990 likes | 1.42k Views
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา (Development Theory and Concepts). ทฤษฎีและแนวคิด การพึ่งพา. Dependency Theory. Paradigm ( กระบวนทัศน์/แนวคิด). แนวความคิดและทฤษฎีที่พยายามตอบโต้และ ปฏิเสธข้อเสนอหลักของทฤษฎีภาวะทันสมัย อาศัย : - แนวความคิดเศรษฐกิจการเมือง ( Political Economic )
E N D
ทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนา(Development Theory and Concepts)
ทฤษฎีและแนวคิดการพึ่งพาทฤษฎีและแนวคิดการพึ่งพา Dependency Theory
Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด) • แนวความคิดและทฤษฎีที่พยายามตอบโต้และ • ปฏิเสธข้อเสนอหลักของทฤษฎีภาวะทันสมัย อาศัย : • - แนวความคิดเศรษฐกิจการเมือง (Political • Economic) • - แนวความคิดประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ • (Historical Economy) การปฎิรูปการจัดระบบสังคมใหม่
Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด) การพัฒนา : พิจารณาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงวัฒนธรรมและจริยธรรมของแต่ละประเทศ การพัฒนาขึ้นอยู่กับสถานการณ์เงื่อนไขที่แท้จริง Concrete Situations
Paradigm (กระบวนทัศน์/แนวคิด) การพัฒนา : - ภาวะความยากจนของประเทศกลุ่มโลกที่ 3 ไม่ได้มี ตั้งแต่กำเนิดประเทศ แต่ผลจากกระบวนการถูกเอารัดเอา เปรียบและขูดรีด - การจัดหา และส่งทรัพยากรให้ประเทศทุนนิยม อุตสาหกรรมที่เป็นศูนย์กลาง/ประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายใต้เงื่อนไขของการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมกัน
ที่มาของแนวคิด • 1. ความล้มเหลวของทฤษฎีภาวะทันสมัย • ข้อเสนอหลักทฤษฎีภาวะทันสมัย ถูกพิสูจน์และวิจารณ์ • ตามข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) • “ตัวแบบการสร้างความเจริญเติบโตจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ • การบริหารและวัฒนธรรม” • แต่ “ภาวะด้อยพัฒนาก็เห็นอย่างชัดเจน” • ยิ่งพัฒนายิ่งด้อยพัฒนา/การพัฒนาภาวะด้อยพัฒนา (Development of Underdevelopment)
ที่มาของแนวคิด • 2. ความเจริญของประเทศที่พัฒนาแล้ว เกิดจากการขูดรีดประเทศที่ด้อยพัฒนา • ความด้อยพัฒนาของกลุ่มประเทศโลกที่ 3 เกิดจาก • อิทธิพลการขยายตัวและการขูดรีดของระบบการผลิต • และการค้าแบบทุนนิยม ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม • กันทางสังคมเกิดขึ้น • 4. บทบาทและอิทธิพลนักสังคมศาสตร์ลาตินอเมริกัน โจมตี • ทฤษฎีภาวะความทันสมัย • - ทฤษฏีภาวะทันสมัยล้มเหลวที่สุด • - นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนนำเข้า ทำให้ • ประเทศพึ่งพาประเทศทุนนิยมตะวันตกมากขึ้น
ความหมายการพึ่งพา(The Meaning of Dependency) “การพึ่งพา”=เงื่อนไขสถานภาพของประเทศกำลัง พัฒนาดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า สินค้าอุตสาหกรรม(Import-Substituting Industrialization : ISI)โดยพึ่งพาประเทศทุนนิยมตะวันตกอย่างมาก ด้าน : • สินค้าประเภททุน • เทคโนโลยีการผลิต • ผู้เชี่ยวชาญ/ชำนาญการ • เงินลงทุนจากต่างประเทศ • การศึกษา วัฒนธรรมและสังคม ฯลฯ
