1 / 12

ก.พ. รวบรวม Do and Don’t จาก 15 หน่วยงานไทยเทศ ในคู่มือจริยธรรม CP, SCG ติดกลุ่ม

u0e2au0e33u0e19u0e31u0e01u0e07u0e32u0e19u0e04u0e13u0e30u0e01u0e23u0e23u0e21u0e01u0e32u0e23u0e02u0e49u0e32u0e23u0e32u0e0au0e01u0e32u0e23u0e1eu0e25u0e40u0e23u0e37u0e2du0e19 u0e2bu0e23u0e37u0e2d u0e01.u0e1e. u0e44u0e14u0e49u0e08u0e31u0e14u0e17u0e33 u0e04u0e39u0e48u0e21u0e37u0e2d u201cu0e04u0e33u0e2du0e18u0e34u0e1au0e32u0e22u0e41u0e25u0e30u0e15u0e31u0e27u0e2du0e22u0e48u0e32u0e07u0e1eu0e24u0e15u0e34u0e01u0e23u0e23u0e21 u0e15u0e32u0e21u0e21u0e32u0e15u0e23u0e10u0e32u0e19u0e17u0e32u0e07u0e08u0e23u0e34u0e22u0e18u0e23u0e23u0e21u0e2au0e33u0e2bu0e23u0e31u0e1au0e40u0e08u0e49u0e32u0e2bu0e19u0e49u0e32u0e17u0e35u0e48u0e02u0e2du0e07u0e23u0e31u0e10u201d u0e42u0e14u0e22u0e22u0e31u0e07u0e44u0e14u0e49u0e23u0e27u0e1au0e23u0e27u0e21 u0e02u0e49u0e2du0e04u0e27u0e23u0e17u0e33u0e41u0e25u0e30u0e44u0e21u0e48u0e04u0e27u0e23u0e17u0e33 u0e2bu0e23u0e37u0e2d Do and Donu2019t u0e08u0e32u0e01 15 u0e2bu0e19u0e48u0e27u0e22u0e07u0e32u0e19u0e20u0e32u0e04u0e23u0e31u0e10u0e41u0e25u0e30u0e40u0e2du0e01u0e0au0e19u0e17u0e31u0e49u0e07u0e43u0e19u0e41u0e25u0e30u0e15u0e48u0e32u0e07u0e1bu0e23u0e30u0e40u0e17u0e28 u0e40u0e1eu0e37u0e48u0e2du0e43u0e2bu0e49u0e2bu0e19u0e48u0e27u0e22u0e07u0e32u0e19u0e02u0e2du0e07u0e23u0e31u0e10u0e43u0e0au0e49u0e40u0e1bu0e47u0e19u0e2bu0e25u0e31u0e01u0e43u0e19u0e01u0e32u0e23u0e01u0e33u0e2bu0e19u0e14u0e1bu0e23u0e30u0e21u0e27u0e25u0e08u0e23u0e34u0e22u0e18u0e23u0e23u0e21u0e2bu0e23u0e37u0e2du0e41u0e19u0e27u0e17u0e32u0e07u0e01u0e32u0e23u0e1bu0e23u0e30u0e1eu0e24u0e15u0e34u0e15u0e19u0e02u0e2du0e07u0e1au0e38u0e04u0e25u0e32u0e01u0e23u0e43u0e19u0e2du0e07u0e04u0e4cu0e01u0e23 u0e43u0e19u0e08u0e33u0e19u0e27u0e19u0e19u0e35u0e49u0e21u0e35u0e20u0e32u0e04u0e40u0e2du0e01u0e0au0e19u0e44u0e17u0e22 2 u0e23u0e32u0e22 u0e04u0e37u0e2d u0e40u0e04u0e23u0e37u0e2du0e40u0e08u0e23u0e34u0e0du0e42u0e20u0e04u0e20u0e31u0e13u0e11u0e4c u0e41u0e25u0e30 u0e40u0e2du0e2au0e0bu0e35u0e08u0e35 u0e2du0e22u0e39u0e48u0e43u0e19u0e01u0e25u0e38u0e48u0e21u0e15u0e31u0e27u0e2du0e22u0e48u0e32u0e07u0e01u0e32u0e23u0e08u0e31u0e14u0e17u0e33u0e08u0e23u0e23u0e22u0e32u0e1au0e23u0e23u0e13u0e02u0e2du0e07u0e2bu0e19u0e48u0e27u0e22u0e07u0e32u0e19u0e14u0e49u0e27u0e22

jedagoodman
Download Presentation

ก.พ. รวบรวม Do and Don’t จาก 15 หน่วยงานไทยเทศ ในคู่มือจริยธรรม CP, SCG ติดกลุ่ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำประมวลจริยธรรมหน่วยงานของรัฐการจัดทำประมวลจริยธรรมหน่วยงานของรัฐ

