1 / 38

กลยุทธ์องค์กร : ทางเลือกกลยุทธ์

กลยุทธ์องค์กร : ทางเลือกกลยุทธ์. บทที่ 7. Pixar and Disney. Pixar เริ่มจากการเป็น computer hardware company ผลิตระบบการแสดงผลด้วย graphic และหนึ่งในลูกค้าก็คือ Disney

Download Presentation

กลยุทธ์องค์กร : ทางเลือกกลยุทธ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลยุทธ์องค์กร : ทางเลือกกลยุทธ์ บทที่ 7

  2. Pixar and Disney • Pixar เริ่มจากการเป็น computer hardware company ผลิตระบบการแสดงผลด้วย graphic และหนึ่งในลูกค้าก็คือ Disney • เพื่อสาธิตศักยภาพของผลิตภัณฑ์ Pixar ทำหนังสั้น animation โดยเริ่มแรกคอมพิวเตอร์ของ Pixar ขายได้ไม่ค่อยดี และการรวมทุนที่มีทำเสียเงินมากมายในระยะเวลาอันสั้น • Steve Job หลังจากที่ถูกเชิญให้ออกจาก Apple เมื่อปี 1986 ได้เข้ามาซื้อ Pixar ด้วยเงิน 5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และก่อตั้ง Pixar Animation Studies รวมทั้งยังลงเงินทุนอีก 5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

  3. Pixar and Disney • Pixar ใช้กลยุทธ์การเป็นพันธมิตร (strategic alliance) กับ Disney • ช่องทางการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และชื่อเสียงในการสร้างภาพยนตร์ animation ของ Disney ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าสำคัญอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้าง Pixar ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ • Pixar ประสบความสำเร็จอย่างมากมายจากภาพยนตร์ เช่น Toy story (1,2, and 3), Monster, Inc., Finding Nemo, The incrediblesเป็นต้น • ความสำเร็จนี้ทำให้อำนาจการต่อรองของพันธมิตรเปลี่ยนไป ผลการเจรจากันอีกครั้งในปี 2004 ถูกรายงานว่า ต้องยกเลิก เนื่องจากความขัดแย้งของผู้บริหารทั้งสองฝ่าย Steve Job and Michael Eisner

  4. Pixar and Disney • แต่หลังจากที่ Michael ออกจาก Disney ในปี 2005 Disney เข้าไปซื้อ Pixar ในราคา 7.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ผลจากข้อตกลงนี้ทำให้ Steve Job เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของ Disney • ในปี 2009 Disney เข้าไปซื้อ Marvel Entertainment ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ทำให้ได้ลิขสิทธ์ในคาแร็คเตอร์ Spiderman, Iron man, The Incredible Hulk and Captain America

  5. ทางเลือกกลยุทธ์ • จากกลยุทธ์ระดับองค์กร 3 ใน 4 กลยุทธ์ • กลยุทธ์ขยายตัว • กลยุทธ์รักษาระดับ • กลยุทธ์ถอยจากภายใน • (กลยุทธ์ผสมผสาน) • มีทางเลือก 2 ทางเลือก คือ • การปฏิบัติการจากภายใน หมายถึง การใช้ทรัพยากรภายใน • การปฏิบัติการจากภายนอก หมายถึง การใช้ทรัพยากรภายนอก

  6. ทางเลือกกลยุทธ์

  7. การปฏิบัติจากภายใน : การขยายตัวจากภายใน • หมายถึง ใช้กลยุทธ์ขยายตัวด้วยการมุ่งความเชี่ยวชาญ หรือกระจายธุรกิจด้วยการขยายผลิตภัณฑ์หรือตลาดโดยไม่ต้องขยายองค์กร • หมายถึง การพยายามปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อให้มียอดขายและส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้น • หมายถึง การขยายตัวอาจเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่หรือขยายตัวในอุตสาหกรรมเดิม ทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มยอดขาย เพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด • หมายถึง กลยุทธ์ในการขยายผลิตภัณฑ์หรือตลาดโดยไม่ต้องขยายธุรกิจ แต่เป็นการปรับกลไกจากธุรกิจเดิมเพื่อที่จะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