ความเป็นมา ประสบการณ์จากผลการพัฒนาของกลุ่มประเทศ Latin America ซึ่งทำการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย โดยอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกทำให้เกิดเงื่อนไขการพึ่งพา 1. พึ่งพาสินค้าอุตสาหกรรม (วัตถุดิบและอุปกรณ์) สั่งซื้อ/ นำเข้า 2. พึ่งพา Technology สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของ ในทุกสาขา (ละทิ้งของเดิม) 3. พึ่งพาทุนจากภายนอก ทำให้รูปแบบกระบวนการผลิต และพฤติกรรมการบริโภคต้องเปลี่ยนแปลง
ความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎี 4. พึ่งพาเงินทุนต่างๆ เพื่อลงทุน/พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อหนี้ ทำให้ขาดความเป็นตัวของตัวเอง 5. พึ่งพาผู้เชี่ยวชาญภายนอก ทำให้การกำหนดนโยบาย และแผนต่างๆ : ผูกพันกับเงื่อนไขภายนอกอย่างมาก : ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในประเทศ : ขาดความเป็นอิสระการกำหนดนโยบาย (การคิดค้นและความเชื่อมั่นในภูมิปัญญา)
ความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎี 6. พึ่งพาทางวัฒนธรรม สังคม และการเมือง ทำให้สังคม เปลี่ยนแปลง/เลียนแบบต่างชาติ : ขาดคุณลักษณะเฉพาะ/เอกลักษณ์ดั้งเดิมตนเอง : วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง : ขาดความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม (ภายใต้ความหลากหลายของอนุวัฒนธรรม) : การแตกสลายของสถาบันครอบครัว ศาสนา การ ศึกษาและการเมือง
ความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎี 7. พึ่งพาทางการทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และความรู้ ทำให้การจัดองค์กรและยุทธศาสตร์ถูกพัฒนาให้ไปใน แนวทางแบบตะวันตก 8. พึงพาจิตสำนึกและจิตวิญญาณแบบพึ่งพา 9. พึงพาความมั่งคงที่ได้ผลจากการพัฒนาตกอยู่กับบุคคล กลุ่มเดียว
ลักษณะการครอบงำภายใต้ภาวะพึ่งพาลักษณะการครอบงำภายใต้ภาวะพึ่งพา ประเทศที่ 3 ด้อยพัฒนา 1. ทางเศรษฐกิจ (Economic) ลงทุนผลิต นายทุนต่างชาติ การค้า ผ่าน บรรษัทข้ามชาติ (Translation Corporation) ร่วมมือประสาน องค์กร/โครงการ รัฐบาล นายทุนในประเทศ
: ยิ่งพัฒนา ยิ่งต้องพึ่งพา : ประเทศโลกที่ 3 พัฒนาตามแนวทางภาวะทันสมัย ทำให้ ต้องพึ่งพาประเทศโลกที่ 1 มากขึ้น • - ไม่มีทุน • - ไม่มีเทคโนโลยี • - ไม่มีความรู้ • - ไม่มีความสามารถ • - ไม่มี… ฯลฯ กลายเป็น “สังคมบริวาร” (Peripheral Society)
W.I P P P P P เกิด Xyphon off P P P P
ผลการครอบงำทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น 2 ประการ : 1.1 การผูกขาด ทางการตลาดมีการขยายตัว 1.2 นายทุนในประเทศเติบโตค่อนข้างช้า ส่วนใหญ่ เป็นนายทุนการค้ามากกว่านายทุนอุตสาหกรรม และถูกครอบงำจากนายทุนต่างชาติ โดยตัดสินใจ ดำเนินงานนโยบายการค้าและการผลิตเพื่อ ประโยชน์ตนระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
2. ทางการเมือง (Political) รัฐบาลประเทศด้อยพัฒนาดำเนินนโยบายตามคำ แนะนำของรัฐบาลประเทศทุนนิยมตะวันตก ผ่าน องค์กรความช่วยเหลือระหว่างประเทศ/การทหาร ฯลฯ แทรกแซง
