล กรรมการบริษัท ผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีอุทลุม • ฎีกาที่ 1707/2515 ,ฎีกาที่ 2505/2515, ฎีกาที่ 4757/2533, ฎีกาที่ 2387/2529 กฎหมายครอบครัว
บุพการี หมายถึง ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ไม่รวมถึง • บุตรเขยฟ้องพ่อตา แม่ยาย หรือ • ลูกสะใภ้ฟ้องบุพการีของสามี หรือ • น้อง หรือหลานฟ้องพี่ ป้า น้า อา และญาติผู้ใหญ่ อื่นๆ • ฟ้อง หมายถึง การเสนอข้อหาต่อศาล ไม่วาจะทำด้วยวาจา หรือหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือฎีกา และไม่จำกัดว่าจะต้องเสนอในขณะที่เริ่มฟ้องคดี อาจเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติม หรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยการร้องสอดเข้ามาในคดีก็ได้ กฎหมายครอบครัว
การฟ้องคดีที่ต้องห้ามตามมาตรา 1562 นี้ ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยฟ้องบุพการีเป็นจำเลย หากเริ่มต้นคดีเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เช่น บุตรร้องขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ บิดาร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ ไม่เป็นคดีอุทลุม (พิจารณาขณะที่มีการยื่นฟ้องต่อศาล) • ฎีกาที่ 596/2494 • แม้ผู้สืบสันดานจะฟ้องบุพการีไม่ได้ แต่ไม่ห้ามผู้สืบสันที่จะฟ้องให้ผู้รับมรดกของบิดารับผิดในหนี้ที่บิดามีอยู่ต่อตน และรวมตลอดไปถึงการฟ้องผู้ทีรับประโยชน์จากการกระทำของบุพการี กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 6181/2533 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น เป็นการร้องขอเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิของตนตามกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีที่ผู้ร้องมีคำขออย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่จะเป็นการบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุพการี และถึงแม้ว่าผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาก็เป็นการกระทำของผู้คัดค้านเอง มิใช่การกระทำของผู้ร้อง และการที่ผู้คัดค้านเข้ามานั้นก็มีผลเพียงทำให้คดีของผู้ร้องเดิมกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นเท่านั้นจึงไม่อยู่ในความหมายที่จะเรียกได้ว่าเป็นการฟ้องบุพการีอันจักต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด คดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นอุทลุม กฎหมายครอบครัว
บิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันบิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน • บิดามารดาและบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน มาตรา ๑๕๖๓ “บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา” มาตรา ๑๕๖๔ “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้” มาตรา ๑๕๖๕ “การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามมาตรา ๑๕๖๒ แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” กฎหมายครอบครัว
บิดาที่จะมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู หรือบุตรต้องอุปการะเลี้ยงดู หมายถึง บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย • ส่วนบิดาที่รับรองโดยพฤตินัยแม้จะเป็นพฤติการณ์อาจฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตรยังไม่เกิดขึ้น จึงยังไม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย • (ฎีกาที่ 148/2522, ฎีกาที่ 1409/2549) • หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้นกฎหมายได้กำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่ขณะที่บุตรมีสภาพบุคคล (มาตรา 15) แต่การจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูมากน้อยเพียงใดหรือไม่ต้องพิจารณาจากมาตรา 1598/38 • มาตรา ๑๕๙๘/๓๘ “ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกจากกันได้ในเมื่อฝ่ายที่ควรได้รับ อุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี” กฎหมายครอบครัว
กรณีที่มีผู้ทำละเมิดให้บิดามารดาหรือบุตรถึงแก่ความตาย อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องผู้ทำละเมิดตามมาตรา 420, มาตรา 443 วรรคสาม ได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายกับผู้ขาดไร้อุปการะจะอุปการะกันจริงหรือไม่ เพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะได้รับชดใช้ตามกฎหมาย และชอบที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 1564 • แม้บุตรจะมีอายุ 4 ขวบ ก็ต้องเข้าใจว่าการทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมาย บิดาชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคต โดยไม่ต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุผู้ตายได้อุปการะบิดาจริงหรือไม่ และในอนาคตผู้ตายจะอุปการะบิดาหรือไม่ (ฎีกาที่ 1659/2538) • แม้บิดามารดาจะมีเป็นบุคคลที่มีฐานะดีไม่จำต้องได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดุจากบุตรก็ตาม บิดามารดาก็ชอบที่จะได้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ต้องขาดไร้อุปการะได้ตามมาตรา 443 วรรคสาม เพราะเป็นคนละกรณีกับการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันเอง (ฎีกาที่ 215/1515, 625/2515, 1432/2519) กฎหมายครอบครัว
