1 / 19

เทคนิคและวิธีการตัดชำ

เทคนิคและวิธีการตัดชำ. เทคนิคและวิธีการตัดชำ. การตัดชำหรือการตัดกิ่ง ตัดรากหรือตัดใบมาจากต้นแม่ทำให้เกิดรากหรือต้นโดยใช้สารเคมีและ / หรือให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมช่วย โดยทั่วไปแล้วต้นใหม่ที่ได้จะเป็นสายต้นหรือโคลนที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกอย่าง. ความสำคัญและข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำ

jana
Download Presentation

เทคนิคและวิธีการตัดชำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคและวิธีการตัดชำเทคนิคและวิธีการตัดชำ

  2. เทคนิคและวิธีการตัดชำเทคนิคและวิธีการตัดชำ การตัดชำหรือการตัดกิ่ง ตัดรากหรือตัดใบมาจากต้นแม่ทำให้เกิดรากหรือต้นโดยใช้สารเคมีและ / หรือให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมช่วย โดยทั่วไปแล้วต้นใหม่ที่ได้จะเป็นสายต้นหรือโคลนที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกอย่าง

  3. ความสำคัญและข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำความสำคัญและข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการตัดชำ การตัดชำเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่สำคัญที่สุดของไม้พุ่มที่ใช้ประดับทั้งไม้ผลัดใบและไม้เขียวตลอดปี ทั้งพืชใบกว้างและพืชใบแคบ และการตัดชำใช้มากกับการขยายพันธุ์พืชในโรงกระจก

  4. คุณสมบัติของเซลล์พื้นฐานที่สำคัญมี 2 ประการ คือ 1. Totipotency หมายถึง เซลล์ที่มีข้อมูลทางพันธุกรรมที่ จำเป็นสำหรับการสร้างส่วนต่างๆ ของพืช และทำหน้าที่ของส่วนนั้น ๆ 2. Dedifferentiation หมายถึง ความสามารถของเซลล์ที่เจริญ differentiate ไปแล้วกลับมาอยู่ในสภาพเซลล์เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic cells ) ใหม่แล้วพัฒนาเป็นปลายยอดหรือปลายราก

  5. การขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช้เพศจะได้รากที่เรียกว่า Advantitious roots มี 2 ชนิด คือ • Preformed rootsคือรากที่เกิดตามธรรมชาติในกิ่งขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นแม่ และอาจแทงออกมานอกกิ่งก่อนที่จะตัดกิ่งมา เช่น ข้าวโพด • Wound rootsเกิดขึ้นหลังจากตัดกิ่งมาแล้วและจะเกิดขึ้นเมื่อกิ่งถูกตัดเท่านั้น เช่น การตัดกิ่งชำ

  6. การรักษาแผลของกิ่งมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. เมื่อเซลล์รอบนอกที่ถูกตัดตายไปเกิดแผ่นนีโครติกเพื่อปิด ปากแผลด้วยสารพวกคอร์กที่เรียกว่า ซูเบอริน และอุดท่อน้ำ ด้วยยาง (gum ) แผ่นนีโครติกช่วยป้องกันรอยตัดไม้ไม่ให้ สูญเสียน้ำอีกและไม่ให้เชื้อโรคเข้า 2. เซลล์ที่มีชีวิตใต้แผ่นนีโครติกเริ่มแบ่งตัวใน 2-3 วัน และมีชั้น เซลล์พาเรนไคมา เรียกว่า แคลลัส สร้างเนื้อเยื่อเพอริเดิร์ม 3. เซลล์ในแคมเบียมและท่อนำอาหาร เริ่มแบ่งตัวเป็นจุดกำเนิดราก