บทบาทและอิทธิพลนักสังคมศาสตร์ลาตินอเมริกันบทบาทและอิทธิพลนักสังคมศาสตร์ลาตินอเมริกัน • แนวความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง • :ปรับโครงสร้างสังคมและการเมือง/วิเคราะห์ความสัมพันธ์ • เชิงครอบงำและขูดรีด • แนวความคิดเชิงเศรษฐศาสตร์โครงสร้าง • :ลักษณะการแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นธรรมระหว่างประเทศ • อุตสาหกรรมกับประเทศเกษตรกรรม
แนวความคิดของนักทฤษฎีพึ่งพา : ทฤษฎีพึ่งพามีสาขาความคิดแตกออกมากมายและใช้แนวทางวิเคราะห์ทางปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน - Marxists Socialist - Political Economy Capitalist 1) Furnando Henriqe Cardoso 2) Andre’ Gunder Frank 3) Thiotonio Dos Santos
Johan Galtung เสนอแนวคิดเรื่อง Structural Imperialism กล่าวว่า ระบบโครงสร้างสังคมปัจจุบัน ทุกสังคมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นศูนย์กลาง (Metropolis/Center)คือ กลุ่มที่มี พลัง/อำนาจในการครอบครอง/เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย เงินทุน เทคโนโลยี ระบบเครือข่าย และการขนส่ง ส่วนที่เป็นบริวาร (Satellite/Periphery)คือ กลุ่มที่อยู่กระจัดกระจายโดยรอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการผลิต เป็นกลุ่ม ผู้ใช้แรงงานที่มีความชำนาญและทักษะในการทำงาน มีทรัพยากร
Sattlelite Metropolis ศศ ศบ บศ บบ • บริวารของศูนย์กลาง • (บศ) • ศูนย์กลางของเมืองศูนย์กลาง (ศ ศ) • บริวารของบริวาร (บบ) ศูนย์กลางของเมืองบริวาร (ศบ)
ความสัมพันธ์ลักษณะการเข้าครอบครองความสัมพันธ์ลักษณะการเข้าครอบครอง 1. โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเมืองศูนย์กลางกับ เมืองบริวาร ศูนย์กลางของเมืองบริวาร • ศูนย์กลางของเมืองศูนย์กลาง • บริวารของบริวาร • บริวารของศูนย์กลาง
2. กลไกการเข้าควบคุมระบบความสัมพันธ์ 4 (Helge Hveen) 2.1 ศูนย์กลางเมืองศูนย์กลางจะสร้างศูนย์กลางของบริวารขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา 2.2 ศูนย์กลางของเมืองศูนย์กลางจะเข้าไปควบคุมการบริหารของศูนย์กลางของเมืองบริวาร 2.3 ศูนย์กลางของเมืองศูนย์กลางจะเข้าควบคุมความร่วมมือและการสะสมทุน (เงินรายได้ถูกแบ่งเป็นการสะสมทุนกับการลงทุน) ของศูนย์กลางเมืองบริวาร 2.4 ศูนย์กลางของเมืองศูนย์กลางจะเข้าควบคุมการตัดสินใจของระบบทั้งหมดของศูนย์กลางเมืองบริวาร
นักทฤษฎีกลุ่มก้าวหน้า (Radicals Theory) กลุ่มที่มีแนวคิดอย่างเด่นชัดปฏิเสธความเป็นไปได้ของการแยกประเด็นทางเศรษฐกิจออกจากประเด็นทางสังคม : การเสนอตัวแบบการพัฒนา (Development Model) ของนักเศรษฐศาสตร์ จะไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ปัญหา และการเสนอทางออกสำหรับสังคมของประเทศที่กำลังพัฒนา การพัฒนาตามแนวคิดความทันสมัยที่กล่าวว่า “ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนา จะสำเร็จด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมและเมืองแบบประเทศ ตะวันตก จะส่งผลการพัฒนาให้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ” : เป็นข้อเสนอที่ไม่เป็นจริง
Theotonio Dos Santosกล่าวว่า “การพัฒนาแนวพึ่งพา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งหวัง การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ภายใต้กลไกการค้าโลก ซึ่งประเทศที่ด้อยกว่าจะต้องพึ่งพา ประเทศที่เหนือกว่า โดยคาดหวังว่าจะสามารถสร้างความ เจริญเติบโตไปสู่การเลี้ยงตัวเอง
