1 / 125

“นโยบายและแผนการบริหารอุดมศึกษา”

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา (นางสาวพรสวรรค์ วงษ์ไกร) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. “นโยบายและแผนการบริหารอุดมศึกษา”. โดย. ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 15 พ.ย. 53. 1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษา 2. แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

Download Presentation

“นโยบายและแผนการบริหารอุดมศึกษา”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา (นางสาวพรสวรรค์ วงษ์ไกร) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา “นโยบายและแผนการบริหารอุดมศึกษา” โดย ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 15 พ.ย. 53

  2. 1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษา 2. แผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน 2.2 แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของ ศธ. 2.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2.4 ข้อเสนอการปฏิรูปอุดมศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) 2.5 แผนการอุดมศึกษา 2.5.1 แผนอุดมศึกษาระยะยาว 2.5.2 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา (แผน 5 ปี) ขอบเขตสาระการบรรยาย

  3. แผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแผนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุดมศึกษา คำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา • แผน/Roadmap อื่นๆ • แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ • แผนการศึกษาแห่งชาติ • ข้อเสนอการปฏิรูปการ ศึกษาฯ • แผนกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • ฯลฯ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน • แผนพัฒนาการอุดมศึกษา • แผน 5 ปี • แผนระยะยาว • แผนเฉพาะด้านต่างๆ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี(กระทรวง/กรม) แผนปฏิบัติราชการประจำปี(กระทรวง/กรม) คำรับรองปฏิบัติราชการ (กระทรวง/กรม) งบประมาณรายจ่ายประจำปี คำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี

  4. แผนการบริหารราชการแผ่นดินแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 1. ม.13 และ14 ของ พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีฯ กำหนดให้ ค.ร.ม.ต้องจัดให้ มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน 2. แผนการบริหารฯ เป็นแผนที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางการ ดำเนินงานของ ค.ร.ม. และเป็นแผนแม่บทสำหรับ กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ นำไปใช้ในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและประจำปี 3. สำหรับแผนบริหารของรัฐบาลปัจจุบัน (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ค.ร.ม.ได้เห็นชอบ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ไป แล้ว เมื่อ13 มกราคม 2551 ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

  5. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (ต่อ) • 1) แนวคิดและทิศทางการบริหารประเทศ: เป็นการสรุปวิสัยทัศน์ สถานการณ์ของประเทศ และกรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล • 2) แนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายรัฐบาลรัฐบาล 8 นโยบาย: เป็นการแสดงเป้าหมายเชิงนโยบาย ตัวชี้วัด และ กลยุทธ์หรือวิธีดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล

  6. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน (ต่อ) • 3) กลไกการนำแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติ : ระบุหน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณสนับสนุนนโยบาย และแนวทางการติดตามประเมินผล • 4) แผนงาน/โครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายรัฐบาล : ซึ่งเลือกจากแผนงาน/โครงการรายนโยบาย 8 นโยบาย ภารกิจของอุดมศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ ที่ 3 (สังคมและคุณภาพชีวิต) และยุทธศาสตร์ที่ 6 (วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม)

  7. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) วิสัยทัศน์ประเทศไทย มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)”

  8. พันธกิจของประเทศไทย • พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรอบรู้อย่างเท่าทัน • เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม • ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม • พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิด ธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  9. วัตถุประสงค์ • เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง • เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฯ • เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการ • เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Safety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลังฯลฯ

  10. วัตถุประสงค์ (ต่อ) • เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรมและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ • เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ • เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน

  11. เป้าหมาย ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนารวม 5 เป้าหมาย ดังนี้ • การพัฒนาคุณภาพคน • การพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน • ด้านเศรษฐกิจ • การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม • ด้านธรรมาภิบาล

  12. ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ 2. สร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนและสังคมให้เป็น รากฐานที่มั่นคง ของประเทศ 1. พัฒนาคุณภาพคน และสังคมไทย สู่สังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ การพัฒนา 5.เสริมสร้างธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ ประเทศ 3. ปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจให้สมดุล และยั่งยืน 4.พัฒนาบนฐานความ หลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคง ของฐานทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

  13. แนวทางและกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนฯ 11 ของ สศช. สศช. ได้เริ่มเตรียมดำเนินการจัดทำแผนฯ 11 อย่างเป็น ทางการแล้ว โดยได้จัดประชุมประจำปี 2552 เรื่อง “จาก วิสัยทัศน์ 2570... สู่แผนฯ 11” เมื่อ 10 ก.ค.52 เพื่อให้ ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นต่อ การกำหนดกรอบความคิดและทิศทางการพัฒนาในแผนฯ 11 สำหรับเป็นกรอบทิศทางการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ของแผนฯ 11 หลังจากนั้นจะระดมความคิดเห็นจากทุกภูมิภาค เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของแผนฯ 11 ต่อไป

