1 / 59

การ ประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์ อนามัยที่ 5

การ ประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์ อนามัยที่ 5 วัน พฤหัสบดีที่ 6 กรกฏาคม 2560 ณ ห้อง ประชุมศูนย์ อนามัยที่ 5. วัตถุประสงค์ของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5. 1. เพื่อ พัฒนา หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุให้ เป็นหลักสูตรแกนกลาง มีความ

janetp
Download Presentation

การ ประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์ อนามัยที่ 5

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฏาคม 2560 ณ ห้องประชุมศูนย์อนามัยที่ 5

  2. วัตถุประสงค์ของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นหลักสูตรแกนกลาง มีความ เหมาะสมต่อผู้เรียนที่มีภาวะสุขภาพและช่วงวัยสูงอายุที่แตกต่างกัน 2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ 3. เพื่อบูรณาการหลักสูตรหรือกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จากหน่วยงานและ บุคคลที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ วิสัยทัศน์ : ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม Smart Longest Living and Healthiest Citizen

  3. เนื้อหาสาระของการประชุมพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 1. สถานการณ์และนโยบายผู้สูงอายุ 4 กระทรวงหลัก 2. หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 พ.ศ. 2559 และผลการ ประเมินหลักสูตรฯ 3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 หลักสูตรที่ 1 หลักสูตรพื้นฐาน (Basic) หลักสูตรที่ 2 หลักสูตรพัฒนาระดับที่ 1 (Advance 1) หลักสูตรที่ 3 หลักสูตรพัฒนาระดับที่ 2 (Advance 2) 4. การปรึกษาหารือเรื่อง - แต่งตั้งคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 - วางแผนการเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5 วิสัยทัศน์ : ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม Smart Longest Living and Healthiest Citizen

  4. 1. สถานการณ์ผู้สูงอายุ

  5. พ.ศ.2548 พ.ศ.2559 พ.ศ.2564 = 16 ปี พ.ศ.2574 = 10 ปี (พ.ศ.2557)

  6. พ.ศ.2559 อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด เพศชาย 71.8 ปี เพศหญิง 78.6 ปี

  7. ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน : ADL

  8. : ด้านสังคม และเศรษฐกิจ

  9. 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ของผู้สูงอายุ ความชราหรือกระบวนการสูงอายุ (Ageing Process)หมายถึง การเสื่อมสภาพของโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ และต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เป็นทารก และผู้ใหญ่ ในช่วงนี้เซลล์จะเปลี่ยนแปลงในการเสริมสร้างให้เจริญเติบโต แต่เมื่อพ้นวัยผู้ใหญ่ไปแล้ว จะมีการสลายของเซลล์มากกว่าสร้าง ทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

  10. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สงอายุ ระบบประสาท :เซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและประสาทอัตโนมัติลดลง ทำให้ไม่ไวต่อความรู่สึกและตอบสนองช้าลง เคลื่อนไหวช้า คิดช้า ความจำใหม่ๆไม่ดี คำนวณ คิดวิเคราะห์ลดลง การเคลื่อนไหวไม่สำพันธ์กัน การมองเห็น :ขนาดลูกตาเล็กลง หนังตาตก ลานสายตาแคบลง รูม่านตาเล็กลง ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง ความไวในการมองภาพลดลง มีสายตายาว ปรับตัวในที่มืดไม่ดี แยกสีแดง ส้ม เหลืองได้ดี แต่น้ำเงิน ม่วง เขียวไม่ดี ตาแห้ง การได้ยิน:หูชั้นในและเส้นประสาทคู่ที่ 8 เสื่อม เยื่อแก้วหูและอวัยวะในหูชั้นกลางแข็งตัวมากขึ้น การได้ยินจะลดลง จะได้ยินเสียงต่ำดีกว่าเสียงสูง ขี้หูจะลดลง ช่องหูจะแคบลง จึงทำให้เกิดหูอุดตันได้ (57%) การรับรส :ต่อมรับรสที่ลิ้นลดลง ฝ่อลีบลง จะสูญเสียการรับลดหวาน เปรี้ยว ขม และเค็ม ตามลำดับ ทำให้รับประทานอาหารรสจัด อาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร การรับกลิ่น :เยื่อบุโพรงจมูกเสื่อม จึงทำให้จำแนกกลิ่นลดลง ไม่ได้กลิ่นอาหาร และกลิ่นที่ทำให้เกิดอันตราย เช่น ไฟไหม้ แก๊สรั่ว เป็นต้น ผิวหนัง: น้ำและไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังบางเหี่ยวย่นแห้งแตกง่าย เป็นแผลง่าย เซลล์รับการกระตุ้นที่ผิวหนังและการไหลเวียนเลือดลดลง ทำให้การทนต่อความร้อนเย็นลดลง ต่อมเหงื่อลดลง ฝ่อลง ทำให้ขับเหงื่อไม่ดี จึงเป็นลมแดดได้ง่าย ผมและขนลดลงและมีสีขาว

