1 / 41

เรื่อง โรคทางพันธุกรรม

เรื่อง โรคทางพันธุกรรม. เสนอ. คุณครู มิ่งขวัญ ศิริโชติ. จัดทำโดย. นางสาว ณัฏฐ์ธิดา พุฒตาล เลขที่ 6 นางสาว นิวาริน พงษ์ชุบ เลขที่ 22 นางสาว กัญญาณัฐ บัวอนันต์ เลขที่ 25 นางสาว สุภาวดี บุสบา เลขที่ 36 นางสาว วรรณกร ทองอ่อน เลขที่ 39 นางสาว สุกฤตา สิงห์แก้ว เลขที่ 42

janna-ryan
Download Presentation

เรื่อง โรคทางพันธุกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง โรคทางพันธุกรรม

  2. เสนอ คุณครู มิ่งขวัญ ศิริโชติ

  3. จัดทำโดย • นางสาว ณัฏฐ์ธิดา พุฒตาล เลขที่ 6 • นางสาว นิวาริน พงษ์ชุบ เลขที่ 22 • นางสาว กัญญาณัฐ บัวอนันต์ เลขที่ 25 • นางสาว สุภาวดี บุสบา เลขที่ 36 • นางสาว วรรณกร ทองอ่อน เลขที่ 39 • นางสาว สุกฤตา สิงห์แก้ว เลขที่ 42 • นางสาว เจนจิรา ศรีหาวัฒน์ เลขที่ 43 • นางสาว จิดาภา ฤกษ์เย็น เลขที่ 44 ห้อง ม.4/10)

  4. คำนำ • รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่4โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง โรคทางพันธุกรรม ทั้งนี้ ในรายงานนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับ โรคทางพันธุกรรมต่างๆ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรม • ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณอาจารย์ มิ่งขวัญ ศิริโชติ ผู้ให้ความรู้ และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

  5. โรคทาลัสซีเมีย ( Thalassemia ) • โรคทาลัสซีเมียเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม ซึ่งเมื่อผิดปกติจะทำให้การสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดผิดปกติ เม็ดเลือดแดงจึงมีรูปร่างผิดปกติ นำออกซิเจนไม่ดี ถูกทำลายได้ง่าย ทำให้ผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมีย เป็นคนเลือดจาง และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา

  6. ในประเทศไทยพบผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมียร้อยละ 1 คือประมาณ 6 แสนคน แต่พบผู้เป็นพาหะถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน ดังนั้นถ้าหากผู้เป็นพาหะมาแต่งงานกัน และพบยีนผิดปกติร่วมกัน ลูกก็อาจเป็น โรคทาลัสซีเมียได้ ทั้งนี้ โรคทาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แอลฟาธาลัสซีเมีย และ เบต้าธาลัสซีเมีย ซึ่งก็คือ ถ้ามีความผิดปกติของสายแอลฟา ก็เรียกแอลฟาธาลัสซีเมีย และถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้าก็เรียกเบต้าธาลัสซีเมีย

  7. ผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมีย จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับม้ามโตมาตั้งแต่เกิด ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบนกะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง กระดูกเปราะ หักง่าย เจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ ส่วนอาการนั้น อาจจะไม่รุนแรง หรืออาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตเลยก็ได้ คนที่มีอาการมากจะมีอาการเลือดจางมากต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือ มีภาวะติดเชื้อบ่อยๆทำให้เป็น

  8. ข้อแนะนำ • ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมีย คือ ให้ทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง เช่น ผักใบเขียว เนื้อสัตว์ ให้มากๆ เพื่อนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง

  9. ทาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

  10. เบต้าทาลัสซีเมีย • เบต้าทาลัสซีเมีย เบต้าทาลัสซีเมียจะเกิดขึ้นเมื่อสายเบต้าในเฮโมโกลบินนั้นสร้างไม่สมบูรณ์ ดังนั้นเฮโมโกลบินจึงขนส่งออกซิเจนได้ลดลง ในเบต้าทาลัสซีเมียสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดย่อย ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของยีนส์ในการสร้างสายเบต้า • แหล่งระบาดของเบต้าทาลัสซีเมียได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบเมดิเตอเรเนียน

  11. ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ 1 สาย (จากสายเบต้า 2สาย) อาจจะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา • ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ทั้ง 2 สาย (จากสายเบต้าทั้ง2สาย) ภาวะซีดอาจมีความรุนแรงได้ปานกลางถึงมาก ในกรณีนี้เกิดจากได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่ • ถ้ามีภาวะซีดปานกลาง จำเป็นต้องได้รับเลือดบ่อยๆ โดยปกติแล้วสามารถมีชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้ามีภาวะซีดที่รุนแรงมักจะเสียชีวิตก่อนเนื่องจากซีดมาก ถ้าเป็นรุนแรงอาการมักจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6 เดือนแรกหลังเกิด แต่ถ้าเด็กได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่แรกเริ่มก็มักจะมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มักจะเสียชีวิตเนื่องจากอวัยวะต่างๆถูกทำลาย เช่นหัวใจ และตับ

  12. แอลฟาทาลัสซีเมีย • แอลฟาทาลัสซีเมีย แอลฟาทาลัสซีเมีย เกิดขึ้นเนื่องจากเฮโมโกลบินในสายแอลฟามีการสร้างผิดปกติ โดยปกติแล้วจะมีแหล่งระบาดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ได้แก่ ไทย จีนฟิลิปปินส์ และบางส่วนของแอฟริกาตอนใต้

  13. ความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างสายแอลฟา โดยปกติแล้วสายแอลฟา 1 สายจะกำหนดโดยยีน 1 คู่ (2ยีน) ดังนี้ • ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 1 ยีน จะไม่มีอาการใดๆ แต่จะเป็นพาหะที่ส่งยีนนี้ไปยังลูกหลาน ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 2 ยีน จะมีภาวะซีดเพียงเล็กน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 3 ยีน จะเกิดภาวะซีดได้ตั้งแต่รุนแรงน้อย จนถึงรุนแรงมาก บางครั้งเรียกว่าเฮโมโกลบิน H ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด ถ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 4 ยีน จะเสียชีวิตภายในระยะเวลาสั้นๆภายหลังจากเกิดออกมา เรียกว่า เฮโมโกลบินบาร์ต

  14. อาการ

  15. จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโตม้ามโตผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ แคระแกร็น ท้องป่อง ในประเทศไทยมีผู้เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 ของประชากรหรือประมาณ 6 แสนคน

  16. โรคเลือดจางทาลัสซีเมียมีอาการตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ จนถึงมีอาการรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน ผู้ที่มีอาการจะซีดมากหรือมีเลือดจางมาก ต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือมีภาวะติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีไข้เป็นหวัดบ่อยๆ ได้ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของทาลัสซีเมียซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแอลฟา-ทาลัสซีเมีย และเบต้า-ทาลัสซีเมีย

  17. ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะ • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือมียีนแฝงสูง • ผู้ที่มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้งคู่สามีภรรยาเป็นพาหะหรือมียีนแฝง • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคทาลัสซีเมีย • ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคทาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง • จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษดูความผิดปกติของเฮโมโกลบิน

  18. โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมียถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคทาลัสซีเมีย (ป่วยทั้งคู่) • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะป่วยเป็นโรคทาลัสซีเมีย • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

  19. ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนแฝง (เป็นพาหะทั้งคู่) • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝง (เป็นพาหะ) เท่ากับ ร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4 • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกจะเป็นทาลัสซีเมีย เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4

  20. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นยีนแฝงเพียงคนเดียว (เป็นพาหะ 1 คน ปกติ 1 คน) • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2 • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2

  21. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคทาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนปกติ (เป็นโรค 1 คน ปกติ 1 คน) • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะมียีนแฝง หรือเท่ากับเป็นพาหะร้อยละ 100 • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่ป่วยเป็นโรคทาลัสซีเมีย และไม่มีลูกที่เป็นปกติด้วย

  22. ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคทาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนแฝง (เป็นโรค 1 คน เป็นพาหะ 1 คน) • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2 • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2 ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

