1 / 33

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ. นายนิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต โครงการความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ. การประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพกับการขจัดปัญหาความยากจนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

jamar
Download Presentation

พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ นายนิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต โครงการความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ การประชุมวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพกับการขจัดปัญหาความยากจนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 22-23 พฤษภาคม 2546 โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพฯ

  2. ความเป็นมาของพิธีสารฯ ความเป็นมาของพิธีสารฯ • สาระสำคัญและพันธกรณี • ความจำเป็นที่ต้องให้สัตยาบัน

  3. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มาตรา 8 การอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ แต่ละภาคีจักต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ ให้มากที่สุดที่เป็นไปได้และเท่าที่เหมาะสม ข้อ (g) จัดตั้งหรือธำรงรักษาวิธีการที่จะจัดระเบียบ จัดการหรือควบคุมความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และการปลดปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบเสียหายต่อสิ่ง แวดล้อม อันมีผลต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย

  4. มาตรา 19 การควบคุมดูแลเทคโนโลยีชีวภาพและการจัดสรรผลประโยชน์ ข้อ 3 ภาคีจักต้องพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีพิธีสารและรูปแบบของ พิธีสาร โดยจัดวางระเบียบ วิธีการที่เหมาะสมซึ่งรวมทั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้าในเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายทอดอย่างปลอดภัย การดูแล และการใช้ประโยชน์สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจาก เทคโนโลยีชีวภาพอันอาจมีผลเสียหายต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

  5. CBD มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 COP 1 (The First Meeting of the Conference of the Parties) 28 ก.ย. - 9 ต.ค. 2537 ณ เมืองนัสซอ ประเทศบาฮามาส คณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Open-ended Ad Hoc Group of Experts on Biosafety) ให้พิจารณาแนวทางในการจัดทำพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ การประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญฯ 24-28 ก.ค. 2538 ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้รายงานออกมาที่เรียกว่า Madrid Report

  6. COP 2 (Second Meeting of the Conference of the Parties) 6-17 พ.ย. 2538 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีมติที่ II/5 ให้มีการจัดทำพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Protocol) และได้ตั้ง คณะทำงานเฉพาะกิจด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Open-ended Ad Hoc Working Group on Biosafety -BSWG) ให้ดำเนินการเพิ่มเติมจาก Madrid Report และระบุให้ จัดทำพิธีสารด้านความ ปลอดภัยทางชีวภาพให้เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย ข้ามเขตแดน ซึ่ง LMOs จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) ที่อาจมีผลกระทบในทางลบต่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยการพิจารณาเป็นการเฉพาะกระบวนการของข้อตกลงใน การแจ้งล่วงหน้า

  7. ประชุมทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งที่ 1 22-26 ก.ค. 2539 ณ เมืองอาร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก ครั้งที่ 2 - 5 ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ระหว่าง 12 – 16 พ.ค. 2540 13 – 17 ต.ค. 2540 5 – 13 ก.พ. 2541 และ 17 – 28 ส.ค. 2541 ตามลำดับ ครั้งที่ 6 มีขึ้น ณ เมืองคารตาเฮนาเดออินเดียส (Catagena de Indias) ประเทศโคลัมเบีย 14 – 22 ก.พ. 2542 ซึ่งไดจัดทำพิธีสารเสร็จเรียบรอย และเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมัชชาภาคีวาระพิเศษ (Extraordinary Meeting of the Conference of the Parties – ExCOP) แตยังไมสามารถรับรองพิธีสารได

  8. ประชุม ExCOP ตอ ณ นครมอนทรีออล ประเทศแคนาดา 24 – 29 ม.ค. 2543 จึงมีการรับรองพิธีสารโดยเรียกพิธีสารฉบับนี้เปน “พิธีสารคารตาเฮนาวาดวยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามอนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพ” (Cartagena Protocol on Biosafety to the Convention on Biological Diversity) ใหมีการตั้งคณะกรรมการระหวางรัฐบาลเฉพาะกิจเกี่ยวกับพิธีสารคารตาเฮนาวาดวยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Open-ended Ad Hoc Intergovernmental Committee for the Cartagena Protocol on Biosafety – ICCP) ซึ่งมีหนาที่หลักคือการเตรียมการประชุมภาคีพิธีสารคารตาเฮนา ครั้งที่ 1 (First Meeting of the Parties –MOP) ซึ่งคาดวาจะตรงกับการประชุมสมัชชาภาคี ครั้งที่ 6 (Sixth Meeting of the Conference of the Parties – COP6) ซึ่งมีกำหนดจะประชุมในเดือนเมษายน 2545 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอรแลนด

  9. ในการประชุมสมัชชาภาคี ครั้งที่ 5 (Fifth Meeting of the Conference of the Parties – COP5) ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา 15 – 26 พ.ค.2543 ไดมีพิธีเปด ใหภาคีอนุสัญญาวาดวยความหลากหลายทางชีวภาพ ลงนามพิธีสารคารตาเฮนาวาดวยความปลอดภัยทางชีวภาพ ปัจจุบันมีการลงนามแลว 103 ประเทศ และใหสัตยาบัน 48 ประเทศ ล่าสุดคือประเทศแทนซาเนีย 24 เม.ย. 2546

  10. สาระสำคัญและพันธกรณี ขอบเขตของพิธีสาร ครอบคลุมถึง การเคลื่อนย้ายข้ามแดน การเคลื่อนย้ายผ่าน การดูแลและการใช้ LMOs (มาตรา 4) ไม่คลุมไปถึงการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ LMOs ที่เป็นเภสัชภัณฑ์สำหรับ มนุษย์ (มาตรา 5) จะต้องเป็นไปตามข้อตกลงในการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (มาตรา 6) (Advance Informed Agreement-AIA)-ไม่ใช้กับการเคลื่อนย้ายผ่านและที่นำไปใช้ ใน contained use

  11. กระบวนการของข้อตกลงในการแจ้งล่วงหน้า (มาตรา 7) ใช้ก่อนการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนโดยเจตนาครั้งแรกเพื่อนำไปปลดปล่อย โดยเจตนาสู่สิ่งแวดล้อมของภาคีผู้นำเข้า ไม่รวมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่มีเจตนานำไปใช้โดยตรงเป็นอาหาร หรืออาหารสัตว์หรือเพื่อการแปรรูป แต่ให้ใช้มาตรา 11 ก่อนการเคลื่อนย้าย ข้ามเขตแดนครั้งแรก ไม่ใช้กับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่ได้รับการจำแนกโดยมติของสมัชชาภาคี ว่าไม่มีผลกระทบทางลบ

  12. เป็นลายลักษณ์อักษร หน่วยงานชำนาญการระดับประเทศ ของภาคีผู้นำเข้า ภาคีผู้ส่งออก ตอบรับการแจ้ง ภายใน 90 วัน วันที่ได้รับแจ้ง ได้ข้อมูลเบื้องต้น (มาตรา 8) ครบหรือไม่ จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ตามวิธีการที่ระบุไว้ในมาตรา 10 ความผิดพลาดในการตอบรับการแจ้ง ไม่ได้หมายถึงการ ให้การยินยอมในการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนโดยเจตนา (มาตรา 8 และ 9)

  13. กระบวนการตัดสินใจ (มาตรา 10) การตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามมาตรา 15 (การประเมินความเสี่ยง) แจ้งผลการตัดสินใจ ภายใน 270 วัน หลังจากวันที่ได้รับการแจ้ง 1. อนุมัติการนำเข้าโดยไม่มีเงื่อนไข 2. ห้ามการนำเข้า 3. ขอข้อมูลเพิ่มเติมตามกรอบกฎหมายภายในประเทศ 4. ขอขยายเวลา ความผิดพลาดในการแจ้งการตัดสินใจภายใน 270 วัน ไม่ได้หมายถึงการให้การยินยอมในการเคลื่อนย้ายข้ามเขตแดนโดยเจตนา

  14. วิธีการสำหรับ LMOs ที่มีเจตนาในการนำไปใช้ เป็นอาหาร อาหารสัตว์และแปรรูป (มาตรา 11) หลังตัดสินใจนำเข้า ต้องแจ้ง สำนักงานประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ (BCH) ภายใน 15 วัน โดยมีข้อมูลตามภาคผนวก II การตัดสินใจให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายหรือกรอบระเบียบภายใน ของประเทศผู้นำเข้า ถ้าไม่มี ในการตัดสินใจจะต้องดำเนินการต่อไปนี้ 1. การประเมินความเสี่ยง 2. การตัดสินใจต้องทำภายในกรอบ 270 วัน ความผิดพลาดไม่ได้หมายถึงการยินยอม