  2. คู่มือ คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรม ตามมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จัดทำ คู่มือ คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรม ตามมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น ๆ โดยได้รวบรวมตัวอย่าง พฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สำหรับใช้เป็นคู่มือหรือกรอบแนวทาง ในการจัดทำประมวลจริยธรรมให้กับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและหน่วยงานของรัฐ

  3. ตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรมตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม มาตรฐานทางจริยธรรม ข้อที่ ๑ ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม คำอธิบาย หลักการ ส่งเสริม สนับสนุน และพิทักษ์รักษาสถาบันหลักของประเทศ โดยการรักษาผลประโยชน์และชื่อเสียงของประเทศชาติ การปฏิบัติตาม หลักศาสนา การเทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คำอธิบาย ยึดมั่น หมายถึง ก. ยึดถืออย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในตัวบุคคล ส่งเสริม หมายถึง ก. เกื้อหนุน ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ดีขึ้น สนับสนุน หมายถึง ก. ส่งเสริม ช่วยเหลือ อุปการะ พิทักษ์ หมายถึง ก. ดูแลคุ้มครอง รักษา หมายถึง ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษา บ้านเมือง สงวนไว้ เช่น รักษาไมตรี เทิดทูน หมายถึง ก. ยกย่อง เชิดชูไว้เป็นที่ เคารพ ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศฯ เช่น ๑. แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ และยึดถือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ๒. ปกป้อง ดูแลผลประโยชน์และความมั่นคง ของ ประเทศชาติ ๓. ยึดมั่นและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชและ อธิปไตยของชาติให้คงอยู่อย่างมีเกียรติภูมิ ๔. ไม่แสดงออกในลักษณะการดูหมิ่น เหยียด หยาม หรือไม่กระทำการอันเป็นการทำลาย ความมั่นคงของชาติ รวมทั้งไม่กระทำการอัน เป็นการให้ร้ายหรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อ ภาพลักษณ์ของประเทศ

  4. ตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรมตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม มาตรฐานทางจริยธรรม ข้อที่ ๒ ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม คำอธิบาย หลักการ ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมาย และตามทำนองคลองธรรม มีจิตสำนึกที่ดี โดยมีความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง และมีความพร้อมรับ การตรวจสอบและรับผลจากการกระทำของตน คำอธิบาย ซื่อสัตย์ หมายถึง ก. ประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง ความซื่อสัตย์ (วิกิพีเดีย ๑๘ ก.ค. ๒๕๖๒) หมายถึง แง่มุมหนึ่งของศีลธรรม แสดงถึง คุณลักษณะทางบวกและคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความจริงใจ และความตรงไป ตรงมา พร้อมด้วยความประพฤติตรง ตลอดจน การงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือการลักขโมย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ความซื่อสัตย์ยังหมายถึง ความน่าไว้วางใจ ความภักดี ความเป็นธรรมและ ความบริสุทธิ์ใจอีกด้วย ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ เช่น ๑. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา ไม่กระทำการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ในงานหรืออาชีพของตน ๒. ตรงต่อเวลาทั้งการมาปฏิบัติหน้าที่และ การนัดหมาย ๓. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบ ถูกต้อง รวดเร็ว เต็มกำลังความสามารถ ๔. กล้ารับผิดชอบในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ และพร้อมรับการตรวจสอบ รวมถึงรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตนเอง อธิบายสิ่งที่ตนได้ปฏิบัติอย่างมีเหตุผลและ ชอบธรรม กล้ายอมรับผลดีและผลเสียที่เกิดจาก การกระทำของตนเอง

  5. ตัวอย่าง ข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) จากหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ยังได้รวบรวมตัวอย่าง ข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ สำหรับใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการจัดทำประมวลจริยธรรมให้กับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและหน่วยงานของรัฐ

  6. ตัวอย่าง ข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) จากหน่วยงานต่าง ๆ ตัวอย่างจากหน่วยงานในประเทศไทย ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงานกปร.), การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, และภาคเอกชนสองราย ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ เอสซีจี ตัวอย่างจากหน่วยงานในต่างประเทศ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์,Uber Technologies, Inc สาธารณรัฐอินเดีย และ Accenture PLC

  7. ตัวอย่างข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้อควรทำ (Do) ข้อไม่ควรทำ (Don’t) เป็นเสาหลักของแผ่นดิน เหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ข้าราชการก็จะยังเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนระบบ ราชการ สร้างความเป็นมืออาชีพเพื่อให้เป็นที่ไว้วางใจและศรัทธา ของทั้งฝ่ายการเมืองและประชาชน สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองและระบบราชการ และเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรให้ลูกน้อง กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีความหนักแน่น เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องพูดต้องแสดงออก มีภาวะผู้นำ เช่น กล้าลงโทษลูกน้องที่ทำผิด สามารถ บริหารความเสี่ยง ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว เล่นพรรคเล่นพวก ระหว่างข้าราชการด้วยกันเอง กลั่นแกล้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ตนได้ประโยชน์และทางก้าวหน้า โดยไม่คำนึงถึง ระบบคุณธรรม เกรงกลัวต่อการที่จะแนะนำให้ข้อคิด หรือยืนยัน ต่อฝ่ายการเมือง ในกรณีที่ฝ่ายการเมืองประสงค์หรือสั่งการ ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ใช้อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบริหารงานบุคคลใด ๆ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้องเครือญาติ ในลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การแต่งตั้งนอกฤดูกาล

