1 / 50

โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์

โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์. คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช. ศ. ดร. อำพล ไมตรีเวช คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล. การพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้ในการ ส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อป้องกันโรคในเชิงพาณิชย์.

jada-floyd
Download Presentation

โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์โครงการวิจัยและพัฒนานโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ศ. ดร. อำพล ไมตรีเวช คณะเภสัชศาสตร์ ม. มหิดล

  2. การพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้ในการการพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อใช้ในการ ส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อป้องกันโรคในเชิงพาณิชย์ ขีดจำกัดและปัญหา กฎระเบียบในการขึ้นทะเบียน การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ ปัญหาวัตถุดิบมีมาตรฐานไม่สม่ำเสมอ ปริมาณและคุณภาพของสมุนไพรในท้องตลาด ความต้องการของตลาด ข้อมูลจำกัด เป็นต้น

  3. นโยบายระดับประเทศ และแผนพัฒนาสมุนไพรแห่งชาติ นโยบายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหรือส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญในระดับประเทศ • นโยบายของรัฐบาล ได้แก่ นโยบาย 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ , นโยบายส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร • แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร

  4. แผนระยะ 5 ปี ได้กำหนดเป้าหมาย ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1. มูลค่าการตลาดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศเพิ่มขึ้นโดยรวมทุกประเภท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20ต่อปี 2. สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับตลาดในประเทศ เป็นการใช้วัตถุดิบและผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าตลาดในประเทศที่มีการใช้ในปี 2548 3. มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี 4. มีห้องปฏิบัติการวิจัยด้านสมุนไพรที่ได้รับการพัฒนาและการรับรองตามมาตรฐานสากล

  5. แผนระยะ 5 ปี ได้กำหนดเป้าหมาย ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5. ศูนย์สัตว์ทดลองอย่างน้อย 3 แห่งได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานสากล 6. มีโรงงานระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot scale) ในหน่วยงานของรัฐอย่างน้อย 2 แห่ง ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP 7. มีกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน GMP และมีห้องปฏิบัติการมาตรฐานกลางสำหรับตรวจสอบคุณภาพ 8. มีมาตรฐานสมุนไพรในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ 21 ชนิด ให้เป็นอย่างน้อย 50 ชนิด และมีมาตรฐานยาสมุนไพรตำรับไม่น้อยกว่า 10 ตำรับ

  6. แผนระยะ 5 ปี ได้กำหนดเป้าหมาย ดังนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 9. มีการเพิ่มเติมรายการยาซึ่งมีข้อกำหนดมาตรฐานแล้ว ในบัญชียาหลักแห่งชาติทั้งที่เป็นยาสมุนไพรเดี่ยวอีกไม่น้อยกว่า 20 รายการ และยาตำรับสมุนไพรอีกไม่น้อยกว่า 10 ตำรับ 10. มีเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่ให้บริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวนไม่น้อยกว่า 15 แห่ง กระจายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 11. มีสมุนไพรที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจที่ผ่านการวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่วัตถุดิบจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรมได้อย่างน้อย 12 ชนิด 12. มีกฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร

  7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร • แบ่งออกเป็น 8 ยุทธศาสตร์หลักดังนี้ • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจร • ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ • กำหนดมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร • ส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร • ส่งเสริมการตลาดสมุนไพร • ปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่ออุตสาหกรรมสมุนไพร • พัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ด้านสมุนไพร • กำหนดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

  8. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • เพื่อจัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร • เพื่อประเมินความสามารถและความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ • เพื่อทราบปัญหาและอุปสรรค์ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ • เพื่อกำหนดกลยุทธ์และแนวนโยบายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์

  9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยจะได้แผนการสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเหมาะสมกับลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท

  10. วิธีการศึกษา กลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่จะทำการศึกษา มี 2 กลุ่ม คือ 1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์แบ่งตามขนาดหรือความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมระดับตำบล (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) 2. กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ (SME) 3. กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ

