1 / 8

ระบบวิจัยสุขภาพ ใน 2 ทศวรรษหน้า

ระบบวิจัยสุขภาพ ใน 2 ทศวรรษหน้า. นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ความเข้าใจพื้นฐานบางประการ 1. การวิจัยเป็น “เครื่องมือ” สำหรับการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม

Download Presentation

ระบบวิจัยสุขภาพ ใน 2 ทศวรรษหน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบวิจัยสุขภาพใน 2 ทศวรรษหน้า นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

  2. ความเข้าใจพื้นฐานบางประการ 1 • การวิจัยเป็น “เครื่องมือ” สำหรับการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม • ความชัดเจนเรื่องเป้าหมายการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมดุลระหว่างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของสังคม/ความสุขของประชาชน • เราอยากได้สังคมแบบไหน ต้องออกแบบระบบวิจัยให้รองรับ • ระบบวิจัยเป็น “สมอง” ที่ต้องเชื่อมโยงกับ “ร่างกาย” คือ การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติและสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติเพื่อเป็นความรู้ • ความแตกต่าง “การวิจัย” และ “การจัดการความรู้”

  3. การวิจัยและการจัดการความรู้การวิจัยและการจัดการความรู้ • การวิจัยเน้นสร้างความรู้แล้วจึงเผยแพร่/ถ่ายทอดสู่ผู้ใช้ แต่การจัดการความรู้เป็นการสร้างและใช้ความรู้อยู่ที่เดียวกัน • การวิจัยเป็นกิจกรรมของนักวิจัย ส่วนการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน • การวิจัยเน้นความรู้แจ้งชัด (explicit knowledge) ความรู้ที่แยกส่วน มีความชัดเจน มีการพิสูจน์ทางทฤษฎี ส่วนการจัดการความรู้เน้นความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) เป็นความรู้บูรณาการ ไม่ค่อยชัดเจน ผ่านการพิสูจน์โดยการใช้ประโยชน์ • การวิจัยเน้นการทำเอกสารรายงานเป็นผลงานวิจัย การจัดการความรู้เน้นการจดบันทึกเพื่อการใช้งาน/เรียนรู้ของผู้ปฏิบัติ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

  4. ความเข้าใจพื้นฐานบางประการ2ความเข้าใจพื้นฐานบางประการ2 • สุขภาพและบริการสุขภาพไม่ใช่ “สินค้า” ปรกติ ที่สามารถใช้กลไกตลาด ทำให้เกิดความเป็นธรรมและประสิทธิภาพสูงสุด • การวิจัยสุขภาพมุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะมากกว่าประโยชน์ของปัจเจกชน แต่การลงทุน R&D จากภาคเอกชน ก็เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี จะรักษาสมดุลนี้อย่างไร • การพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่ฐานรากของประเทศ หรือความเข้มแข็งของชุมชน • เจดีย์เริ่มต้นจากการสร้างฐานที่มั่นคง (ศ.นพ.ประเวศ วะสี)

  5. ภาพฝันระบบวิจัยสุขภาพ 1 • ระบบที่เน้นการ “สร้างคน” ที่ไม่จำกัดเฉพาะ “นักวิจัย” แต่ครอบคลุมการส่งเสริมประชาชนให้เกิด “วัฒนธรรมการสร้างและใช้ความรู้” • ทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการพัฒนาเป้าหมายไม่ควรจำกัดแค่การพัฒนาจำนวนและศักยภาพ “นักวิจัย” เท่านั้น • ระบบที่ขยาย “การวิจัย” หรือ “การจัดการความรู้” ให้ครอบคลุมกว้างขวางที่ไม่จำกัดแค่ภายในระบบวิจัย • ปฏิรูประบบ “การศึกษา” ให้เป็นระบบที่เน้น “การเรียนรู้” และสร้างแรงจูงใจในการใฝ่เรียนรู้ มากกว่าระบบการ “ท่องจำ” • การขยายแนวคิดการวิจัยจากงานประจำ (R2R)

  6. มหาวิทยาลัยและการวิจัยมหาวิทยาลัยและการวิจัย • การปฏิรูประบบการเรียนรู้ (ของมหาวิทยาลัยและนักศึกษา) โดยเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับการพัฒนา • แนวคิด 1 มหาวิทยาลัยดูแล 1 จังหวัดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี • แนวทางการกำหนดหัวข้อ/ประเด็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา • ระบบสนับสนุนการวิจัยของนักศึกษา/บุคลากรมหาวิทยาลัย • การปฏิรูประบบแรงจูงใจบุคลากรในการทำวิจัย • ระบบการค่าตอบแทนและการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ (ที่ไม่เน้นแค่การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเท่านั้น) • มหาวิทยาลัยนอกระบบ และการอยู่รอดทางการเงินที่ไม่กระทบต่อบทบาทมหาวิทยาลัยต่อสังคม

  7. ภาพฝันระบบวิจัยสุขภาพ 2 • ระบบที่เน้นการลงทุนโดยภาครัฐเป็นหลัก การลงทุนของเอกชนเป็นส่วนเสริมโดยมีการควบคุมกำไรจากนวัตกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม • ภาครัฐอาจอุดหนุนการวิจัยของภาคเอกชน เพื่อจูงใจให้ดำเนินการและส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (social entrepreneur) • มีระบบการจัดการงานวิจัย/การจัดการความรู้ที่คล่องตัวมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ • การบูรณาการกระบวนการสร้างและการส่งเสริมการใช้ความรู้ • การพัฒนาให้เกิด “ผู้จัดการงานวิจัย (RM)” และ “ผู้จัดการความรู้ (KM)” ให้เกิดขึ้นในทุกๆ องค์กร

  8. ขอบคุณครับ

More Related