  11. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ระบบไหลเวียนโลหิต : หัวใจทำงานลดลง เต้นช้าลง กล้ามเนื้อหัวใจไวต่อสิ่งเร้าน้อยลง ทำให้เลือดออกจากหัวใจน้อยลง จึงเกิดหัวใจวายได้ง่าย มีแคลเซี่ยมเกาะกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หนังหลอดเลือดฝอยหนาขึ้น ความยืดหยุ่นลดลงทำให้แตกง่าย เกิดรอยพกช้ำง่าย เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายลดลง ทำให้เชลล์เกิดความเสื่อมและตาย เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต เป็นต้น ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ: มีการสลายของแคลเซี่ยมจากกระดูก จึงทำให้กระดูกบางเปราะหักง่าย กระดูกสันหลังสั้นลง กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อบางลงเสื่อมลง น้ำไขข้อลดลง ทำให้ข้อติดแข็ง ปวด อักเสบ ติดเชื้อง่าย จำนวนมวลและเส้นใยของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้การหดตัวแต่ละครั้งนานขึ้น เคลื่อนไหวได้ช้าลง ระบบทางเดินหายใจ: ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อปอดลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจลดลง ทรวงอกจะผิดรูป ผนังทรวงอกแข็งขึ้นจากแคลเซี่ยมเกาะ ถุงลมปอดลดลงแตกง่าย การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง รีเฟล็กและการไอลดลง ทำให้กำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ไม่ดี ติดเชื้อง่าย กล่องเสียงทำงานไม่ดีจึงสำลักง่าย ระบบขับถ่าย: กระเพาะปัสสาวะมีความจุและตึงตัวลดลง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกระเพาะปัสสาวะอ่อนกำลังลง ทำให้มีปัสสาวะค้างหลังขับถ่าย จึงปัสสาวะบ่อย เพศชายจะมีต่อมลูกหมากโตทำให้ปัสสาวะลำบาก ลำไส้เคลื่อนไหวลดลงย่อยดูดซึมลดลง ท้องผูกง่าย กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักหย่อนตัว ทำให้กลั้นอุจจาระลำบาก ระบบย่อยอาหาร: ฟันสึกกร่อนบางเปราะง่าย ผุหลุดล่วงง่าย ปากลิ้นแห้งติดเชื้อง่าย ทำให้มีปัญหาการรับประทานอาหารและขาดสารอาหาร กล้ามเนื้อหลอดอาหารและคอหอยอ่อนกำลังลง ทำให้หลอดอาหารใหญ่ขึ้นเคลื่อนไหวช้าลง หูรูดหย่อนตัวทำให้อาหารไหลย้อนขึ้นมาได้ แสบยอดอก อาจจะสำลักเข้าหลอดลม กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานลดลงทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ความหิวลดลง การดูดซึมแคลเซี่ยมและเหล็กลดลง ทำให้กระดูกพรุนและโลหิตจาง

