1 / 34

นำเสนอโดย

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการด้านอนุสัญญา CITES ของประเทศไทย. นำเสนอโดย. นายสว่าง ทิพยนุกูล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. การศึกษา. Diploma of Forestry Law (B.C.L) Agriculture & cooperative

jerome
Download Presentation

นำเสนอโดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านอนุสัญญา CITES ของประเทศไทย นำเสนอโดย นายสว่าง ทิพยนุกูล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

  2. การศึกษา • Diploma of Forestry • Law (B.C.L) • Agriculture & cooperative (Promotion ( Forest management) Certificate in English languets for the lawyer

  3. การทำงาน • 1986-1993 Salakphra Wildlife Sanctuary Kanchanaburi Province • 1993-2002 Chief of Bangkok Airport Wildlife Checkpoint • 2002-2006 Chief of Bangkok Seaport Wildlife Checkpoint • 2006-2008 DG-DNP office • 2008- 2009 Natural Resources Cluster, Ministry of Natural resources and Environment • 2009 - Chief of Khlong krua Wai Wildlife Sanctuary Chanthaburi

  4. หัวข้อบรรยาย พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕

  5. หลักการหรือวิธีการให้ความคุ้มครองสัตว์ป่า มี ๒ ประการ ๑.การคุ้มครองพื้นที่ ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า (Habitat protection) ๒.การคุ้มครองชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่า (Species protection)

  6. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ๑.บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัย • มาตรา ๓๓ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรกำหนดบริเวณที่ดินแห่งใดให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพื่อรักษาไว้ซึ่งพันธุ์ของสัตว์ป่า ก็ให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า” • มาตรา ๓๖ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า เว้นแต่ จะกระทำเพื่อการศึกษาหรือหรือวิจัยทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ • ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตาม มาตรา ๕๓ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี ปรับไม่เกิน ๕หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  7. ๑.บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัย(ต่อ)๑.บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัย(ต่อ) • มาตรา ๓๘ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดินหรือปลูกหรือก่อสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือตัด แผ้วถางเผาหรือทำลายต้นไม้ หรือพฤกษชาติ อื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ ลำห้วย หนอง บึงท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า • ผู้ฝ่าฝืน มีโทษตาม มาตรา ๕๔ จำคุกไม่เกิน ๗ ปี ปรับไม่ เกิน ๑ แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ถือเป็นบทลงโทษที่สูงสุดใน พ.ร.บ.)

  8. การคุ้มครองสัตว์ป่าในถิ่นอาศัย (ต่อ) • มาตรา ๔๑ ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่า ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองหรือมิใช่ หรือเก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า ในบริเวณวัดหรือบริเวณสถานที่ที่จัดไว้เพื่อประชาชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา • ผู้ฝ่าฝืน มีโทษตามมาตรา ๕๑ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๑ หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ • มาตรา ๔๒ บริเวณสถานที่ที่ใช้ในทางราชการหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันแห่งใด รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจะกำหนดให้เป็น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทใดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา • เมื่อได้ประกาศของรัฐมนตรีกำหนดเขตห้ามล่าชนิดหรือประเภทใดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการ • (๑) ล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทนั้น • (๒) เก็บหรือทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่าซึ่งห้ามมิให้ล่านั้น

  9. มาตรา ๔๒ (ต่อ) (๓) ยึดถือครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทำลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย หนองบึง ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี หรือเมื่ออธิบดีได้ประกาศอนุญาตไว้เป็นคราวๆในเขตห้ามล่าแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ ผู้ฝ่าฝืน มีโทษตาม มาตรา ๕๔ จำคุกไม่เกิน ๗ ปี ปรับไม่เกิน ๑ แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (ถือเป็นบทลงโทษที่สูงสุดใน พ.ร.บ.นี้)

  10. ๒. หลักการคุ้มครองชนิดพันธุ์ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ (มาตรา ๖,๑๖,๑๗,๑๘, ๑๙, ๒๐ ,๒๓ ,๒๔,๒๕,๒๘ ,๕๕) เดิม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. ๒๔๖๔ พระราชบัญญัติประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ (มาตรา ๒๗ ,๒๗ ทวิ ) พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒ (มาตรา ๕ ,๗)

  11. ชนิดหรือประเภทของสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทของสัตว์ป่า ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง ๑. สัตว์ป่าสงวน (Reserved Species)ตามบัญชีท้าย พ.รบ. สงวนฯ๒๕๓๕ ๒. สัตว์ป่าคุ้มครอง (Protected Species)ตามกฎกระทรวง ออกตาม พ.ร.บ.สงวนฯ๒๕๓๕ ๓. สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ (Protected Species for Captive breeding)ตามกฎกระทรวง ๔. สัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออก (Prohibition Listed Species of the Minister for Importation and Exportation) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๒๗ มิถุยายน ๒๕๕๖