  8. การปฏิบัติจากภายใน : การขยายตัวจากภายใน

  9. การปฏิบัติจากภายใน : การขยายตัวจากภายใน • กลยุทธ์การเจาะตลาด (Market Penetration) • ผลิตภัณฑ์เดิม และตลาดเดิม จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำ หรือซื้อเพิ่มมากขึ้นในผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม • ก่อให้เกิดการขยายตัว และทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม แต่ต้องระวังว่าผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกหรือไม่ • กลยุทธ์การพัฒนาตลาด(Market Development) • ผลิตภัณฑ์เดิม และตลาดใหม่ จึงเป็นการนำผลิตภัณฑ์เดิมไปขายในตลาดใหม่เป็นการขยายพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ • ควรใช้ในวงจรชีวิตที่กำลังเติบโตเต็มที่

  10. การปฏิบัติจากภายใน : การขยายตัวจากภายใน • กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) • ผลิตภัณฑ์ใหม่ และตลาดเดิม ถือเป็นการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างหนึ่ง • กลยุทธ์การกระจายผลิตภัณฑ์ (Diversification) • ผลิตภัณฑ์ใหม่ และตลาดใหม่ เป็นการพัฒนาธุรกิจใหม่

  11. การปฏิบัติจากภายใน : การรักษาระดับจากภายใน • เป็นการรักษาระดับการผลิตหรือการตลาดไว้ระดับเดิมด้วยการไม่เพิ่มกำลังการผลิตและขยายส่วนแบ่งตลาดออกไป หรือเป็นการป้องกันตนเองภายในอาณาเขต • สาเหตุที่เลือกใช้กลยุทธ์นี้ เพราะอุตสาหกรรมนั้นอาจจะอยู่ในช่วง “แม่ให้นมวัว” (Cash cow) หมายถึง มีกระแสเงินสดจากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย ดังนั้นจะมีกระแสเงินสดสุทธิมาหล่อเลี้ยงธุรกิจ • ในขณะที่ธุรกิจนี้มีกระแสเงินสดสุทธิอื่น ดังนั้นสามารถนำเงินมาสนับสนุนหน่วยธุรกิจอื่น ๆ • ดังนั้น ควรใช้กลยุทธ์นี้ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่น ในกรณีที่มีหน่วยธุรกิจหลายหน่วยธุรกิจ การเลือกกลยุทธ์นี้แสดงให้เห็นถึงธุรกิจอยู่ในช่วงจังหวะปรับฐานธุรกิจให้แข็งแกร่งด้วยการรักษาฐานตลาดเดิม

  12. การปฏิบัติจากภายใน : การถอยจากภายใน • หมายถึง การปรับปรุงหรือลดส่วนที่ไม่จำเป็นภายในบริษัทลงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กร มีวิธีดังนี้ • การลดต้นต้น • การเพิ่มรายได้ • การลดทรัพย์สิน • การลดสายผลิตภัณฑ์หรือตลาด

  13. การนำกลยุทธ์การถอยจากภายในเนื่องจากการนำกลยุทธ์การถอยจากภายในเนื่องจาก • วงจรชีวิตของอุตสาหกรรม (ผลิตภัณฑ์) กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่าย • ยอดขายของบริษัทอาจลดระดับลงและไม่อาจรักษาระดับเดิมได้ • ส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง • หน่วยธุรกิจของบริษัทที่ยอดขายต่ำเมื่อเทียบกับหน่วยอื่นหรือยอดขายรวมของบริษัท • หน่วยธุรกิจอื่นมีศักยภาพดีกว่า • เกิดปัญหาด้านการจัดหาวัตถุดิบและมีความจำเป็นต้องลดขนาด เป็นกลยุทธ์ที่ผู้บริหารไม่ค่อยนิยมใช้ ดูตัวอย่างที่ 7.1