  14. หลักการและกระบวนการในการจัดทำแผนฯ 11 ของ สศช. แนวคิดพื้นฐาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

  15. กรอบในการจัดทำแผนฯ 11 วิสัยทัศน์ประเทศไทยปี 2570 “คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทยมีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึงมีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคงอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดีเกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานอยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

  16. ประเด็นทิศทางการพัฒนาในช่วงแผนฯ11ประเด็นทิศทางการพัฒนาในช่วงแผนฯ11 3 4 5 1 2 ด้าน สถาปัตยกรรม ทางสังคม ด้านโอกาส บนวิกฤติ ภาวะ โลกร้อน ด้านความ ท้าทาย และโอกาส ของ เศรษฐกิจ ไทย ด้าน เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ด้านสัญญา ประชาคม ใหม่

  17. กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) วิสัยทัศน์ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”

  18. เป้าหมาย ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นหลัก 3 ประการ ดังนี้ • พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ ของคนไทย • โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

  19. กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษากรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา กำหนดประเด็นสำคัญที่ต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วน 4 ประการ ดังนี้ 1. พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2. พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ 3. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแห่งเรียนรู้ยุคใหม่ 4. พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

  20. กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ 1. ให้มี กก. 2 คณะเพื่อดำเนินการทางนโยบายและขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา 1) คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (รมว.ศธ.เป็นประธาน)

  21. กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ 2. จัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับบทบาทหน่วยงานเพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

  22. กลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯกลไกหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปฯ 3. มอบหมายให้หน่วยงานที่มีอยู่แล้วปฏิบัติภารกิจเพิ่มเติม หรือเร่งรัดดำเนินการ ดังนี้ 1) การประกันการเรียนรู้และรับรองมาตรฐานผู้เรียน (สทศ. และ สพฐ. : หน่วยงานรับผิดชอบ) 2) การขับเคลื่อนการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่และสถานศึกษา (สกศ. : หน่วยงานรับผิดชอบ) 3) สนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทางเลือก (สกศ.: หน่วยงานรับผิดชอบ)

  23. แผนพัฒนาการอุดมศึกษา 1. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี 2. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา (แผน 5 ปี)

  24. 1. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี • แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีที่ สกอ.จัดทำมี 2 ฉบับ คือ • 1. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 1 (พ.ศ.2533-2547) ซึ่งใช้เป็นแผนแม่บทกำกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 ถึง 9 • 2. แผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ซึ่งจะใช้เป็นแผนแม่บทกำกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ถึง 12 (ครม.ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2551)

  25. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2 (พ.ศ.2551-2565) ส่วนที่ 1 ภาพอนาคตที่มีผลกระทบต่ออุดมศึกษา ส่วนที่ 2 ทิศทาง และนโยบายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี

  26. ภาพฉายอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษา 7 ประเด็น ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร พลังงานและสิ่งแวดล้อม การมีงานทำ และตลาดแรงงานในอนาคต การกระจายอำนาจการปกครอง การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง เยาวชน นักศึกษา และบัณฑิตในอนาคต เศรษฐกิจพอเพียง

  27. ทิศทาง นโยบายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 ส่วนที่ 2 รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น การแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน ธรรมภิบาลและการบริหารจัดการอุดมศึกษา บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การเงินอุดมศึกษา การพัฒนาบุคลากรในอุดมศึกษา การพัฒนาอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครือข่ายอุดมศึกษา โครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้

  28. เป้าหมายของกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 “ยกระดับคุณภาพอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน และพัฒนาศักยภาพอุดมศึกษาในการสร้างความรู้และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นไทย โดยใช้กลไกธรรมาภิบาล การเงิน การกำกับมาตรฐาน และเครือข่ายอุดมศึกษาบนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลายและเอกภาพเชิงระบบ”

  29. รอยต่อกับการศึกษาระดับอื่นรอยต่อกับการศึกษาระดับอื่น 1 ปรับปรุงทบทวนกระบวนการผลิตครู อุดมศึกษาพึงสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานเต็มความสามารถ รัฐส่งเสริมการสร้างโรงเรียนเฉพาะ หรือห้องเรียนเฉพาะในโรงเรียนทั่วไป ส่งเสริมการศึกษาของผู้มีความสามารถพิเศษ ระบบการเรียนล่วงหน้า การเป็นพี่เลี้ยงในการทำโครงงาน ผู้จบอาชีวะเข้าศึกษาต่อด้วยความยืดหยุ่น CREDIT BANK และ LLL