  12. “สัตว์ป่าสงวน”หมายความว่า สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ และตามที่จะกำหนด โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกามี ๑๕ ชนิดนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร, นกแต้วแล้วท้องดำ, นกกระเรียน, พะยูนหรือหมูน้ำ, แรด, กระซู่, กูปรีหรือโคไพร, ควายป่า, ละองหรือละมั่ง, สมันหรือเนื้อสมัน, เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ, กวางผา, สมเสร็จ, เก้งหม้อ, แมวลายหินอ่อน

  13. สัตว์ป่าคุ้มครอง (Protected Wild Animal) กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกเลี้ยงลูกด้วนนม (๒๐๑ ชนิด) สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกนก (๙๕๒ ชนิด) สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกเลื้อยคลาน ( ๙๑ ชนิด ) สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก ( ๑๒ ชนิด) สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวก สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง:แมลง (๒๐ ชนิด) สัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกปลา (๑๔ ชนิด) สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวก สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ (๑๒ ชนิด)

  14. สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ (Protected Wild AnimalFor Captive Breeding) กฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. ๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ๕๙ ชนิด กระจงเล็ก นกแก้วโม่ง ไก่ฟ้าพญาลอ กบทูต ปลาเสือตอ

  15. “สัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามนำเข้า ส่งออก” หมายความว่า สัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า-ส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ซึ่งออกตามความในมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖

  16. บทบัญญัติที่คุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่าบทบัญญัติที่คุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า การล่า • มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ล่า หรือพยายามล่าสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำโดยทางราชการที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๒๖ • ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา ๔๗ จำคุกไม่เกิน ๔ ปี ปรับไม่เกิน ๔ หมื่นบาทหรือทั้งจำและปรับ การเพาะพันธุ์ • มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใด เพาะพันธุ์ สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่ (๑) เป็นการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตาม มาตรา ๑๗ (๒) เป็นการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ ตามมาตรา ๒๙ ผู้ฝ่าฝืน มีโทษตามมาตรา ๔๘ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี ปรับไม่เกิน ๓ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  17. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ)บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ) การครอบครอง “มาตรา ๑๙” ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครองครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา ๑๗ ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่(๑) การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ ตามมาตรา ๑๘(๑) ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว (๒) การครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของ สัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตามมาตรา ๒๙ และได้จัดแสดงไว้ในสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้น ผู้ฝ่าฝืน ผิดตาม มาตรา ๔๗ จำคุกไม่เกิน ๔ ปี ปรับไม่เกิน ๔หมื่นบาทหรือทั้งจำและปรับ

  18. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ) “การค้า” มาตรา ๒๐ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่เป็นการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา ๑๗ ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ ซากของสัตว์ป่าดังกล่าวหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว ทั้งนี้โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดี ผู้ฝ่าฝืน ผิดตามมาตรา ๔๗ จำคุกไม่เกินสี่ปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำและปรับ

  19. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ)บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ) การเก็บ ครอบครอง รังสัตว์ป่า • มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดเก็บ ทำอันตราย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งรังของสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง • ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนกอีแอ่น และผู้ที่อาศัยอำนาจของผู้ที่อาศัยอำนาจของผู้รับอนุญาตดังกล่าว แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกขา • ผู้ฝ่าฝืน มีโทษ ตาม มาตรา ๕๑ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๑ หมื่นบาทหรือทั้งจำและปรับ

  20. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ)บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองชนิดพันธุ์สัตว์ป่า(ต่อ) การนำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน “มาตรา ๒๓”ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔ ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี การนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ตามมาตรา ๑๘ (๑) หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และโดยได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี ผู้ฝ่าฝืน ม.๒๓ วรรคแรก มีโทษตาม ม. ๔๗ จำคุกไม่เกินสี่ปีปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ วรรคสอง มีโทษตาม ๔๘ จำคุกไม่เกิน สามปี ปรับไม่เกิน สามหมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ

  21. การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน (ต่อ) • “มาตรา ๒๔”การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าชนิดที่ต้องมีใบอนุญาตหรือใบรับรองให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่า ต้องได้รับใบอนุญาตหรือใบรับรองจากอธิบดี • ข้อสังเกต มาตรานี้ไม่มีบทกำหนดโทษบัญญัติไว้เฉพาะ ดังนั้น การฝ่าฝืนจึงไม่โทษ แต่เมื่อไรที่รัฐมนตรีได้มีประกาศกำหนดให้สัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าตามความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว เป็นชนิดที่ห้ามนำเข้า ส่งออก โดยไม่รับอนุญาตจากอธิบดี ตามความในมาตรา ๒๓ วรรคแรก ผู้ฝ่าฝืนต้องมีโทษตามมาตรา ๔๗ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  22. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓(ต่อ) • “มาตรา ๕๕”ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าอันได้มาโดยการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • “มาตรา ๕๘” บรรดาสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากซากของสัตว์ป่าดังกล่าว หรือรังของสัตว์ป่า ที่บุคคลได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลสั่งริบเสียทั้งสิ้น บรรดาสิ่งที่ศาลสั่งริบ ให้ตกเป็นของแผ่นดินและให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชหรือกรมประมงแล้วแต่กรณีนำไปดำเนินการตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด

  23. ภาพคดีตัวอย่างการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภาพคดีตัวอย่างการกระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  24. ลักลอบนำเข้างาช้างจากประเทศมาเลเชีย เข้ามายังประเทศไทย โดยสำแดงเป็นข้อต่อ(CRAFTWORKS)(ถูกตรวจพบที่คลังสินค้าการบินไทยเขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

  25. ช้าง แอฟริกา (Loxodonda africana)- ไม่เป็น สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง • แต่งาช้างแอฟริกาเป็นซากของสัตว์ป่า ชนิดที่อยู่ในบัญชี หมายเลข l ของอนุสัญญา CITESตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ • จึงกระทำความผิดฐาน นำเข้าซากของสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ตามมาตรา ๒๓ วรรคแรก และ ๔๗ แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ • และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗ หรือ ๒๗ ทวิ และ มาตรา 99 แล้วแต่กรณี

  26. ลักลอบนำเต่าจากมาดากัสการ์,เต่าบกลายรัศมี จากประเทศเคนย่าเข้ามาประเทศไทย (ถูกตรวจพบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) กระทำความผิดฐานส่งออกสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา ๒๓ วรรคแรก) แห่งพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗, ๒๗ ทวิ, พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๓๑

  27. ลักลอบนำเต่า,งูสวยงาม,กิ้งก่า,แมงมุม,จิ้งเหลน,กระรอกและนกแก้วสีเทา จากประเทศไทยไปยังประเทศอินโดนีเชีย กระทำความผิดฐานครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา ๑๙) ฐานส่งออกสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา ๒๓ วรรคแรก) แห่งพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗, ๒๗ ทวิ, พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๓๑

  28. ลักลอบนำลูกเสือโคร่งจากประเทศไทยไปยังประเทศอิหร่าน (ลูกเสือโคร่งถูกวางยากล่อมประสาท) (ตรวจพบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗, ๒๗ ทวิ ,พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๓๑

  29. เสือโคร่ง (panthera Tigris) • เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวก เลี้ยงลูกด้วยนม ลำดับที่ ๑๘๑ ตามกฎกระทรวง ฯ พ.ศ.๒๕๔๖ • ไม่เป็น สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามกฎกระทรวง ฯ • เป็นสัตว์ป่าชนิดในบัญชี 1 ของอนุสัญญา CITES โดยเป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต • จีงเป็นการกระทำความผิด ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา ๑๙,๔๗ ฐานส่งออกสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา ๒๓ วรรคแรก,๔๗ ฐานส่งออกสัตว์ป่าคุ้มครองออกไปนอกราชอาณาจักร มาตรา ๒๓ วรรคสอง ,๔๘ แห่งพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

  30. ลักลอบนำนกขุนทองออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเกาหลีลักลอบนำนกขุนทองออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเกาหลี (ถูกตรวจพบที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)

  31. นกขุนทอง (Gracula religiosa) • เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง จำพวกนก ลำดับ ๒๓๐ ตามกฎกระทรวง ๒๕๔๖ • เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ จำพวกนก ลำดับ ๒๕ ตามกฎกระทรวง • เป็นสัตว์ป่าในบัญชี 2 ของอนุสัญญา CITESโดยเป็นสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ตามประกาศกระทรวงฯ • จึงเป็นการกระทำผิด ฐานครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา ๑๙ ,๔๗) ฐานส่งออกสัตว์ป่าชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต(มาตรา ๒๓ วรรคแรก,๔๗ ) แห่งพ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ถ้า นกขุนทอง ดังกล่าวได้มาจากการเพาะพันธุ์ ก็เป็นความผิดตาม ๒๓ วรรคสอง,๔๘และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. ๒๔๖๙ มาตรา ๒๗, ๒๗ ทวิ หรือพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๓๑แล้วแต่กรณี

  32. ถาม-ตอบ ?

  33. คำถาม ลักลอบนำนอแรดขาว จากประเทศ SOUTH AFRICA เข้ามายังระเทศไทย • ๑. ตรวจพบที่ด่านท่าอากาศยานสุววรณภูมิ • ๒. ตรวจพบที่ร้านยาแผนโบราณ ในเยาวราช

  34. ขอบคุณ พบเห็นการลักลอบกระทำผิดโปรดแจ้ง สายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 1362

More Related