250 likes | 492 Views
แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน. ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมภายใน พ.ศ. 2544. ข้อ 5 กำหนดว่า. “ ให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายใน โดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายใน ท้ายระเบียบนี้เป็น
E N D
แนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน การควบคุมภายใน พ.ศ. 2544
ข้อ 5 กำหนดว่า “ ให้หน่วยรับตรวจจัดวางระบบการควบคุมภายใน โดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายใน ท้ายระเบียบนี้เป็น แนวทางให้แล้วเสร็จภาย 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ ใช้บังคับ”
ข้อ 6 กำหนดว่า “ ให้ผู้รับตรวจรายงานต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้กำกับดูแล และคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับ การควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายใน 90 วัน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ ”
ความหมาย “การควบคุมภายใน” กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรขององค์กรจัดให้มีขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า - มีการปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติ ครม. - ส่งเสริมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย - มีการดูแลป้องกันทรัพย์สินจากการเสียหาย ลดความผิดพลาด ป้องกันการทุจริต - จัดให้มีและดำรงไว้ซึ่งข้อมูลทางการเงิน และการบริหารที่ เชื่อถือได้ และทันต่อเวลา
วัตถุประสงค์การควบคุมภายในวัตถุประสงค์การควบคุมภายใน 1. การดำเนินงาน(Operation: O) 2. การรายงานทางการเงิน (Financial: F) 3. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ เกี่ยวข้อง (Compliance: C)
แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายในแนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน 1. แทรกหรือแฝงอยู่ในการปฏิบัติงานตามปกติ 2. บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการทำให้มีระบบ การควบคุมเกิดขึ้น 3. ทำให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล
องค์ประกอบมาตรฐานการควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบ 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม 2. การประเมินความเสี่ยง 3. กิจกรรมการควบคุม 4. สารสนเทศและการสื่อสาร 5. การติดตามและประเมินผล
1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม(Control Environment) เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการบริหารองค์กร ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยงานรับตรวจต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้บุคลากรทุกระดับ มีทัศนะคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน โดยส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนในหน่วยรับตรวจเกิดจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์ จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและความสำคัญของประสิทธิผลการควบคุมภายใน
ปัจจัยสภาพแวดล้อมการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมการควบคุม - ความซื่อสัตย์ และจริยธรรม - การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร - คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ - ปรัชญาและรูปแบบการบริหารของผู้บริหาร - โครงสร้างองค์กร - การมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ - นโยบายและวิธีการบริหารบุคคล
2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ฝ่ายบริหารต้องให้ความสำคัญและประเมินความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจ ที่เกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ด้วยวิธีการที่เป็นแบบอย่างเพียงพอและเหมาะสม
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง - ระบุปัจจัยเสี่ยง - วิเคราะห์ความเสี่ยง - การจัดการความเสี่ยง (หลีกเลี่ยง, แบ่งปัน, การลด, การยอมรับ)
3. กิจกรรมการควบคุม(Control Activities) กิจกรรมการควบคุมเป็นวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งกำหนดหรือออกแบบเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหาย ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน
กิจกรรมการควบคุมที่ปฏิบัติโดยทั่วไปกิจกรรมการควบคุมที่ปฏิบัติโดยทั่วไป 1. การกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน 2. การสอบถามโดยผู้บริหาร 3. การควบคุมการประเมินผลข้อมูล 4. การอนุมัติ 5. การดูแลป้องกันทรัพย์สิน 6. การแบ่งแยกหน้าที่ 7. การจัดทำเอกสารหลักฐาน
4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications) สารสนเทศและการสื่อสารเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญ ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการกำหนดกลยุทธ์ประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมการควบคุม ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างเพียงพอ เหมาะสม เชื่อถือได้และสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศในรูปแบบที่เหมาะสมและทันเวลา
สารสนเทศและการสื่อสารสารสนเทศและการสื่อสาร - มีข้อมูลถูกต้องเพียงพอ สมบูรณ์เป็นปัจจุบัน ทันเวลาและเชื่อถือได้ - มีการสื่อสารครอบคลุมทั่วถึงทั้งองค์กร - การสื่อสารมีความชัดเจน
5. การติดตามประเมินผล การติดตามประเมินผลเป็นวิธีการที่ช่วยให้ฝ่ายบริหาร มีความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในมีการปฏิบัติตามฝ่ายบริหาร ต้องจัดให้มีการติดตามประเมินผล โดยการติดตามผลในระหว่างการปฏิบัติงานและประเมินผลเป็นรายครั้งอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในที่กำหนดหรือออกแบบไว้เพียงพอเหมาะสมมีประสิทธิผล หรือต้องปรับปรุง
การติดตามประเมินผล 1. การติดตามผลในระหว่างปฏิบัติงาน 2. การประเมินผลเป็นรายครั้ง - การประเมินการควบคุมด้วยตนเอง - การประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ
การจัดวางระบบการควบคุมภายในการจัดวางระบบการควบคุมภายใน 1. กำหนด/ออกแบบระบบการควบคุมภายใน - ภารกิจของหน่วยรับตรวจ - วัตถุประสงค์หน่วยรับตรวจ - กิจกรรมที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ - วัตถุประสงค์ในระดับกิจกรรม 2. ระบุความเสี่ยง 3. กิจกรรมการควบคุม
การติดตามประเมินผลการควบคุมภายในการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน การติดตามผลระหว่างปฏิบัติงาน - กำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติ - มีการสอบทานข้อมูล - สอบยันข้อมูล - การวิเคราะห์ ทดสอบความถูกต้อง เปรียบเทียบข้อมูล การประเมินผลเป็นรายครั้ง - ประเมินการควบคุมด้วยตนเอง - ประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ
ขั้นตอนการประเมินผลการควบคุมภายในขั้นตอนการประเมินผลการควบคุมภายใน 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 2. กำหนดงานในความรับผิดชอบ (กิจกรรม) 3. จัดเตรียมเครื่องมือการประเมิน - แบบประเมิน (ภาคผนวก ก.) - แบบสอบถามการควบคุมภายใน (ภาคภนวก ข.) 4. ประเมินผลการควบคุมภายใน - ระดับส่วนงานย่อย - ระดับหน่วยรับตรวจ
รูปแบบการรายงาน 1. ระดับหน่วยรับตรวจ (ระดับกรม) มี 3 แบบ - แบบ ปอ.1 หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุม ภายใน - แบบ ปอ.2 รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการ ควบคุมภายใน - แบบ ปอ.3 รายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน
รูปแบบการรายงาน 2. ระดับส่วนงานย่อย มี 2 แบบ - แบบ ปย.1 รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการ ควบคุมภายใน - แบบ ปย.2 รายงานการประเมินผลและการปรับปรุงการ ควบคุมภายใน 3. รายงานของผู้ตรวจสอบภายใน - แบบ ปส. รายงานผลการสอบทานการประเมินผลการ ควบคุมภายในของผู้ตรวจสอบภายใน
การประเมินผลการควบคุมภายในการประเมินผลการควบคุมภายใน ประเมิน 5 องค์ประกอบ ประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน หน่วยงานส่วนย่อย(สำนัก กอง สพข สพด) ปย.1 ปย.2 ระดับองค์กร(กรม) ปอ. 2 ปอ.3 ปอ.1
กรมพัฒนาที่ดิน จัดวางระบบการควบคุมภายในตามลักษณะงานเป็น 9 ด้าน • ด้านบริหารทั่วไป • ด้านนโยบายและแผน • ด้านบริหารงานบุคคล • ด้านบริหารงบประมาณการเงิน การคลัง การบัญชี • ด้านการพัสดุ • ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • ด้านปฏิบัติการ • ด้านวิชาการ • ด้านงานช่าง