  11. วิธีการศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล 3.1 สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ระดับตำบลเฉพาะรายที่มีศักยภาพ 4 ราย ระดับอุตสาหกรรม SME 25 ราย ระดับส่งออก 3 ราย 3.2 ค้นหาข้อมูลทุติยภูมิ จากกระทรวงอุตสาหกรรม อย. กรมส่งเสริม การส่งออก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.3 สำรวจตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งขันและ ประเทศคู่ค้าของไทย 3.4 การสัมมนากลุ่ม

  12. วิธีการศึกษา วิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขัน (แนวคิดของ Michael E. Porter) 1) สภาวะปัจจัยการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ แรงงาน และทุน 2) โครงสร้างองค์กร นโยบายและกลยุทธ์ 3) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน 4) สถานภาพของอุปสงค์ จากนั้นนำมาประมวลปัญหาและอุปสรรค์ และกำหนดกลยุทธ์และแนวนโยบาย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์

  13. Source: Michael Porter, Institute for Strategy and Competitiveness, Harvard Business School. See Porter (1998).

  14. ผลการศึกษา1. ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มของเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้ง 3 ระดับ คือ สมุนไพรที่มีการผลิตกันอย่างแพร่หลายในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่กระเทียม สาหร่ายเกลียวทอง และยอ ส่วนสมุนไพรที่มีการใช้ในลักษณะเครื่องสำอางได้แก่ กวาวเครือขาว ขมิ้น และผงขัดผิว นอกจากนั้นจะเป็นการนำสมุนไพรมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่นผลิตภัณฑ์สปา ซึ่งพบว่าชนิดของสมุนไพรที่นำมาใช้ในลักษณะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ เครื่องสำอางค์นั้นมีไม่มากนัก

  15. ผลการศึกษา2. การประเมินภาพรวมของอุตสาหกรรม ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง ภาพรวมของอุตสาหกรรมประมวลได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ทั้ง 3 ระดับ และผลจากการจัดประชุมระดมสมองผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ นำมาสรุปตามปัจจัย 4 ประการของ Diamond Model ได้แก่ 1. สภาวะปัจจัยการผลิต 2. โครงสร้างองค์กร นโยบาย กลยุทธ์ 3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน และ 4. สภาวะของอุปสงค์

  16. 1. สภาวะปัจจัยการผลิต : 3 ระดับ ปัจจัยการผลิตที่เป็นวัตถุดิบ • การจัดหา • การควบคุมคุณภาพ/ประกันคุณภาพ • การสกัดสมุนไพรเพื่อให้ได้สารสำคัญ การทำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป • การพัฒนาตำรับ • การผลิตระดับอุตสาหกรรม • การควบคุมคุณภาพ / การประกันคุณภาพ

  17. 2. โครงสร้างองค์กร นโยบาย กลยุทธ์ ส่วนมากไม่ได้มีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ขององค์กร จึงส่งผลทำให้การปฏิบัติงานมีปัญหาเกิดขึ้นหลายด้าน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรือให้ตรงกับนโยบายความคิดเห็นของบริษัท การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับราคา มีความโดดเด่น เป็นต้น อุปสรรคสำคัญของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่พบ คือ ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในระยะแรกมักจะขาดความสนใจจากผู้บริโภค เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดเด่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมักจะทำตามภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงต้องทำการวิจัยข้อมูลด้านความปลอดภัยของสมุนไพรด้วย

  18. 3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน • อุตสาหกรรมการเกษตรอินทรีย์ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ต้องปราศจากสารปนเปื้อนต่างๆ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ • การทำการวิจัยเพื่อหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนในด้านความปลอดภัย ประสิทธิผล และคุณภาพ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก

  19. 4. สถานภาพของอุปสงค์: ระดับตำบล (OTOP) • ด้านสถานภาพความต้องการสินค้า การเติบโตของตลาดเพิ่มขึ้น • แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคมีเพิ่มขึ้น • พฤติกรรมผู้บริโภคในการรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร พบว่า มีการใช้เพื่อสุขภาพ เพื่อบำรุงผิว และใช้เป็นเครื่องสำอาง • ความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภค พบว่าลูกค้าประจำและลูกค้าจร ใกล้เคียงกัน • ลักษณะของลูกค้าที่ใช้สินค้าของบริษัท พบว่า เป็นลูกค้าทุกเพศ ทุกวัย มีฐานะปานกลาง และส่วนมากเป็นลูกค้าผู้หญิง • ปัจจุบันยังไม่ได้ส่งออก ประเทศที่ต้องการส่งออกในอนาคต คือ ประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง, เอเชีย ปัญหาที่พบ คือ ขาดความรู้เกี่ยวกับการส่งออก และไม่มีทุน

