1 / 39

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาชีวศึกษา

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาชีวศึกษา. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคกลาง. นโยบายการขับเคลื่อนอาชีวศึกษา. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการอาชีวศึกษาไทย การยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาไทย การส่งเสริมการศึกษาเพื่ออาชีพตลอดชีวิต การส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์.

jenis
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาชีวศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอาชีวศึกษา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคกลาง

  2. นโยบายการขับเคลื่อนอาชีวศึกษานโยบายการขับเคลื่อนอาชีวศึกษา • การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการอาชีวศึกษาไทย • การยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาไทย • การส่งเสริมการศึกษาเพื่ออาชีพตลอดชีวิต • การส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

  3. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบการอาชีวศึกษาไทยการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการอาชีวศึกษาไทย • จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี • พัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษา • ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และระดมทรัพยากร • พัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะและระบบงานการประกันคุณภาพ • พัฒนาห้องปฏิบัติการให้ทันสมัย

  4. การยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาไทยการยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาไทย • ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาวิชาชีพอย่างเป็นระบบ • ขยายการจัดการศึกษาวิชาชีพด้วยรูปแบบที่หลากหลายตามกลุ่มเป้าหมาย • ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาปรับใช่กับการเรียนการสอน

  5. การส่งเสริมการศึกษาเพื่ออาชีพตลอดชีวิตการส่งเสริมการศึกษาเพื่ออาชีพตลอดชีวิต • การจัดการอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยี/สายปฏิบัติการ • จัดตั้งสถานบันการอาชีวศึกษาเฉพาะทาง • ส่งเสริมการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม • พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศอาชีวศึกษา • ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ

  6. การส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์การส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ • จัดระบบดูแลนักเรียนนักศึกษา ให้คำปรึกษา และสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ • ปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมนักศึกษาที่เป็นปัญหาทางสังคม • เสริมสร้างคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และจริยธรรมวิชาชีพ • สร้างการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสถาบันครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติ

  7. รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ • การศึกษาในระบบ • การศึกษานอกระบบ • การศึกษาระบบทวิภาคี

  8. การศึกษาในระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เน้นการศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษา หรือสถานบันการอาชีวศึกษาเป็นหลัก • กำหนดจุดมุ่งหมาย • วิธีการศึกษา • หลักสูตร • ระยะเวลา • การวัดและประเมินผล • เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา

  9. การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด • จุดมุ่งหมาย • รูปแบบวิธีการศึกษา • ระยะเวลา • การวัดประเมินผล • เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา เนื้อหาและหลักสูตรต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มบุคคลแต่ละกลุ่ม

  10. การศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสถานศึกษา หรือสถาบัน กับสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่อง • การจัดการหลักสูตร • การเรียนการสอน • การวัดและประเมินผล ผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถานบัน และเรียนภาคปกติในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ

  11. หลักสูตรการเรียนการสอนอาชีวศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนอาชีวศึกษา • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) • พุทธศักราช 2545 ปรับปรุง 2546 • พุทธศักราช 2556 • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) • พุทธศักราช 2545 เพิ่มเติม 2546 • พุทธศักราช 2557(อยู่ระหว่างจัดทำ) • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต(ต่อเนื่อง)

  12. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)2556หลักการของหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)2556หลักการของหลักสูตร • เป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่าด้านวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ และประชาคมอาเซียน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับฝีมือให้มีสมรรถนะ มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ • เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้เลือกเรียนได้อย่างกว้างขวางเน้นสมรรถนะเฉพาะด้านด้วยการปฏิบัติจริง สามารถเลือกวิธีการเรียนตามศักยภาพและโอกาสของผู้เรียน เ ปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียน สะสมผลการเรียน เทียบความรู้และประสบการณ์จากแหล่งวิทยาการ สถานประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระ • เป็นหลักสูตรที่สนับสนุนการประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน • เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชนและ ท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับสภาพยุทธศาสตร์ของภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  13. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรจุดมุ่งหมายของหลักสูตร • เพื่อให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในงานอาชีพสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในงานอาชีพไปปฏิบัติงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกวิถีการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับตน สร้างสรรค์ความเจริญต่อชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ • เพื่อให้เป็นผู้มีปัญญา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการประกอบอาชีพ สามารถสร้างอาชีพ มีทักษะในการจัดการและพัฒนาอาชีพให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ • เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ มีความมั่นใจ และภาคภูมิใจในวิชาชีพที่เรียน รักงาน รักหน่วยงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี โดยมีความเคารพในสิทธิและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น • เพื่อให้เป็นผู้มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดีงาม ทั้งในการทำงาน การอยู่ร่วมกัน การต่อต้านความรุนแรงและสารเสพติด มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว หน่วยงานท้องถิ่น และประเทศชาติอุทิศตนเพื่อสังคม เข้าใจและเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจิตสำนึกด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรู้จัดใช้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี • เพื่อให้มีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรม และวินัยในตนเอง มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ เหมาะสมกับงานอาชีพ • เพื่อให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศ และโลก มีความรักชาติ สำนึกในความเป็นไทย เสียสละเพื่อส่วนรวม ดำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  14. หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556

