971 likes | 2.36k Views
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4. น. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหลากหลาย ทางชีวภาพ. ความหลากหลายทาง ชีวภาพกับการดำรงชีวิต. ความหลากหลายทางชีวภาพ. การจัดหมวดหมู่ ของสิ่งมีชีวิต. เทคโนโลยีชีวภาพ. ความหลากหลาย ของพืชและสัตว์. ความหลากหลายทางชีวภาพ. ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ.
E N D
หน่วยการเรียนรู้ที่4 น ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ • ความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ • การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต • เทคโนโลยีชีวภาพ • ความหลากหลายของพืชและสัตว์
ความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ • ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน • สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันในด้านชนิดและจำนวน หรือทางสายพันธุกรรม
นกฟินช์บนหมู่เกาะกาลาปาโกส แต่ละชนิดจะมีขนาด รูปร่าง และจะงอยปาก แตกต่างกัน เป็นผลมาจากชนิดของอาหารที่กินและสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งอาศัย
ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางระบบนิเวศ เป็นความหลากหลายของแหล่งที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่ เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะเลือกสภาพแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการขยายเผ่าพันธุ์ ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศทะเลทราย
บริเวณต่างๆ ของโลกมีลักษณะทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีระบบนิเวศแตกต่างกัน ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศป่าชายเลน
ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ เป็นความหลากหลายที่สามารถพบเห็นได้ชัดเจน เกี่ยวข้องกับจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก ซึ่งสิ่งมีชีวิตบนโลกอาจมีจำนวนถึง 50 ล้านชนิด
ความหลากหลายทางพันธุกรรมความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นความหลากหลายที่ปรากฏไม่ชัดเจน โดยสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกันมากอาจมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่าง ความหลากทางพันธุกรรมที่เกิดโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผสมพันธุ์ภายในสปีชีส์เดียวกัน เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชด้วยกันเอง
แต่บางกรณีเป็นการผสมพันธุ์ข้ามสปีชีส์ ซึ่งจะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น เช่น การผสมพันธุ์ระหว่างพืชที่ทนต่อแมลงศัตรูพืชกับพืชที่ทนต่อเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ได้พืชที่ทนต่อทั้งแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ • การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการหลอมรวมเซลล์สืบพันธุ์ของแกะกับแพะ แล้วใส่เข้าไปให้เจริญเติบโตในมดลูกของแกะ ทำให้ได้สัตว์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า กีป • ลักษณะเด่นของกีป คือ มีเขาและขน ที่มีลักษณะผสมระหว่างขนแพะกับขนแกะ • นอกจากนี้ ก็มีการผสมพันธุ์สุนัขระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ ด้วย
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตการจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
การจำแนกสิ่งมีชีวิต การจำแนกสิ่งมีชีวิตตามลักษณะทางธรรมชาติ อาศัยลักษณะทางธรรมชาติ ลักษณะภายนอกหรือลักษณะต่างๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา การเจริญเติบโตของตัวอ่อน เป็นต้น ปลา ซาลามานเดอร์ กระต่าย มนุษย์ การจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยลักษณะทางพันธุกรรม อาศัยลักษณะทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต • ลักษณะภายนอกและโครงสร้างภายในของร่างกาย:ใช้แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ • แบบแผนของการเจริญเติบโต: ใช้หลักง่ายๆ คือ สิ่งมีชีวิตใดที่มีลักษณะของตัวอ่อนคล้ายคลึงกันมาก ย่อมมีวิวัฒนาการใกล้กันมากด้วย • ซากดึกดำบรรพ์: สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ย่อมมีซากดึกดำบรรพ์คล้ายคลึงกัน และอาจทำให้ทราบถึงบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วย
โครงสร้างของเซลล์และออร์แกเนลล์: เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ • สรีรวิทยาและการสังเคราะห์สารเคมี: สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างทางสรีรวิทยาต่างกัน ดังนั้นการสังเคราะห์สารต่างๆ ในร่างกายย่อมต่างกันด้วย • ลักษณะทางพันธุกรรม: เป็นวิธีที่มีกระบวนการซับซ้อนและยุ่งยาก
เกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเกณฑ์ในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต • ไดโคโตมัสคีย์ เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มย่อย โดยพิจารณาโครงสร้างที่แตกต่างกันเป็นคู่ๆ ทีละลักษณะ ซึ่งทำให้การพิจารณาง่ายขึ้น • สิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มจะมีไดโคโตมัสคีย์ที่ใช้แยกกลุ่มย่อยของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ 1. ก. มีขน.........................................................................................................................ดูข้อ 2. ข. ไม่มีขน..................................................................................................................ดูข้อ 3. 2. ก. ขนเป็นเส้น.............................................................................สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ข. ขนเป็นแผงแบบขนนก..............................................................................สัตว์ปีก 3. ก. มีครีบคู่ มีช่องเหงือก...............................................................สัตว์น้ำพวกปลา ข. ไม่มีครีบคู่............................................................................................................