  8. ตัวอย่างข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ข้อไม่ควรทำ (Don’t) ข้อควรทำ (Do) ยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ปฏิบัติตน ตามแนวพระราชดำริพระบรมราโชวาท จงรักภักดีต่อองค์กร ปฏิบัติตามกฎระเบียบ วินัยตามที่องค์กรกำหนด ทำงานด้วยความตั้งใจ จริงใจ และจริงจังต่องาน ปฏิบัติตามกฎระเบียบราชการ วินัยจริยธรรม จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน o ทำงานตรงเวลา อุทิศเวลาให้ราชการอย่างเต็มท ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของสำนักงาน กปร. วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ในทางเสื่อม เสียไม่ว่ากรณีใด ๆ นำสถาบันไปแอบอ้างเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง ขยายผลการพัฒนาแบบไม่รู้จริง เบียดเบียนทรัพยากรทางราชการเพื่อ ประโยชน์ตนเอง (เช่น เงิน เวลา สิ่งของ อื่น ๆ ) เห็นแก่ตัว ไม่ช่วยทำงาน แสดงความขัดแย้งภายในให้คนนอกทราบ

  9. ตัวอย่างข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) เครือเจริญโภคภัณฑ์ ข้อไม่ควรทำ (Don’t) ข้อควรทำ (Do) ปฏิเสธการให้สินบนทุกประเภททั้งทางตรงและทางอ้อม รับผิดชอบต่อคําพูดพร้อมกับการกระทำของตนเองที่อาจส่งผลกระทบต่อเครือเจริญโภคภัณฑ์ รับผิดชอบให้คู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดซื้อจัดหาสินค้า และบริการอย่างมีจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายและการตลาดในแต่ละประเทศที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกอบธุรกิจเสมอ ระมัดระวังไม่ใช้กิริยาและคําพูดที่อาจ ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อเพื่อนร่วมงานทั้งโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม พึงระวังว่าการเลือกปฏิบัติ หรือการคุกคามบางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่ดูเหมือนกําลังให้หรือรับสินบน หรือมีเจตนาให้หรือรับสินบนหรือส่งเสริมการให้สินบน ปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในสถานะที่อาจทำให้ผู้อื่นมองว่ามีส่วนร่วมในการกีดกัน ทางการค้ากับคู่แข่งให้ข้อมูลด้านราคา หรือเงื่อนไขการขายแก่บุคคลภายนอก ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังคู่แข่ง จัดซื้อจัดหาจากคู่ค้าธุรกิจโดยไม่มั่นใจว่าผ่านการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจตามนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการ ห่วงโซ่อุปทานของเครือเจริญโภคภัณฑ์

  10. ตัวอย่างข้อควรทำและไม่ควรทำ (Do and Don’t) เอสซีจี ข้อไม่ควรทำ (Don’t) ข้อควรทำ (Do) ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคมหรือเรื่องอื่นใด ดำเนินการเรื่องการให้ หรือรับเงินบริจาคเงินสนับสนุนอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามระเบียบบริษัท และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุน ไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อการติดสินบน สื่อสารโดยแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการคำนึงถึงค่านิยมของสังคมในแต่ละประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ใช้แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ หรือแรงงานเด็กอันมิชอบด้วยกฎหมาย คอร์รัปชันและไม่ระมัดระวังในกระบวนการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การขาย และการตลาด การจัดซื้อ งานโครงการลงทุน การทำสัญญา การให้และรับของกำนัล การเลี้ยงรับรอง การให้เงินบริจาคหรือเงิน สนับสนุน เป็นต้น ใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการ เปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้าหรือบริการ ของคู่แข่ง ทำธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม หรืออาจทำให้เอสซีจีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง แม้ว่าธุรกรรมนั้นจะทำให้ได้รับประโยชน์ทางธุรกิจก็ตาม

  11. คู่มือ คำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรม ตามมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ตัวอย่างข้อควรทำและไม่ควรทำ Do and Don’t จัดทำขึ้นเพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ นำไปใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรม และใช้เป็นหลักเกณฑ์ การประพฤติปฏิบัติตนในการปฏิบัติงาน การตัดสินความถูกผิด การปฏิบัติที่ควรหรือไม่ควรกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

  12. THANK YOU ดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. https://www.numjuednoi.go.th/index/load_data/?doc=11230 https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/article/tawyaangkhkhwrthamaelaaimkhwrtham_do_and_dont_cchaakhnwyngaantaang_.pdf

More Related