1 / 18

ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า

ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. Conflict of the Burmese Government and the Ethnic Minority Groups. ความหมายของชนกลุ่มน้อย.

jasper
Download Presentation

ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่าความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า Conflict of the Burmese Government and the Ethnic Minority Groups

  2. ความหมายของชนกลุ่มน้อยความหมายของชนกลุ่มน้อย • “ชนกลุ่มน้อย”หมายถึง ชนเผ่า หรือคนต่างเชื้อชาติ ต่างชาติพันธุ์ที่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นที่มีจำนวนมากกว่า หรือมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ เป็นชนกลุ่มที่มีความแตกต่างจากชนส่วนใหญ่ในด้านต่างๆ กลุ่มชนที่ได้ชื่อว่าชนกลุ่มน้อยนั้น มักจะเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศอื่นและเข้ามาพักอาศัยอยู่ชั่วคราว

  3. ปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ • ปัจจุบันปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกำลังเป็นปัญหาของสังคมโลก โดยเฉพาะกระแสการเรียกร้องปกครองตนเองมากขึ้น ทั้งนี้เพราะชนกลุ่มน้อยมีความเป็นชาติพันธุ์เชื้อชาติวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต ทัศนคติ ความเชื่อ ลัทธิศาสนาประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และค่านิยมของตน แต่ต้องอยู่ร่วมกับชนกลุ่มใหญ่หรือกับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์อื่น จึงมักเกิดปัญหาความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันและนำมาซึ่งปัญหาต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และมักเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นระยะเวลายาวนาน

  4. สาเหตุประการหนึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของชนกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติและการกีดกัน (Prejudice and discrimination) ตลอดจนความไม่สมดุลทาง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม และขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  5. ความเป็นมาและภูมิหลังของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในพม่าความเป็นมาและภูมิหลังของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในพม่า • ความขัดแย้งระหว่างทหารรัฐบาลพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เป็นสงครามที่ยึดเยื้อกินเวลาช้านาน นับตั้งแต่สมัยที่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1948 ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติภายในพม่าซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นสงครามกลางเมืองนี้ อาจนับถอยหลังไปได้จนถึงสมัยพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ.1824 เป็นต้นมา

  6. สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น • ประเด็นแรก:ก่อนพม่าจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษอย่างสมบูรณ์ ในปี ค.ศ.1886 อังกฤษได้ผนวกพม่าและดินแดนของชนกลุ่มน้อยต่างๆ เข้าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ซึ่งอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมในขณะนั้น รัฐบาลอังกฤษซึ่งเข้ามาปกครองพม่าโดยใช้นโยบาย “แบ่งแยกและปกครอง”(divide and rule) เพราะอังกฤษได้แบ่งแยกรัฐของกลุ่มน้อยออกจากรัฐของชาวพม่า และใช้ระบบการปกครองที่ต่างกันออกเป็น 2 ส่วนคือ “พม่าแท้”(Burma proper) กับ “เขตชายแดน” (Frontier Areas)

  7. สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น (ต่อ) • อังกฤษถอนตัวออกจากพม่าอย่างกะทันหัน พร้อมกับทิ้งปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ให้รัฐบาลกลางของพม่าซึ่งเข้ามารับภาระหน้าที่แทนผู้นำรัฐบาลพม่าในช่วงที่ได้รับอิสรภาพแล้ว • นับตั้งแต่นายพลออง ซานอู นุ และนายพลเนวิน ต่างก็มีทัศนคติต่อการรวมชาติและความเป็นเอกภาพในบริบทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่าที่แตกต่างกันออกไป

  8. สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น (ต่อ) • สงครามกลางเมืองที่ได้เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1948 จนถึงช่วงวิกฤตในทศวรรษที่ 1960 • นับแต่นั้นมา พม่าก็ได้กลายเป็นดินแดนแห่งการสู้รบระหว่างรัฐบาลกลางกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

