1.24k likes | 3.11k Views
การจำแนกประเภท วัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารผสม. อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่. วัตถุดิบอาหารสัตว์ ( Feedstuffs).
E N D
การจำแนกประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารผสมการจำแนกประเภทวัตถุดิบอาหารสัตว์และอาหารผสม อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่
วัตถุดิบอาหารสัตว์ (Feedstuffs) • หมายถึง สารอาหารใดๆที่ให้โภชนะ ที่สัตว์กินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ โดยวัตถุดิบอาจได้มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น พืช, สัตว์ หรือ อาจจะได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี เช่น กรดอะมิโน เป็นต้น ซึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดมีคุณค่าทางโภชนะและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกันไป
การจำแนกประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตว์การจำแนกประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตว์ • จำแนกตามส่วนประกอบทางเคมีในอาหาร แบ่งได้ 6 ประเภท คือ • คาร์โบไฮเดรทเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H และ O เป็นส่วนประกอบประมาณ 3 ใน 4 ส่วน เป็นอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งแบ่งตามการย่อยได้ 2 ประเภทคือ • Nitrogen free extract (NFE) เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่าย เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น • Crude fiber เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ยาก มีส่วนประกอบของ Cellulose เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ หญ้า และ ถั่วอาหารสัตว์
โปรตีนเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H,O,N และธาตุอื่นๆอยู่ด้วยเช่น Fe, P เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับสัตว์ อาหารโปรตีนแบ่งได้ 2 พวกคือ • โปรตีนที่ได้จากพืช เช่น ถั่วต่างๆ, ใบกระถิน เป็นต้น • โปรตีนที่ได้จากสัตว์ เช่น ปลาป่น, เนื้อป่น, เลือดป่น เป็นต้น • ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรทแต่ไขมันให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรทถึง 2.25 เท่า แหล่งของอาหารไขมันได้แก่ • ไขมันพืช เช่น เมล็ดฝ้าย, เมล็ดถั่วเหลือง เป็นต้น • ไขมันสัตว์ เช่น ไขวัว, ไขมันหมู เป็นต้น
แร่ธาตุเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างกระดูก และส่วนต่างๆของร่างกาย แร่ธาตุที่เป็นอาหารสัตว์ได้แก่ Na, K, Ca, Mg, P, Cl, I, S, Cr, Mn, Fe, Cu, Zn ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้มาจาก เปลือกหอย, หินปูน, กระดูกป่น, เกลือ เป็นต้น • วิตามินเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับสัตว์ ช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ Vitamin B complex, C • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ VitaminA, D, E และ K • น้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสัตว์มาก ซึ่งหากสัตว์ขาดน้ำมักจะตายก่อนสัตว์ที่อดอาหาร โดยสัตว์ได้รับน้ำ 3 ทางด้วยกันคือ • จากการดื่มโดยตรง, จากอาหาร และจากขบวนการเมทาบอลิซึมในร่างกาย
การจำแนกประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตว์การจำแนกประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตว์ • จำแนกตามจำนวนโภชนะที่ย่อยได้ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ • อาหารหยาบหมายถึง อาหารที่มีความเข้มของโภชนะอยู่ต่ำ มีเยื่อใยในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่พืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่วทั่วๆ ไป • เยื่อใย >18% CF
การแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะคุณภาพของอาหารการแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะคุณภาพของอาหาร • แบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้ • - อาหารหยาบคุณภาพต่ำ (โปรตีนไม่เกิน 5%) ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าหลังการเก็บเมล็ด ยอดอ้อย ต้นข้าวโพดหวาน และหญ้าที่มีอายุการตัดเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไป • - อาหารหยาบคุณภาพปานกลาง (โปรตีน 5-7%) ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆที่อายุการตัดไม่เกิน 8 สัปดาห์ • - อาหารหยาบคุณภาพดี (โปรตีน 10%ขึ้นไป) ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆที่อายุการตัดไม่เกิน 6 สัปดาห์, เปลือกและไหมข้าวโพด และ ถั่วอาหารสัตว์
การแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะของอาหารที่ให้แก่สัตว์การแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะของอาหารที่ให้แก่สัตว์ • - อาหารหยาบสด (green roughage)เป็นพืชที่มีความชื้นสูงประมาณ 70-85% ได้แก่ • พืชตระกูลหญ้า เช่น หญ้ากินนี, หญ้ารูซี่, หญ้าขน, หญ้าเนเปียร์ ฯลฯ • พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฮามาต้า, ถั่วคาวาลเคด, ถั่วเซนโตร ฯลฯ • พืชชนิดอื่นๆ เช่น ผักตบชวา, ต้นข้าวโพด, ต้นข้าวฟ่าง ฯลฯ • - อาหารหยาบแห้ง (dry roughage)เป็นพืชอาหารสัตว์ที่ผ่านการลดความชื้น เช่น การตากแดด หรือ การอบความร้อนให้เหลือความชื้นไม่เกิน 15% วัตถุประสงค์คือเพื่อเก็บถนอมอาหารไว้ในยามขาดแคลน เช่น หญ้าแห้ง, ถั่วแห้ง, ฟางข้าว เป็นต้น • - อาหารหยาบหมัก (ensile roughage) เป็นพืชอาหารสัตว์ที่นำเข้าสู่กระบวนการหมักในหลุมสภาพไร้อากาศ ซึ่งขบวนการหมักจะเสร็จสมบูรณ์ที่อายุการหมัก 21 วัน และจะมีความชื้นประมาณ 70-75%, pH ประมาณ 4.2
อาหารข้น (concentrate) • หมายถึงอาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะอยู่สูง มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยอยู่ในปริมาณที่ต่ำ เมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถย่อยได้มาก • ส่วนใหญ่ได้จากทั้งพืชและสัตว์ เช่น ปลาป่น เนื้อป่น ปลายข้าว รำละเอียด มันเส้น รวมไปถึงอาหารผสมสำเร็จรูปที่บริษัทผลิตและจำหน่ายด้วย • แบ่งได้ 2 ชนิด ดังนี้
อาหารข้น (Concentrate) • วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทพลังงาน • เยื่อใย <18% CF, โปรตีน <20% CP, TDN >70% • วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน • เยื่อใย <18% CF, โปรตีน >20% CP, TDN <70%
วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทพลังงานวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทพลังงาน • มันสำปะหลัง หรือ มันเส้น ( Cassava, Cassava root) • เป็นพืชหัวที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ทั้งในรูปของมันเส้น กากมันสำปะหลัง • มันสำปะหลังมีพลังงานค่อนข้างสูง มี TDN 90% เยื่อใยประมาณ 3.4% ไขมันประมาณ 0.8% โปรตีนประมาณ 2.0% • ในหัวมันและใบมันสดมีกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) ซึ่งมีความเป็นพิษต่อสัตว์ แต่สามารถทำลายหรือลดความเป็นพิษได้โดยความร้อนโดยการผึ่งแดด อาการของสัตว์ที่ได้รับสารพิษจากมันสำปะหลังจะคล้ายๆ กับอาการเป็นพิษจากการได้รับยูเรียในปริมาณมาก