  14. การปฏิบัติการจากภายนอก : การขยายตัวจากภายนอก • วัตถุประสงค์ คือ การขยายองค์ให้เติบโตยิ่งขึ้น สามารถทำได้ดังนี้ • การควบ (เป็นการรวมกิจการของสองบริษัท) และการซื้อกิจการ (กิจการหนึ่งไปซื้ออีกกิจการหนึ่ง) เพื่อประโยชน์ทางด้านประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นการลดการแข่งขันของอุตสาหกรรมลงได้ สามารถทำได้แบบแนวราบ (Horizontal) และแนวตั้ง (Vertical integration) ดูตัวอย่าง 7.2 • การร่วมทุน (Joint venture) การร่วมกันระหว่าง 2 บริษัท ดูตัวอย่าง 7.3 • การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic alliances) ดูตัวอย่าง 7.4

  15. การปฏิบัติการจากภายนอก : การถอยจากภายนอก • เป็นการขายธุรกิจออกไปในลักษณะที่ต้องมีองค์กรภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง • เป็นกลยุทธ์ที่มีทิศทางตรงกันข้ามกับการควบหรือซื้อกิจการ • ใช้เมื่อมีการฟื้นฟูกิจการ หรือเมื่อส่วนแบ่งลดลงอย่างมาก อาจจะเนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง ทำให้ยากต่อการลงทุน

  16. การผสมผสานจากภายนอกและภายในการผสมผสานจากภายนอกและภายใน • หรือ กลยุทธ์ผสมผสาน (Combination Growth) สามารถแบ่งเป็น • การรับจ้างเหมางาน (Sub-contraction) คือไม่ทำเองแต่ให้ผู้ร่วมสัญญาอื่นทำแทน • การใช้สิทธิร่วมกัน (Cross Licensing) คือการให้สิทธิร่วมกัน • การเป็นหุ้นส่วน (Consortium) • การร่วมทุน (Joint venture) แบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ • ใยแมงมุม เป็นการร่วมกันของบริษัทขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ แห่ง • รวมกันช่วงแรกแยกกันช่วงหลัง ซึ่งแยกทางการเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ • ร่วมกันเพื่อรวมกัน เป็นการทดลองร่วมทุนกันก่อน เมื่อดำเนินงานได้ราบรื่นก็อาจนำไปสู่การรวมกิจการกันอย่างจริงจัง

  17. Key Characteristics of Different Alliance Types EXHIBIT 9.5 9-21

  18. Firms Embedded in Strategic Networks EXHIBIT 9.8 A hypothetical strategic network. Firm B is in a key position - knowledge broker 9-22

  19. กลยุทธ์เชิงรุก (Offensive strategy) • การแข่งขันเป็นพลวัต (Dynamic) ผู้บริหารไม่ควรยึดติดกับความสำเร็จในอดีต • กลยุทธ์เชิงรุกคือ กลยุทธ์ที่เข้าไปในอุตสาหกรรมใหม่พื้นที่ภูมิศาสตร์เดิม หรือ เข้าไปในอุตสาหกรรมเดิมพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ หรือ เข้าไปในอุตสาหกรรมใหม่และพื้นที่ภูมิศาสตร์ใหม่ สอดคล้องกับแนวคิดของ Ansoftเป็นการวางตำแหน่งการแข่งขันที่ไม่ตรงกับตำแหน่งเดิมของคู่แข่งขัน • เป็นการโจมตีเข้าไปในอุตสาหกรรม อาจเข้าไปมากกว่าส่วนตลาดเดียวก็ได้

  20. รายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุกรายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุก • กลยุทธ์กองโจร (Guerrilla attack) เป็นการรุกไปในตลาดที่เป็นลักษณะตลาดแบบตลาดย่อย (Market fragmentation) เป็นการเข้าไปในตลาดที่คู่แข่งไม่ได้สนใจในตลาดนี้ โดยมากจะนำมาใช้เมื่อธุรกิจขนาดเล็กต้องปะทะกับธุรกิจขนาดใหญ่ “จุดเริ่มต้นของชัยชนะไม่จำเป็นจะต้องเริ่มจากเงินลงทุนมหาศาล ในทางกลับกันการหาลู่ทางที่คนอื่นมองข้ามแล้วรุกคืบด้วยความเงียบ เงินลงทุนจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญ” นี่คือแนวคิดเล็กๆ ของกลยุทธ์เล็กๆ สำหรับธุรกิจเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จมานักต่อนัก กลยุทธ์ที่ว่านี้หลายๆคนรู้จักกันในนาม “กลยุทธ์การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla Marketing”