  7. การเกิดรากใหม่มี 4 ขั้นตอน 1. เซลล์ที่ differentiate ไปแล้วบางเซลล์กลับมา differentiate อีกครั้ง เรียกว่า Dedifferentiation  2. เกิดจุดกำเนิดราก (root initials ) จากเซลล์บางเซลล์ใกล้ท่อน้ำท่ออาหาร 3. จากจุดกำเนิดราก พัฒนามาเป็นรูทไพรมอร์เดีย (root primordial) 4. รูทไพรมอร์เดียเติบโตและเจริญพ้นเนื้อเยื่ออื่นๆ ของกิ่ง และมีการสร้างท่อน้ำท่ออาหารติดต่อกันระหว่างรูทไพรมอร์เดียกับเนื้อเยื่อท่อน้ำท่ออาหารของกิ่งชำ

  8. ชนิดของการตัดชำ I. การตัดชำกิ่ง (Stem cutting)       1. การตัดชำกิ่งแก่ (hardwood) ทั้งไม้ผลิใบ (deciduous) และพืชใบแคบเขียวตลอดปี (narrow-leaved evergreen) 2. การตัดชำกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน (Semihardwood) 3. การตัดชำกิ่งอ่อน (Sofrwood) 4. การตัดชำกิ่งไม้พุ่มเนื้ออ่อน II. การตัดชำใบ III. การตัดชำใบติดตา (leaf bud cutting ) บางครั้งเรียกว่า single eye หรือ single node cutting IV. การตัดชำราก (Rootcutting )

  9. การปักชำใบ พืชหลายชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำใบ ซึ่งการตัดชำใบพืชจะเกิดรากได้เร็วกว่าเกิดต้น รากใหม่พัฒนามาจาก Primary (preformed) meristem • เป็นกลุ่มของเซลล์ที่มาจากเซลล์เอ็มบริโอที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญโดยตลอด เช่นโคมญี่ปุ่น, piggyback plant และ walking fern   Secondary (wound) meristem • กลุ่มของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วและทำหน้าที่ในระบบเนื้อเยื่อมาก่อนแล้วจึงเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นเนื้อเยื่อเจริญใหม่เพื่อสร้างส่วนที่พืชขาดให้ได้ต้นใหม่ที่สมบูรณ์ เช่น อัฟริกันไวโอเล็ต ( Saintpaulia ), ลิลี่ ( Lilium longiflorum และ Lilium candidum )          

  10. โคมญี่ปุ่น อัฟริกันไวโอเล็ต

  11. การปักชำราก • การปักชำรากจะเกิดต้นง่ายเกิดราก เช่น สาเก แคแสด ปีป

  12. ความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาของการเกิดจุดกำเนิดรากและต้นความรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาของการเกิดจุดกำเนิดรากและต้น สารควบคุมการเจริญเติบโต • ฮอร์โมนพืช (Plant hormones) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น เมื่อมีความเข้มข้นต่ำแต่สามารถควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชได้ • สารควบคุมการเจริญเติบโต (Plant Growth Regulators) อาจเป็นสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นหรือเป็นฮอร์โมนพืชแม้ปริมาณเล็กน้อยก็สามารถควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาของพืชได้ • สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดราก ได้แก่ ออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน และ เอทิลีน รวมทั้งสารยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น กรดแอบซิสิกและฟีนอลิก

  13. ออกซิน(Aoxin) • เป็นสารที่พืชสามารถสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลในการเกิดรากของกิ่งชำมากที่สุด ไซโทไคนิน (Cytokinins) • เป็นสารที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติมีบทบาทในการเติบโตของเซลล์และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ พบในน้ำเลี้ยงในท่อน้ำของพืช ในเมล็ด ในเอ็มบริโอและในใบสีเขียว สารที่มีคุณสมบัติของไซโทไคนิน ได้แก่ ซีติน (Zeatin), ไคเนติน (Kinetin), 2iP,PBA และ 6- เบนซิลอะดีนีน (6-benzyl adenine) กิ่งชำมีออกซินสูงและไซโทไคนินต่ำ ออกรากได้ดี การมีออกซินต่ำไซโทไคนินสูง เกิดต้นได้ดี

