1 / 53

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์. ครูวิชัย เจริญศรี. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม. (Lunar ’ Phases). ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม (Lunar's Phases)

Download Presentation

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ครูวิชัย เจริญศรี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี

  2. ปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม (Lunar ’ Phases)

  3. ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม (Lunar's Phases) ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก แล้วทำให้ผู้สังเกตที่อยู่บนโลก มองเห็นแสงที่เกิดจากการสะท้อน จากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป เราเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า"ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม" (Lunar's Phases) ปัจจุบัน เราทราบว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกของเราด้วยระยะทางเฉลี่ยประมาณ 384,000 กม.ในทิศเดียวกับการหมุนของโลก ใช้เวลาประมาณ 27.3 วันต่อรอบ (เมื่อเทียบจากจุดเดิม)

  4. ปรากฏการณ์ข้างขึ้น เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ เราก็จะไม่เห็นดวงจันทร์ แต่เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ไป เราจะค่อยๆเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างขึ้น" ชาวอียิปต์โบราณได้สังเกต และกำหนดให้วันที่เริ่มเห็นแสงจากเสี้ยวดวงจันทร์ เป็นวันแรกของปฏิทินแบบจันทรคติของแต่ละเดือน ช่วงข้างขึ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

  5. เราจะเริ่มเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก หลังพลบค่ำไปแล้ว โดยจะค่อยๆเห็นดวงจันทร์มากขึ้น และจะเห็นสูงขึ้นวันละประมาณ 12 องศา และจะเห็นดวงจันทร์ตกทางขอบฟ้าทิศตะวันตกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waxing Crescent ช่วงแรก (New Moon Phase)

  6. ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันตก โดยจะเห็นสูงสูงกลางท้องฟ้าเยื้องไปทางซีกโลกใต้ ในช่วงหัวค่ำ และจะค่อยๆลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกช่วงเที่ยงคืน ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waxing Gibbous" ช่วงที่สอง (First Quarter Phase)

  7. เมื่อจันทร์เต็มดวง หรือจันทร์เพ็ญ (Full Moon Phase) ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากเริ่มปราฏการณ์ข้างขึ้น เราจะเห็นจันทร์เต็มดวง เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่ช่วงค่ำ โดยจะเห็นได้ตลอดคืน จนกระทั่งดวงจันทร์ลับขอบฟ้าทิศตะวันตก ในช่วงเช้า ดวงจันทร์เต็มดวง เป็นที่มาของวันสำคัญต่างๆ เช่น วันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ 4) , วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ 7) , วันลอยกระทง (วันเพ็ญ เดือน 12) เป็นต้น

  8. ปรากฏการณ์ข้างแรม • เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านหลังโลกในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จะค่อยๆแหว่งไปทีละน้อย เราเรียกว่า "ปรากฏการณ์ข้างแรม" ช่วงข้างแรมจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ

  9. ช่วงแรก เราจะเริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่งทีละน้อย และจะค่อยๆเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออก ช้าลงวันละประมาณ 50 นาที ช่วงนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Gibbous"

  10. ช่วงที่สอง (Third Quarter Phase) ประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากเริ่มปรากฏการณ์ข้างแรม เราจะเห็นดวงจันทร์ประมาณครึ่งดวง หันด้านนูนไปทางทิศตะวันออก โดยจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออก หลังเที่ยงคืนไปแล้ว โดยจะค่อยๆเคลื่อนสูงขึ้น จนสูงสุดบนท้องฟ้าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในช่วงเช้า หลังจากนั้น เราก็จะเริ่มเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกช้าลง วันละประมาณ 50 นาที และจะเห็นจุดสูงสุดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ลดลงวันละประมาณ 12 องศา ช่วงนี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Waning Crescent"

  11. ระยะเวลาปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมในแต่ละรอบระยะเวลาปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมในแต่ละรอบ ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรมนี้ เวลาในแต่ละรอบจะนานกว่าคาบการเคลื่อนที่รอบโลกของดวงจันทร์ เนื่องจากเมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 1 รอบ โลกได้เคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งนั้นแล้ว (หรือเมื่อมองจากโลก ก็คือ ดวงอาทิตย์ได้เคลื่อนที่ ไปจากตำแหน่งเดิมนั้นแล้ว) ดังนั้น ดวงจันทร์จะมาอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์อีกครั้งให้เราเห็น "จันทร์ดับ" ก็ต่อเมื่อดวงจันทร์ต้องเคลื่อนที่ไปอีกเล็กน้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 29.5 วันต่อรอบนั่นเอง

