590 likes | 977 Views
บทที่ 5 การวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์. สามารถจำแนกแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ได้ 3 ประการ ดังนี้ 1. การวางแผนเป็นองค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญของการการจัดการทรัพยากรมนุษย์
E N D
บทที่ 5 การวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ • สามารถจำแนกแนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ได้ 3 ประการ ดังนี้ • 1. การวางแผนเป็นองค์ประกอบแรกที่มีความสำคัญของการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ • 2. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อองค์การ ได้แก่ ปัจจัยแวดล้อมภายนอกและภายในองค์การ • 3. การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่ต้องมีการปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลด้านกำลังคน การพยากรณ์อุปสงค์และอุปทาน การวิเคราะห์ข้อมูลการใช้กำลังคน การพยากรณ์ปัญหาการใช้กำลังคน การจัดทำแผนกำลังคน และการนำแผนมาปฏิบัติ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
International Personnel ManagementAssociation (IPMA) การวางแผนกำลังคน คือ การวางกลยุทธ์ด้านกำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพกำลังคนขององค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับความต้องการกำลังคนในอนาคตว่ามีส่วนต่างของความต้องการอย่างไร เพื่อที่จะพัฒนาหรือวางแผนดำเนินการให้องค์กรบรรลุภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ความหมายของการวางแผนกำลังคน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
THE STATE OF TEXAS การวางแผนกำลังคน คือ กระบวนการที่เป็นระบบในการกำหนดความต้องการทุนมนุษย์ เพื่อมาทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้บรรลุความต้องการดังกล่าว ความหมายของการวางแผนกำลังคน (ต่อ) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
AUSTRALIA Workforce Planning is… “Having the right people with the right skills doing the right jobs at the right time” ที่มา: www.dpc.wa.gov.au/psmd ความหมายของการวางแผนกำลังคน (ต่อ) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
สำนักงาน ก.พ.การวางแผนกำลังคน หมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์และพยากรณ์เกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานด้านกำลังคน เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลวิธีที่จะให้ได้กำลังคนในจำนวนและสมรรถนะที่เหมาะสมมาปฏิบัติงานในเวลาที่ต้องการ โดยมีแผนการใช้และพัฒนากำลังคนเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อธำรงรักษากำลังคนที่เหมาะสมไว้กับองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความหมายของการวางแผนกำลังคน (ต่อ) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนกำลังคน • ปริมาณ • คุณภาพ คงกรอบอัตรารวมข้าราชการ 384,000 สรรหา น้ำดี เกษียณ 60 ปี Early Retire ตาย ลาออก น้ำนิ่ง พนักงานราชการ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
วัตถุประสงค์ของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์วัตถุประสงค์ของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ • 1. เพื่อสามารถตอบสนองต่อทิศทางการบริหารงานขององค์การ • 2. เพื่อความแน่นอนในการจ้างงานอันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน • 3. เพื่อป้องกันแรงงานที่ทีความรู้ความสามารถลาออกจากองค์การ(สมองไหล) • 4. เพื่อการสร้างรูปแบบการวางแผนกำลังคน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์ • วางแผนกำลังคนออกเป็น 2 ระดับได้แก่ วัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานและวัตถุประสงค์ชั้นสูง • วัตถุประสงค์ขั้นพื้นฐานหมายถึงความมุ่งหมายที่เป็นปฐมเหตุแห่งการวางแผนงานด้านกำลังคนประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้ • 1. การวางแผนด้านบุคลากรภาครัฐ • - เพื่อ สนองตอบต่อความต้องการของประชาชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชน เช่นการจัดอำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน การชำระภาษี การทำบัตรประชาชน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ)ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ) • 2 . การวางแผนด้านบุคลากรภาคธุรกิจเอกชน • - เพื่อสนองต่อการมีผลกำไรจากการประกอบธุรกิจ • 3. การวางแผนส่วนบุคคล • - เพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง : การวางแผนพัฒนาตนเอง โดยการฝึกอบรม การพัฒนาและการศึกษาต่อ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ)ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ) • 2.