ดูข้อ 4. 4. ก. ผิวหนังมีเกล็ด.................................................................................สัตว์เลื้อยคลาน ข. ผิวหนังไม่มีเกล็ด.....................................................สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ลำดับในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตลำดับในการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต คาโรลัส ลินเนียส นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน ได้ริเริ่มการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือกประเภทที่มีความใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเริ่มจากขอบเขตที่กว้าง แล้วค่อยๆ แคบลง อาณาจักร (Kingdom) ไฟลัม (Phylum) หรือดิวิชัน (Division) สปีชีส์ (Species) ออร์เดอร์ (Order) จีนัส (Genus) แฟมิลี (Family) คลาส (Class)
ชื่อของสิ่งมีชีวิต • ชื่อสามัญ • ชื่อที่เรียกกันทั่วไป ตามลักษณะหรือรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น ดาวทะเล ว่านหางจระเข้ ทากบก เป็นต้น • ชื่อวิทยาศาสตร์ • ชื่อที่กำหนดขึ้นตามหลักสากลและเป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งคาโรลัสลินเนียส เป็นผู้ริเริ่มการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ โดยชื่อหน้า คือ ชื่อสกุล และชื่อหลัง คือ คำระบุชนิด • การเรียกชื่อดังกล่าวเรียกว่า การตั้งชื่อแบบทวินาม
หลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบทวินามหลักเกณฑ์การตั้งชื่อแบบทวินาม • อักษรตัวแรกของชื่อสกุลต้องเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวอักษรที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด • การเขียนจะต้องแตกต่างจากอักษรตัวอื่น โดยการเขียนตัวเอน ตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Oryza sativa L. มะม่วงหิมพานต์ชื่อวิทยาศาสตร์: AnacardiumoccidentaleL.
ไก่ฟ้าพญาลอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophuradiardi(Bonaparte, 1856) โลมาปากขวด ชื่อวิทยาศาสตร์: Tursiopstruncatus(Montagu, 1821) ลิงแสม ชื่อวิทยาศาสตร์: Macacafascicularis(Raffles, 1821)
แนวคิดการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตแนวคิดการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต อาริสโตเติล จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ 1.กลุ่มพืช ใช้อายุและความสูงเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก 2.กลุ่มสัตว์ ใช้สีของเลือดเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเลือดสีแดง และกลุ่มที่ไม่มีเลือดสีแดง
เอิร์นสต์แฮคเกล จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 3 อาณาจักร 1.อาณาจักรพืช คือ พวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้ และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้ 2.อาณาจักรสัตว์ คือ พวกที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้ 3. อาณาจักรโพรทิสตา คือ พวกที่ก้ำกึ่งระหว่างพืชและสัตว์ มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนนัก เช่น ยูกลีนา พารามีเซียม เป็นต้น
เฮอร์เบิร์ตโคปแลนด์ จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 4 อาณาจักร 1. อาณาจักรมอเนอรา คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรแคริโอต (ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 2. อาณาจักรโพรทิสตา คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต (มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส) แต่เซลล์ยังไม่รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะ ได้แก่ โพรโตซัว รา สาหร่าย และราเมือก 3.อาณาจักรพืช คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต ซึ่งมีเซลล์หลายเซลล์ทำงานร่วมกันเป็นระบบเกิดเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะ และสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ 4. อาณาจักรสัตว์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูแคริโอต ไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ จึงต้องได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น
รอเบิร์ตวิตเทเกอร์ จัดจำแนกสิ่งมีชีวิต เป็น 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน 1.อาณาจักรมอเนอรา คล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์ 2. อาณาจักรโพรทิสตา คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก และมีลักษณะก้ำกึ่งระหว่าพืชและสัตว์ 3. อาณาจักรฟังไจ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ได้รับอาหารจากการดูดซึมจากภายนอก โดยการปล่อยเอนไซม์ไปย่อยอาหารภายนอกเซลล์ 4. อาณาจักรพืช คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์ 5. อาณาจักรสัตว์ คือ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของโคปแลนด์
ความหลากหลายของพืชและสัตว์ความหลากหลายของพืชและสัตว์
ความหลากหลายของพืช ปัจจุบันพืชทั่วโลกมีประมาณ 300,000 ชนิด หากใช้เนื้อเยื่อท่อลำเลียงเป็นเกณฑ์ในการจำแนก สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ พืชที่ไม่มีท่อลำเลียง และพืชที่มีท่อลำเลียง
พืชที่ไม่มีท่อลำเลียงพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง • เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก ไม่มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง แต่มีโครงสร้างที่ทำหน้าที่เสมือนราก ลำต้น และใบ • ชอบขึ้นในที่ชุมชื้น และอากาศค่อนข้างเย็น • เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เนื่องจากช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน • ได้แก่ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต
พืชที่มีท่อลำเลียง • เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าพืชที่ไม่มีท่อลำเลียง ส่วนใหญ่มีราก ลำต้น และใบเจริญดี • สามารถปรับตัว และอาศัยอยู่บนบกได้ดี • มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร • แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ • พืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ด • พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม • พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม
พืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ดพืชที่มีท่อลำเลียงและไม่มีเมล็ด • มีวงชีวิตแบบสลับ คือ มีระยะสปอร์โรไฟต์และแกมีโทไฟต์สลับกันไป • มีสปอร์เป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ • ตัวอย่างเช่น หวายทะนอย สามร้อยยอด หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า แหนแดง ย่านลิเภา เฟิร์นใบมะขาม เฟิร์นก้านดำ จอกหูหนู ผักแว่น เป็นต้น
พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้มพืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม • เรียกพืชพวกนี้ว่า พืชเมล็ดเปลือย • เป็นพืชกลุ่มแรกที่มีการสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ด โดยการผสมพันธุ์จะอาศัยลมช่วยใน การถ่ายละอองเรณู ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการขั้นสำคัญของพืชที่อาศัยอยู่บนบก • ตัวอย่างเช่น สนสองใบ สนสามใบ สนสามพันปี ปรงเขา แปะก๊วย มะเมื่อย เป็นต้น
พืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้มพืชที่มีท่อลำเลียงและเมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม • เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการสูงสุด มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง • มีเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร เจริญดีมาก • มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่เปลี่ยนแปลงมาจากลำต้นและใบ จึงเรียกว่า พืชดอก • เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม มีการสืบพันธุ์ที่เรียกว่า ปฏิสนธิซ้อน • ตัวอย่างเช่น กุหลาบ ทานตะวัน ชบา มะม่วง ทุเรียน แตงโม ข้าวโพด ข้าว ไผ่ เป็นต้น
พืชดอกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว และพืชใบเลี้ยงคู่
ความหลากหลายของสัตว์ • สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง • สัตว์ที่ไม่มีแกนค้ำจุนลำตัวที่เรียกว่า แกนสันหลัง • เป็นกลุ่มของสัตว์ที่มีมากที่สุดในโลก
สัตว์มีกระดูกสันหลัง • เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีแกนสันหลัง ซึ่งเป็นโครงร่างที่แข็งแรง มีลักษณะเป็นท่อยาวขนานกับความยาวของลำตัว เปลี่ยนเป็นกระดูกสันหลังเมื่อตัวโตเต็มวัย
ความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นความหลากหลายของพืชและสัตว์ในท้องถิ่น • ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์สูงมากแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัย ดังนี้ • ตั้งอยู่ในเขตโซนร้อน เหนือเส้นศูนย์สูตร และอยู่ติดทะเล จึงมีสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด • สภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเอื้อให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต • ตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของพืชและสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจากประเทศพม่า จีน และมาเลเซีย
ความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิตความหลากหลายทางชีวภาพกับการดำรงชีวิต
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้เกิดการแยกสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การหลีกหนีจากแหล่งที่อยู่เดิม การหมุนเวียนของสิ่งมีชีวิตใหม่ทดแทนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่เดิม เช่น แผ่นดินแยกจากกัน การเกิดแผ่นดินไหว น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เป็นต้น
การกระทำของมนุษย์ มนุษย์เป็นตัวการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งหากิน หรือแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตในป่า ทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น หรือการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยสัตว์ต่างถิ่นสู่สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ด้านอาหาร มนุษย์นำพืชและสัตว์หลายชนิดมาเป็นอาหาร โดยอาจจะได้มาจากป่าธรรมชาติหรือผลผลิตจากการเพาะปลูก เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ ไก่ เป็ด สุกร
ที่อยู่อาศัย ต้นไม้บางชนิดมีเนื้อไม้แข็งแรงและมีความสวยงาม สามารถนำมาก่อสร้างบ้านเรือนได้ เช่น ต้นสัก ไผ่ ยาง เป็นต้น
เครื่องนุ่งห่ม เส้นใยจากพืชสามารถนำมาทำเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มได้ เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ ป่าน นุ่น เป็นต้น เส้นใยจากสัตว์ เช่น ขนสัตว์ ใยไหม เป็นต้น
ยารักษาโรค ส่วนต่างๆ ของพืชสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรค หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ต่างกัน
ตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยตัวอย่างสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาโรคหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย
ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาโรคตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ผลิตสารปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษาโรค
โทษของความหลากหลายทางชีวภาพโทษของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นพิษต่อร่างกาย พืช สัตว์ และจุลินทรีย์บางชนิดมีพิษต่อร่างกายของมนุษย์ ดังนั้นจะต้องมีขั้นตอนหรือกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกำจัดความเป็นพิษนั้น เช่น ปลาปักเป้า แมงดาทะเล เป็นต้น
ทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่เน่าเสียเกิดจากจุลินทรีย์เจริญเติบโตบนอาหาร ย่อยสลายอาหารเพื่อการดำรงชีวิต แล้วปล่อยสารบางชนิดออกมา ทำให้อาหารมีรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ และคุณภาพเปลี่ยนไป