  15. 1. การเรียนการสอน การเรียนการสอนตามหลักสูตร • ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียนที่กำหนด • นำผลการเรียนทุกวิธีมาประเมินผลร่วมกันได้ • สามารถเทียบโอนผลการเรียน และขอเทียบความรู้และประสบการณ์ได้ การเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง สามารถจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียน • มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการดำเนินงาน • มีทักษะการปฏิบัติงานในขอบเขตสำคัญและบริบทต่าง ๆ • สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะไปสู่บริบทใหม่ • สามารถให้คำแนะนำ แก้ปัญหาเฉพาะด้านและรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น • มีส่วนร่วมในคณะทำงาน หรือการประสานงานกลุ่ม • มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน

  16. การจัดการศึกษาและเวลาเรียนการจัดการศึกษาและเวลาเรียน การจัดการศึกษาในระบบ ใช้ระยะเวลา 3 ปีการศึกษา โดย • กำหนดให้ 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน ๆ ละ 18 สัปดาห์ • การเรียนในระบบชั้นเรียน เปิดให้มีการเรียนการสอน สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 7 ชม. • การกำหนดคาบสอน เป็นรายคาบ ๆ ละ 60 นาที

  17. หน่วยกิต หน่วยกิต ตลอดหลักสูตร รวม 103 หน่วยกิต • รายวิชาทฤษฎี ใช้เวลาในการบรรยายหรืออภิปราย ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง = 1 หน่วยกิต • รายวิชาปฏิบัติ ใช้เวลาในการทดลอง หรือฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 36 ชม.= 1 หน่วยกิต • รายวิชาปฏิบัติ ที่ใช้เวลาในการฝึกปฏิบัติในโรงฝึกงาน หรือภาคสนาม ไม่น้อยกว่า 54 ชม. = 1 หน่วยกิต • รายวิชาที่ใช้ในการศึกษาระบบทวิภาคี ไม่น้อยกว่า 54 ชม.= 1 หน่วยกิต • การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ หรือแหล่งวิทยาการ ไม่น้อยกว่า 320 ชม.= 4 หน่วยกิต • การทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพไม่น้อยกว่า 54 ชม. = 1 หน่วยกิต

  18. โครงสร้างหลักสูตร แบบออกเป็น 3 หมวดวิชา 1 กิจกรรม ดังนี้ • หมวดวิชาทักษะชีวิต • หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ • หมวดวิชาเลือกเสรี • กิจกรรมเสริมหลักสูตร

  19. 1.หมวดวิชาทักษะชีวิต • กลุ่มวิชาภาษาไทย • กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ • กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ • กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ • กลุ่มวิชาสังคมศึกษา • กลุ่มวิชาสุขศึกษาพละศึกษา

  20. 3.หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ3.หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ • กลุ่มทักษะวิชาชีพพื้นฐาน • กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ • กลุ่มทักษะวิชาชีพเลือก • ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ • โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ

  21. รหัสวิชา 1. ระดับหลักสูตร 2. ประเภทวิชา 3-4 สาขาวิชา • * การพัฒนารายวิชา 5-6 สาขาวิชา/วิชาเรียนรวม กลุ่มวิชา 7-8 ลำดับที่วิชา 0 0 1 1 2 0 0 1

  22. ระดับหลักสูตร 2 = หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ( ปวช.) 3 = หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 4 = หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ป.ตรี)