  20. 4. สถานภาพของอุปสงค์: ระดับ SME • ด้านสถานภาพความต้องการสินค้า การเติบโตของตลาดมากขึ้น • แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น • พฤติกรรมผู้บริโภคในการรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร • นั้นจะใช้เป็นเครื่องสำอางเพื่อความงาม ใช้สร้างเสริมสุขภาพ • ผู้ใช้มีความมั่นใจในสมุนไพรมาก • ผู้บริโภคเป็นผู้ภักดีต่อตราสินค้า เป็นลูกค้าประจำมากกว่าเป็น • ลูกค้าจร

  21. 4. สถานภาพของอุปสงค์: ระดับ SME • ลักษณะของลูกค้าที่ใช้สินค้า จะมีรายได้ปานกลาง มีทุกเพศ • อายุ 30 ปีขึ้นไป มีกลุ่มวัยรุ่นบ้าง • ปัจจุบันส่งออกได้ทั่วโลก • ปัญหาที่พบในการส่งออกคือค่าขนส่งแพง • ประเทศที่ต้องการส่งออกในอนาคตได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ และ • เนเธอร์แลนด์

  22. 4. สถานภาพของอุปสงค์: ระดับส่งออก • การเติบโตของตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จะไม่หวือหวามาก • แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น • ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการรักษาสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น • ความภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคจะค่อนข้างดี • แต่ยังมีผู้ต้องการลองใช้สินค้าใหม่ • ลักษณะของลูกค้าที่ใช้สินค้าเป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง • เป็นเพศหญิงวัยทำงาน อายุ 22ปี ขึ้นไป แต่ช่วงนี้เด็กๆ เริ่มสนใจมากขึ้น

  23. ผลการศึกษา3. การประเมินความสามารถและความเป็นไปได้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ คัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ในการศึกษาเชิงลึกด้านการตลาดจำนวนกลุ่มละ 1 รายการ โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังนี้

  24. เกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1. เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีประวัติการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ 2. เป็นพืชสมุนไพรที่มีปลูกในประเทศไทยกว้างขวาง มีแหล่งวัตถุดิบที่ ชัดเจนหรือสามารถสนับสนุนให้มีการปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบได้ 3. เป็นพืชสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยพบสารที่ออกฤทธิ์ มีการระบุสารที่ ออกฤทธิ์ชัดเจน 4. มีการยอมรับในเรื่องประสิทธิภาพของสมุนไพร ในระดับประเทศ หรือ ในระดับสากล 5. มีความปลอดภัยในการใช้ ไม่พบรายงานความเป็นพิษ

  25. เกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพรเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์สมุนไพร 6. มีประวัติการนำมาใช้เป็นระยะเวลานาน ทั้งในระดับประเทศ หรือ ระดับสากล 7. มีผลิตภัณฑ์จัดจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ในระดับหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ หรือ ระดับของธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก หรือ ระดับส่งออก 8. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในรูปแบบเภสัชภัณฑ์ อาจเป็นยาผง ยาชง ยาน้ำ ยาเม็ดแคปซูล หรือ ยาครีม เป็นต้น 9. เป็นสมุนไพรที่มีการจัดจำหน่ายอย่างเปิดเผย สามารถสืบค้น แหล่งที่มาของผู้ผลิตได้ 10. มีแหล่งที่มาของสมุนไพรที่ชัดเจน และ สามารถตรวจสอบคุณภาพ ของสมุนไพรได้

  26. ตารางที่ 6 การประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเชิงพาณิชย์