วัตถุประสงค์ขั้นสูง • 2.1 การวางแผนระดับมหภาค • 2.1.1 ภาครัฐ วางแผนภาพรวมทั้งประเทศ เช่น • - แผนการลดกำลังคน(เกษียณก่อนกำหนด) • - แผนการพัฒนาบุคลากรอาชีพการฝึกอบรม(โครงการต้นกล้าอาชีพ) • - แผนการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับนานาชาติ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ)ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ) • 2.วัตถุประสงค์ขั้นสูง (ต่อ) • 2.1 การวางแผนระดับมหภาค(ต่อ) • 2.1.2 ภาคเอกชน การวางแผนเพิ่ม / ลดกำลังคน การพัฒนาบุคลากร การเลิกจ้าง • 2.2. การวางแผนระดับจุลภาคหมายถึง การวางแผนกำลังคนระดับหน่วยงานประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ • 1) การสำรวจและวิเคราะห์กำลังคนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันในด้านโครงสร้าง ด้านการเคลื่อนไหวกำลังคน และด้านทัศนคติ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ)ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ) • 2) การพยากรณ์กำลังคน หมายถึง การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในด้าน • เชิงปริมาณและคุณภาพ • ด้านอุปสงค์และอุปทานในอนาคต • 3. วางแผนการใช้กำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด • 4. การวางแผนพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในสายงานอาชีพ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ)ระดับของวัตถุประสงค์(ต่อ) • 5. วางแผนสร้างระบบข้อมูลด้านกำลังคน (HRIS) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ปัญหาในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ปัญหาในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1.ปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมกระทำได้ยาก • 2. ปัญหาข้อมูลสถิติด้านพนักงานที่ถูกต้องและชัดเจน • 3. ปัญหาด้านการขาดแคลนงบประมาณ • 4.ปัญหาการขาดนโยบายที่ชัดเจน • 5.ปัญหาที่เกิดจากผู้บริหารขาดความสนใจในด้านการวางแผนกำลังคน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ • 1. หลักความต้องการกำลังคน • 1.1 ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนทั้งหมดในปัจจุบันและในอนาคต • 1.2 ประเมินความรู้ความสามารถของกำลังคนที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน(หาจุดแข็งจุดอ่อน) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 1.3 ประเมินกำลังคนที่ยังขาดแคลนและมีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต • 1.4 ประเมินอัตราความต้องการกำลังคนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายงานหรือการได้รับมอบหมายเพิ่มในแต่ละปี • 1.5 คาดการณ์อัตราการสูญเสียกำลังคนที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ในแต่ละปี เช่น การโอน การย้ายออก การเกษียณอายุ และการลาออก เป็นต้น • 1.6 คาดการณ์ความต้องการกำลังคน (อุปสงค์ด้านกำลังคน) ในรอบระยะเวลาจำนวน 5 ปี หรือ 10 ปี บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 2. หลักการให้ได้มาซึ่งกำลังคนที่ต้องการ • 2.1 พิจารณาอัตรากำลังการผลิตและแรงงานทั้งหมดเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยสถาบันการศึกษาในปัจจุบัน • 2.2 พิจารณาอัตราการผลิตแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้ในแต่ละปี • 2.3 คาดการณ์จำนวนแรงงานจะเข้าสู่ตลาดแรงงานที่จะผลิตได้ (อุปทานด้านกำลังคน) ตลาดแรงงานรวม ได้ในรอบระยะเวลา 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 3. หลักการใช้กำลังคน เป็นหลักการวางแผนเพื่อให้การใช้กำลังคนที่มีอยู่ในหน่วยงานได้ประโยชน์สูงสุด • 3.1 ทำการสำรวจ วิเคราะห์และประเมินความรู้ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่ในองค์การในปัจจุบันเพื่อวางแผนบรรจุบุคคลให้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)หลักการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 3.2 วางแผนพัฒนาหรือโครงการฝึกอบรมพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีสมรรถภาพ สูงขึ้นเพื่อเป็นการเพิ่มจุดแข็งและลดจุดอ่อนของพนักงานโดยพิจารณาข้อมูลจากการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านกำลังคน • 3.3วางแผนใช้กำลังคนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของแต่ละคน รวมทั้งการใช้กำลังคนให้มีความหลากหลายหน้าที่ (multiple jobs) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1. ทำให้องค์การสามารถดำเนินงานด้านบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในอนาคต • 2. ทำให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมั่นคงท่ามกลางสภาพสังคมที่มีเปลี่ยนแปลง • 3. ทำให้องค์การมีแผนดำเนินการอย่างละเอียด ที่จะปฏิบัติงานด้านบุคคลอย่างมีขั้นตอน