  23. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

  24. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย • 1 รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน จัดเค็มจัด และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง • 2 รับประทาน ไข่ นม เต้าหู้ หรือนมถั่วเหลืองมากๆ ควรดื่มนม วันละ 2-3 แก้ว • 3 รับประทานผักสดในปริมาณมื้อละ 1 ทัพพี และทานผลไม้ทุกวัน • 4 ดื่มชาหลังอาหาร เพื่อช่วยลดธาตุเหล็ก • 5 ควรออกกำลังกายทุกวันและพักผ่อนอยางน้อย 6-8 ช.ม. • 6 ตรวจฝันทุก 6 เดือน เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีกระดุกและฟันที่ผุได้ง่าย • 7 หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก • 8 ไม่ควรกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก • 9 ห้ามรับประทานยาบำรุงเลือดและธาตุเหล็กทุกชนิด • 10 ถ้ามีอาการปวดท้องที่บริเวณชายโครงขวาอย่างรุนแรงมีไข้ตาขาวเหลือง ควรรีบพบแพทย์ทันที

  25. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

  26. อาหารเช้า

  27. นมถั่วเหลืองนมถั่วเหลืองเป็นโปรตีนจากพืช ได้สูงจากพืชในตระกูลถั่วโดยเฉพาะถั่วเหลือ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ประโยชน์ของนมถั่วเหลือง • นมถั่วเหลืองนับว่าเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ ประกอบด้วยสารอาหารทั้ง 5 หมู่ คือ โปรตีน, ไขมัน, คาร์โบโฮเดรต, เกลือแร่และวิตามิน โดยเฉพาะโปรตีน ที่มีอยู่สูงซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ถั่วเหลือง เป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น โปรตีน ในนมถั่วเหลือง คือ โปรตีนโกลบูลิน (Globulin)ที่เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสมบูรณ์เนื่องจากประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ครบ 10 ชนิด

  28. ไข่ตุ๋น • ไข่ตุ๋น เป็นโปรตีน โปรตีนในไข่เป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์โปรตีนในไข่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น ประโยชน์ของไข่ตุ๋น • 1.ธาตุเหล็ก เหล็กเป็นธาตุอาหารที่มีในไข่แดงมาก เหล็กช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยนำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายขาดเปล็กจะทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ • 2.ฟอสฟอรัสและแคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน หากขาดจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง กระดูกจะผุหรือหักได้ง่าย • 3.วิตามินเอ ช่วยบำรุงสุขภาพตา ช่วยให้มองเห็น ปรับสภาพการมองเห็นได้ทั้งในความมือและในที่สว่าง และยังช่วยรักษาสภาพผิวให้สดชื่น ไม่แห้งเหี่ยว ช่วยบำรุงเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค • 4.วิตามินบี2 ช่วยบำรุง ผิวบำรุงประสาทนัยน์ตาลิ้นและริมฝีปาก

  29. อาหารกลางวัน

  30. แกงจืดเต้าหู้ • แกงจืดเต้าหู้เป็นโปรตีนจากพืช ได้สูงจากพืชในตระถั่วโดยเฉพาะถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ และเต้าหู้ ควรบริโภคทั้งโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช และมีวิตามินเกลือแร่มีมากมายอุดมสมบูรณ์ใน ผัก ประโยชน์ของแกงจืดเต้าหู้ • ช่วยบำรุงร่างกาย และส่วนประกอบของแกงจืดเต้าหู้ไข่ ที่มีคุณทางโภชนาการที่ช่วยให้ฉลาด เนื่องจากไข่มีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายและมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งไขมันซึ่งส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ไข่มีมีวิตามินแทบทุก • ชนิดและมีส่วนผสมของแครอททมีวิตามินเอสูง ใช้รับประทานเพื่อ บำรุงสายตา แก้โรคตาฟาง ใช้เป็นยาขับปัสสาวะเนื่องจากมีปริมาณเกลือ โปแตสเซี่ยมสูง ที่ช่วยให้ ร่างกายแข็งแรง

  31. อาหารเย็น

  32. ผัดผักรวมมิตร,ผลไม้ • ผัดผักรวมมิตรเป็นอาหารกลุ่มวิตามิน และกลุ่มเกลือแร่มีมากมายอุดมสมบูรณ์ใน ผัก และผลไม้ทุกๆชนิด • ประโยชน์ของผัดผักรวมมิตร • แครอท มีเบต้า-แคโรทีนที่กำจัดสารก่อมะเร็งที่อาจมาจากควันบุหรี่ หรือแสงแดดแผดจัดและช่วยให้ตับขับสารพิษออกจากร่างกาย- มีแคลเซียมเพคเตทช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ลดการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว • - ช่วยบำรุงเซลล์ผิวหนังและเส้นผมให้มีสุขภาพดี - มีวิตามินเอสูง ช่วยลดการเสื่อมของตา เช่น ต้อกระจก - มีสารต่างๆเช่นธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส เหล็ก มีวิตามินเอ บี 1 บี 2 และวิตามินซี