  21. รายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุกรายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุก • กลยุทธ์ทางอ้อม (Bypass attack) คือ โจมตีเข้าไปในส่วนตลาดที่คู่แข่งขันไม่มีสินค้าและบริการนั้น ๆ ทำได้ 3 วิธี • นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์เดิม • ขยายสู่ตลาดใหม่หรือในเขตภูมิภาคอื่น ๆ • ก้าวกระโดดไปสู่เทคโนโลยีใหม่ ๆ แทนที่เทคโนโลยีเดิม เป็นกลยุทธ์การตีผ่าน หรือ หลีกเลี่ยง คู่แข่งที่แข็งแรง ไปหาตลาดที่ง่ายกว่า เหมาะสำหรับกิจการที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น กระทิงแดงเลี่ยงการประทะกับลิโพ ไปจำหน่ายต่างประเทศ

  22. รายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุกรายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุก • กลยุทธ์โจมตีซึ่งหน้า (Frontal attack) โจมตีเข้าไปในตลาดขนาดใหญ่ของคู่แข่ง • เป็นการโจมตี จุดแข็ง ของคู่แข่ง เช่น ผู้ผลิตใบมีดโกนระดับรองในบราซิล เข้าตี Gillette ซึ่งเป็นผู้นำตลาดผล ผู้โจมตีแพ้ยับเยิน • ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากโดยเฉพาะกระแสเงินสดที่จะเข้ายึดส่วนแบ่งตลาด ทุกๆหน่วยงานในองค์กรจะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวจู่โจม ตั้งแต่ฝ่ายการตลาดไปจนถึงฝ่ายผลิต และยังเกี่ยวข้องกับการโฆษณาที่เข้มข้นเพื่อประกอบกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ • บ่อยครั้ง ที่เป็นความพยายามที่จะ “ปลดปล่อย” กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ออกจากการครอบงำของสินค้าคู่แข่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลยุทธ์แบบจู่โจมซึ่งหน้ามักจะพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากเหตุผลสองประการ หนึ่งก็คือ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ทรัพยากรที่มีคุณค่าหลายอย่างต้องถูกระดมมาใช้และสูญเสียไปในการทำสงคราม ข้อที่สอง กลยุทธ์แบบนี้มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ ในกรณีที่ฝ่ายตั้งรับสามารถที่จะจัดหาทรัพยากรเพื่อมาสนับสนุนการฟื้นตัวได้ทันเวลา ข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ของฝ่ายบุกจะหมดไปในทันที ทำให้จำเป็นจะต้องแข็งแกร่งกว่าคู่

  23. รายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุกรายละเอียดของกลยุทธ์เชิงรุก • กลยุทธ์การโอบล้อม(Encirclement attack) คือ การโจมตีเข้าไปในหลาย ๆ ส่วนตลาด • เป็นวิธีการจู่โจมอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ จุด พร้อม ๆ กัน ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง กิจการที่ใช้กลยุทธ์นี้ต้องมีทรัพยากรมากกว่าคู่แข่ง เช่น นาฬิกา Seiko วางจำหน่ายถึง 400 รุ่น ในสหรัฐอเมริกา และ 2,300 รุ่นในตลาดทั่วโลก • โอบล้อม ด้วย ราคาที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์หลายรส กลิ่น สูตร บรรจุภัณฑ์ หลายขนาด และการคลอบคลุมหน้าร้านและพื้นที่ขายให้มากที่สุด และหลากหลายช่องทางการจัดจำหน่าย (Multi channel) ที่เรียกว่ากลยุทธ์หมาหมู่ หรือ หมาป่าที่โอบล้อมกัดเหยือจนเหยือตัวใหญ่หมดแรงและยอมจำนนในที่สุด เช่น ลิโพ เอ็ม 150 ฉลาม โอบล้อม กระทิงแดง แบรนด์ มีทั้งซุบไก่ สกัดสูตรต่างๆ รังนกสูตรต่างๆ ทั้ง คอลโลเจน น้ำตาลต่ำ ออกแบบเม็ดสกัดสมุนไพรหลากหลายชนิด มาโอบล้อม สก๊อต หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีการออกหลายหลากรสชาติ หมูสับ ปรุงรส แกงป่า ต้มยำกุ้ง ต้มยำหมู ข้าวซอย

