1 / 40

การเลือกปัญหาและการกำหนดปัญหาวิจัย

การเลือกปัญหาและการกำหนดปัญหาวิจัย. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล Panchalee blog / 2 เมษายน 2556. จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจจะทำการศึกษา ตัวอย่าง - การจัดการความรู้ (Knowledge Management) CIPP PDCA. EAP : (Experiential Activities Planner)

Download Presentation

การเลือกปัญหาและการกำหนดปัญหาวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเลือกปัญหาและการกำหนดปัญหาวิจัย อัญชลี ธรรมะวิธีกุล Panchalee blog /2 เมษายน 2556

  2. จากทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจจะทำการศึกษา • ตัวอย่าง - การจัดการความรู้ (Knowledge Management) • CIPP • PDCA

  3. EAP :(Experiential Activities Planner) คือการออกแบบประสบการณ์ 6 ขั้นตอน • อุ่นเครื่อง • แนะนำปัญหา/โจทย์ • ไตร่ตรองแก้เฉพาะตน • ระดมสมองทางออกโดยกลุ่ม • สื่อสารทางออก • ถอดรหัสปรับใช้

  4. การได้มาซึ่งปัญหาในการวิจัย • จากประสบการณ์ของผู้วิจัยซึ่งอาจจะเป็นปัญหาที่ตนเองประสบในการทำงาน หรือจากการสังเกตสภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม แล้วนำมาสร้างเป็นหัวข้อปัญหาวิจัย • จากการอ่านหนังสือหรือวารสารเกี่ยวกับการวิจัย • จากข้อเสนอแนะของรายงานวิจัย เช่น วิทยานิพนธ์ • จากบทคัดย่อวิทยานิพนธ์หรือบทคัดย่องานวิจัย • จากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านวิจัย

  5. การวิเคราะห์ปัญหา • ปัญหาจากการทำงาน เมื่อนำมาศึกษา ลักษณะของปัญหาจะเป็นปัญหาที่กว้างๆ และมีลักษณะคลุมเครือดังนั้นจะตัองรู้จักวิธีทำปัญหาให้ชัดเจน • ในขั้นแรกจะมีลักษณะเป็นเพียงประเด็นวิจัย(Research Issue) • จะต้องทำประเด็นให้แคบ และชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับที่จะเป็นหัวข้อปัญหาที่จะทำวิจัย(Research Problem)

  6. วิธีการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัยวิธีการวิเคราะห์ปัญหาการวิจัย 1. การเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับความจริง(Facts) 2. การเขียนคำอธิบาย(Explanations) เกี่ยวกับปัญหานั้น 3. วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง - ระหว่างความจริงและคำอธิบาย - ระหว่างคำอธิบายและความจริง

  7. ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาจากการทำงาน • การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้กับกลุ่มเป้าหมายบนพื้นที่สูง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พบว่ามีผู้สำเร็จการศึกษา เพียงร้อยละ 10 ของจำนวนนักศึกษาที่เรียน • จากปัญหาดังกล่าว ควรจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องใด เพื่อที่จะนำข้อค้นพบมาช่วยในการแก้ปัญหา

  8. การวิเคราะห์ความจริงเกี่ยวกับปัญหา(Facts)การวิเคราะห์ความจริงเกี่ยวกับปัญหา(Facts) • อัตราที่ผู้เรียนจบระดับประถมศึกษาต่ำ 1.ปัญหาจากตัวผู้เรียน - ทักษะความรู้ภาษาไทยพื้นฐาน ฟัง พูด อ่าน เขียน ไม่ดี - ผู้เรียนต้องประกอบอาชีพ มาเรียนไม่ต่อเนื่อง 2.ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครู - ไม่ประเมินความรู้พื้นฐานผู้เรียน - ครูไม่รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล - ไม่ได้จัดกิจกรรมเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ให้กับผู้เรียน - การจัดชั้นเรียน จัดให้ผู้เรียนรวมกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่

  9. 3. ปัญหาการบริหารจัดการของสถานศึกษา - ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิชาบังคับ 36 หน่วยกิต วิชาเลือก 12 หน่วยกิต รวม 48 หน่วยกิต - ไม่ได้พัฒนารายวิชาเลือกให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและชุมชน - จัดให้ลงทะเบียนเรียนตลอดหลักสูตร 4 ภาคเรียน

  10. - ไม่ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา - ไม่ได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ - สื่อ ใช้แบบเรียนจากสำนักพิมพ์ - ไม่ได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  11. 4. ปัญหาของประชาชน - ประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา - ประชาชนยากจน - ประชาชนไม่มีที่ทำกิน - ประชาชนย้ายถิ่นที่อยู่ตลอดเวลา เพื่อหาสถานที่เพาะปลูก - ประชาชนสุขภาพอนามัยไม่ดี - ประชาชนนับถือผี