  33. การรักษา

  34. ให้รับประทานวิตามินโฟลิค (B9) วันละเม็ด • ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด • ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย • ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก • ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก

  35. แบบประคับประคอง (LowTransfusion) • เพื่อเพิ่มระดับเฮโมโกลบินไว้ในระดับหนึ่ง ไม่ให้เด็กอ่อนเพลียจากการขาดออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เติบโต

  36. การให้เลือดจนหายซีด (High Transfusion) • ระดับเฮโมโกลบินสูงใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งอาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับเฮโมโกลบินอยู่ในเกณฑ์ดี และต่อไปจะให้สม่ำเสมอทุก 2-3 สัปดาห์ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ถ้าให้ตั้งแต่อายุน้อยในเด็กที่เป็นชนิดรุนแรง จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าเด็ก เขาจะเติบโตมีรูปร่างแข็งแรงดี หน้าตาดี ตัวไม่เตี้ย ตับและม้ามไม่โต แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ โดยระมัดระวังผลแทรกซ้อนจากการให้เลือดบ่อยและจะต้องให้ยาขับเหล็ก ซึ่งอาจสะสมได้จากการให้เลือดบ่อยครั้ง • นอกจากการให้เลือดดังกล่าว บางรายที่มีอาการม้ามโตมากจนต้องให้เลือดถี่ๆ จากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในม้ามมาก ต้องตัดม้ามออกแต่จะมีการป้องกันการติดเชื้อที่อาจมีตามมาด้วย

  37. ปลูกถ่ายไขกระดูก • โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด ซึ่งนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งทำสำเร็จในประเทศไทยแล้วหลายราย เด็กๆ ก็เจริญเติบโตปกติเหมือนเด็กธรรมดา โดยหลักการคือ นำไขกระดูกมาจากพี่น้องในพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศก็ใช้ได้) นำมาตรวจความเหมาะสมทางการแพทย์หลายประการ และดำเนินการช่วยเหลือ

  38. การเปลี่ยนยีน • นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดคือการเปลี่ยนยีน ซึ่งกำลังดำเนินการวิจัยอยู่

  39. แนวทางการป้องกันโรคทาลัสซีเมียแนวทางการป้องกันโรคทาลัสซีเมีย • จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้มีความรู้ ความสามารถในการวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาโรคทาลัสซีเมียได้ถูกวิธี • จัดให้มีการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับโรคทาลัสซีเมีย เพื่อจะได้ทำการค้นหากลุ่มที่มีความเสี่ยง และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่เป็นโรคทาลัทซีเมีย ในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกวิธี • จัดให้มีการให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส มีการตรวจเลือดคู่สมรส เพื่อตรวจหาเชื้อโรคทาลัทซีเมีย และจะได้ให้คำปรึกษาถึงความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรคทาลัทซีเมียได้ รวมถึงการแนะนำและการควบคุมกำเนิดที่เหมาะสม สำหรับรายที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคทาลัสซีเมียแล้ว

  40. การป้องกันโรคทางพันธุกรรมการป้องกันโรคทางพันธุกรรม • โรคทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากกจะติดตัวไปตลอดชีวิต ทำได้แต่เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้น ดังนั้นการป้องกัน โรคทางพันธุกรรม ที่ดีที่สุด คือ ก่อนแต่งงาน รวมทั้งก่อนมีบุตร คู่สมรสควรตรวจร่างกาย กรองสภาพทางพันธุกรรมเสียก่อน เพื่อทราบระดับเสี่ยง อีกทั้งโรคทางพันธุกรรม บางโรค สามารถตรวจพบได้ในช่วงก่อนตั้งครรภ์ จึงเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยให้ทารกที่จะเกิดมา มีความเสี่ยงในการเป็นโรคทางพันธุกรรมน้อยลง

  41. บรรณานุกรม • http://www.baxter.co.th/th/patients_and_caregivers/hemophilia_knowledge/ • http://www.baanjomyut.com/library/downs_syndrome/index.html • http://th.wikipedia.org/wiki/

More Related