1. แนวคิดของนักวิชาการในสายยุโรป หรือกลุ่มนักทฤษฎี สถาบันสังคมใหม่ (Neo-institutional Social Theory : NIST) แกนนำ : Myrdal, Seers and Streeten ชี้ว่า • 1) แนวคิดเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม (Neo-Classic) ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดผลดีต่อกลุ่มประเทศโลกที่สาม • ความสำคัญที่แท้จริง จะต้องพิจารณาถึงบริบททางสังคมและสถาบัน (Social and Institutional Context)
3) จะต้องพิจารณาบริบทของเศรษฐกิจโลก (World • Economic Context) ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการ • กำหนดทิศทางของโลกที่ 3 (ระบบเศรษฐกิจโลกได้ • แบ่งกลุ่มตามระดับการพัฒนาออกเป็น 3 ระดับ • - กลุ่มผลประโยชน์ G.8 • - กลุ่มที่พัฒนาแล้ว • - กลุ่มที่กำลังพัฒนา
2. แนวคิดของนักวิชาการในสายลาตินอเมริกากลุ่ม2. แนวคิดของนักวิชาการในสายลาตินอเมริกากลุ่ม แกนนำทางความคิดที่สำคัญ คือ Furnondo Henrique Cardoso กลุ่มนี้ชี้ให้เห็นถึง “โครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างพลังอำนาจและ ภายในประเทศ” : วิเคราะห์ “การขูดรีดและการเอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้น จากเงื่อนไขของการพึ่งพา” เป็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่าง ชนชั้นที่มีอิทธิพลภายในประเทศกับภายนอกประเทศ
:Dos Santos กล่าวว่า การพึ่งพามีลักษณะเป็นสถานการณ์เชิงเงื่อนไข (Conditioning Situation) กล่าวคือ ระบบเศรษฐกิจของกลุ่ม ประเทศที่กำลังพัฒนาหนึ่งๆ จะอยู่สภาพอย่างไรขึ้นอยู่กับ “การพัฒนาและการขยายตัวของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว” “การพึ่งพาที่อยู่บนพื้นฐานของการแบ่งแยกงานระหว่าง ประเทศ”เป็นผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเพียงบาง ประเภท และถูกจำกัดให้มีในบางประเทศ คือ ความเจริญ ก้าวหน้าเป็นเงื่อนไขที่ถูกกำหนดโดยประเทศศูนย์กลาง
สำหรับประเทศบริวาร/ประเทศด้อยพัฒนา Samir Amin • สรุปว่า รูปแบบทางสังคมจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ • 1) เกษตรกรรมเป็นแกนสำคัญของระบบเศรษฐกิจของ • ประเทศที่กำลังพัฒนา การขยายตัวของทุนนิยมมุ่งเข้า • สู่สังคมเกษตรกรรม ทำให้ต้องสูญเสียและรับผลกระทบ • ที่เกิดขึ้น • 2) การเกิดขึ้นของกลุ่มชนชั้นกลางและนายทุนชาติใน • สังคมที่กำลังพัฒนา ส่วนใหญ่เป็นนายทุนทางการค้า • (Merchantile Capitals) และยังต้องตกอยู่ภายใต้ • อิทธิพลของนายทุนต่างชาติ
3) การขยายตัวระบบราชการเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและ • ต่อเนื่อง จนมีอิทธิพลแทรกซึมและครอบงำการดำเนิน • งานสังคมและชุมชนต่างๆ อย่างทั่วถึง • 4) การเกิดขึ้นของชนชั้นกรรมาชีพทั้งในและนอกสังคม • เกษตรกรรม เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ • สามารถทำให้เป็นจริงได้
3. แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มทฤษฎีภาวะด้อยพัฒนา (Underdevelopment Theory) การประมวลทั้ง 2 แนวคิดเข้าด้วยกัน พบว่า บทบาทของ นายทุนการค้าถือเป็นตัวกลางที่สำคัญของการโยกย้ายสินค้า จากประเทศโลกที่ 3 ไปยังประเทศตะวันตก ภายใต้เงื่อนไข การค้าและอัตราแลกเปลี่ยนที่ประเทศทุนนิยมได้เปรียบ : ประเทศทุนนิยมไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมใน กระบวนการผลิต = ไม่ต้องรับผิดชอบ
