1 / 22

การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกคะน้า

การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกคะน้า The Advantage of Vetiver Grass on Soil Improvement for Kale อิสริยา มีสิงห์ Isariya Meesing สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน Office of Research and Development of Land Management. วัตถุประสงค์

jenis
Download Presentation

การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกคะน้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกคะน้าการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกคะน้า The Advantage of Vetiver Grass on Soil Improvement for Kale อิสริยา มีสิงห์ Isariya Meesing สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน Office of Research and Development of Land Management

  2. วัตถุประสงค์ 1. ศึกษามวลชีวภาพของหญ้าแฝกดอนและหญ้าแฝกลุ่มที่อายุต่าง ๆ กัน 2. ศึกษาผลการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงบำรุงดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน 3. ศึกษาผลการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงบำรุงดินต่อผลผลิตคะน้า 4. ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงบำรุงดิน ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สิ้นสุดเดือน กันยายน พ.ศ. 2551 สถานที่ดำเนินการ 43/1 หมู่ 4 ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัด เพชรบุรี พิกัด 0589175E 1399599N

  3. อุปกรณ์การทดลอง 1.หญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุรี 2.หญ้าแฝกลุ่มพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3. ปุ๋ยหมัก 4. ปุ๋ยเคมี 5. เมล็ดพันธุ์คะน้าจัมโบ้ 919 6. ป้ายแปลง ไม้ ถุงพลาสติก 7. อุปกรณ์เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างพืช 8. วัสดุและอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ เช่น จอบ เสียม อุปกรณ์ให้น้ำ และอื่นๆ

  4. วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ รวม 24 แปลง โดยมีรายละเอียดของตำรับการทดลอง ดังนี้ วิธีการที่ 1 แปลงตรวจสอบ วิธีการที่ 2 ใส่ปุ๋ยตามเกษตรกรและไม่ปลูกหญ้าแฝก วิธีการที่ 3 ปลูกหญ้าแฝกดอน ตัดเมื่ออายุ 4 เดือน วิธีการที่ 4 ปลูกหญ้าแฝกดอน ตัดเมื่ออายุ 5 เดือน วิธีการที่ 5 ปลูกหญ้าแฝกดอน ตัดเมื่ออายุ 6 เดือน วิธีการที่ 6 ปลูกหญ้าแฝกลุ่ม ตัดเมื่ออายุ 4 เดือน วิธีการที่ 7 ปลูกหญ้าแฝกลุ่ม ตัดเมื่ออายุ 5 เดือน วิธีการที่ 8 ปลูกหญ้าแฝกลุ่ม ตัดเมื่ออายุ 6 เดือน หมายเหตุ หญ้าแฝกดอนใช้พันธุ์ราชบุรี หญ้าแฝกลุ่มใช้พันธุ์สุราษฎร์ธานีและใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 2 ตัน/ไร่ ในทุกวิธีการทดลอง และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ในอัตรา 25 กก./ไร่ ในวิธีการทดลองที่ 2-8

  5. การดำเนินงาน 1.คัดเลือกพื้นที่ แล้วเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง 2.ปลูกหญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุรี และหญ้าแฝกลุ่มพันธุ์สุราษฎร์ธานี ลงแปลงตามระยะเวลาที่กำหนดคือ 4 เดือน 5 เดือน และ 6 เดือน ระยะปลูกหญ้าแฝกระหว่างแถวและระหว่างต้น 50X50 เซนติเมตร ตัดต้นหญ้าแฝกออกชิดดินเหลือรากทิ้งไว้ในดิน ทุกวิธีการพร้อมกัน 3.ทำการปลูกคะน้า 4. ดูแลรักษาและกำจัดวัชพืช 5. ดำเนินการเก็บเกี่ยวคะน้าเมื่ออายุประมาณ 45 วัน