เช่น การ สรรหาการคัดเลือก การโอนย้าย การเลื่อนตำแหน่ง บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ลักษณะของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1. มีลักษณะเป็นกระบวนการ • หมายความว่าการวางแผนจะต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนเพื่อการสรรหาและคัดเลือก การบรรจุเป็นพนักงาน การจ่ายค่าตอบแทน จนกระทั่งการวางแผนเมื่อพนักงาน พ้นจากงาน • 2. มีลักษณะเป็นการคาดคะเนอุปสงค์ด้านกำลังคน • หมายถึงคาดการณ์ถึงอุปสงค์หรืออาจจะเรียกว่าความต้องการพนักงานในอนาคต บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ลักษณะของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 3. มีลักษณะเป็นการกำหนดวิธีการที่จะได้มาซึ่งพนักงาน • 4. มีลักษณะการกำหนดกิจกรรมการจัดการด้านบุคคล • 5. มีลักษณะการกำหนดตำแหน่งและอัตราค่าตอบแทน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง • 2. โครงสร้างของหน่วยงานต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงและสลับซับซ้อนมากขึ้น • 3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม • 4. การแข่งขันในตลาดแรงงานโดยเฉพาะสาขาที่ขาดแคลน • 5. เพื่อให้องค์การมีความพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ความจำเป็นในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 6. กระแสโลกาภิวัตน์ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (Globalization & Technology) • 7.สังคมแห่งการเรียนรู้( Knowledge -based Society) • 8.แนวทางในการจัดการสมัยใหม่(New Public Management) • 9.การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี(Good Governance) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ตัวอย่างภาครัฐมีความจำเป็นต้องวางแผนกำลังคนเนื่องจาก (ต่อ) บทบาทภาครัฐเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคม การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนโครงสร้างประชากร - ข้าราชการ เส้นทางก้าวหน้าของข้าราชการเปลี่ยนแปลง การจ้างกำลังคนภาครัฐมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
สัดส่วนในการวางแผนกำลังภาครัฐสัดส่วนในการวางแผนกำลังภาครัฐ Other 7% Recruitment 11% Retirement 48% Restructure 17% Retention 17% บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ที่มา: www.doer.state.mn.us/wfplanning (workshop at the 2001)
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1. ช่วยให้องค์การสามารถวางแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้กิจกรรมด้านทรัพยากรมนุษย์และเป้าหมายขององค์การในอนาคตมีความสอดคล้องกัน • 2. ช่วยในกิจกรรด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างมีระบบและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน • 3. ช่วยให้การจ้างพนักงานใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 4. เป็นการเตรียมการให้ได้พนักงานใหม่เป็นไปตามความต้องการของแผนหรือฝ่ายต่างๆ • 5. ส่งเสริมและพัฒนาโอกาลความเท่าเทียมกันของพนักงานในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ • 6. เป็นแนวทางสำหรับองค์การที่มีหน้าที่ผลิตจะได้ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประโยชน์ของการวางแผนกำลังคนภาครัฐประโยชน์ของการวางแผนกำลังคนภาครัฐ สร้างความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการทรัพยากรบุคคล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของหน่วยงาน ช่วยให้หน่วยงานสามารถจัดจำนวน ประเภท และระดับทักษะ ของกำลังคนให้เหมาะสมกับงานในระยะเวลาที่เหมาะสม ประโยชน์ของการวางแผนกำลังคน ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้สูงสุด (right people, right skills, right jobs, right time) ทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประโยชน์ของการวางแผนกำลังคนภาครัฐ (ต่อ) สามารถรักษากำลังคนที่ดีไว้ในองค์กร ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจที่ผิดพลาด ประโยชน์ของการวางแผนกำลังคน ทำให้ไม่เกิดช่องว่างในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติหน้าที่ ทำให้มีการตรวจสอบสภาพกำลังคน และการวิเคราะห์ และวางยุทธศาสตร์กำลังคนได้ถูกต้อง บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