  12. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ระบบสืบพันธุ์ : เพศหญิงรังไข่จะฝ่อเล็กลง มดลูกเล็กลง เยื่อบุมดลูกบางลงมีพังผืดมากขึ้น ช่องคลอดแคบลงยืดหยุ่นน้อยลง ไม่มีเมือกหล่ออลื่น ทำให้เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดมีภาวะเป็นด่างมากขึ้น ทำให้อักเสบและติดเชื้อง่าย ไขมันใต้ผิวหนังของอวัยวะเพศภายนอกลดลง ทำให้เหี่ยวย่น ระบบไร้ท่อ: ต่อมไร้ท่อผลิตฮอร์โมนน้อยลง เช่น ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน หยุดผลิตเช่น รังไข่ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก ช่องคลอด และทรวงอก หย่อน ความไวต่อความรู้สึกทางเพศลดลง ในเพศชายฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลง ทำให้อวัยวะเพศเหี่ยวลงความรู้สึกทางเพศลดลง

  13. การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ของผู้สูงอายุ ด้านสังคม :การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจมีผลต่อความสามารถในการเข้าสังคม และทำกิจกรรมทางสังคมอย่างมาก การพบปะระหว่างญาติ เพื่อน คนสนิทน้อยลง สภาพสังคมในปัจจุบันมีช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุและผู้อ่อนวัย ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณกรรม มากขึ้น ด้านจิตใจ : การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ ถ้าไม่สามารถปรับตัวให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้เกิดปัญหาทางจิตใจได้ เช่น ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ เสียบุคคลที่รัก เปลี่ยนบทบาทในครอบครัวและหน้าที่การงาน สูญเสียภาพลักษณ์ เป็นต้น มีเวลาว่างมากขึ้น คิดมาก รู้สึกคุณค่าในตังเองลดลง รู้สึกโดดเดี่ยว ซึมเศร้า ความสัมพันธ์ในครอบครัวน้อยลง ความเจ็บป่วยและความเสื่อมของร่างกาย มีผลให้ปัญหาด้านจิตใจเพิ่มขึ้น อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิด ใจร้อน โกรธง่าย เศรษฐกิจ : ขาดรายได้ประจำ มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคเพิ่มขึ้น เพศหญิงพึ่งพิงค่าครองชีพมากกว่าเพศชาย ยิ่งอายุมากขึ้นก็พึ่งพิงมากขึ้น

  14. 3. นโยบายการดำเนินงานวัยสูงอายุ

  15. ค.ศ. 2007 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2557

  16. โรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย

  17. นโยบายการดำเนินงานของท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตฯ 5 นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ (พ.ศ. 2559) โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 (ทำกิจกรรมป้องกันการหกล้ม และ ภาวะสมองเสื่อม อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง) มี 24 แห่ง โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 รอบที่ 1 โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 รอบที่ 2

  18. วัตถุประสงค์ของโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิต 2. เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม แผนการเรียนรู้หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 แผนการสอนที่ 1 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 1 : เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย แผนการสอนที่ 2 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 2 : เพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกายที่เพิ่มขึ้น แผนการสอนที่ 3 กระบวนการชราที่มีผลต่อการหกล้มและภาวะสมองเสื่อม และการป้องกัน แผนการสอนที่ 4 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 3 : เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แผนการสอนที่ 5 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 4 : เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาที่เพิ่มขึ้น แผนการสอนที่ 6 กิจกรรมป้องกันหกล้ม ครั้งที่ 5 : การทรงตัวที่ดี แผนการสอนที่ 7 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 1 : เกมคอมพิวเตอร์ แผนการสอนที่ 8 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 2 : Program Com