  12. 5. ปัญหาของชุมชน - อยู่ห่างไกลความเจริญ - การคมนาคมไม่สะดวก - ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม - ขาดแหล่งน้ำ - ขาดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  13. คำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหา (Explanations) 1. ปัญหาการบริหารจัดการ - หลักสูตรไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้เรียนและชุมชน คือเนื้อสาระไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน ทำให้ไม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ - การจัดให้ลงทะเบียน 4 ภาคเรียน ทำให้ผู้เรียนที่มีพื้นฐานภาษาไทยไม่ดี ความสามารถในการเรียนช้า และมีภาระในการประกอบอาชีพ จึงไม่ประสบความสำเร็จในการเรียน

  14. 2. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ - ขาดการวัดความรู้พื้นฐานผู้เรียน ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมเพื่อปรับพื้นฐานให้ผู้เรียนก่อนเรียน - การจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่หลากหลายไม่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน คือจัดรูปแบบชั้นเรียน และสอนเป็นรายวิชา โดยใช้ตำราเรียน

  15. ความสัมพันธ์ระหว่างความจริงกับคำอธิบาย และความสัมพันธ์ระหว่างคำอธิบายกับความจริง • ขั้นที่ 1เขียนหัวข้อเกี่ยวกับความจริง(Facts) • ขั้นที่ 2 เขียนคำอธิบาย(Explanations)ว่าความจริงนั้นทำให้เกิดปัญหาอะไร • ขั้นที่ 3ไปพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นที่เป็นความจริงกับความจริง ประเด็นที่เป็นคำอธิบายกับคำอธิบาย และคำอธิบายกับความจริง วิเคราะห์ว่ามีประเด็นอะไรบ้างไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา แล้วตัดข้อเหล่านั้นออก เหลือเพียงประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณา • ขั้นที่4 มีประเด็นอะไรอีกบ้างที่คาดว่ามีความสัมพันธ์กับปัญหา ก็สามารถนำมาพิจารณาในการกำหนดปัญหาวิจัยได้

  16. กิจกรรมที่ 1 • เขียนบรรยายปัญหาในการจัดกิจกรรม กศน. 1ปัญหา

  17. กิจกรรมที่ 2 • เขียนความจริงเกี่ยวกับปัญหา(Facts)

  18. กิจกรรมที่ 3 • เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุปัญหา(Explanations)

  19. การพิจารณาความสำคัญ ของหัวข้อเรื่องที่ควรทำวิจัย • ความใหม่(Novelty) - เป็นเรื่องที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน - เป็นการบุกเบิกหรือริเริ่มศึกษาเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ ตัวอย่าง : การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางในการดำเนินการจัดการศึกษาตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

  20. 2. ความน่าสนใจ (Interesting) • เป็นเรื่องที่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นยังมีอยู่ไม่มากนัก • เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่คนสนใจในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีคำตอบ • ตัวอย่าง : - การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดบ้านหนังสืออัจฉริยะให้เป็นห้องสมุดประจำหมู่บ้านเพื่อประชาชน - การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายใน 8 เดือนอย่างมีคุณภาพ

  21. 3. ความสำคัญ (Inportance) - ขัอค้นพบที่ได้จากการวิจัยมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน - เป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน - ตัวอย่าง : การศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอกรอบสาม

  22. 4. ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Feasibility or amendability) • สามารถทำได้ตามหัวข้อวิจัยที่กำหนดหรือไม่ • อุปสรรคต่าง ๆที่อาจเกิดขึ้นจะมีแนวทางแก้ไขได้หรือไม่ • เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วจะได้คำตอบตรงตามปัญหาวิจัยหรือไม่ • ตัวอย่าง :

  23. 5. การมีข้อมูลเพียงพอ (Availabilty of cooperation) - ข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ ในการทดสอบสมมุติฐาน หรือเพื่อหาคำตอบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  24. 6. ความร่วมมือที่จะได้รับ (Availability of Cooperation) - ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล - ความร่วมมือในการวิเคราะห์ข้อมูล - การสนับสนุนงบประมาณ

  25. 7. การแนะนำที่จะได้รับ (Availability of guidance) • ผู้วิจัยมีแหล่งข้อมูลหรือผู้เชี่ยวชาญที่จะให้คำแนะนำหรือขอคำปรึกษาหรือไม่ • เช่น การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร • โดยเฉพาะในงานวิจัยที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน • หรือความรู้เดิมที่อาจหาได้ยาก

  26. 8. ความเพียงพอของสิ่งจำเป็นอื่น ๆ (Availability of other facilities) • เป็นการมองอย่างกว้าง ๆ • เป็นการมองตลอดทุกขั้นตอนการวิจัย ว่าในแต่ละขั้นตอนมีสิ่งจำเป็นอะไรบ้าง • ความเพียงพอของปัจจัยพื้นฐานในการทำวิจัย เช่นงบประมาณ เวลา

  27. 9. การนำไปใช้ได้ทันที (Immediateapplication) • พิจารณาความสำคัญในด้านประโยชน์ในปัจจุบัน • เช่นการนำผลมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ปัจจุบัน • ตัวอย่าง : การวิจัยปฏิบัติการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา สำหรับกลุ่มเป้าหมายเด็กเร่ร่อน

