1 / 64

งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1

งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประเด็นแถลงข่าว. นโยบายการคลัง : การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี นโยบายการเกษตร นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นโยบายการก ระจาย อำนาจ.

Download Presentation

งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. ประเด็นแถลงข่าว • นโยบายการคลัง: การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี • นโยบายการเกษตร • นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน • นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม • นโยบายการกระจายอำนาจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  3. นโยบายการคลัง: การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  4. ปัญหาโครงสร้างการคลังปัจจุบันปัญหาโครงสร้างการคลังปัจจุบัน • การจัดเก็บรายได้ไม่อาจเพิ่มได้ทันภาระรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้น • แม้ว่าฐานะการคลังของรัฐบาลยังมั่นคงที่ทำให้โอกาสการปฏิรูปด้านการคลังอาจทำได้ง่าย แต่ความเสี่ยงทางการคลัง (Fiscal risk) ยังต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน • โครงสร้างภาษีมีการกระจุกอยู่กับภาษีไม่กี่ประเภท ทำให้มีความเสี่ยงความผันผวนรายได้สูง • เป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการไม่อาจใช้มาตรการภาษีที่มีอยู่ในการแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (อาศัยภาษีสรรพสามิตเป็นหลัก) และเป้าหมายแก้ไขความเหลื่อมล้ำ • มีช่องว่างการจัดเก็บภาษีที่เป็นผลจากนโยบายรัฐอยู่ในระบบภาษีหลายประเภทที่ทำให้เกิดปัญหาความเป็นธรรมและเหลื่อมล้ำในสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  5. ภาครัฐยังมี room ในการจัดหารายได้ภาษีให้สูงขึ้นได้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  6. ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  7. การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรทำ • การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มรายได้รัฐบาลมากขึ้นที่ควรดำเนินการมานานแล้ว แต่ควรคำนึงความสามารถในการจ่ายภาษีของประชาชนควบคู่กันด้วย • สนับสนุนการนำภาษีมรดกมาใช้ แต่อาจไม่ใช่มาตรการภาษีที่เร่งด่วน • พิจารณาการขยายการลดหย่อนต่างๆ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อาทิ การลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ร้อยละ 40 ของเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่เกิน 60,000 บาท) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของประชาชน • ควรพิจารณาการยกเลิกหรือเลิกการลดหย่อนภาษีต่างๆ ที่อยู่ในระบบภาษีที่ควรมีเพดานจำกัด เช่น LTF เพราะเป็นประโยชน์กับผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูงมากกว่าช่วยผู้มีรายได้น้อย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  8. การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรได้รับความสำคัญมากกว่าที่เป็น • หากนำการคืนภาษีเงินโอนเพื่อผู้มีรายได้น้อย (Negative income tax) มาใช้จริง ต้องมีการกำกับตรวจสอบผู้รับประโยชน์อย่างจริงจัง • ควรพิจารณาสิทธิพิเศษการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ควบคู่กับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล • ควรพิจารณาการนำกฎหมายมาตรการการคลังสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อกำกับธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  9. การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • การพิจารณาภาษีที่มุ่งส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม AEC ที่นำไปสู่การแก้ไขรายละเอียดของกฎหมายภาษีเพื่อป้องกันการโอนราคา (transfer pricing) ที่อาจเกิดจากช่องว่างของการเก็บภาษีที่แตกต่างกันระหว่างประเทศ • เมื่อมีการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ ต้องมีการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บภาษีที่มอบให้แก่ อปท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  10. การปฏิรูปด้านรายจ่าย นโยบายที่ควรทำ • การเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของรัฐบาล เนื่องจากภาวะการขยายตัวเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าศักยภาพแท้จริง • การพิจารณาประเภทรายจ่ายเพื่อเป้าหมายแก้ไขความเหลื่อมล้ำควรมีความชัดเจนและตรงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง มองถึงประโยชน์ของผู้รับมากกว่าการทำแบบเหวี่ยงแหครอบคลุมทั้งหมด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  11. การปฏิรูปด้านรายจ่าย นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • นำเป้าหมายสัมฤทธิผลการทำหน้าที่ของหน่วยราชการ (Key Performances) ที่ไม่ใช่ผลสำเร็จของการทำหน้าที่ (Process) มาใช้ในการพิจารณาตัดลดงบประมาณที่ฟุ่มเฟือย • พิจารณานำกฎหมาย พรบ. การเงินการคลัง พ.