1 / 19

ภาพรวมของ พรบ. แรงงานสัมพันธ์

ภาพรวมของ พรบ. แรงงานสัมพันธ์. ข้อมูลจาก http :// web . nfe . go . th / index / content / law_006 . html. ลักษณะของพรบ.แรงงานสัมพันธ์.

jena-benton
Download Presentation

ภาพรวมของ พรบ. แรงงานสัมพันธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพรวมของพรบ. แรงงานสัมพันธ์ ข้อมูลจาก http://web.nfe.go.th/index/content/law_006.html

  2. ลักษณะของพรบ.แรงงานสัมพันธ์ลักษณะของพรบ.แรงงานสัมพันธ์ • เป็นกฎหมายด้านสังคม กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงาน เกี่ยวพันกับธุรกิจโดยทั่วไป โดยมีกำหนดเกี่ยวกับนิยามตามกฎหมาย การกำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนกลาง ดูแลการจดทะเบียนสมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงานและให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และสำนักงานผู้ชี้ขาดเกี่ยวกับปัญหาแรงงาน เพื่อดูแลปัญหาข้อพิพาทแรงงานต่างๆ และมีบทบัญญัติอื่นอีก • แบ่งออกเป็น 10 หมวด 163 มาตรา

  3. หมวด 1 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง • ให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จัดทำเป็นหนังสือ และอย่างน้อยต้องมีข้อความเกี่ยวกับเงื่อนไขการจ้าง วันเวลาทำงาน ค้าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ การแก้ไข หรือต่ออายุข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้าง โดยข้อตกลงจะมีผลบังคับไม่เกินสามปี ถ้าไม่กำหนด ให้มีอายุเท่ากับหนึ่งปี หลังจากนั้นถ้ามิได้มีการตกลงกัน ให้ถือว่าข้อตกลงนั้น มีผลบังคับครั้งละหนึ่งปี และกำหนดแนวปฏิบัติในการแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างโดยฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างไว้

  4. หมวด 2 ว่าด้วยวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน • ในการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น และให้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากพ้นกำหนดเจรจาสามวันแรกแล้ว และให้พนักงานประนอมข้อพิพาทเข้าไกล่เกลี่ยให้มีข้อตกลงกันภายในห้าวัน กำหนดให้ข้อพิพาทแรงงานในกิจการการรถไฟ การท่าเรือ โทรศัพท์หรือโทรคมนาคม ไฟฟ้า ประปา กลั่นน้ำมัน โรงพยาบาล ให้ส่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยและแจ้งผลให้สองฝ่ายทราบในสามสิบวัน โดยฝ่ายไม่เห็นด้วยสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีได้ ระหว่างเจรจาข้อ เรียกร้อง ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้าง ผู้แทน หรือสมาชิกสหภาพเว้นแต่มีการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจให้เกิดความเสียหาย ฝ่าฝืนระเบียบคำสั่ง ละทิ้งหน้าที่เกินสามวัน

  5. หมวด 3 ว่าด้วยการปิดงานและการนัดหยุดงาน • กำหนดห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงานถ้ายังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้อง และเจรจาตกลงกันไม่ได้ มีการปฏิบัติตามข้อตกลง และในกรณีที่จะมีการปิดงานหรือนัดหยุดงานเนื่องจากตกลงกันไม่ได้ ต้องแจ้งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน และอีกฝ่ายทราบเรื่องอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ถ้าหากการนัดหยุดงาน หรือปิดงานอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือก่อความเดือดร้อนต่อประชาชน รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งนายจ้างรับลูกจ้างกลับทำงาน สั่งให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ ให้บุคคลอื่นเข้าทำงานแทนที่ หรือให้คณะกรรมการชี้ขาดข้อพิพาทได้

  6. หมวด 4 ว่าด้วยคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ • ให้มีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามข้อกำหนดหรือได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

  7. หมวด 5 ว่าด้วยคณะกรรมการลูกจ้าง • กำหนดให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ ที่มีคนงานตั้งแต่ห้าสิบคน จัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง เพื่อทำหน้าที่ประชุมหารือร่วมกับนายจ้างเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการ ข้อบังคับ พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง

  8. หมวด 6 ว่าด้วยสมาคมนายจ้าง • กำหนดให้นายจ้างในกิจการประเภทเดียวกันสามารถรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมนายจ้าง เพื่อเข้าร่วมเจรจาข้อพิพาทแรงงานกับสหภาพแรงงานได้ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนด

  9. หมวด 7 ว่าด้วยสหภาพแรงงาน • ลูกจ้างในสถานประกอบการเดียวกัน หรือในกิจการประเภทเดียวกัน สามารถร่วมกันจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้สหภาพทำหน้าที่เรียกร้องเจรจาทำความตกลงกับนายจ้างหรือสมาคมนายจ้าง

  10. หมวด 8 ว่าด้วยสหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน • ทั้งสมาคมนายจ้าง และสหภาพแรงงานตั้งแต่สองแห่งต่างมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นสหพันธ์นายจ้าง หรือสหพันธ์แรงงาน แล้วแต่กรณี

  11. หมวด 9 ว่าด้วยการกระทำอันไม่เป็นธรรม • จะเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถือว่าไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์

  12. หมวด 10 ว่าด้วยบทกำหนดโทษ • กำหนดบทลงโทษการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ทั้งโทษปรับและโทษจำคุก โดยโทษสูงสุดจะได้รับการจำคุก 2 ปี

  13. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 121 ห้ามมิให้นายจ้าง(1) เลิกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ สหภาพแรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงานไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้ชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดำเนินการ ฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หรือนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือ กรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงานกำลังจะกระทำการดังกล่าว(2) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน

  14. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 121 (ต่อ) (3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หรือให้ หรือตกลงจะให้เงินหรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพ แรงงาน เพื่อมิให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงาน(4) ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวาง การใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ(5) เข้าแทรกแซงในการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน โดย ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย

  15. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 122 ห้ามมิให้ผู้ใด(1) บังคับหรือขู่เข็ญ โดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ลูกจ้างต้องเป็นสมาชิกสหภาพ แรงงาน หรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน หรือ(2) กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121

  16. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 123ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพ แรงงาน หรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

  17. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 123 (ต่อ) (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำต้องว่ากล่าวและ ตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือ(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร(5) กระทำการใด ๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด

  18. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 124เมื่อมีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 ผู้เสียหาย เนื่องจากการฝ่าฝืนอาจยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน • มาตรา 125เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามมาตรา 124 แล้ว ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง กล่าวหารัฐมนตรีมีอำนาจขยายระยะเวลาให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามที่เห็นสมควร

  19. การกระทำอันไม่เป็นธรรมการกระทำอันไม่เป็นธรรม • มาตรา 126 ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 125 ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป • มาตรา 127การฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 จะดำเนินคดีอาญาได้ต่อเมื่อผู้เสียหายเนื่องจากการฝ่าฝืนได้ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนตามมาตรา 124 และผู้ถูกกล่าวหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 125

More Related