  30. 2 การแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาในปัจจุบัน ปัญหาหลัก : การไร้ทิศทาง ความซ้ำซ้อน การขาดคุณธรรม ขาดประสิทธิภาพ สร้างกลไกการกำกับเพื่อ ลดเลิกหลักสูตรที่ไม่เป็นที่ต้องการ ลดเลิกคณะและสถาบันที่มีปัญหาคุณภาพอย่างรุนแรง จัดกลไกการตรวจสอบ ศูนย์ข้อมูลสถิติ ปรับปรุงกลไกการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษา นำผลการประเมินมาใช้ประโยชน์ ระบบการรับรองวิทยฐานะ

  31. จัดสถาบันอุดมศึกษาเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มวิทยาลัยชุมชน กลุ่มมหาวิทยาลัย 4 ปี กลุ่มมหาวิทยาลัยเฉพาะทางและสมบูรณ์แบบ กลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยและบัณฑิตศึกษา สถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม จะแตกต่างกันตามพื้นที่บริการ จุดเน้นของพันธกิจ เพื่อ สามารถเป็นเลิศได้ตามพันธกิจของตน ตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศทุกระดับ ส่งผลทางบวกต่อนักศึกษา อาจารย์

  32. สถาบันอุดมศึกษา 4 กลุ่ม ต้องมีกลไกการประกันคุณภาพ / นโยบายและแผน แตกต่างกัน การจัดกลุ่มสถาบันต้องอาศัยกลไก ดังนี้ สมศ. การจัดสรรงบประมาณ เงินกู้กยศ. กกอ.กำกับนโยบาย Pre – Post Audit ทุนพัฒนาอาจารย์ ทุนวิจัย และอื่น ๆ

  33. ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการ 3 ควรให้ความสำคัญกับ “สภามหาวิทยาลัย” จัดตั้งองค์กรกลไกการพัฒนาผู้กำกับนโยบายและผู้บริหารในลักษณะ IOD องค์การดังกล่าวให้ความรู้ เยี่ยมชม เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ปรับโครงสร้างการบริหารธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย การได้มาซึ่งนายกสภา อธิการบดี การจัดตั้งสำนักงานสภามหาวิทยาลัย ปรับโครงสร้าง กกอ.ให้เป็นกรรมาธิการ

  34. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4 มหาวิทยาลัยต้องเชื่อมต่อกับภาคการผลิต สร้างความรู้ และนวัตกรรม พัฒนาระบบการประเมิน “การวิจัย” เพื่อการจัดสรรทรัพยากร และวางตำแหน่งของมหาวิทยาลัย เสริมศูนย์แห่งความเป็นเลิศ ให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย กลุ่มมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม ภาคสังคม และชุมชน ผลักดันให้เกิด “ระบบวิจัยแห่งชาติ”

  35. การเงินอุดมศึกษา 5 ปรับปรุงระบบการจัดสรรงบประมาณ โดยยังคง Supply-Side Financing ตาม Performance Based และสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ยังคงกองทุน กยศ. ตามความจำเป็น เพิ่มกองทุนประเภท Contribution Scheme จัดตั้งกองทุนพัฒนาอุดมศึกษา พัฒนาอาจารย์ การวิจัย ร่วมมือภาคการผลิต จัดตั้ง Buffer Organization ให้อิสระในการบริหารการเงินแก่มหาวิทยาลัย

  36. 6 การพัฒนาบุคลากรอุดมศึกษา ปรับระบบการพัฒนาอาจารย์ให้มีความหลากหลายทั้งเชิงวิชาการ ความเป็นครูตามช่วงวัย จัดให้มีกระบวนการ Mentoring เน้นการพัฒนาจากการทำงานจริง พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยในประเทศ มหาวิทยาลัยต่างประเทศหรือทั้ง 2 ระบบ ตามความจำเป็น ให้ผู้ประสงค์เป็นอาจารย์ร่วมลงทุนในการพัฒนา ให้ความสำคัญกับมหาวิทยาลัยใหม่

  37. เครือข่ายอุดมศึกษา 7 ส่งเสริมการทำงานในลักษณะเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษาตามพื้นที่นำไปสู่การควบรวมในมิติต่าง ๆ ช่วยยกระดับคุณภาพ สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน เครือข่ายวิชาการ