ศ. ... ที่เคยยกร่าง มาใช้เพื่อเป็นการวางรากฐานกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐในระยะยาว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  12. ข้อเสนอปฏิรูปการบริหารราชการข้อเสนอปฏิรูปการบริหารราชการ • ปรับการทำหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนการทำงาน เพิ่มโอกาสการเพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาลมากขึ้น • ลดภาระภาคเอกชนจากกฎระเบียบราชการที่ไม่จำเป็น • กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์หรือ KPIs แท้จริงจากการทำหน้าที่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้าง accountability ของหน่วยงาน ที่ต้องเชื่อมโยงกลับสู่การใช้ทรัพยากรของประเทศ ทั้งที่อยู่ในรูปของงบประมาณ และไม่ใช่งบประมาณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  13. นโยบายการเกษตร รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล (ซูซูกิ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  14. ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมไทยความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมไทย • ประเภทของเกษตรกร • เกษตรชลประทาน เกษตรนาน้ำฝน • เกษตรกรเจ้าของที่ เกษตรกรผู้เช่าที่ แรงงานเกษตร • เกษตรกรในเขตชลประทานจะทำการเกษตรเต็มเวลา แต่นอกเขตชลประทานส่วนใหญ่หารายได้จากแหล่งอื่นด้วย และมีรายได้กว่าครึ่งจากนอกภาคเกษตร • ภาคเกษตรขาดแคลนแรงงาน, ขนาดไร่นาเฉลี่ยต่อครัวเรือนใหญ่ขึ้น • ประสบทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม • แนวโน้มเกษตรพันธะสัญญาสูงขึ้น และมีการรวมตัวในแนวดิ่งของธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  15. เป้าหมายของข้อเสนอทางนโยบายเป้าหมายของข้อเสนอทางนโยบาย • ให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพเกษตรโดย • เพิ่มมูลค่าผลผลิตต่อแรงงานและรายได้สุทธิของครัวเรือน • ลดความเสี่ยงด้วยการลงทุนในข้อมูล เทคโนโลยี และการจัดการน้ำ • มีระบบสวัสดิการ คนมีแนวโน้มออกจากภาคเกษตรอยู่แล้ว หากไม่มีการแทรกแซงของรัฐ สิ่งที่รัฐควรทำคือ ทำอย่างไรให้คนที่ยังอยู่ในภาคเกษตรสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยรัฐมีแผนและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรให้ถูกทิศทางอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องบิดเบือนราคา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  16. ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลไม่ควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  17. .1. อย่าโฆษณาโครงการเกินจริง • เพราะ “รายได้” ในโครงการของรัฐ มักหมายถึง “รายรับ” ที่ลืมหักค่าใช้จ่ายของเกษตรกร และของสังคม “รายได้สุทธิ = รายรับ – รายจ่าย” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  18. 2. อย่าติดกับดักนโยบายแทรกแซงราคาผลผลิต • เพราะยากที่จะจัดการราคา และยากที่จะควบคุมปริมาณการผลิตและคุมราคาตลาด(โลก)ได้ (ตัวอย่างเช่น ข้าว ยาง) ราคาแทรกแซงสูงเกินไป  เกษตรกรปลูกมากขึ้น (อาจปลูกนอกพื้นที่โซนนิ่ง)  ราคาตก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  19. 3. อย่ามุ่งส่งเสริมการขยายการผลิตโดยไร้ขอบเขต • เพราะเมื่อผลิตมาก ราคาที่ไร่นาจะตกต่ำ (เช่น ยางพารา) รัฐบาลจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาการเกษตรทั้งระบบที่ไม่ใช่เพียงแผนแยกรายสินค้า และมีข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่ดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  20. 4. หลีกเลี่ยงนโยบายที่กระทบฐานการผลิตของเกษตรกรยากจนผู้ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก • เช่น ทำให้ไร้ที่ทำกิน/ต้องอพยพ /ดินและน้ำเสื่อมเพราะให้ตั้งโรงงานใกล้ๆ (สิทธิของผู้อยู่ก่อน) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  21. ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  22. 1. ดูแลราคาปัจจัยการผลิต • โดยกำกับกติกา ลดการผูกขาดและอำนาจตลาดของผู้ขายพันธุ์ ขายปุ๋ย ขายยา ไม่ใช่โดยการอุดหนุนปัจจัยการผลิต (รัฐซื้อมาแจกหรือขายราคาถูก) เพราะเป็นช่องทางคอรัปชั่นและเกษตรกรได้ของคุณภาพต่ำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  23. 2. รัฐลงทุนด้านข้อมูล,ติดตามข้อมูล และให้ข้อมูลแก่เกษตรกร • ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ ครบถ้วน และเห็นแนวโน้มในอนาคต จะทำให้เกษตรกรตัดสินใจได้ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  24. 3. ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา • เน้นเพิ่มคุณภาพผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยง (เช่น การพัฒนาพืชพันธุ์ดี การพัฒนาเครื่องจักรทดแทนแรงงานที่หายาก) 2 1 เมล็ดพันธุ์ เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป 3 เครื่องจักร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  25. 4. พัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนการตลาด • เช่น การพัฒนาการขนส่งทางราง ระบบเก็บรักษาพืชผล การแปรรูป การพัฒนาคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร คัดเกรด สินเชื่อ และประกันภัย 2 1 เมล็ดพันธุ์ เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป 3 4 เครื่องจักร ประสิทธิภาพบริการการตลาด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  26. 