  24. ข้อคำนึงการใช้กลยุทธ์เชิงรุกข้อคำนึงการใช้กลยุทธ์เชิงรุก • คำนึงถึงผลลัพธ์จากการโจมตีว่าก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทมากน้อยเพียงใด • ตัวอย่างเช่น การโจมตีคู่แข่งที่แข็งแรง • ข้อดี เกิดการพัฒนาข้อได้เปรียบในการแข่งขัน • ข้อเสีย บริษัทที่เหลืออยู่ในอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์

  25. กลยุทธ์เชิงรับ (Defensive strategy) • คือ องค์กรไม่ได้มุ่งที่จะเข้าตลาดใหม่ แต่เป็นการป้องกันตัวเอง โดยการส่งสัญาณเตือนไปที่คู่แข่ง หรือตั้งรับอยู่ในส่วนตลาดนั้น ๆ • Vasconcellosได้เสนอกลยุทธ์เชิงรับไว้หลายวิธีได้แก่ • การให้สัญญาณ เพื่อเตือนคู่แข่งไม่ให้เข้ามาในอุตสาหกรรม เช่น การเพิ่มกำลังการผลิตและการกระจายสินค้าทั่วทั้งตลาด • การสร้างสิ่งกีดขวางหรือ การสร้าง Entry Barriers ให้กับผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อทำให้คู่แข่งมีอุปสรรคมากขึ้นในการโจมตีผลิตภัณฑ์ในตลาด Tactic ที่นิยมใช้คือกิจกรรมทางด้านการตลาด หรือ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อให้ เกิด Brand Bonding และ Brand Relationship ที่เหนียวแน่นกับลูกค้าชั้นดีซึ่งมักเป็นชนกลุ่มน้อยที่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่

  26. กลยุทธ์เชิงรับ (Defensive strategy) • กลยุทธ์การยึดที่มั่น คือ รักษาส่วนแบ่งตลาด โดยใช้หน้าที่ทางบริหารไม่ว่าจะเป็นการตลาด การผลิต การเงิน เพื่อขัดขวางพื้นที่หรือส่วนตลาดที่องค์กรครอบครองอยู่ไม่ให้คู่แข่งเข้ามา • กลยุทธ์การถอยหรือถอนตัว คือ ยอมแพ้ในบางสมรภูมิเพื่อรักษาโอกาสในระยะยาว

  27. แนวคิดของ Mile and Snow (1978) อธิบายได้ 4 ลักษณะ • ผู้ปกป้อง คือ การรักษาส่วนแบ่งตลาด ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก จัดได้ว่าเป็นกลยุทธ์เชิงรับ • ผู้บุกรุก คือ การขยายโอกาสในตลาดใหม่ เหมาะกับองค์กรที่มีทรัพยากรในการขยายการดำเนินงาน จัดเป็นกลยุทธ์เชิงรุก • ผู้วิเคราะห์ คือ การให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ดังนั้นจะเป็นการผสมผสานกับการใช้กลยุทธ์ผู้ปกป้องและผู้บุกรุกรวมกัน • ผู้ตอบสนอง บริษัทจะมีทิศทางที่ไม่แน่นอน การเลือกใช้อาจเป็นผู้ปกป้อง ผู้บุกรุก หรือผู้วิเคราะห์ก็ได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจึงทำให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ลำบาก