  15. การประเมินความเสี่ยง (มาตรา 15) ต้องดำเนินการในลักษณะที่มีความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ ตามภาคผนวก III อาจกำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ประเมินและออกค่าใช้จ่ายเอง การจัดการความเสี่ยง (มาตรา 16) ภาคีฯ จะต้องมีกลไก มาตรการ และกลยุทธที่เหมาะสม ในการจัดการดูแลและ ควบคุมความเสี่ยง มีมาตรการในการป้องกันการเคลื่อนย้ายอย่างไม่เจตนา ทั้งที่นำเข้าและพัฒนาขึ้นเองในประเทศ

  16. นอกนั้นเป็นเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายที่ผิดกฎหมาย ข้อพิจารณาด้านสังคมและเศรษฐกิจ การรับผิดชอบและการชดใช้ค่าเสียหาย การติดตามตรวจสอบ เป็นต้น ยังมีอีก 2 เรื่องที่สำคัญคือ ประเทศที่มิใช่ภาคี (มาตรา 24) ภาคีฯ อาจตกลงกับประเทศที่มิใช่ภาคีได้ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้ามเขต แดน และจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพิธีสาร

  17. การเสริมสร้างขีดความสามารถ (มาตรา 22) การเสริมสร้างความสามารถระดับสถาบัน การพัฒนาบุคลากรและฝึกอบรม การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง ความตระหนักและการมีส่วนร่วมของสาธารณชน การแลกเปลี่ยนข่าวสารและการจัดการข้อมูล ความร่วมมือทางวิชาการ การจำแนก LMOs

  18. คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเฉพาะกิจเกี่ยวกับพิธีสารคารตาเฮนาวาคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเฉพาะกิจเกี่ยวกับพิธีสารคารตาเฮนาวา ดวยความปลอดภัยทางชีวภาพ (ICCP) ICCP 1 11-15 ธ.ค.2543 ฝรั่งเศส ICCP 2 1-5 ต.ค.2544 เคนยา ICCP 3 22-26 เม.ย. 2545 เนเธอร์แลนด์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร และการจัดตั้งสำนักประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูล การเสริมสร้างขีดความสามารถ การจัดทำบัญชีผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการใน การตัดสินใจ การปฎิบัติตามพิธีสาร การบรรจุหีบห่อและการจำแนก การติดตามและการรายงานผล การรับผิดชอบและการชดใช้ค่าเสียหาย กลไกทางการเงิน ฯ

  19. National Contacts, Laws and Regulations Decision Information, Capacity Building Roster of Experts http://bch.biodiv.org/Pilot/Home.aspx

  20. สถานภาพของประเทศไทย • 2526: National Center for Genetic Engineering and Biotechnology • 2529: Status report on “Advances of Biotechnology in Agriculture” • 2533: Status report on “Needs to Develop Biosafety Guidelines in • Genetic Engineering and Biotechnology” • 2533: Ad Hoc Biosafety Subcommittee to draft Guidelines in Genetic • Engineering and Biotechnology 2535: Final draft of Guidelines in Genetic Engineering and Biotechnology completed 2536: National Biosafety Committee (NBC) NBC Subcommittees established Institutional Biosefety Committees (IBCs)

  21. National Related Laws พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ.2507 แก้ไข พ.ศ.2542 พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 การกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ประกาศกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับการนำเข้า GMOs รายชื่อพืชสิ่งต้องห้ามที่เกี่ยวกับ GMOs ขั้นตอนการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs)

  22. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 215 พ.ศ. 2544 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ฉบับที่ 217 พ.ศ. 2544 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับที่ 215 ฉบับที่ 246 พ.ศ. 2544 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับที่ 217 ฉบับที่ 251 พ.ศ. 2545 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปร พันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม

  23. http://biosafety.biotec.or.th http://nipon10230.tripod.com http://biodiversity.biotec.or.th/biosafety/