  38. การพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจฯการพัฒนาอุดมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจฯ 8 ต้องมองหลายมิติ และมุ่งแก้ปัญหาหลายระดับ หลายระยะ การพัฒนาเด็กและเยาวชน การพัฒนาครู สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ พัฒนาเชื่อมโยงสู่ ASEAN

  39. โครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้โครงสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้ 9 ให้ความสำคัญกับ “ศิลปศาสตร์” การใช้ศักยภาพ ICT เพื่อการเรียนรู้ การสร้างฐานข้อมูลอุดมศึกษาที่ทันสมัย สร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในสถาบันอุดมศึกษา Open Courseware พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดและการเรียนรู้

  40. 2. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา(แผน 5 ปี)  สกอ. ได้นำประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการในช่วง 4 ปีแรกมาประกอบการจัดทำเป็นแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2551-2554) ซึ่งเป็นแผน 4 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับปีที่เริ่มใช้กรอบแผนยาวฯ (พ.ศ.2551-2565) และสิ้นสุด ณ ปี 2554 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) แผนในระยะต่อไป สกอ.จะจัดทำเป็นแผนที่มีระยะเวลา 5 ปีให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ สศช.เช่นเดิม

  41. สาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 1. ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย 2. ผลการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) 3. วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ 4. สรุปเป้าหมายการรับนักศึกษาเข้าใหม่ นักศึกษา รวมทั้งหมดและผู้สำเร็จการศึกษา ในช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2551-2554) 5. การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล

  42. 1. ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย ในกรอบแผนยาวฯ ได้ฉายภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่อโลก ประเทศ และอุดมศึกษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 7 เรื่อง ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงของประชากร 2. พลังงานและสิ่งแวดล้อม 3. การมีงานทำและตลาดแรงงานในอนาคต 4. การกระจายอำนาจการปกครอง 5. การจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง 6. เยาวชน นักศึกษาและบัณฑิตในอนาคต 7. เศรษฐกิจพอเพียง

  43. 1. ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย (ต่อ) นอกจากนั้น ได้แสดงข้อมูลสถานะเศรษฐกิจฯ และข้อมูลพื้นฐานและแนวโน้มอุดมศึกษาไว้ ดังนี้ • สถานะเศรษฐกิจของประเทศ ตารางที่ 1.1 แนวโน้มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หน่วย : ล้านบาท ที่มา :เอกสารงบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2545-2553 สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ : ปี 2553 เป็นร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ตามมติ ครม.เมื่อ 3 มิ.ย.52

  44. 1. ภาพอนาคตที่จะมีผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย (ต่อ) • สถานะเศรษฐกิจของประเทศ (ต่อ) ตารางที่ 1.2 แนวโน้มภาระหนี้ต่างประเทศ ในช่วงปี 2545 - 2551 หน่วย : ล้านบาท ที่มา : สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง * ข้อมูลถึง เมษายน 2551

  45. ข้อมูลพื้นฐานและแนวโน้มเกี่ยวกับอุดมศึกษา ตารางที่ 1.3 แนวโน้มงบประมาณอุดมศึกษา หน่วย : ล้านบาท ที่มา :งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2548-2552 สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :ข้อมูลงบประมาณปี 2553 เป็นตัวเลขตามกรอบมติ ครม. เมื่อ 6 พ.ค.52, ข้อมูลปี 2554-2555 เป็นตัวเลขประมาณการ

  46. ตารางที่ 1.4 แนวโน้มความต้องการการศึกษาระดับอุดมศึกษา หน่วย : พันคน ที่มา : 1,2 สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา 3 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 4 ปี 2549-2551 กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สกอ. ปี 2552-2557 เป็นตัวเลขประมาณการ โดย สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สกอ.

  47. ตารางที่ 1.5 นักศึกษารวม (18-24 ปี) ต่อประชากร หน่วย : พันคน ที่มา : 1 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย 2 ปี 2549-2551 กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปี 2552-2557 เป็น ตัวเลขประมาณการ โดย สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สกอ. * รวมหลักสูตรที่จัดการศึกษาทุกประเภท เช่น ในมหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ มหาวิทยาลัยในระบบจำกัดรับ หลักสูตรพิเศษและภาคสมทบ

  48. ตารางที่ 1.6 จำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดปีการศึกษา 2549 – 2550 จำแนกตามสายงานและระดับการศึกษา หน่วย : คน

  49. ตารางที่ 1.7 บุคลากรสายวิชาการ(สายการสอน)ในสถาบันอุดมศึกษา ปี 2549 -2550 จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิการศึกษา หน่วย : คน

  50. ตารางที่ 1.8 สถานภาพการทำงานของบัณฑิต ประจำปี 2549 หน่วย : คน

More Related