  23. 9 ประเภทวิชา ที่เปิดการเรียนการสอน • ประเภทวิชาอุตสาหกรรม • ประเภทวิชาพาณิชยกรรม • ประเภทวิชาศิลปกรรม • ประเภทวิชาคหกรรม • ประเภทวิชาเกษตรกรรม • ประเภทวิชาประมง • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว • ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ • ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  24. ประเภทอุตสาหกรรม • ประกอบด้วย 18 สาขาวิชา • สาขาวิชาช่างยนต์ • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน • สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ • สาขาวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล • สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุง • สาขาวิชาช่างต่อเรือ • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ • สาขาวิชาโทรคมนาคม • สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์ • สาขาวิชาช่างก่อสร้าง • สาขาวิชาช่างเครื่องเรือนและตกแต่งภายใน • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม • สาขาวิชาสำรวจ • สาขาวิชาโยธา • สาขาวิชาช่างพิมพ์ • สาขาวิชาเทคนิคแว่นตาและเลนส์ • สาขาวิชาอุตสาหกรรมยาง

  25. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม • ประกอบด้วย 8 สาขาวิชา • สาขาวิชาการบัญชี • สาขาวิชาการตลาด • สาขาวิชาการเลขานุการ • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ • สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล • สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ • สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก • สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ

  26. ประเภทวิชาศิลปกรรม • ประกอบด้วย 12 สาขาวิชา • สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ • สาขาวิชาการออกแบบ • สาขาวิชาศิลปหัตถกรรม • สาขาวิชาศิลปกรรมเซรามิก • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง • สาขาวิชาการถ่ายภาพและวีดิทัศน์ • สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก • สาขาวิชาศิลปะการดนตรี • สาขาวิชาศิลปหัตถกรรมรูปพรรณและเครื่องประดับ • สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี • สาขาวิชาช่างทองหลวง

  27. ประเภทวิชาคหกรรม • ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา • สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ • สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ • สาขาวิชาเสริมสวย

  28. ประเภทวิชาเกษตรกรรม • มี1สาขาวิชา • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

  29. ประเภทวิชาประมง • ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ

  30. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว • ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา • สาขาวิชาการโรงแรม • สาขาวิชาการท่องเที่ยว

  31. ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ • ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ • สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ • สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม

  32. ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • มี 1 สาขาวิชา • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

  33. การวิเคราะห์หลักสูตรการสอนรายวิชาการวิเคราะห์หลักสูตรการสอนรายวิชา • จุดประสงค์รายวิชา • สมรรถนะรายวิชา • คำอธิายรายวิชา

  34. 2101-2001 งานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 1 – 6 – 3 (Gasoline Engine) จุดประสงค์รายวิชา 1. เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานหน้าที่ระบบต่างๆของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2. เพื่อให้ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ช่าง ได้ถูกต้องตามขั้นตอน 3. เพื่อให้ถอดประกอบตรวจสภาพชิ้นส่วน ปรับแต่งและบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4. เพื่อให้มีกิจนิสัยที่ดีในการทำงานด้วยความเป็นระเบียบสะอาดประณีตปลอดภัยและรักษาสภาพแวดล้อม

  35. สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการ ตรวจสอบบำรุงรักษาปรับแต่งชิ้นส่วนเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2. ถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์แก๊สลีนตามคู่มือ 3. ตรวจสภาพชิ้นส่วนเครื่องยนต์แก๊สลีนตามคู่มือ 4. บำรุงรักษาชิ้นส่วนเครื่องยนต์แก๊สลีนตามคู่มือ 5. ปรับแต่งเครื่องยนต์แก๊สลีนตามคู่มือ

  36. คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ช่างยนต์ หลักการทำงาน การถอดประกอบตรวจสภาพชิ้นส่วน ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบจุดระเบิดระบบหล่อลื่นระบบระบายความร้อนระบบไอดีและระบบไอเสีย การติดเครื่องยนต์ การปรับแต่งและบำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีน

  37. ตารางกำหนดหน่วยการเรียนรู้ตารางกำหนดหน่วยการเรียนรู้

  38. ตารางการวิเคราะห์หลักสูตรตารางการวิเคราะห์หลักสูตร

  39. สุธี โรจน์บุญถึง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคกลาง ถนนนารายณ์มหาราช ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี 08 1837 3833 E-mail:suthee_su05@hotmail.com

More Related