ปัญหา : - ความแข็งแกร่งของนายทุนการค้าในวิถีการผลิตก่อน ทุนนิยม จนเป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดขึ้นของนายทุน อุตสาหกรรม - ทำให้สภาพทุนนิยมพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า - การสะสมทุนของประเทศทุนนิยมศูนย์กลาง ในประเทศ ที่กำลังพัฒนาจะเป็นไปอย่างจำกัด เว้นแต่จะมีอิทธิพลที่ สามารถเข้าครอบงำโครงสร้างทางการเมืองของประเทศบริวาร ทำให้ประเทศบริวารไม่สามารถพัฒนา/เจริญเติบโตอย่างอิสระ บนลำแข้งของตนเอง
ทฤษฎีและแนวคิดหลัก 1. Marxists School นักคิดกลุ่มทฤษฎีนี้มองการ พัฒนาของทุนนิยมโลก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 Classical Marxistsอธิบายว่า นักเศรษฐศาสตร์ ทุนนิยมกล่าวว่า “เศรษฐกิจแบบทุนนิยม” เป็นระบบของการ แข่งขันอย่างเสรีทั้งรูปแบบการลงทุน การผลิต ค่าจ้างแรงงาน และผู้ประกอบการจะนำผลกำไรขยายงาน การขยายตัวระบบทุนนิยมทำให้เกิดความต้องการ ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีการพัฒนา หรือหาวิธีการ ผลิตและแหล่งตลาดใหม่ๆ
ทฤษฎีและแนวคิดหลัก ข้อเท็จจริง : - ผู้ประกอบการที่มีทุนมากที่สุดจะเป็นผู้อยู่รอด และทำกำไรสูงสุด เพราะการแข่งขันต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ - ผู้ประกอบการหรือคู่แข่งที่มีขนาดเล็กหรือทุนน้อยจะถูก กำจัดออกไปจากระบบเศรษฐกิจ - การดำเนินการจะคำนึงถึงต้นทุนและค่าจ้างแรงงานที่ให้ ต่ำที่สุด สถานการณ์จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น และ ผลักดันให้สังคมปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมแบบสังคมนิยม
แนวคิดเชิง Classical Marxists ฐานความคิดแตกต่างกัน 2 นัย คือ 1.1) แนวคิดของ Karl Marxมองว่า ความคิด เชิงอุดมคติแบบทุนนิยม ไม่ต้องการที่จะแสวงหาดินแดน หรืออาณาจักรอันเป็นบริวาร แม้ว่ารัฐหรือดินแดนเหล่านี้ จะเป็นพื้นที่ที่สามารถทำประโยชน์กำไรให้ ทั้งนี้ เพราะความสัมพันธ์ที่มีกับทุนนิยมภายนอก หรือทุนนิยมสากลจะเป็นกลไกหรือเป็นสื่อกลางที่นำไปสู่ ระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า (Trade Economy) แต่ละรัฐหรือ สังคมไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมตนเอง จึงจะ เข้าสู่ตลาดโลก
1.2) แนวคิดของ Nikolai Bukharin และ Vladimir Lenin มองว่า ระบบทุนนิยมเป็นผลพวง ที่เกิดจากพัฒนาการของ “ระบบจักรวรรดินิยม” (Imperialism) เมื่อพิจารณาสภาพต่างๆ ระดับนานาชาติ (Internationalization) พบว่า การต่อสู้หรือการ แข่งขันของนายทุนยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และจะ พัฒนาไปสู่ระบบทุนนิยมข้ามชาติตามมา
ฐานแนวคิดเชื่อว่า“ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเข้าครอบงำฐานแนวคิดเชื่อว่า“ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเข้าครอบงำ ประเทศที่ด้อยพัฒนา” “การเข้าครอบงำ” จะครอบคลุมรวมถึงดินแดน ระบบ การเมือง การทหาร รูปแบบทางเศรษฐกิจและอื่นเพื่อให้เป็น สังคมประเทศที่จะต้องรับใช้ระบบ ตลอดจนเป็นจักรวรรดิร่วม สงคราม นอกจากนี้ กลุ่มนักคิดยังคาดการณ์ว่า “การแข่งขันกัน ระหว่างจักรวรรดินิยมด้วยกันเอง”จะนำไปสู่ภาวะสงคราม อย่างหลีกหนีไม่พ้น