  9. สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น (ต่อ) • ประเด็นต่อมาจากสภาพภูมิประเทศซึ่งแยกชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ออกจากกัน ด้วยเทือกเขาสูง ป่าทึบและแม่น้ำ • อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยการคงเอกลักษณ์เด่นของตนไว้ ไม่มีการผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้และการยอมรับซึ่งกันและกัน

  10. สาเหตุความขัดแย้งมีหลายประเด็น (ต่อ) • ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อย ได้กลายสภาพเป็นปัญหาที่บั่นทอนความมั่นคงและเอกภาพของรัฐ • ดังนั้นความจำเป็นของรัฐบาลพม่าในการที่จะธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกภาพของรัฐด้วยการทำสงครามสยบกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ และได้กลายเป็นภารกิจความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเชิงนโยบายเป็นสำคัญอันดับแรกของประเทศ

  11. กลุ่มประชากรหรือชาติพันธุ์ในพม่ากลุ่มประชากรหรือชาติพันธุ์ในพม่า • ชาวพม่าซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 68) จะอาศัยอยู่ในบริเวณพม่าแท้หรือบริเวณราบริมแม่น้ำ • นอกจากชาวพม่าแล้วยังประกอบด้วยชาวมอญและกะเหรี่ยงที่อพยพลงมาจากภูเขาสูง ในขณะที่ชนกลุ่มอื่นจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบสูงหรือเทือกเขาสูงบริเวณชายแดน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ ไทยใหญ่ (Shan) กะเหรี่ยง (Karen) คะฉิ่น (Kachin) ฉิ่น (Chin) ว้า (Wa) ยะไข่ (Arakanist) และชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น มูเซอ อีก้อ ลีซอ ปะหล่อง จีนโกกัง เป็นต้น ชนกลุ่มน้อยชนต่างๆ เหล่านี้รวมกันประมาณร้อยละ 32 ของประชากรพม่า โดยมีกลุ่มไทยใหญ่ กลุ่มกะเหรี่ยง กลุ่มมอญ และกลุ่มคะฉิ่น จะมีจำนวนเป็นรองลงมาจากชาติพันธุ์พม่าตามลำดับ

  12. สัดส่วนประชากรจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าสัดส่วนประชากรจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า

  13. สรุป • เนื่องจากในช่วงที่พม่าเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ อังกฤษแยกการปกครองระหว่างชนกลุ่มน้อย และ ชาวพม่า เมื่อพม่าได้เอกราชพม่า(ชาวพม่า) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ ได้ใช้กำลังเข้าปกครองชนกลุ่มน้อย ต่าง ๆ ในประเทศ ซึ่งชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองของพม่า และทำการต่อสู้และมีกองกำลังของตนเองเพื่อต้องการปกครองตนเองไม่รวมอยู่กับพม่า ทางฝ่ายพม่าภายใต้การนำของรัฐบาลทหาร ได้ใช้กำลังทหารและความรุ่นแรงเข้าจัดการ จนทำให้เกิดการสู้รบ โดยเฉพาะตามแนวชายแดนไทยซึ่งเกิดปัญหาที่ยึดเยื้อมาจนถึงทุกวันนี้

  14. อ้างอิง • พรพิมล ตรีโชติ. ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า.2542. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย: กรุงเทพฯ • สืบค้นจากhttp://webcache.googleusercontent.com/search?q=.ออนไลน์ [2-8-2011] • สืบค้นจาก http://www.ryt9.com/s/bmnd/1026282. ออนไลน์ [2-8-2011] • สืบค้นจาก http://prachatai.com/journal/2008/04/16490. ออนไลน์ [2-8- 2011]

  15. จัดทำโดย นางสาวมาดีหะ มะหะมะ รหัสนักศึกษา 5120710136 เสนอ อาจารย์ชิดชนก ราฮิมมูลา งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Conflict Resolution in Southeast Asia ( 196-415 ) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

More Related