  14. จิบเบอเรลลินส์ (Gibberellins : GA) • GA ความเข้มข้นค่อนข้างสูง เช่น 10 -3 โมลาร์ ยับยั้งการเกิดราก • GA ความเข้มข้นต่ำ ๆ เช่น 10-11 ถึง 10-7 โมลาร์ กิ่งชำออกรากได้ กรดแอบซิสิก (Abscisic acid :ABA ) ก . สารยับยั้งการเจริญเติบโตทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับการสังเคราะห์หรือการทำงานของ GA ข . ลดการเจริญเติบโตของต้น ทำให้มีการแย่งอาหารน้อยลง และมีดูดซึม (assimilates) เพื่อใช้ในการออกราก เอทิลีน (Ethylene) • เอทิลีน มีอยู่ในพืชและมีคุณสมบัติหลายอย่าง คือสามารถช่วยในการออก ราก ยับยั้งการเกิดราก หรือไม่มีผลต่อการออกรากเลยก็ได้

  15. ความสามารถของการเกิดรากสามารถแบ่งพืชออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มที่ในเนื้อเยื่อมีสารตามธรรมชาติอยู่ครบถ้วนทั้งออกซิน ซึ่งจำเป็นในการออกราก เมื่อตัดกิ่งแล้วนำไปชำในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะออกรากได้เร็ว 2. กลุ่มที่มีสารตามธรรมชาติในปริมาณมากพอแต่ขาดออกซิน ถ้าให้ออกซิน จะออกรากได้ดีขึ้นมาก 3. กลุ่มที่ขาดสารการทำงานร่วมกับออกซิน 1 อย่างหรือมากกว่านั้นไม่ว่าจะมีออกซินมากหรือน้อยภายในพืช การให้ออกซินจะช่วยได้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ช่วยเลยเนื่องจากยังขาดสารอื่นตามธรรมชาติที่จำเป็นในการออกราก

  16. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดรากและการอยู่รอดของกิ่งปักชำปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดรากและการอยู่รอดของกิ่งปักชำ การกรีดโคนกิ่ง (Wounding) การใช้สารเร่งราก เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการออกราก เร่งให้ออกรากได้เร็ว การควบคุมและการป้องกันโรค เก็บกิ่งชำจากต้นแม่ที่ปลอดโรคและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ โครงสร้างสำหรับชำและการปักชำ แปลงชำกิ่งควรยกสูงหรือถ้าอยู่กับพื้นควรมีกระเบื้องรองเพื่อช่วยระบายน้ำ กิ่งชำอยู่เหนือก้นกระบะ 1 นิ้ว ควรให้น้ำวัสดุชุ่มก่อนการปักชำ ธาตุอาหารสำหรับกิ่งชำ กิ่งต้องมาจากต้นแม่ที่แข็งแรงและได้รับธาตุอาหารสมบูรณ์ และวัสดุชำควรผสมปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารช้า หรือการให้ปุ๋ยน้ำอย่างเจือจางรดวัสดุปลูกหลังจากมีจุดกำเนิดราก

  17. การดูแลรักษากิ่งชำระหว่างออกรากการดูแลรักษากิ่งชำระหว่างออกราก การตัดชำกิ่งแก่หรือการตัดชำรากในแปลงกลางแจ้งต้องการการดูแลรักษา คือต้องมีความชื้นพอเหมาะ ไม่มีวัชพืชและต้องควบคุมโรคและแมลงด้วย การตัดชำกิ่งอ่อน กิ่งของพุ่มไม้เนื้ออ่อนหรือกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่มีใบติดและการปักชำใบหรือใบติดตาออกรากได้ดีในสภาพความชื้นสูงและได้รับการดูแลใกล้ชิดตลอดช่วงการออกราก Tip และเทคนิคในการขยายพันธุ์ด้วยการชำ • ควรตัดกิ่งให้ชิดข้อเฉียงเป็นมุม 45 - 60 องศาเซลเซียส • ในการปักชำควรรักษาความชื้นให้สูงอยู่เสมอ • อุณหภูมิที่โคนกิ่งควรสูงกว่าภายนอกเล็กน้อย

More Related