110 likes | 372 Views
ภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.เชียงใหม่ จัดทำโดย ด.ญ.ญาณิศา ชุ่มใจรักษ์ ม.1/1 เลขที่ 24 ด.ญ.อาทิตญา ทาแป้ง ม.1/1 เลขที่ 46 เสนอ อาจารย์ฐิตาพร ดวงเกตุ. งานแกะสลักไม้.
E N D
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจ.เชียงใหม่จัดทำโดยด.ญ.ญาณิศา ชุ่มใจรักษ์ ม.1/1 เลขที่ 24ด.ญ.อาทิตญา ทาแป้ง ม.1/1 เลขที่ 46เสนออาจารย์ฐิตาพร ดวงเกตุ
งานแกะสลักไม้ การทำไม้แกะสลักสืบเนื่องมาจากความเชื่อความเชื่อของชาวบ้าน ประกอบกับประสบการที่สานต่อมาจากบรรพบุรุษ ดังนั้นยามว่างชาวบ้านจึงได้คิดจำลองภาพจากแหล่งต่างๆ และนำมาแกะสลักลวดลายลงบนไม้ เช่น การแกะสลักสิงห์โตเริ่มจากการจำลองภาพจากหนังสือวรรณคดี เรื่องสัตว์ป่าหิมพาน จากนั้นได้หาเศษไม้ รากไม้ ที่ไม่ใช้แล้วในหมู่บ้านนำมาแกะสลักจากฝีมือ และภูมิปัญญาที่ชาวบ้านมีอยู่ โดยใช้ไม้สักในการแกะ เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็ง ง่ายสำหรับการแกะสลักออกเป็นลวดลายตามแบบของสิงห์โต โดยเน้นลวดลายที่อ่อนช้อย งดงาม แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของล้านนาไทย เมื่อชาวบ้านจำลองภาพสิงห์โตออกมาโดยการแกะสลักแล้ว ก็จะนำสิงห์โตไปตั้งไว้หน้าวัด เพื่อป้องกันสิ่งเลวร้ายที่จะเข้ามาคุกคามหมู่บ้าน หรือป้องกันภัยสำหรับชาวบ้าน หรือลูกหลานในหมู่บ้านนั้นนอกจากการแกะสลักเป็นภาพสัตว์ในวรรณคดีแล้ว ยังมีการพัฒนารูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายโดยจะเน้นลวดลายความเป็นล้านนาไทยที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน
ร่มบ่อสร้าง ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้างที่“บ้านบ่อสร้าง”เป็นที่ระลึกติดมือกลับมา ชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ดในจังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆหมู่บ้าน
ฟ้อนเล็บล้านนา การฟ้อนเล็บแต่เดิมเป็นการฟ้อนประกอบขบวนแห่ครัวทาน คือการฟ้อนนำหน้าเครื่องไทยทาน เมื่อจะนำเครื่องไทยทานไปถวายวัดแต่ละวัดจะมีช่างฟ้อนที่เป็นลูกหลานของศรัทธาวัดนั้นๆมาฟ้อนเล็บนำหน้าขบวน กลุ่มช่างฟ้อนเหล่านี้มักจะซ้อมฟ้อนกันอย่างสม่ำเสมอ โดยมากมักจะซ้อมฟ้อนในเวลากลางคืน ผู้ที่เป็นครูสอนฟ้อนก็คือช่างฟ้อนรุ่นยาย รุ่นแม่ รุ่นพี่ ผู้ที่เรียนก็คือเด็กสาวในหมู่บ้านที่เป็นศรัทธาวัดเดียวกัน อาจจะเริ่มสอนตั้งแต่อายุ ประมาณ ๘-๙ ขวบ เมื่อมีงานวัดหรืองานบุญที่ไหนก็จะไปช่วยฟ้อนหากมีช่างฟ้อนจำนวนมากก็อาจจะแบ่งเป็นสองรุ่นคือรุ่นเด็ก จนถึงรุ่นสาว และรุ่นแม่บ้านที่แต่งงาน มีอายุ
กลองสะบัดชัย กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
โคมล้านนา หลังเทศกาลวันออกพรรษา เมื่อปลายฝนต้นหนาว เป็นสัญญาณบอกว่าเทศกาลยี่เป็งได้เข้ามาเยือนแล้ว ชาวล้านนาต่างพากันเตรียมเครื่องใช้ ไม้สอย และเครื่องไทยทานเพื่อไปทำบุญที่วัด เพราะในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ยี่ (เหนือ) หรือ เดือน ๑๒ ผู้เฒ่า ผู้แก่ จะถือโอกาส ไปนอนค้างแรม ที่วัดเพื่อฟังธรรมอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนา โคมไฟกับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมไฟใช้ไม่แพร่หลาย จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณ ทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมไฟแต่เดิมจึงมักมี เฉพาะในพระราชสำนัก และบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น