Analyzing Organisation Direction Environmental Factors Internal Labour External Labour • Strategic planning • Budget forecasts • New equipment • Inflows and outflows • Working practices • Workforce culture • Reward system -Social -Technical -Economic -Public Sector -Employment Demographic Data -Occupation -Salary etc. Trend Data -Staff Movement -Leave Usage -Salary Profile etc. -Replacement Staff -Contingent Workforce Assumptions Forecasting Demand Supply Scenario Building Evaluation Planning Human Resources Staff Development Finance/Budgets Logistical • Internal staff • movements • -Recruitment & • selection • -Working conditions • -Leave management -Training & Development -Promotion/transfer -Succession planning -Career planning -Budgets -Remuneration -Workplace/Ent. Agreements -Incentive & allowances -Technology upgrades -Accommodation -Fleet vehicles Implementation Strategic, Process & Operational Changes Feedback Workforce Planning Model ประเทศออสเตรเลีย บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ปัจจัยสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานปัจจัยสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงาน • 1. ตัวแบบการทำนายความต้องการ • 2. ตัวแบบในการจัดหาและความต้องการ • 3. ตัวแบบการทำนายการจัดหาซึ่งประกอบด้วยจัดหาจากภายในองค์การ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
เป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1. จำแนกเป้าหมายตามระดับการใช้ อาจจำแนกระดับการใช้ • 1.1 เป้าหมายระดับมหภาคหรือระดับชาติ เป็นการวางแผนโดยภาพรวมของ ประชากรทั้งประเทศที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณลักษณะอย่างไรไว้เป็นการล่วงหน้า • 1.2 เป้าหมายระดับองค์การ หมายถึงเป้าหมายของการวางแผนการใช้กำลังคนเพื่อสร้างผลผลิตตามภารกิจองค์การ ในฐานะเป็นผู้ใช้ผลิตผลด้านบุคลากรจากสถาบันการศึกษาทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
เป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)เป้าหมายของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 1.3 เป้าหมายระดับบุคคล • นับเป็นเป้าหมายระดับล่างสุดของการวางแผนกำลังคน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
องค์ประกอบสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์องค์ประกอบสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • 1.ข้อมูลและสารสนเทศได้แก่ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การก่อนวางแผน • 2. การสำรวจและการวิเคราะห์ข้อมูลกำลังคน • 3. การพยากรณ์และเทคนิคการพยากรณ์ • 4. แนวทางการแก้ไขหรือการวางแผนงานด้านกำลังคน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์ • 1. การแบ่งตามเกณฑ์ของระดับการบริหารจัดการ • 1.1 วางแผนจากบนลงล่าง เป็นการวางแผนที่ถูกกำหนดความต้องการโดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่าการวางแผนโดยยึดวัตถุประสงค์หลักขององค์การเป็นเกณฑ์ • 1.1.1 วิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่เป็นผลสัมฤทธิ์ขององค์การ • 1.1.2 วางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในข้อที่ 1.1.1 บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 1.1.3 วิเคราะห์คุณลักษณะของพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน สภาพอุปสงค์ของ องค์การและอุปสงค์ในตลาดแรงงานในอนาคต • 1.1.4 วิเคราะห์ความสมดุลระหว่างพนักงานที่มีอยู่กับจำนวนความต้องการพนักงานอยู่ในลักษณะใดเกินความต้องการหรือขาดแคลนหรือไม่อย่างไร • 1.1.5 จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านกำลังคนให้สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หลักขององค์การ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 1.2 การวางแผนจากล่างขึ้นบน เป็นการวางแผนกำลังคนจากความต้องการของ หัวหน้าหน่วยงานย่อยเสนอไปยังผู้มีอำนาจอนุมัติประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ • 1.2.1 ดำเนินการวิเคราะห์งาน • - วิเคราะห์ลักษณะงาน • - วิเคราะห์คุณสมบัติของพนักงาน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • นำข้อมูลจากการวิเคราะห์งานไปวางแผนกำลังคนรวมขององค์การ • 1.3การวางแผนแบบผสม เป็นวิธีการวางแผนที่มีการผสมผสานระหว่างวิธีการวางแผนจากบนลงล่างที่มีข้อดีโดยยึดวัตถุประสงค์ขององค์การเป็นหลักกับล่างขึ้นบนซึ่งมีข้อดีในด้านจิตวิทยา อาจจะเรียกว่าเป็นการพบกันครึ่งทางระหว่างการบริหารระดับสูงกับการบริหารระดับล่าง บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)ประเภทของการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 2. การแบ่งตามเกณฑ์ระยะเวลาการดำเนินงานของการวางแผน • - ระยะสั้น • - ระยะกลาง • - ระยะยาว บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ • การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นแนวความคิดของการวางแผนที่ให้ความสำคัญของปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ • การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (strategic