5. การจัดการน้ำ การจัดการน้ำสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินต้นน้ำและการเติบโตของเมือง 1 2 เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป เมล็ดพันธุ์ 3 เครื่องจักร 4 ประสิทธิภาพบริการการตลาด 5 น้ำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  27. 6. พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยระบบสวัสดิการ พัฒนากลไกองค์กรการเงินฐานรากและส่งเสริมบทบาทของ อปท. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  28. ความเห็นต่อนโยบายโซนนิ่งความเห็นต่อนโยบายโซนนิ่ง • ระบบโซนนิ่ง (เพื่อ..?) จะไม่ได้ผลถ้าในพื้นที่โซนนิ่งไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆทั้งระบบดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของเกษตรกร การจัดการน้ำ การเข้าถึงเทคโนโลยีและการตลาด (การจัดการตั้งแต่ไร่นาถึงผู้บริโภค) ดังที่กล่าวมาข้างต้น

  29. นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานนโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  30. ข้อเสนอแนะ: นโยบายพลังงานที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  31. 1.ปรับโครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและแก๊สให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง1.ปรับโครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและแก๊สให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง • ลดหรือยกเลิกการอุดหนุนก๊าซหุงต้มและ NGV • ปรับภาษีของน้ำมันดีเซลให้สูงขึ้นเพื่อให้น้ำมันดีเซลและกลุ่มน้ำมันเบนซินมีราคาใกล้เคียงกันมากขึ้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  32. 2.เร่งตัดสินใจเรื่องแหล่งปิโตรเลียมได้แล้ว2.เร่งตัดสินใจเรื่องแหล่งปิโตรเลียมได้แล้ว • ควรเร่งเปิดประมูลการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยใช้ระบบสัมปทานในปัจจุบัน และอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้สนใจลงทุนสามารถยื่นข้อเสนอการแบ่งปันผลผลิตแก่รัฐ (production sharing) เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายก็ได้ • ควรเร่งพิจารณาแนวทางในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมสำหรับสัมปทานในพื้นที่ผลิตที่ไม่สามารถต่อระยะเวลาได้อีกตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ข้อยุติอย่างน้อย 5 ปีก่อนการสิ้นสุดสัมปทาน • ควรเร่งเจรจาหาข้อยุติกับกัมพูชาในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมบริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชาในอ่าวไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  33. 3. ส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน • ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ต้นทุน และศักยภาพของวัตถุดิบในประเทศ โดยมีเป้าหมายให้กิจการพลังงานหมุนเวียนสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่มีการอุดหนุนในที่สุด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  34. 4. เพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน • เพิ่มระดับการแข่งขันในกิจการพลังงานเพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับบทบาทของ ปตท. ในกิจการท่อก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  35. 5.จัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ5.จัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ • ควรจัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า (Power development Plan หรือ PDP) ของประเทศที่เป็นที่ยอมรับได้โดยทั่วไป • ควรมีการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ โดยเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดและพลังงานหมุนเวียนต่างๆ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  36. ข้อเสนอแนะ: นโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  37. 1. ลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง • เน้นการลงทุนเกี่ยวกับการขนส่งทางรางและทางน้ำ รวมทั้งการเชื่อมโยงจุดผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน • เลือกดำเนินโครงการที่มีการศึกษาในรายละเอียดแล้ว เช่น รถไฟทางคู่, รถไฟฟ้าในเขต กทม., ท่าเรือและถนนมอเตอร์เวย์บางแห่ง • ควรทบทวนโครงการที่ยังไม่มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ เช่น รถไฟความเร็วสูง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  38. 2. จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ • ควรริเริ่มแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างเป็นระบบ • ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  39. นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ผศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  40. ปัญหาของนโยบายเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของไทยปัญหาของนโยบายเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของไทย • มีการกล่าวถึงในทุกๆ รัฐบาลและเป็นมักครอบคลุมทุกๆ เรื่อง แต่ขาดจุดโฟกัสที่ชัดเจนอะไรคือลำดับๆ ต้นๆ ที่ต้องดำเนินการ • ภายใต้สถานการณ์ปกติการแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่มีการเอาจริงจังเท่าที่ควร • ทั้งๆ ที่ปัญหาในเรื่องความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะผลลัพธ์ของมาตรการเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  41. ข้อเสนอแนะทางนโยบาย: สิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนเพื่อยกขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  42. 1. การยกระดับความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานต้องทำควบคู่ทั้งทางด้านกายภาพและด้านคุณภาพ (Quality Infrastructure) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  43. ศูนย์ทดสอบ (Testing Centers) • เพิ่มประสิทธิภาพขบวนการออกใบรับรองต่างๆ (มีการกล่าวถึงและเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างมาก) • การยกระดับและ/หรือพัฒนาห้องทดสอบที่กระจัดกระจายตามสถาบันการศึกษาต่างๆ และให้ใบรับรองเพื่อให้ผลการทดสอบตามห้องแล็ปเป็นที่ยอมรับในระดับสากล • ให้แรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเครื่องมือทดสอบ และ/หรือการจัดตั้งห้องแล็ปขนาดเล็กภายในโรงงาน (มีการกล่าวถึงและเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างมาก) • พัฒนาศูนย์ทดสอบกลางในบางผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมในวงกว้าง และเกิดกำลังที่ภาคเอกชนรายหนึ่งจะทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การมีสนามทดสอบรถยนต์ภายในประเทศเป็นต้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  44. 2. เปิดกว้างในเรื่องกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D และนำเอาระบบแรงจูงใจทางด้านภาษีแบบขั้นบันไดมาใช้ • อย่าปิดตัวเองว่า R&D หมายถึงการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ (Scientific-based Breakthrough) เท่านั้น • ควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ • กิจกรรมการนำระบบจัดการโรงงานใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • การพัฒนาในลักษณะดัดแปลง • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน • การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  45. การนำเอาระบบแรงจูงใจในลักษณะขั้นบันไดเข้ามาใช้แทนการใช้อัตราเดียวไปพร้อมๆ กับการลดความยุ่งยากและลดอคติในเรื่องการฉวยโอกาสของผู้ประกอบการ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  46. 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ควรมีแยกออกจากกันระหว่างผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก • ผู้ประกอบการขนาดกลาง (M) และ ขนาดเล็ก (S) มีจุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรมีแยกมาตรการที่จะบรรเทาปัญหาของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน • นอกจากนั้นต้องระมัดระวังการยึดติดกับคำจำกัดความของ SMEs ตาม พรบ.วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SME หมายถึง กิจการขนาด ไม่เกิน 50 คน และ 50-200 คน ตามลำดับ) ซึ่งอาจทำให้มาตรการความช่วยเหลือที่ตั้งใจไม่ได้ถูกส่งผ่านไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  47. 4. บูรณาการที่นำเอาเรื่องการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ภายใต้บริบทของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • นโยบายการส่งเสริมการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ • รัฐควรให้ข้อมูลแบบที่ Law Firm ทำได้ • อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการฐานการผลิตเดิมที่มีอยู่ในประเทศ • เชื่อมโยงกับการจัดตั้ง Regional Operating Headquarters • เชื่อมโยงกับแนวนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน • แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่น่าจะมีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันการพึ่งพาแต่แรงงานราคาถูกจากต่างชาติโดยไม่ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เช่น การทยอยปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีการประกาศอย่างชัดเจน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  48. 5.นโยบายการใช้ประโยชน์จาก AEC • การใช้ประโยชน์จาก AEC ควรมุ่งไปที่การค้าชายแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านในอินโดจีน โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับไทย เพราะกลุ่มนี้เป็นกลุ่มลูกค้าศักยภาพและเป็นช่องทางการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  49. นโยบายการกระจายอำนาจ ผศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  50. ทำไมต้องกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นทำไมต้องกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น • ท้องถิ่นต่างๆนั้นมีความหลากหลาย ทำให้ความต้องการของท้องถิ่นแต่ละแห่งแตกต่างกันไป การรวบอำนาจไว้ที่กรุงเทพจึงเป็นการบริหารรัฐกิจที่ด้อยทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล • การมีการปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยลดภาระของรัฐบาลกลางไปได้มาก ทำให้รัฐส่วนกลางมีเวลามากขึ้นและมีจุดมุ่งหมายที่ชัดขึ้นในการกำหนดและขับเคลื่อนเฉพาะนโยบายระดับชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Related