  19. แผนการสอนที่ 9 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 3 : Program Com แผนการสอนที่ 10 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 4 : Line, Calendar แผนการสอนที่ 11 กิจกรรมป้องกันสมองเสื่อม ครั้งที่ 5 : Google Map แผนการสอนที่ 12 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 4 อ. แผนการสอนที่ 13 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 14 กิจกรรมอนามัยช่องปาก แผนการสอนที่ 15 กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม ครั้งที่ 1 : การเต้นรำ (ตามบริบทของผู้สูงอายุ) แผนการสอนที่ 16 กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม ครั้งที่ 2 : การร้องเพลง แผนการสอนที่ 17 กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 1 : การเล่นไพ่หรือเกม แผนการสอนที่ 18 กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 2 : การแสดงกลุ่ม แผนการสอนที่ 19 การนวดแผนไทย / ธรรมชาติบำบัด แผนการสอนที่ 20 กฎหมายและสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 21 เศรษฐกิจพอเพียง แผนการสอนที่ 22 การจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการสอนที่ 23 กิจกรรมการฝึกอาชีพ หรืองานฝีมือ (OTOP ตามบริบทของพื้นที่) แผนการสอนที่ 24 ศึกษาดูงานสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ แผนการสอนที่ 25 จิตอาสาเพื่อชีวิตและสังคม (กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ กิจกรรมทางศาสนา)

  20. ตารางการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5

  21. ตารางการเรียนการสอนโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 หมายเหตุ :1. ระยะเวลาการเรียนครึ่งวัน สามารถขยายเวลาเรียนเป็นเต็มวันได้ 2. กิจกรรมการฝึกอาชีพ กิจกรรมฝึกทักษะทางสังคม กิจกรรมการเรียนรู้ตาม อัธยาศัย สามารถปรับเปลี่ยนเวลาและรายละเอียด ได้ตามความเหมาะสม

  22. หลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5

  23. การประเมินผลโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย 1. แบบคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง สุขภาพช่องปากและตา สมรรถภาพสมอง ภาวะ ซึมเศร้า ข้อเข่าเสื่อม หกล้ม กลั้นปัสสาวะ โภชนาการ ปัญหาการนอน และ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) 2. การประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ : ยืนขาเดียวใน 30 วินาที ยืนยกขา 2 นาที ลุกยืนใน 30 วินาที นั่งยกน้ำหนัก 30 วินาที ลุกเดินไป-กลับ 8 ฟุต และนั่งเอื้อมมือ ไปแตะปลายเท้า 3. ปฏิทินบันทึกการออกำลังกาย การหกล้ม และสาเหตุของการหกล้ม 4. แบบประเมินดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับ 15 ข้อ

  24. รายชื่อโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 5 พ.ศ. 2559 : ที่ส่งแบบประเมินให้ศูนย์อนามัยที่ 5

  25. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถภาพของนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลบางระกำ ตำบลพลับพลาไชย และท่าแลง เพศของผู้สูงอายุ ช่วงอายุของผู้สูงอายุ 20.90%/37คน 6.21%/11คน 28.25%/50คน 65.54%/116คน 79.10%/140คน จำนวนผู้สูงอายุ 177 คน (100%)

  26. เปรียบเทียบจำนวนและร้อยละของผลการประเมินสมรรถภาพ (ปกติและเสี่ยงต่อการหกล้ม) ของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

  27. เปรียบเทียบคะแนนประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001

  28. เปรียบเทียบคะแนนประเมินสมรรถภาพสมอง (MMSE-Thai 2002) ผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001

  29. เปรียบเทียบคะแนนเส้นรอบเอวสุขภาพช่องปาก และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ N= 152-159, *p-value ≤0.05, **p-value ≤0.01, ***p-value ≤0.001

  30. ผลการประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 ผู้ประเมิน ระดับความคิดเห็นของผู้ประเมิน 0.16%/1คน 3.16%/2คน 0. 22%/1คน 31.75%/20คน 47.62%/30คน 22.75%/13คน 20.63%/13คน 73.55%/40คน

  31. ผลการประเมินหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ เขตสุขภาพที่ 5 เข้าร่วมประชุมพัฒนาวิทยากร เพศของผู้ประเมินหลักสูตร 37.50%/24คน 31.00%/20คน 62.50%/40คน 69.00%/44คน สถานภาพของผู้ประเมินหลักสูตร ระดับความคิดเห็นของผู้ประเมิน 0.16%/1คน 31.75%/20คน 47.62%/30คน 3.16%/2คน 0. 22%/1คน 22.75%/13คน 20.63%/13คน 73.55%/40คน

More Related