human resource management) พนักงานเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุความสำเร็จในการสร้างโอกาสในการแข่งขัน โดยการใช้กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งหมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับเป้าหมายกลยุทธ์เพื่อการปรับปรุงสมรรถนะของธุรกิจและพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ จะทำให้เกิดนวัตกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆรูปแบบของการวางแผนการขยายตัว และกิจกรรมด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็นการตั้งใจที่จะทำให้องค์การสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เป็นการยอมรับหน้าที่ของทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นเสมือนหุ้นส่วนหรือส่วนประกอบสำคัญในกระบวนการของกลยุทธ์ระดับบริษัทอย่างไรก็ตามการสร้างกลยุทธ์เหล่านี้จะต้องผ่านกิจกรรมของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรม และการให้รางวัลบุคคล บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
กลยุทธ์องค์การ (Organization strategy) อิทธิพลสภาพแวดล้อมภายนอก โอกาสและอุปสรรค เศรษฐกิจและตลาดแรงงาน การเมือง/กฎหมาย อุตสาหกรรมและการแข่งขัน ระหว่างประเทศ สังคม / ประชากรศาสตร์ เทคโนโลยี strategy) กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ กลยุทธ์หน้าที่อื่น ๆ การตลาด , การผลิต ฯลฯ กลยุทธ์หน่วยงานอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์, ภูมิศาสตร์ ฯลฯ กลยุทธ์การจูงใจและ การบำรุงรักษา กลยุทธ์ก่อนการจ้างและกลยุทธ์การจ้าง กลยุทธ์การให้ออกจากงาน บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
การวิเคราะห์คุณลักษณะของบุคลากรกับระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์การวิเคราะห์คุณลักษณะของบุคลากรกับระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์ • ในการวางแผน • 1. กลยุทธ์ระดับองค์การ หรือกลยุทธ์ระดับบริษัท เป็นกลยุทธ์ที่องค์การกำหนดขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางขององค์การในอนาคต • คนต้องเก่งคิด การมองอนาคต • 2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ หรือกลยุทธ์การแข่งขัน • 3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ หรือกลยุทธ์การปฏิบัติการในองค์การ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
บริษัทใหญ่ กลยุทธ์ระดับบริษัท บริษัทในเครือ 1 บริษัทในเครือ 2 บริษัทในเครือ 3 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ การผลิต การตลาด การเงิน/บัญชี บุคลากร กลยุทธ์ระดับหน้าที่ บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
ภาพรวมโครงสร้างและการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ภาพรวมโครงสร้างและการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ภารกิจ จำเป็นต้องทำ ไม่จำเป็นต้องทำ ให้คนอื่นทำ ทำเอง ทำร่วม (Outsource) • คณะทำงาน • แบ่งหน้าที่/งาน ความต้องการกำลังคน ข./ลจ./พนง.ราชการ Demand Gap Supply วางแผนกำลังคน • Early Retire • Transfer • Part time Technology การสรรหา พัฒนา คนเดิม สรรหา แบบใหม่ การสรรหาแบบเดิม (สอบ) • อบรม • สับเปลี่ยนหมุนเวียน • สอนงาน • พี่เลี้ยง • Campus Recruitment • สรรหาจากกลุ่มบุคคลที่มีประสบการณ์/ทักษะพิเศษ (fixed term contract) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ • กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ได้กำหนดขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ • 1. การพิจารณาเป้าหมาย และแผนขององค์การ(Goals and Plans of Organization) คือ การศึกษาและพิจารณาแผนกลยุทธ์ที่องค์การได้กำหนดไว้ศึกษานโยบายทางด้านต่างๆเพื่อที่จะนำผลของการศึกษาเหล่านี้มาจัดวางข้อมูลด้านบุคคลที่ควรจะเป็นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม • 2. การพิจารณาสภาพการณ์ของทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน(Current Human Resource Situation) บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ)กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์(ต่อ) • 3. การคาดการณ์ทรัพยากรมนุษย์( Human Resource Forecast) จะได้ทราบจำนวนและประเภทของพนักงานที่มีอยู่จริงๆ ว่ามีจำนวนเท่าไร แล้วนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนที่องค์การทั้งหมดก็จะสามารถรู้ว่าองค์การต้องจ้างพนักงานใหม่ในกลุ่มใดบ้าง และในระยะเวลาใด • 4. การกำหนดแผนปฏิบัติการ(Implementation Programs) • 5. การตรวจสอบและการปรับปรุง(Audit and Adjustment บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
บทที่ 5 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์