  6. การเก็บบันทึกข้อมูล 1.ตัดต้นหญ้าแฝกออกชิดดิน ตรวจวัดจำนวนการแตกกอ ความยาวของใบ และน้ำหนัก ของใบหญ้าแฝก 2.เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์หาค่า ความหนาแน่นรวม ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณอินทรีวัตถุ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 3. วัดการเจริญเติบโตของคะน้า 4. วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT) 5. วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

  7. การดำเนินงาน

  8. ผลการทดลอง 1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน 1.1 ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ตารางที่ 1 แสดงค่าความเป็นกรด-ด่างของดินก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก และหลังการทดลอง วิธีการทดลองpH ก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก หลังการทดทดลอง แปลงตรวจสอบ (T1) 4.5 4.7 4.8 ไม่ปลูกหญ้าแฝก (T2) 5.5 5.0 5.3 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T3) 5.5 4.6 4.5 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 5 เดือน(T4) 4.4 4.6 4.6 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 6 เดือน(T5) 5.6 5.3 4.5 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T6) 4.6 4.74.5 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 5 เดือน(T7) 4.7 4.5 4.5 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 6 เดือน(T8) 6.6 5.7 5.8 เฉลี่ย5.2 4.94.8

  9. ผลการทดลอง(ต่อ) 1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน(ต่อ) 1.2 ปริมาณอินทรีวัตถุในดิน ตารางที่ 2แสดงปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก และหลังการทดลอง วิธีการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุ (%)ก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก หลังการทดลอง แปลงตรวจสอบ (T1)0.260.661.00 ไม่ปลูกหญ้าแฝก (T2)0.37 0.66 0.80 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T3)0.380.761.04 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T4)0.420.851.09 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T5)0.511.010.89 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 4 เดือน (T6)0.33 0.80 1.01 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T7)0.210.981.14 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T8)0.440.851.14 เฉลี่ย 0.370.821.02

  10. ผลการทดลอง(ต่อ) 1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน(ต่อ) 1.3 ปริมาณฟอสฟอรัสในดิน ตารางที่ 3แสดงปริมาณฟอสฟอรัสในดินก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก และหลังการทดลอง วิธีการทดลองปริมาณฟอสฟอรัส (mg/kg) ก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก หลังการทดลอง แปลงตรวจสอบ (T1) 4.67 6.0022.33 ไม่ปลูกหญ้าแฝก (T2) 4.67 6.0024.00 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T3) 7.00 12.6728.33 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T4) 6.00 7.3449.67 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T5) 8.67 11.0031.00 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 4 เดือน (T6) 4.34 8.0027.33 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T7) 4.00 6.6728.00 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T8) 7.34 9.3444.67เฉลี่ย5.84 8.38 31.92

  11. ผลการทดลอง(ต่อ) 1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน(ต่อ) 1.4 ปริมาณโพแทสเซียมในดิน ตารางที่ 4แสดงปริมาณโพแทสเซียมในดินก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก และหลังการทดลอง วิธีการทดลองปริมาณโพแทสเซียม (mg/kg)ก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก หลังการทดลอง แปลงตรวจสอบ (T1)121.67 443.67288.50 ไม่ปลูกหญ้าแฝก (T2) 140.00 502.34303.67 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T3) 136.67 542.67338.84 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T4) 123.34 524.34338.84 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T5) 166.67 568.34365.00 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 4 เดือน (T6) 128.34 550.00329.00 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 5 เดือน (T7) 100.00 506.00334.67 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 6 เดือน (T8) 158.34 586.67360.84เฉลี่ย134.38 528.00 332.42

