180 likes | 315 Views
การประชุมสัมมนาระหว่างสำนักงาน ก . พ . ร . และผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO). กลุ่มที่ 2: ผู้แทน CCO กระทรวง / กรม. ประเด็นการสัมมนากลุ่มย่อย. การจัดให้ CCO เป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน เพื่อผลักดันการพัฒนาระบบราชการ เป็นกลไกที่เหมาะสมหรือไม่
E N D
การประชุมสัมมนาระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. และผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) กลุ่มที่ 2:ผู้แทน CCOกระทรวง/ กรม
ประเด็นการสัมมนากลุ่มย่อยประเด็นการสัมมนากลุ่มย่อย • การจัดให้ CCO เป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน เพื่อผลักดันการพัฒนาระบบราชการ เป็นกลไกที่เหมาะสมหรือไม่ • หากเป็นกลไกที่เหมาะสม ต้องมีปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะทำให้ CCO สามารถดำเนินการตามบทบาทในการเป็นผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างประสบความสำเร็จ
อุปสรรคในการสร้างระบบ CCO • ตำแหน่งของ CCO ควรเป็นระดับอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์การ ไม่ควรเป็นรองอธิบดี • ประธานในการประชุม CCO ควรเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อรับนโยบายโดยตรงจากผู้บริหารสูงสุดของประเทศ
อุปสรรคในการสร้างระบบ CCO 3. ควรมีความชัดเจนในยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง โดยมีสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นเจ้าภาพในการสร้างยุทธศาสตร์ที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับกำหนดทิศทางที่ชัดเจนให้กับ CCO 4. ควรมี Career Path ที่ชัดเจนสำหรับ CCO เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเป็นผู้นำให้กับ CCO เพื่อก้าวไปสู่ตำแหน่งอธิบดี
อุปสรรคในการสร้างระบบ CCO 5. แม้จะมีการวาง Career path ให้กับ CCO ที่ชัดเจน แต่ผู้ที่มีอำนาจในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง CCO ในกระทรวง/ กรมต่าง ๆ ควรตระหนักในประเด็นดังกล่าวด้วย 6. ควรมีความต่อเนื่องในการดำรงตำแหน่ง CCO กล่าวคือไม่ควรมีการเปลี่ยนบุคคลในตำแหน่ง CCO บ่อย เนื่องจากจะมีทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
อุปสรรคในการสร้างระบบ CCO 7. ผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายให้เป็น CCO ไม่เห็นความสำคัญของบทบาทตำแหน่ง CCO 8. การผลักดันผ่านผู้บริหารระดับกลางที่ทำงาน Core ขององค์การยังมีน้อย และมีทัศนคติที่เห็นว่าระบบ CCO เป็นภาระ
อุปสรรคในการสร้างระบบ CCO 9. ตำแหน่ง CCO สำนักงานปลัดและ CCO กระทรวงเป็นคนเดียวกัน จนทำให้มีงาน Overload อยู่ที่คน ๆ เดียว
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 1. การพัฒนาระบบราชการไทยควรมีเครื่องมือที่ขับเคลื่อนในเชิงบังคับ ซึ่งเป็นมาตรการเชิงลบ เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงระบบราชการ เช่น การกำหนดการมีส่วนร่วมในการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการเป็น KPI หนึ่งของ CCO เพื่อตรวจสอบการทำงานของผู้บริหาร
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 2. CCO ทำหน้าที่ในการเสนอนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนระบบราชการกับ CEO โดย CCO มีบทบาทในฐานะในการให้คำแนะนำและบอกแนวทาง/ วิธีการปรับเปลี่ยนให้กับสำนักและกองต่าง ๆ โดยมีทั้งรางวัลจูงใจและมาตรการเชิงลบเป็นตัวกำกับ เช่น การ Benchmarking จากระบบโบนัสขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 3. การสนับสนุนจากสำนักงาน ก.พ.ร. ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของตำแหน่ง CCO 4. สำนักงาน ก.พ.ร. ควรให้การสนับสนุนด้านอัตรากำลังให้กับทุกกระทรวงในการสร้างการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้ทุกส่วนราชการตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้าน CCO เป็นโครงสร้างที่ชัดเจนในกฎกระทรวง
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 5. ควรมีการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบราชการออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ • CEO ของกระทรวงเป็นผู้รับนโยบายจากรัฐบาล โดยมีสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยขับเคลื่อน • ผู้บริหารระดับกลาง ต้องมีการทำงานเป็นทีมเพื่อนำแผนไปปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงซึ่ง CCO ที่ได้รับมอบหมายต้องดำเนินการทำแผนและทำแผนให้เป็นจริง
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 6. มีการกำหนดสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การให้อัตรากำลังเพิ่ม 7. ควรมีการกำหนด Competency ของผู้ที่จะขึ้นเป็น CCO เช่นมีการสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์/ การแสดงวิสัยทัศน์ที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย เพื่อวัดศักยภาพ และเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง CCO
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 8. ควรมีการสร้างกลุ่มพัฒนาระบบการบริหารให้มีความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง CCO หรือ CEO โดยจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของการเป็นคณะกรรมการ 9. ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นเจ้าภาพประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่าแต่ละหน่วยงานมีปัญหาแตกต่างกันอย่างไร เพื่อนำผลไปสู่การกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 10. ควรมีการประเมินผลแต่ละหน่วยราชการ โดยเชื่อมโยงการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน 11. สำนักงาน ก.พ.ร. ควรวางตัว CCO ระดับกระทรวงที่ชัดเจนเพื่อประสานและสร้างเครือข่ายกับ CCO ระดับกรม
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 12. ขอให้เลขาธิการ ก.พ.ร. พบปะและเยี่ยมเยียนผู้บริหารของส่วนราชการที่รับผิดชอบ CCO ด้วย 13. เสนอแนะให้มีผู้ช่วย ที่มาแบ่งเบาภาระงานของ CCO ของสำนักงานปลัดกระทรวง
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 14. เสนอให้มีการบูรณาการยุทธศาสตร์ของส่วนราชการและคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 15. ควรให้อิสระหน่วยงานในการกำหนดตำแหน่ง CCO เอง เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษาประสิทธิภาพของกรมที่ดินที่มีบทบาทเป็น Change Agent
ข้อเสนอแนะในการสร้างความสัมฤทธิ์ผลของระบบ CCO 16. มีระบบการประเมินผลจากผลงานของ CCO ที่มีผลต่อการประเมินบุคคล
ข้อเสนอแนะ: Model ระบบ CCOในฝัน กำหนดเป้าหมาย/ทิศทาง รัฐบาล • มีการสื่อสารจากบนลงล่าง • มีคู่มือ • มีการใช้มาตรการเชิงลบกับ CCOโดยมี ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานผู้กำกับ