  12. สุริยุปราคา

  13. สุริยุปราคาคืออะไร สุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน”

  14. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคำนวณเวลาการเกิดคราสต่าง ๆ ในสุริยุปราคา ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ที่กรุงเทพฯ เห็นดวงอาทิตย์ถูกบังมืดไม่หมดดวง และที่หว้ากอ ซึ่งอยู่ใกล้เขาสามร้อยยอด ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็นสถานที่ซึ่งเกิดสุริยุปราคามืดหมดดวง

  15. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือกลไฟพระที่นั่งจากกรุงเทพฯ ไปอ่าวแม่รำพึง แล้วจึงเสด็จขึ้นบกประทับทอดพระ เนตร ณ ตำบลหว้ากอ ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ อันมี เซอร์ แฮรี ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ได้รับเชิญมาเป็นแขกดูสุริยุปราคา คณะดาราศาสตร์ฝรั่งเศสก็ได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งค่ายสังเกตการณ์วัดดูสุริยุปราคาที่ใต้พลับพลาค่ายหลวงประมาณ 18 เส้น เมื่อได้เวลาสุริยุปราคาก็ได้เกิดขึ้นตามแนวทางที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงคำนวณไว้ ผลที่ทรงคำนวณดังที่ได้ประกาศไปเทียบกับคณะดาราศาสตร์อังกฤษได้ทำรายงานไว้เกือบจะไม่มีความแตกต่างคลาดเคลื่อนกันเลย

  16. สุริยุปราคาเต็มดวง

  17. สุริยุปราคาเต็มดวงคือปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรีและขณะที่เกิดนั้น ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก ทำให้สามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้หมด ยิ่งดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากเท่าใด ระยะเวลาการเกิดสุริยุปราคาก็จะนานมากขึ้นเท่านั้น

  18. ลูกปัดของเบรี่ (Baily's Beads) เกิดขึ้นหลังจากที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาบังดวงอาทิตย์เกือบหมด  หรือระหว่างที่กำลังบังกันสนิท จะเกิดแสงสว่างบริเวณขอบของดวงจันทร์ คล้ายสร้อยลูกปัด ซึ่งได้ชื่อจาก  ฟรานซิส เบรี่ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งอธิบายได้ถึงปรากฏการณ์ดังกล่าว ว่าเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์ที่ยังลอดผ่านช่องเขาที่อยู่ตามบริเวณขอบของดวงจันทร์ แหวนเพชร (Diamond Ring) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก่อน การบังกันสนิท และก่อนจะออกจากคราส  ซึ่งจะเกิดแสงวาบจากดวงอาทิตย์เพียงช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น ลักษณะคล้ายแหวน

  19. สุริยุปราคาแบบวงแหวน

  20. สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse)

  21. สุริยุปราคาวงแหวน คือปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรีมากและขณะที่เกิดนั้น ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมาก ทำให้ไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้หมด เมื่อมองไปยังดวงอาทิตย์ก็จะเห็น มีเงาสีดำวงกลมอยู่ตรงกลาง ในขณะที่บริเวณขอบของดวงอาทิตย์ยังสว่างจ้าเช่นเดิม ยิ่งดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมากเท่าใด วงแหวนก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น

  22. สุริยุปราคาแบบบางส่วนสุริยุปราคาแบบบางส่วน

  23. สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)

  24. สุริยุปราคาบางส่วนคือการเกิดสุริยุปราคาในขณะที่โลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน ทำให้ เรามองเห็นเงาของดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์เพียงบางส่วน เท่านั้น

  25. สุริยุปราคาแบบผสม (Hybrid Solar Eclipse)

  26. สุริยุปราคาแบบผสมคือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและสุริยุปราคาแบบวงแหวนในเวลาเดียวกัน อันเนื่องมาจากดวงจันทร์อยู่ในระยะที่เมื่อเรามองจากโลกมีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากกับดวงอาทิตย์ ทำให้บางตำแหน่งบนโลกมองเห็นเป็นแบบเต็มดวง ในขณะที่บางแห่งมองเห็นแบบวงแหวน

  27. สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก

  28. สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน ( แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )

  29. ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์ ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ จะบินกลับรัง ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลก

  30. วิธีดู เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้ ควรใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด

  31. ฤดูกาล

  32. ฤดูกาล ( เวลา )เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงรี ( เกือบกลม ) มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน และโลกหมุนรอบตัวเอง โดยมีแกนหมุนของโลกเอียงประมาณ 23.5 องศา กับแกนการโคจรรอบดวงอาทิตย์