บุตรบุญธรรมก็มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูต่อผู้รับบุตรบุญธรรม (มาตรา 1598/28) • หากไม่อุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเหตุให้ฟ้องคดีเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ ตามมาตรา 1598/33 • นอกจากนี้ แม้บุตรจะเป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่นแล้วก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาในครอบครัวที่ได้กำหนดมาอยู่ (มาตรา 1598/28) • ฉะนั้นแม้บิดาจะยกผู้ตายให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ผู้ตายก็ยังคงมีความผูกพันต่อบิดา เมื่อลูกจ้างของจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง บิดาจึงมีอำนาจฟ้อง (ฎีกาที่ 689/2512) กฎหมายครอบครัว
การเรียกค่าเลี้ยงดู • มาตรา ๑๕๖๕ “การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น นอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตามมาตรา ๑๕๖๒ แล้ว บิดาหรือมารดาจะนำคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” • ค่าอุปการะเลี้ยงดู หรือการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการอื่น เช่น ค่าที่อยู่อาศัย ค่ายารักษาโรค ฯลฯ • บุตรที่จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย • แม้บุตรจะมีฐานะดี ไม่เป็นเหตุให้บิดามารดาหลุดพ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู • ฎีกาที่ 360/2488 กฎหมายครอบครัว
บุตรชอบด้วยกฎหมาย จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเองไม่ได้เพราะจะเป็นคดีอุทลุม บุคคลที่จะฟ้องขอให้ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและเลี้ยงดูประการอื่นๆ เช่น ได้แก่ • อัยการ หรือ • โดยบุตร หรือญาติสนิทอาจร้องขอให้อัยการร้องขอต่อศาลตามมาตรา 1562 • บิดาหรือมารดา • บุตรนอกสมรสจะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาได้ต่อเมื่อได้ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมกันในคดีเดียวกัน หรือในภายหลัง (ไม่เป็นคดีอุทลุม) กฎหมายครอบครัว
อำนาจปกครอง(Parental Power) • ปกติอำนาจในการปกครองบุตรซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องอยู่ในอำนาจการปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดามารดาจึงใช้อำนาจปกคอรงเกี่ยวกับบุตรนั้น ในกรณีนี้ ต้องเข้าใจว่าการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับบุตรไม่ว่าในทางส่วนตัวหรือในทางทรัพย์สินนั้นปกติบิดามารดาจะต้องใช้ร่วมกัน มิใช่ต่างฝ่ายต่างทำได้เพราะจะทำให้เกิดความแตกร้าวในครอบครัวได้เง่าย • แต่การใช้อำนาจปกครองบางกรณี แม้มีทั้งบิดามารดา แต่กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องจัดการ่วมกัน เช่น กรณีสามีภริยา ตามมาตรา 1476(1) ถึง (8) และต่างจากผู้ปกครองซึ่งมีหลายคน ศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำการร่วมกันหรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้ ตามมาตรา 1590 กฎหมายครอบครัว
ดังนั้น บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ได้ตามมาตรา 1569 • ฎีกาที่ 1114/2535 • ฎีกาที่ 482/2537 • แต่สำหรับการกำหนดที่อยู่นั้นกฎหมายกำหนดให้สามีภริยาอาจถือภูมิลำเนาต่างกันได้ ในกรณีเช่นนี้ การกำหนดที่อยู่คงต้องทำร่วมกัน อย่างไรก็ดี หากบิดามารดามีความขัดแย้งกันเรื่องการใช้อำนาจปกครอง ทางแก้ก็คือ ร้องขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ กฎหมายครอบครัว
อำนาจปกครองอาจตกอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีต่อไปนี้อำนาจปกครองอาจตกอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีต่อไปนี้ • โดยผลของกฎหมาย • (1) มารดาหรือบิดาตาย • รวมถึงการสาบสูญด้วยหรือไม่ ? • (2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย • ไม่แน่นอนว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ ไม่จำต้องเป็นเวลา 2 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งเป็นเรื่องการขอให้เป็นคนสาบสูญ • (3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ • (4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน กฎหมายครอบครัว
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา • อาจเกิดจากกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้หย่า หรือศาลชี้ขาดตามมาตรา 1520 หรือมีการเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1521 หรือตามมาตรา 1555 ก็ได้ • (6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ • การจะเปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองจำกัดไว้เฉพาะตามที่กฎหมายกำหนดหรือโดยคำพิพากษาของศาล เท่านั้น • เช่น ตามมาตรา 1520, 1521, 1566(5), 1582 • ฎีกาที่ 2076/2497 มารดาจะโอนอำนาจปกครองให้ใครไม่ได้ และผู้อื่นจะเป็นผู้ปกครองเด็กนั้นไม่ได้ก่อนที่มารดาจะถูกถอนอำนาจปกครอง กฎหมายครอบครัว