  28. 10. เป้าหมายของการวิจัยเหมาะสมกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน (Aim of research) • การวิจัยตรงประเด็นกับปัญหาที่มีอยู่หรือไม่ • วิเคราะห์ว่าปัญหาคืออะไร และเป้าหมายของการวิจัยอยู่ตรงไหน • ผลการวิจัยหรือข้อค้นพบสามารถแก้ปัญหานั้นได้หรือไม่

  29. 11. ระดับของการวิจัย (Level of research) • งานวิจัยมีหลายระดับ • ควรพิจารณาความยากง่ายและความเหมาะสมกับระดับงานวิจัย • ตัวอย่าง : การศึกษาจำนวนผู้หญิงและผู้ชายที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพตามหลักสูตร OTOP Mini MBA อาจจะดูง่ายไปเมื่อนำมาเขียนโครงการวิจัย

  30. 12. เป็นสิ่งที่มาจากประสบการณ์ และมีลักษณะสร้างสรรค์(Experience and creativity) • เช่นการวิเคราะห์ความจริง และการเขียนคำอธิบายซึ่งเป็นการอธิบายสาเหตุของปัญหาที่มาจากสภาพจริง • การวิจัยที่นำนวัตกรรมซึ่งมีลักษณะสร้างสรรค์มาใช้ในการแก้ปัญหาก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

  31. 13. มีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะทำ (Courage andconfidence) • ขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจัย • การทำวิจัยทุกเรื่องย่อมพบปัญหาและอุปสรรค • ผู้วิจัยจะต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ

  32. สิ่งควรพิจารณาในด้านส่วนตัว 1. หัวข้อปัญหาอยู่ในแนวเดียวกับวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย 2. หัวข้อวิจัยตรงกับความสนใจของผู้วิจัย 3. ความรู้ความสามารถหรือความชำนาญในเนื้อหาของเรื่องที่จะทำวิจัยของผู้วิจัย 4. เครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย 5. เวลาและงบประมาณ 6. ความเพียงพอของข้อมูล

  33. 7. การสนับสนุนจากหน่วยงานที่สังกัด 8. การสนับสนุนจากผู้บริหาร

  34. การพิจารณาด้านสังคม 1. คำตอบหรือข้อค้นพบที่ได้ จะช่วยเสริมสร้างความรู้ในสาขาวิชาการหรือไม่ 2. ข้อค้นพบเป็นประโยชน์ต่อบุคคลหรือหน่วยงานหรือไม่ 3. สิ่งค้นพบนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางหรือไม่ 4. งานวิจัยที่ทำนี้ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำไว้แล้วหรือไม่ 5. ข้อค้นพบเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยเรื่องอื่นหรือไม่ 6. หัวข้อวิจัยกว้างเกินไปหรือแคบเกินไปหรือไม่

  35. การตั้งชื่อหัวข้อเรื่องวิจัย • ชื่อหัวข้อเรื่องวิจัยที่จะสื่อความหมายได้ดี ควรจะมีสิ่งสำคัญที่บอกไว้ในชื่อเรื่อง สามประการด้วยกัน คือ • 1. ตัวแปรที่ศึกษา • 2. ประชากรที่ศึกษา • 3. วิธีการศึกษา

  36. สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาในการตั้งชื่อวิจัย 1. หัวข้อเรื่องควรมีความเฉพาะเจาะจงในเรื่องที่ศึกษา ไม่ควรยาวเกินไปจนดูเยิ่นเย้อ ควรกะทัดรัด แต่สื่อความหมาย เช่น “ปัญหาการบริหารการศึกษาของสำนักงาน กศน. จังหวัดทุกแห่งในเขตจังหวัดภาคเหนือ” 2. หัวข้อไม่ควรกว้างเกินไป จนไม่รู้ว่าอะไรคือเรื่องที่ศึกษา เช่น “ปํญหาการจัดบ้านหนังสืออัฉริยะ”

  37. ตัวอย่างการตั้งชื่อเรื่องที่จะทำการวิจัย • 1. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู กศน. ตำบล ในเขตภูมิภาคตะวันตก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงาน ความต้องการที่คาดหวัง และปัญหาในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครู กศน.ตำบล 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน ของครู กศน. ตำบล ในเขตภูมิภาคตะวันตก

  38. การดำเนินกาวิจัย มี 2 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ความต้องการที่คาดหวังและปัญหา ขั้นที่ 2 เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของ ครู กศน. ตำบล กลุ่มตัวอย่าง ครู กศน. ตำบล จำนวน 233 คน

  39. การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ในด้านสภาพ และความต้องการที่คาดหวังการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. การจัดประชุมสนทนา ที่ใช้กลุ่มตัวอย่างที่มาจากการเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ

  40. กิจกรรมที่ 4 กำหนดชื่องานวิจัย

More Related