  33. ในอดีตคนโบราณ เชื่อว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกไปตามขอบโค้งของฟ้า เรียกว่า สุริยวิถี หรือ สุริยยาตร์ โดยจะหันซีกโลกด้านเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 มิถุนายน ถือว่าอยู่ในฤดูร้อน หันซีกโลกด้านใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 ธันวาคม ถือว่าอยู่ในฤดูหนาว และหันซีกโลกด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 มีนาคม และ 23 กันยายน ถือว่าอยู่ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงตามลำดับ ในบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก ฤดูกาลจะไม่แตกต่างกันมากนัก

  34. ปรากฏการณ์นี้ นับจากวันที่โลกมาอยู่ตรงบริเวณเส้นศูนย์สูตรฟ้า เป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ มีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน เมื่อโลกโคจรกับมาถึงจุดเดิมอีกครั้ง เรียกว่า หนึ่งรอบปี ( ปีฤดูกาล ) มีระยะเวลาเฉลี่ย 365.242 วัน ( 365.25 วัน ) แบ่งออกเป็น 4 ฤดูกาล ฤดูกาลละ 3 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 30 วัน

  35. ชาวจีนมีการแบ่งฤดูกาล ( สารทใหญ่ ) , เดือน ( สารทเดือน ) และปักษ์( สารทเล็ก ) มีราศีล่าง ( นักษัตร ) และชื่อสารทเล็กดังต่อไปนี้

  36. ชาวจีนมีปฏิทินฤดูกาลที่ถูกกำหนดโดยภูมิโหราศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางดินฟ้าอากาศ กำหนดวิถีการดำเนินชีวิต เริ่มตั้งแต่ การเพาะปลูก การดำนา การหว่าน การไหว้ฟ้าดิน ( อาทิตย์ ) การไหว้บรรพบุรุษ การสีข้าว การเก็บเกี่ยว การไหว้สารท กลางปี การไหว้พระจันทร์ การกินเจ การถือศีล การขอบคุณเทพเจ้า ฯลฯ แบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ในแต่ละฤดูแบ่งออกเป็น 3 เดือน ( สารทเดือน ) ในแต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 2 สารทเล็ก ( หรือปักษ์ ) ใน 1 สารทเล็ก ( 1 ปักษ์ ) มีจำนวน 15 วัน หรือมากกว่า ( คิดตามจันทรคติเปรียบเทียบกับสุริยคติสัมพันธ์กัน )

  37. การเกิดกลางวัน กลางคืน

  38. การเกิดกลางวันและกลางคืนการเกิดกลางวันและกลางคืน • เนื่องจาก โลกเป็นบริวาลของดวงอาทิตย์ โดยโลกจะหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วัน หรือ 1 ปีในขณะเดียวกัน โลกจะหมุนรอบตัวเองโดยกินเวลา 24 ชั่วโมง จึงส่งผลให้ด้านที่โดนแสงจะเป็นเวลากลางวัน ส่วนด้านที่ไม่โดนแสงจะเป็นเวลากลางคืน เมื่อโลกหมุนไปเรื่อย ด้านที่ไม่โดนแสง หรือกลางคืน จะค่อยๆ หมุนเปลี่ยนมาจนกลายมาเป็นกลางวัน เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า กลางวัน และกลางคืน

  39. การเกิดน้ำขึ้น น้ำลง

  40. ในทุกวันจะปรากฏมีน้ำขึ้นและน้ำลงวันละ 2 ครั้ง น้ำขึ้นและน้ำลงเป็นผลมาจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ดวงจันทร์นั้นเป็นบริวารของโลก เมื่อหมุนผ่านไปจุดใดของโลกก็จะทำให้น้ำบนผิวโลกขึ้นพร้อมกัน 2 ส่วน คือ บริเวณที่อยู่ตรงกับดวงจันทร์ และอีกส่วนหนึ่งคือ บริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่มีน้ำขึ้น ในรอบ 1 ปี จะมีน้ำขึ้นมากที่สุด 2 ครั้ง น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าดาวอาทิตย์จะมีมวล 27 ล้านเท่าของดวงจันทร์ แต่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ ส่วนดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกนั้น อยู่ห่างจากโลกเพียง 240,000 ไมล์ ดังนั้นดวงจันทร์ จึงส่งแรงดึงดูดมายังโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ และน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์จะสูงเพียง ร้อยละ 46 ของระดับน้ำที่สูงจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์

More Related