  24. ความจำเป็นที่ต้องให้สัตยาบัน??ความจำเป็นที่ต้องให้สัตยาบัน?? การให้สัตยาบันพิธีสารฯ ประเทศไทยได้หรือเสีย 13 มีนาคม 2546 ในมุมมองของกฎหมาย (ดร. เจษฎ์ โทณะวณิก) สิ่งที่พิจารณาคือ 1. มีเนื้อหาใดในพิธีสารที่จะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของภาคีหรือไม่ (มาตรา 2) 2. ต้องพิจารณาว่า สิทธิและหน้าที่ภายใต้ข้อตกลง กระทบต่อพันธกรณีอื่นๆ หรือไม่ (WTO) 3. กระบวนการบังคับใช้ของพิธีสาร เป็นอย่างไร (อาศัยความร่วมมือจาก สมาชิก มาตรา 24) 4. การปฎิบัติตามข้อกำหนดในพิธีสาร จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

  25. เมื่อตีความตามกฎหมาย การเป็นภาคีหรือไม่เป็นภาคี มีค่าเท่ากัน เนื่องจากถ้าเป็น ภาคีก็จะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในมาตราต่างๆ แต่ถ้าไม่เป็น ก็จะต้องดำเนิน การให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของพิธีสาร (มาตรา 24)

  26. ในมุมองทางเศรษฐกิจหรือการค้าในมุมองทางเศรษฐกิจหรือการค้า จากข้อคิดเห็นของคุณพรวิช ศิลาอ่อน ยังไม่มีความชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างพิธีสารกับ WTO ถ้ามีความขัดแย้ง จะทำอย่างไร อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทางการค้าคือ 1. ในเรื่องของข้อตกลงในการแจ้งล่วงหน้า (AIA) ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการอนุมัติ และนำไปสู่ปัญหากีดกันทางการค้าได้ 2. การใช้แนวทางระแวดระวัง (precautionary approach) โดยให้ประเทศผู้นำเข้า ใช้วิจารณญาณว่า จะนำเข้าหรือไม่ อาจนำไปสู่ปัญหากีดกันทางการค้าเช่นกัน 3. ข้อกำหนดให้มีการติดฉลาก (มาตรา 18) อาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งและจัดเป็น ข้อกีดกันทางการค้าอย่างหนึ่ง (WTO ถ้าใช้ฉลากจะต้องไม่เป็นการกีดกัน ทางการค้า)

  27. มุมมองด้านสังคม คุณบัณฑูร เศรษฐศิโรตน์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า ถ้าเข้าเป็นภาคี การนำเข้าหรือการใช้ประโยชน์จาก LMOs ย่อมจะมีมากขึ้น ผลกระทบต่อสังคม ย่อมจะต้องเกิดขึ้น ถ้าใช้ในการบริโภค ก็จะนำไปสู่ประเด็นของการคุ้มครองผู้บริโภค การรับรู้ข่าวสาร และข้อกำหนดในการรับผิดชอบ ถ้าใช้ในการเพาะปลูก ก็อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่ชุมชนสังคม

  28. สรุปได้ว่าผลที่ตามมาทางสังคม มี 3 ประการคือ 1. เงื่อนไขในระบบทรัพย์สินทางปัญญา (การแลกเปลี่ยนการเข้าถึง) 2. ผลกระทบทางวัฒนธรรม (การเก็บเมล็ดพันธุ์) 3. เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม (ไม่เป็นเสรี) อย่างไรก็ตามข้อกำหนดในพิธีสาร ก็มีบางส่วนที่ส่งผลทางบวกต่อสังคม เช่น แนวทางระแวดระวัง (สิทธิในการตัดสินใจ) กระบวนการแจ้งล่วงหน้า (มีความโปร่งใส) การรับผิดชอบและการชดใช้ค่าเสียหาย

  29. ข้อสรุปสุดท้ายจากการสัมมนาข้อสรุปสุดท้ายจากการสัมมนา การเข้าเป็นภาคีหรือการให้สัตยาบัน ไม่ใช่ตัวปัญหา แต่การเตรียมการเพื่อรองรับทั้งก่อนที่จะเข้าเป็นภาคี หรือหลังจาก การเข้าเป็นภาคี น่าจะเป็นตัวปัญหา นั่นคือ เราควรจะต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ก่อนเป็นภาคี หรือ เราควรจะเป็น ภาคีก่อนค่อยเติมความพร้อมให้เต็ม ถ้าเป็นภาคีก่อน เราก็มีสิทธิร่วมเล่นกับเขา พร้อมกับเตรียมความพร้อมควบคู่ไป ถ้าต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เราก็ต้องเล่นเพียงคนเคียว ไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยน กฎเกณฑ์ใดๆ

  30. ขอบคุณ

More Related