ปลายข้าว (broken rice) • ปลายข้าว เป็นวัตถุดิบที่สามารถใช้เป็นอาหารได้เลยไม่ต้องนำมาบดหรือทำให้ละเอียดก่อน • มีโปรตีน 8% และ TDN 85% ย่อยง่าย เก็บไว้ได้นาน ปลายข้าวเหนียวมีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับข้าวเจ้า แต่ปลายข้าวเหนียวอาจทำให้ท้องผูกได้
รำข้าว (Rice bran) • เป็นผลพลอยได้จากการสีข้าว สามารถแบ่งแยกออกได้หลายชนิด เช่น รำหยาบ รำละเอียด นอกจากนี้ยังมีการนำรำละเอียดไปทำการสกัดน้ำมันรำข้าว กากที่เหลือเรียกว่ากากรำ หรือรำสกัดน้ำมัน • รำหยาบมีส่วนของเปลือกนอกติดกับเมล็ดข้าว (Bran) ส่วนของจมูกข้าว (germ) ส่วนของปลายข้าว (broken rice) ส่วนของเมล็ดข้าว (endosperm) และอาจมีส่วนของแกลบปนมาบ้าง รำหยาบมีเยื่อใยและซิลิกาค่อนข้างสูง TDN 72% มีโปรตีนประมาณ 7-8% เยื่อใยประมาณ 13% และมีไขมันประมาณ 10%
รำละเอียด ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว ปลายข้าวและมีแกลบปนเล็กน้อย มียอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 86% มีโปรตีนประมาณ 12% มีไขมันค่อนข้างสูงประมาณ 12 - 13% • รำสกัดน้ำมัน ได้จากการนำรำละเอียด หรือรำสดไปสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี กากรำที่ได้มีโปรตีนสูงประมาณ 14 - 15% เยื่อใย 13 - 15% ยอดโภชนะย่อยได้ประมาณ 61%
ข้าวโพด (Corn) • เมล็ดข้าวโพดมีแป้งประมาณ 65% มี TDN ประมาณ 80% มีไขมันประมาณ 3 - 6% มีเยื่อใยประมาณ 2 - 3% มีโปรตีน 8 % • การใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ควรบดก่อน แต่ไม่ควรบดละเอียดจนเกินไป ข้าวโพดที่บดแล้วจะเก็บไว้ได้นานต้องมีความชื้นไม่เกิน 12% ข้าวโพดใช้ผสมอาหารได้ดีถึง 70 - 80%
ข้าวฟ่าง (sorghum) • มีโปรตีนประมาณ 11% TDN 70-80% • เป็นโปรตีนคุณภาพต่ำไม่เป็นประโยชน์ต่อสัตว์กระเพาะเดี่ยวนัก • ในข้าวฟ่างมีสารแทนนิน (tannin) ซึ่งจะทำให้การใช้ประโยชน์ได้ของอาหารลดลงและทำให้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตลดลง • ข้าวฟ่างเมล็ดขาวและเมล็ดเหลืองจะมีปริมาณสารแทนนินน้อย กว่าข้าวฟ่างเมล็ดแดง และข้าวฟ่างอ่อนจะมีแทนนินมากกว่าข้าวฟ่างแก่
กากน้ำตาล (Molasses) • กากน้ำตาลจากโรงงานน้ำตาลมีคุณค่าพลังงานสูง นิยมใช้ในส่วนผสมอาหารข้นเพื่อเพิ่มความน่ากิน ช่วยในการอัดเม็ดอาหารได้ดีขึ้น มักใช้ร่วมกับการใช้ยูเรีย • มีTDN 55 - 75% มีโปรตีนประมาณ 3 - 7% มีน้ำตาลมากกว่า 48% ไม่ควรใช้เกิน 15% ในโคที่โตเต็มที่ ส่วนสำหรับลูกโคไม่ควรเกิน 8% เพราะอาจทำให้สัตว์เกิดอาการท้องร่วง
ไขมัน (fat or oil) • ใช้ผสมในอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มระดับพลังงานให้สูงขึ้น • ไขมันมีพลังงานสูงกว่า คาร์โบไฮเดรทถึง 2.5 เท่า • ช่วยลดความฟ่ามของอาหาร และทำให้อาหารอัดเม็ดง่าย แต่มีปัญหาคือทำให้อาหารหืนง่าย • ถ้าใช้เกิน 5% ในสูตรอาหาร TMR จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก ซึ่งแหล่งของไขมันได้แก่ ไขมันวัว น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันรำข้าว เป็นต้น
วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน • แหล่งโปรตีนจากพืช • วัตถุดิบอาหารประเภทโปรตีนที่ได้จากพืชเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้อย่างแพร่หลายในการประกอบสูตรอาหารสัตว์ • มีจุดด้อยคือ คุณภาพโปรตีนจะด้อยกว่าวัตถุดิบอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ แต่ก็มีข้อดีคือไม่ทำให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีกลิ่นคาว
กากมะพร้าว(Coconut meal) • ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวจากเนื้อมะพร้าวแห้ง ไม่มีส่วนของกะลา แต่อาจมีส่วนของเปลือกชั้นในติดมาบ้าง • เนื้อในมะพร้าวเมื่อแยกเอาน้ำมันออกแล้วจะเหลือส่วนของกากประมาณ 30 - 40% มีน้ำมันอยู่ประมาณ 8% • กากมะพร้าวจะมีโปรตีนประมาณ 21% เยื่อใยประมาณ 15% กากมะพร้าวที่ดีควรมีสีค่อนข้างขาวนวล หรือสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอม
กากเมล็ดปาล์ม (Palm seed meal) • เป็นผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม มี 2 ชนิด คือ • กากปาล์มทั้งเมล็ด (ไม่กระเทาะเปลือก) กากปาล์มชนิดนี้มีโปรตีนต่ำ ประมาณ 5 - 6% มีโภชนะย่อยได้ประมาณ 62 - 67% และมีเยื่อใยสูงมาก • กากปาล์มเนื้อใน (กระเทาะเปลือก หรือกะลาออกก่อนแล้ว) มีโปรตีนสูงกว่า คือประมาณ 19-21% มีโภชนะย่อยได้ประมาณ 76% • ใช้ได้ไม่เกิน 30% ในสูตรอาหารข้นโคนม
กากเมล็ดทานตะวัน (Sunflower meal) ได้จากโรงงานสกัดน้ำมันทานตะวันจากเมล็ดทานตะวัน มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดน้ำมัน คือ • ชนิดสกัดน้ำมันทั้งเมล็ด มีโปรตีนประมาณ 26% เยื่อใย 23.7% ไขมัน 4.5% โภชนะย่อยได้ 66% • ชนิดที่สกัดน้ำมันจากเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว มีโปรตีนประมาณ 34% เยื่อใย 13% ไขมัน 14% โภชนะย่อยได้ 80% • ชนิดที่สกัดน้ำมันด้วยสารเคมีจากเมล็ดที่กระเทาะเปลือกแล้ว มีโปรตีนสูงถึงประมาณ 41% เยื่อใย 16% ไขมัน 4% และโภชนะย่อยได้ 70%
กากถั่วเหลือง(Soybean meal) • เป็นผลพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง มี 2 ชนิด คือ • กากถั่วเหลืองที่ได้จากขบวนการอัดน้ำมันและกากถั่วเหลือง ที่ได้จากขบวนการสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี • มีโปรตีน 44% และมีไขมันอยู่ประมาณ 1% มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสต่ำ • ในกากถั่วเหลืองดิบจะมีสาร trypsin inhibitor ทำให้การย่อยได้ลดลง • กากถั่วเหลืองที่ได้รับความร้อนสูงเกินไปจะทำให้การย่อยได้ของไลซีนลดลง ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ • มักพบว่ามีการปลอมปนด้วย รำ ซังข้าวโพดบด ดังนั้นในการจัดซื้อต้องระวังและมีการตรวจสอบให้ดี
กากเมล็ดฝ้าย (Cotton seed meal) • กากเมล็ดฝ้ายชนิดไม่กะเทาะเปลือกมีโปรตีนสูงประมาณ 28%, ไขมัน 5%, เยื่อใย 22% • กากเมล็ดฝ้ายชนิดกะเทาะเปลือกมีโปรตีนสูงประมาณ 42%, ไขมัน 6%, เยื่อใย 11% • สารกอสซิปอล (Gossypol) ในเมล็ดฝ้ายจะเป็นพิษต่อสัตว์ ถ้าสัตว์ได้รับมากอาจจะถึงตาย • โค และ กระบือ สามารถใช้เมล็ดฝ้ายผสมอาหารในระดับไม่เกิน 25% ในสูตรอาหารข้น
ใบกระถินป่น (Lucaena) • ใบกระถินป่นมีโปรตีนประมาณ 15-25% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใบกระถินนั้นจะมีก้านหรือกิ่งปนมามากน้อยเพียงใด • ใบกระถินแห้งล้วนๆจะมีโปรตีนประมาณ 25% และมีเยื่อใยต่ำ • ในใบกระถินมีสารพิษที่เรียกว่าไมโมซีน (mimosine) และมีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามินเอ และสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารให้สีสำหรับไข่แดงและเนื้อสัตว์ • การลดสารพิษในใบสดทำได้โดยตากแห้ง หรือสับและแช่ใบสดในน้ำนาน 24 ชั่วโมง แล้วผึ่งให้แห้ง • ใบกระถินป่นสามารถใช้ในสูตรอาหารสุกรหรือสัตว์ปีกได้ไม่เกิน 4 % และในโคโดยส่วนใหญ่แล้วใช้ 10-15% หรือไม่เกิน 30% ในสูตรอาหารข้น
ใบมันสำปะหลัง (Casava leaves) • ใบมันสำปะหลังที่มีคุณภาพดี ควรมีสีเขียวและแห้งสนิทซึ่งจะมีโปรตีนประมาณ 21-25% • ใบมันสำปะหลังสดมีสารพิษคือกรดไฮโดรไซยานิค (HCN) จึงควรตากแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้เพื่อลดปริมาณสารพิษ • ใช้ผสมในอาหารข้นได้สูง 30% ในสูตร แต่โดยทั่วไปมักใช้ระดับ 10 - 15% ในสูตรร่วมกับแหล่งโปรตีนชนิดอื่น • ใบมันสำปะหลังสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกหลัง 6 เดือนแล้วมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้โดยไม่กระทบต่อผลผลิตหัว และสามารถเก็บได้ 1-2 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวหัวมัน
ยูเรีย (Urea) • มีโปรตีนระดับสูงมาก (287.5%) สัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถใช้ประโยชน์จากยูเรียได้โดยอาศัยจุลินทรีย์ในกระเพาะหมัก • ยูเรียหรือปุ๋ยยูเรีย (46 -0 - 0) มีลักษณะเป็นเม็ดกลมสีขาวเล็ก รสเฝื่อน ใช้ผสมอาหารข้นไม่เกิน 3% ของสูตรอาหาร • ไม่ควรใช้ยูเรียผสมอาหารเลี้ยงสัตว์กระเพาะเดี่ยว หรือลูกโคที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะกระเพาะหมักยังพัฒนาไม่เต็มที่ซึ่งอาจเกิดพิษต่อสัตว์ได้ • เมื่อมีการใช้ยูเรียในสูตรอาหารควรผสมกำมะถันในอัตราส่วน ยูเรียต่อกำมะถันเท่ากับ 13.5 : 1
วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีนวัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทโปรตีน • แหล่งโปรตีนจากสัตว์ • ส่วนใหญ่แล้ววัตถุดิบโปรตีนจากสัตว์มักจะเป็นผลพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ปลาป่น เนื้อป่น เนื้อและกระดูกป่น ขนไก่ป่น นมและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น • วัตถุดิบโปรตีนจากสัตว์มักจะมีคุณภาพสูงกว่าวัตถุดิบโปรตีนจากพืช เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นปริมาณมากและสมดุลกว่าแหล่งโปรตีนจากพืช
ปลาป่น (Fish meal) • ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ให้โปรตีนสูงและมีคุณภาพดี มีสัดส่วนของกรดอะมิโน เมทไธโอนีน และ ไลซีนอยู่สูง มีแร่ธาตุCaและPสูง และมีวิตามินBสูง โดยเฉพาะไวตามิน B2 และ B12 • ปลาป่นเกรด 1 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60% • ปลาป่นเกรด 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55% • ปลาป่นเกรด 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50% • การใช้ปลาป่นระดับสูงเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์จะมีผลทำให้เนื้อสุกร หรือไข่ไก่มีกลิ่นคาวปลาด้วย
ขนไก่ไฮโดรไลซ์ (Hydrolyzed Feather Meal) • ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ ผลิตโดยนำขนไก่มาย่อยด้วยกรด ภายใต้ความดันสูง • มีโปรตีนสูงประมาณ 85-87 % แต่สัตว์ไม่สามารถย่อยได้ง่ายๆ และเนื่องจากคุณภาพโปรตีนต่ำและกรดอะมิโนที่สำคัญน้อยจึงแนะนำให้ใช้ไม่เกิน 5% ในสูตรอาหารสุกร
เลือดป่น (blood meal) • ได้จากการเอาเลือดซึ่งเป็นเศษเหลืออีกชนิดหนึ่งจากโรงฆ่าสัตว์ มานึ่งจากนั้นจึงอบให้แห้ง แล้วป่นละเอียด หรือ ใช้วิธี spray dry • ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีโปรตีนประมาณ 85-90% มี ไลซีน และ ทริปโตเฟนสูง แต่มีเมทไธโอนีน และ ไอโซลิวซีนต่ำมาก • ใช้ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีก 5% ของสูตรอาหาร และการใช้เลือดป่นในสัตว์ที่ระดับสูงเกินไปอาจทำให้สัตว์ท้องเสียได้
แกลบกุ้ง (Shrimp meal) • ประกอบด้วยหัวกุ้งและเปลือกกุ้งเป็นส่วนใหญ่ มีโปรตีนประมาณ 30-50% • มีเกลือสูง มีธาตุแคลเซียมสูงและฟอสฟอรัสที่ใช้ประโยชน์ได้ต่ำ • ถ้าใช้ในปริมาณมากในสุกรอาจทำให้สุกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแคลเซียมและฟอสฟอรัสได้ ทำให้แสดงอาการขาดแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีอาการขี้เรื้อน (parakeratosis) ได้ • ไม่ควรใช้เกิน 10% ในสูตรอาหาร
หางนม (skim milk, whey) • หางนมคือน้ำนมส่วนที่ผ่านขบวนการเหวี่ยงแยกครีมออกไปแล้วมาทำให้แห้ง • มีโปรตีนประมาณ 36% และมี TDN 85% ใช้ผสมในอาหารสัตว์วัยอ่อน