ผ้าทอ ผ้าทอ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาอย่างแพร่หลาย จากรุ่นสู่รุ่น และมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งในอดีตการทอผ้า ส่วนใหญ่จะทำการผลิต เพื่อการใช้สอยภายในครัวเรือน และหากเหลือจากการใช้สอยก็นำไปขาย ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันการทอผ้าส่วนใหญ่เป็นการผลิต เพื่อการขาย เป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัว หรือชุมชน ซึ่งผ้าทอหรือผลิตภัณฑ์ผ้าในแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ รูปแบบลวดลาย เอกลักษณ์ วัตถุ วัฒนธรรม ประเพณี ที่สืบทอดมาจากต้นกำเนิด สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงในด้านฝีมือการทอผ้าเมืองเหนือที่สำคัญแหล่งหนึ่ง โดยแหล่งทอผ้าพื้นเมืองที่สำคัญได้แก่ อ.เมือง อ.สันกำแพง อ.สันทราย อ.ดอยสะเก็ด อ.จอมทอง อ.แม่ริม อ.ฮอด และ อ.แม่แจ่ม สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ผ้าหรือผลิตภัณฑ์ผ้าส่วนใหญ่จะเป็นผ้าพื้น ไม่มีลวดลายหรืออาจเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายตาราง ส่วนการทอผ้าที่มีลวดลายสวยงามส่วนใหญ่เป็นลายเฉพาะของกลุ่มคน เช่น ลายน้ำไหล ของไทลื้อ ซิ่นลัวะ ซิ่นยาง เป็นต้น ทำให้ผ้าทอของเชียงใหม่มีหลากหลาย จนยากที่จะกำหนดว่าผ้าแบบใดลายอย่างไรเป็นเอกลักษณ์ที่แท้จริงของเชียงใหม่ปัจจุบันผ้าทอของเชียงใหม่ที่เป็นที่นิยมมีอยู่หลายแห่ง คือ ตีนจกแม่แจ่มผ้าทอบ้านไร่ไผ่งาม และผ้าไหมสันกำแพง เป็นต้น
ซุ้มประตูป่า ในงานบุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรมฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่างๆ แล้วยังมีการประดับตกแต่งวัดบ้านเรือน และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่างๆขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะติ๊ป) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย
ข้าวถัก ข้าวถักในความหมายของคนล้านนาเป็นเครื่องสักการะที่ใช้บูชาเบื้องสูงมาแต่โบราณ การถักเรียงเมล็ดข้าวเปลือกขนาดที่เท่ากันจำนวนหลายเมล็ดอย่างเป็นระเบียบแล้วนำมาล้อมรอบเหรียญชนิดต่าง ๆ ประกอบกันเป็นต้นวงไหวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในโอกาสงานบุญสำคัญของพวกเขา การถวายข้าวถักเพื่อเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าเชื่อว่าจะได้รับอานิสงค์ผลบุญแห่งการให้ทานในโลกนี้และโลกหน้า รวมทั้งจะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เปรียบประดุจดั่งเมล็ดข้าวเปลือกที่ตกลงบนพื้นดินหนแห่งใดก็ตาม มักจะเจริญงอกงามขึ้นมาสร้างความสมบูรณ์พูนสุขให้กับผืนแผ่นดินอย่างทั่วถึง
บายศรี ในพิธีทำขวัญนี้สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือบายศรี บาย แปลว่า ข้าว ศรี แปลว่า มิ่งขวัญ รวมเรียกว่า ข้าวขวัญ ใช้ในพิธีสมโภชน์ สังเวยเทวดา ไหว้ครู บวชนาค รับแขกบ้านแขกเมือง รับขวัญทหาร รับขวัญคนป่วยหรือคนที่จะจากกันไป หรือรับขวัญผู้มาอยู่ใหม่อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าบายศรี คือภาชนะใส่อาหารนั่นเอง นับว่าเป็นภาชนะที่สะอาดที่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุที่ว่าไม่การใช้ต่อจากกัน พอใช้เสร็จแล้วจะนำไปทิ้งเลยทีเดียว จากหนังสือการศึกษาศิลปะและประเพณีของเสฐียรโกเศศ ได้กล่าวไว้ว่า บายศรีสมมติเป็นขาไกรลาส ไม้ไผ่ ๓๐ อันขนาบข้างเป็นบันไดขึ้น พุ่มดอกไม้ยอดบายศรีสมมติเป็นวิมานพระอิศวร ตัวแมงดา ๓ ตัวก็เหมือนเต่า ๓ ตัว ที่จมอยู่ในก้นมหาสมุทรอันลึก คือ อวิชา ขนมที่อยู่ในบายศรีรับประทานแล้วเกิดรสอร่อย คือ รสแห่งพระรัตนตรัย
เสื่อกก การทอเสื่อกกมีการทอมาตั้งแต่สมัยปู่ยา ตา ยายประมาณ 60 ปีมาแล้ว โดยทอจากต้นกกสามเหลี่ยมต่อมาพระที่วัดได้นำพันธ์ต้นกก มาจากจังหวัดร้อยเอ็ดมาทดลองปลูกที่ริมหนองน้ำบึงแพงต่อมาได้มีพัฒนากรเข้ามาร่วมกลุ่มทอเสื่อกกจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นในปี 2521 สมาชิกก่อตั้ง 20 คน มี นางสัว สิทธิจันทร์ เป็นประธาน และในปี 2532 ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ส่งวิทยากรมาฝึกอบรมเกี่ยวกับการซอย การย้อมสี การทอ การแปรรูป และการให้ลวดลายในการทอเสื่อกกให้กับกลุ่ม