  28. กลยุทธ์เชิงรุก vsกลยุทธ์เชิงรับ • การจะเลือกใช้แนวทางใดประเด็นที่ต้องพิจารณาคือจังหวะเวลา และทรัพยากร • ข้อดีกลยุทธ์เชิงรุกคือ หากเป็นผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์จะเกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน และสามารถยึดครองส่วนแบ่งตลาดได้ก่อน • ข้อเสียกลยุทธ์เชิงรุก คือ มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวได้สูง อาจเป็นเพราะ ตลาดไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์ ประสบการณ์น้อย • ข้อดีกลยุทธ์เชิงรับคือ สามารถนำจุดอ่อนคู่แข่งรายแรกมาปรับปรุงให้ดีขั้น • ข้อเสีย กลยุทธ์เชิงรับ คือ อาจล่าช้าส่งผลให้สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด • กลยุทธ์ตั้งรับง่ายกว่าการโจมตี ดังนั้นไม่แน่ใจอย่าโจมตี • แต่กลยุทธ์การโจมตีเป็นความท้าทายต่อการแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ • กลยุทธ์ขยายตัว = เชิงรุก/ กลยุทธ์รักษาระดับและการถอย = เชิงรับ

  29. การเลือกกลยุทธ์ • การพิจารณาทางเลือกกลยุทธ์ หมายถึง การตัดสินใจจะให้มีการดำเนินวิธีการหรือมาตรการจากหลาย ๆ ทางเลือกที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ • ก่อนพิจารณาทางเลือก ควรกำหนดทางเลือกกลยุทธ์ มาหลาย ๆ ทางเลือก เพื่อดูว่าทางเลือกใดเหมาะสมมากที่สุด • การพิจารณาอาจเริ่มจาก • อนาคตสภาพแวดล้อมภายนอกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร • การแข่งขันในอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร • ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร • ลูกค้าเก่าอยู่กับองค์กรหรือไม่ • ลูกค้าใหม่คือใคร • จุดเด่นที่นำไปสู่การสร้างสมรรถนะองค์กรควรเป็นอย่างไร

  30. แนวทางการพิจารณาทางเลือกกลยุทธ์แนวทางการพิจารณาทางเลือกกลยุทธ์ • แนวทางที่ 1กำหนดจากสิ่งที่องค์กรทำอยู่แล้วและพัฒนาต่อไป เป็นเรื่องของการพิจารณาความต่อเนื่องในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต • แนวทางที่ 2 กำหนดจากอนาคต แม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่ทำอยู่ เป็นการพิจารณาว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่ยึดติดกับจุดเด่นและความสามารถที่องค์กรมีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้จุดเด่นที่ซ่อนเร้นเพื่อฉกฉวยโอกาส แนวทางนี้ต้องอาศัยผู้บริหารที่มีสายตาอันแหลมคมหรือมีวิสัยทัศน์ยาวไกล

  31. รูปแบบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกรูปแบบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการกำหนดทางเลือก • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน • ดูรูป 7.2 สถานการณ์ที่ 1 • ดูรูป 7.3 สถานการณ์ที่ 2 • Product portfolio matrix หรือ BCG growth share matrix • ดาว อุตสาหกรรมเติบโตสูง ส่วนแบ่งตลาดสูง • ปรัศนี อุตสาหกรรมเติบโตสูง ส่วนแบ่งตลาดต่ำ • แม่วัว อุตสาหกรรมเติบโตต่ำ ส่วนแบ่งตลาดสูง • หมา อุตสาหกรรมเติบโตต่ำ ส่วนแบ่งตลาดต่ำ

  32. EXHIBIT 8.11 BCG Matrix 8-36

  33. รูปแบบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการกำหนดทางเลือกรูปแบบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจในการกำหนดทางเลือก • Product/Market evolution portfolio matrix • เพื่อกำหนดกลยุทธ์การแข่งขันในแต่ละช่วงของตลาด • แกนตั้งเป็นขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ • แกนนอนเป็นตำแหน่งทางการแข่งขัน • วงกลมจะแทนขนาดของอุตสาหกรรม • ภายในวงกลมส่วนที่แรเงาหมายถึงส่วนแบ่งการตลาดของบริษัท “อุตสาหกรรมที่อยู่ในขั้นเติบโตจะมีโอกาสดีกว่า แต่หากไม่มีวิธีการดำเนินงานที่ดีก็ไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมได้” ดูรูป 7.5

  34. ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ • ความเป็นอิสระของผู้บริหารต่อสภาพแวดล้อมภายนอก • ทัศนคติของผู้บริหารต่อความเสี่ยง • ความรอบคอบของผู้บริหารที่มีต่อกลยุทธ์ในอดีต

More Related