เนื้อและกระดูกป่น (meat and bone meal) • ได้จากเศษเนื้อ เอ็น พังผืด และเครื่องในสัตว์ • มีโปรตีนประมาณ 45-50% • มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสอยู่สูง • ใช้ในอาหารสุกรไม่เกิน 10%
อาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุอาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุ • พรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของแร่ธาตุรองหรือแร่ธาตุปลีกย่อย เมื่อใช้ 2-5กก./ตัน ต้องเสริม กระดูกป่น หรือไดแคลเซียมฟอสเฟตและเกลืออย่างละ 10 - 20 กก./ตัน • แร่ธาตุสำเร็จรูป มีแร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรองครบถ้วนใช้ผสมอาหาร 30-50 กก./ตัน (3-5%) โดยไม่ต้องเสริมกระดูก และเกลือป่น • นอกจากแร่ธาตุทั้ง 2 ประเภทแล้ว ยังมีวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งเสริมอาหารแร่ธาตุ ดังเช่น
เกลือ ใช้เป็นแหล่งของธาตุโซเดียมและคลอรีน นิยมใช้ในรูปเกลือป่น เกลือจะช่วยเพิ่มรสชาติและความน่ากินของอาหารให้มากขึ้นใช้ไม่เกิน 1% ถ้าใช้มากจะทำให้โคท้องเสีย ถ้าขาดพบว่าการเจริญเติบโตและให้นมน้อยกว่าปกติ • กำมะถันผงมีลักษณะเป็นผงสีเหลืองอ่อนอาหารข้นทุกสูตรที่มียูเรียเป็นแหล่งโปรตีนจะต้องเติมกำมะถันผงลงไป ด้วยประมาณ 0.1-0.2% เพื่อช่วยให้การใช้ประโยชน์ของยูเรียดีขึ้น การผสมกำมะถันผงลงในอาหารข้นต้องผสมให้เข้ากันอย่างทั่วถึง เพื่อให้อาหารข้นมีคุณภาพดี และสัตว์ทุกตัวได้รับเท่าๆ กัน
วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ (Feed additive) • หมายถึง วัตถุที่ปกติไม่ไดใชเปนอาหารสัตว หรือเป็นส่วนประกอบอาหารสัตว์ ไมวาจะมีคุณค่าทางโภชนาการหรือไมก็ตาม แต่ใชเติมในอาหารสัตว์เพื่อประโยชนทางเทคโนโลยีในการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลตอคุณภาพหรือมาตรฐาน หรือลักษณะของอาหารสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ โดยสามารถจำแนกประเภทตามวัตถุประสงค์ที่ใช้คือ
เพื่อความคงทนของอาหาร ได้แก่ สารเหนียวหรือสารประสานอาหาร จำเป็นอย่างยิ่ง ในการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำที่กินอาหารช้าๆ เช่น กุ้ง • เพื่อเพิ่มความน่ากินของอาหาร ได้แก่ สารแต่งกลิ่นอาหาร เป็นสารช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของอาหารให้มีความน่ากินมากขึ้น เช่น ปลากินเนื้อจะชอบกลิ่นของเนื้อกุ้ง โคนม ชอบกลิ่นวานิลา • เพื่อป้องกันการหืน ในการทำอาหาร มักเติมสารเคมีเพื่อกันหืนในอาหารนั้นด้วย Butylate hydroxy toluene (BHT), Butylate hydroxyl anisole (BHA)หรือ Vitamin E • เพื่อป้องกันเชื้อรา สารป้องกันเชื้อราได้แก่ กรดโพพิโอนิก (propionic acid) หรือ Benzoate • เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ได้แก่ ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือ ยาปฏิชีวนะ
อาหารผสม • หัวอาหาร (concentrate feed)หมายถึง อาหารที่มีองค์ประกอบของโภชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ในปริมาณที่สูง เพื่อนำไปผสมกับส่วนผสมหรือวัตถุดิบอาหารพลังงานอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก ตามปริมาณที่ผู้ผลิตระบุบนถุงบรรจุแล้วจึงใช้เลี้ยงสัตว์ได้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปผงละเอียด • อาหารผสมชนิดสำเร็จรูป (completed feed)หมายถึง อาหารที่มีองค์ประกอบของโภชนะครบถ้วนสามารถนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้ทันที ตามชนิด อายุ หรือขนาดของสัตว์เลี้ยงตามที่ระบุบนถุงบรรจุ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปอัดเม็ด (pellet) โดยมีการควบคุมผู้ผลิตให้ผลิตอาหารสัตว์ ให้มีปริมาณของสารอาหารย่างเพียงพอตามที่ระบุไว้ที่กระสอบบรรจุอาหาร