กรณีที่บิดามารดาจะตกลงกันให้อำนาจปกครองอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งได้นั้นจะต้องมีกฎหมายรับรองให้กระทำได้ เช่น มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง • การตกลงกันนี้เป็นเรื่องระหว่างบิดามารดาเท่านั้น บิดาหรือมารดาจะตกลงกับบุคคลอื่นไม่ได้ เช่นกัน เพราะผู้ปกครองจะตั้งได้โดยคำสั่งศาล หรือศาลแต่งตั้งผู้ปกครองโดยข้อกำหนดพินัยกรรมของบิดามารดาที่ตายที่หลังได้ระบุชื่อไว้เท่านั้น (มาตรา 1586) • แต่การยินยอมให้บุตรไปอยู่ในความดูแลของบุคคลอื่นมิใช่เป็นการโอนอำนาจปกครองและไม่กระทบกระทั่งต่อการทีบิดาหรือมารดาจะใช้อำนาจปกครอง ย่อมกระทำได้ ตราบเท่าที่บิดาหรือมารดาจะยกเลิกความยินยอมเช่นนั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นข้อตกลงหรือสัญญาในอันที่จะบังคับกันได้ กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 2652/2516 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงเลิกจากการเป็นสามีภริยากัน โจทก์ยอมให้จำเลยรับบุตรไปเลี้ยงดูชั่วคราว ต่อมาโจทก์ฟ้องเรียกบุตรคืนจากจำเลย จำเลยจะยกข้อตกลงที่โจทก์ยอมให้จำเลยรับบุตรไปเลี้ยงดูขึ้นไม่ได้ เพราะจำเลยมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 7473/2537 โจทก์จำเลยซึ่งอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสได้ตกลงแยกกันอยู่และร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงผลัดกันดูแลบุตรผู้เยาว์ โจทก์ซึ่งมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดาของบุตรผู้เยาว์ ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่มี จึงไม่อาจทำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ได้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ กฎหมายครอบครัว
ฎีกาที่ 3484/2542 โจทก์เป็นภริยาจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ธ. ตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว ส่วนจำเลยเป็นบิดามิชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ การที่โจทก์ทำบันทึกระบุข้อความมอบผู้เยาว์ให้อยู่ในความปกครองของพี่สาวจำเลยจึงเป็นการตั้งผู้ปกครองกันเองย่อมไม่มีผล เพราะการตั้งผู้ปกครองตามกฎหมายจะมีได้เฉพาะด้วยคำสั่งศาลหรือบิดามารดาตกลงกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เท่านั้น ข้อความตามบันทึกดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์ให้อยู่กับพี่สาวจำเลยเท่านั้น และกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้เป็นมารดาได้สละการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้บิดาหรือมารดาสามารถสละการใช้อำนาจปกครองให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งมิใช่กรณีที่บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1566 (6) เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่ จำเลยซึ่งเป็นบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมีหน้าที่ต้องส่งผู้เยาว์ให้แก่โจทก์ กฎหมายครอบครัว
โดยการตกลงระหว่างสามีภริยาในกรณีหย่าโดยความยินยอมโดยการตกลงระหว่างสามีภริยาในกรณีหย่าโดยความยินยอม • มาตรา ๑๕๒๐ วรรค 1 “ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด” • กรณีที่บิดาหรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามความตกลงแล้ว หากต่อมาภายหลังฝ่ายนั้นตายลง ศาลวินิจฉัยว่า อำนาจปกครองย่อมตกอยู่แก่บิดามารดาที่ยังมีชิวติอยู่ตามมาตรา 1566 (ฎีกาที่ 2563/2544, 2960/2548) กฎหมายครอบครัว
การใช้อำนาจปกครอง การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตร • การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวบุตร • การใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร • มาตรา 1567ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย -บุคคลอื่น ต้องมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายอื่นด้วย กฎหมายครอบครัว
อำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในทางทรัพย์สินอาจจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ • อำนาจให้ความยินยอมในการที่บุตรผู้เยาว์ทำนิติกรรม • ยกเว้นแต่ มาตรา 22-27 • กรณีผู้แทนโดยชอบธรรมไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมมิได้ • อำนาจจัดการทรัพย์สินแทนบุตรผู้เยาว์ • ผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทนบุตรผู้เยาว์ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นการทำนิติกรรมหรือมิใช่ก็ได้ • การจัดการทรัพย์สิน ได้แก่ การสงวนบำรุงรกัษา การจัดการหาประโยชน์ ใช้สิทธิติดตามทรัพย์ ขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์ ตลอดถึงการจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพัน อำนาจฟ้อง และต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์ของผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง กฎหมายครอบครัว
การใช้อำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่จำต้องให้ความยินยอมร่วมกันหรือจัดการทรัพย์สินร่วมกัน • เพราะไม่มีบทบัญญัติทำนองเดียวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1476 (1)-(8) หรือกรณีผู้ปกครองหลายคน ตามมาตรา 1590 บิดามารดาสามารจัดการได้โดยลำพัง • ฎีกาที่ 1114/2535, ฎีกาที่ 482/2537 กฎหมายครอบครัว