  12. ผลการทดลอง(ต่อ) 1. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน(ต่อ) 1.5 ความหนาแน่นรวมในดิน ตารางที่ 5แสดงค่าความหนาแน่นรวมในดินก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก และหลังการทดลอง วิธีการทดลองความหนาแน่นรวม (g/cm3) ก่อนการทดลอง หลังการปลูกหญ้าแฝก หลังการทดลอง แปลงตรวจสอบ (T1)1.72 1.60 1.45 ไม่ปลูกหญ้าแฝก(T2) 1.66 1.561.42 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T3)1.81 1.631.49 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 5 เดือน(T4) 1.70 1.521.36 ปลูกหญ้าแฝกดอนตัดเมื่ออายุ 6 เดือน(T5)1.70 1.691.42 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 4 เดือน(T6) 1.69 1.591.44 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 5 เดือน(T7) 1.66 1.581.41 ปลูกหญ้าแฝกลุ่มตัดเมื่ออายุ 6 เดือน(T8) 1.71 1.681.40เฉลี่ย 1.71 1.60 1.42

  13. ผลการทดลอง(ต่อ) 2.การเจริญเติบโตของหญ้าแฝก 2.1น้ำหนักของใบหญ้าแฝก

  14. ผลการทดลอง(ต่อ) 2.การเจริญเติบโตของหญ้าแฝก(ต่อ) 2.2ความยาวของใบหญ้าแฝก

  15. ผลการทดลอง(ต่อ) 2.การเจริญเติบโตของหญ้าแฝก(ต่อ) 2.3การแตกกอ

  16. ผลการทดลอง(ต่อ) 3.การเจริญเติบโตของคะน้า เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของคะน้าเฉลี่ยทั้งสองฤดูปลูก 3.1 ความสูงของต้น

  17. ผลการทดลอง(ต่อ) 3.การเจริญเติบโตของคะน้า(ต่อ) 3.2 ผลผลิต

  18. ผลการทดลอง(ต่อ) 4.ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกคะน้าเฉลี่ยทั้งสองฤดูปลูก

  19. สรุปผลการทดลอง 1. การปลูกหญ้าแฝกในแต่ละวิธีการมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความหนาแน่นในดินหลังการทดลองโดยรวมเฉลี่ยลดลงทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าระบบรากหญ้าแฝกทำให้ช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น 2. การเจริญเติบโตของหญ้าแฝก พบว่า การปลูกหญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุรีตัดเมื่ออายุ 6 เดือนมีน้ำหนักและความยาวของใบหญ้าแฝกมากที่สุดส่วนการปลูกหญ้าแฝกลุ่มพันธุ์สุราษฎร์ธานีตัดเมื่ออายุ 6 เดือนมีการแตกกอมากที่สุด 3. ผลผลิตคะน้าเฉลี่ยทั้งสองฤดูปลูก พบว่า วิธีการปลูกหญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุรีตัดเมื่ออายุ 4 เดือนให้ผลผลิตคะน้าสูงที่สุด 4. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเฉลี่ยทั้งสองฤดูปลูก พบว่า วิธีการปลูกหญ้าแฝกดอนพันธุ์ราชบุรีตัดเมื่ออายุ 4 เดือนให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงที่สุด

  20. ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ได้เทคโนโลยีการฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินที่มีปัญหาขาดความอุดมสมบูรณ์ 2. ได้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ ทั้งยังไม่ต้องดูแลรักษาหลังการปลูกมากนัก และเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีอื่นๆ 3. ใบของหญ้าแฝกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น ปุ๋ยหมัก วัสดุปรับปรุงดิน อาหารสัตว์ วัสดุมุงหลังคา และพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ 4. สามารถใช้ผลการศึกษาครั้งนี้สำหรับเป็นข้อมูลให้นักวิชาการ เกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจที่จะวางแผนเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการปรับปรุงดินและพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการเกษตรต่อไป

  21. ข้อเสนอแนะ 1. จัดทำข้อมูลเป็นคำแนะนำในเอกสารเผยแพร่หรือคู่มือเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจต่อไป 2. เกษตรกรสามารถปลูกหญ้าแฝกร่วมกับการใช้วิธีเกษตรกรในการปลูกคะน้าเพื่อปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะสมสำหรับทำการเกษตรต่อไปได้ 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการรณรงค์และส่งเสริมให้มีการใช้หญ้าแฝกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปได้นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม

  22. ขอบคุณค่ะ

More Related