“สินค้าส่งออกเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างทุน”“สินค้าส่งออกเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างทุน” สินค้าส่งออก จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเร่งรัดการ พัฒนาประเทศด้อยพัฒนา และกระบวนการระบบเศรษฐกิจ ของประเทศที่พัฒนา - กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานในภาคการผลิตของระบบ จักรวรรดินิยมศูนย์กลาง ได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จ ของการพัฒนาประเทศที่มีความเสี่ยงน้อย/ ได้รับผลกระทบ ทางลบที่มีขอบเขตจำกัด - กรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานในภาคการผลิตของระบบ จักรวรรดินิยมบริวาร จะถูกเอารัดเอาเปรียบและมีความเสี่ยง บนความเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีช่องว่างอย่างมาก
ทฤษฎีและแนวคิดหลัก 2.Political Economy Schoolมองพัฒนาการ ของทุนนิยมว่า “เป็นพัฒนาการของระบบ และกระบวนการเอา รัดเอาเปรียบโดยการขูดรีดผลประโยชน์จากสังคมหนึ่งไปสู่ อีกสังคมหนึ่ง กล่าวคือ : ความเจริญเติบโตของประเทศหนึ่งๆ หรือประเทศที่ พัฒนาเกิดจากการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ที่เอาเปรียบ ประเทศด้อยพัฒนา โดยผ่านกระบวนการพัฒนา ทำให้สภาพ ของการพัฒนาเป็น“การพัฒนาภาวะความด้อยพัฒนา “ (Development of underdevelopment)
กลุ่มนักคิดPolitical Economy Schoolประกอบด้วย • นักคิดและนักวิชาการหลายคนที่มีชื่อเสียง เช่น • - Baran - Emmanual • - Amin - Frank • - Wallerstein - อื่นๆ • Paul Baranมีแนวคิดว่า โลกของระบบเศรษฐกิจมี 2 • ส่วน คือ • ประเทศทุนนิยมที่ก้าวหน้า • ประเทศด้อยพัฒนา
ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในแง่กลไกความสัมพันธ์ของการพัฒนาระหว่าง 2 กลุ่ม ประเทศผูกพันกันด้วยองค์ประกอบ 3 ประเด็น คือ 1. การค้า ประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นแหล่งสำหรับการจัดหา ทรัพยากรสำหรับการผลิตขั้นต้นที่มีราคาถูก ส่งไปให้ประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมท้องถิ่น และหัตถกรรม ต่างๆ ถูกกดดันให้ถดถอยลง โดยสินค้าที่นำเข้าจากประเทศ พัฒนาแล้ว เช่น สินค้าอุปโภคและบริโภคทำให้อุตสาหกรรม ดั้งเดิมที่มีอยู่ถูกทำลาย
ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 2. การลงทุน ตามแนวคิดที่ว่า การพัฒนาประเทศของประเทศด้อย พัฒนามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากในหลายๆ ด้านสำหรับการลงทุน โดยจะต้องระดมทั้งจากภายนอก และ ภายในประเทศ จึงจะสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ประเทศพัฒนาแล้วจะแสวงหาผลประโยชน์จากกลไก ด้วยการดูดซับมูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) ขณะเดียวกัน ก็ค่อยๆ ขยับเข้าครอบครองเศรษฐกิจด้วยการผูกขาด
ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 3. การมีอิทธิพลทางการเมือง ส่วนใหญ่การเมืองของประเทศด้อยพัฒนามักล้าหลัง รัฐบาลอยู่ภายใต้อิทธิพลของการทหาร นายทุนและกลุ่มพ่อค้า ประเทศพัฒนาแล้วพยายามที่จะใช้การทหารเข้าไป ค้ำจุนอำนาจของรัฐบาลหรืออาจเข้าไปมีอิทธิพลในการจัดตั้ง รัฐบาลเพื่อรักษาและคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนจาก ประเทศของตนให้ได้มาก และสามารถนำผลกำไรประกอบการ กลับไปประเทศของตน
Paul A. Baran และ Paul M. Sweezyเห็นว่า การพัฒนาแบบที่ผ่านมาจะนำไปสู่การสร้าง: “ระบบทุนนิยมผูกขาด” (Monopoly Capital) ทำให้ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายจะถูกครอบงำ โดยทุนนิยมต่างชาติรูปแบบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับ นายทุนท้องถิ่น นายทุนการค้า หรือนายทุนที่ดิน จะ เรียกแนวคิดนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อการสร้างความเจริญเติบโต” (The Political Economy of Growth) โดยวิภาษวิจารณ์โจมตีทฤษฎีความทันสมัยว่า เป็นทฤษฎีที่ไม่สามารถเข้าถึงและอธิบายสาเหตุของความด้อยพัฒนาได้อย่างแท้จริง
ข้อวิภาษวิจารณ์ ประเด็นสาระการโจมตีทฤษฎีความทันสมัยว่า ล้มเหลวโดยตอบโต้และปฏิเสธข้อเสนอหลักของทฤษฎีความทันสมัย 1. “ตัวแบบการสร้างความเจริญเติบโตจะก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและการบริหาร และวัฒนธรรม” แต่ภาวะด้อยพัฒนาก็เห็นอย่างชัดเจน“ยิ่งพัฒนายิ่งด้อยพัฒนาหรือการพัฒนาภาวะด้อยพัฒนา” (Development of Underdevelopment)เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Data) ที่เกิดขึ้นจริง
ข้อวิภาษวิจารณ์ 2. แนวคิดทุนนิยมไม่ได้ให้ความสำคัญกับความแตกต่าง ระหว่างชนชั้น ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของประเทศด้อยพัฒนา/ กำลังพัฒนา 3. ทฤษฎีความทันสมัยคำนึงถึงการแลกเปลี่ยนผลกำไร และผลผลิตในระบบโลก ประเทศทุนนิยมศูนย์กลางจะมีความ สัมพันธ์แบบสังคมบริวาร(Peripheral Society) เอาเปรียบ ประเทศบริวารด้วยการดูดซับผลกำไรจากการค้า การแลก เปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมกันหรือการให้บรรณาการ
ตัวแบบหรือแนวคิดหลัก 1. ภาวะด้อยพัฒนาไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา สภาพ สังคมด้อยพัฒนา อาจไม่ใช่ความด้อยพัฒนา (อย่างที่ เป็นในสายตาของตะวันตก) สิ่งที่มี สิ่งที่เป็นเหล่านั้น อาจเป็นคุณค่าในลักษณะที่เหมาะสมอยู่แล้ว : เครื่องจักรสาน การกัดปลา/ชนไก่ การเพาะปลูก บูชาพระเครื่อง ประเพณี/วัฒนธรรม
ตัวแบบหรือแนวคิดหลัก 2. การพัฒนาประเทศทุนนิยมศูนย์กลางที่เจริญเติบโต ด้วยการดูดซับทรัพยากรจากประเทศบริวาร ส่วนใหญ่ ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายไม่เพียงจะเติบโต ช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่อาจจะไม่เติบโตเนื่องจากผล การพัฒนาถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในสภาพที่การดูดซับ ดำรงอยู่อย่างถาวร ส่งผลให้ “การพัฒนาคือ ความ ด้อยพัฒนา”
ตัวแบบหรือแนวคิดหลัก • 3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแฝงไว้ด้วยความทันสมัย แต่ • อาจไม่ใช่การพัฒนา (ความหมายของการพัฒนาที่ • เหมาะสม) หรือเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ • ที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่