  27. ผลการประเมินคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดโดยใช้เกณฑ์ทีผลการประเมินคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดโดยใช้เกณฑ์ที กำหนดขึ้น พบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เหมาะสมในการนำมาเป็น ตัวอย่างในการศึกษาต่อ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้แก่ กระเทียมและยอ ในกลุ่มเครื่องสำอาง ได้แก่ กวาวเครือขาว

  28. หัวข้อที่ทำการศึกษา • การแบ่งส่วนตลาด ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่คัดเลือก • การกำหนดตลาดเป้าหมาย ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่คัดเลือก • การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่คัดเลือก (Segmenting, Targeting, and Positioning) • การวิเคราะห์ในส่วนของประเทศไทย ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่คัดเลือก ในเดือนกันยายน 2547 ทำการสำรวจร้านยา และสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบกับการสอบถามผู้ขาย ผลการสำรวจเป็นดังนี้

  29. ผลิตภัณฑ์กระเทียม • จากการสำรวจร้านที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้พบว่าจะหาได้ง่ายมาก ทำเล ของร้านจะอยู่ในศูนย์สรรพสินค้า • ส่วนใหญ่ลักษณะของร้านเป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ • บรรยากาศการซื้อขายในร้านมีลูกค้าไม่มาก • การจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ศึกษามีทั้งวางปะปนกับสินค้าอื่นและวางในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน • มีจำนวนผลิตภัณฑ์แบบเดียวกัน 1–3 ยี่ห้อ • ปริมาณผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่วางโชว์เมื่อเทียบกับสินค้าสุขภาพในร้านคิดเป็นร้อยละ 1–5

  30. ผลิตภัณฑ์กระเทียมการแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดตลาดเป้าหมายผลิตภัณฑ์กระเทียมการแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดตลาดเป้าหมาย • ส่วนใหญ่วางขายในเขตเมือง • ลักษณะของผู้ซื้อ เป็นหญิงมากกว่าชาย อยู่ในวัยทำงาน และมีรายได้ระดับกลางมากกว่าสูง • พฤติกรรมการซื้อเป็นแบบทั่วไปไม่มีโอกาสพิเศษ และเป็นการซื้อโดยมุ่งประโยชน์เพื่อสุขภาพเป็นหลัก • ส่วนใหญ่เคยซื้อเป็นประจำ มีบ้างที่ซื้อครั้งแรก • สัดส่วนการเปลี่ยนตรายี่ห้อหลายตราสลับกันเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยี่ห้อเดิมซ้ำจะมากกว่าเล็กน้อย • ส่วนใหญ่เป็นการซื้อตามที่ผู้ขายแนะนำ โดยตั้งใจมาเลือกดูจากชั้นวางของ และผู้ซื้อไม่แน่ใจในสรรพคุณของผลิตภัณฑ์มากนัก

  31. ผลิตภัณฑ์กระเทียมการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กระเทียมการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กระเทียมที่ผลิตในประเทศไทยกับผลิตภัณฑ์กระเทียมที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเด็นต่อไปนี้ 1) จำนวน 2) ราคา 3) บรรจุภัณฑ์ 4) การให้ข้อมูลบนผลิตภัณฑ์ 5) ความสะดุดตา 6) การจัดวางบนชั้น และ 7) การส่งเสริมการขาย

  32. เปรียบเทียบปัจจัยผลิตภัณฑ์กระเทียมที่ผลิตในประเทศไทยและผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศเปรียบเทียบปัจจัยผลิตภัณฑ์กระเทียมที่ผลิตในประเทศไทยและผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

  33. เปรียบเทียบปัจจัยผลิตภัณฑ์ยอที่ผลิตในประเทศไทยและเปรียบเทียบปัจจัยผลิตภัณฑ์ยอที่ผลิตในประเทศไทยและ ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

  34. วิเคราะห์นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐบาลนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรวิเคราะห์นโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐบาลนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนา อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร” เพื่อให้เป็นองค์กรที่จะกำหนดนโยบาย ประสานงานและกำกับดูแลงานพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่าง ครบวงจร แบ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็น 8 ยุทธศาสตร์ 1.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจร 2.ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ 3.กำหนดมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร 4.ส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5.ส่งเสริมการตลาดสมุนไพร 6.ปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่ออุตสาหกรรมสมุนไพร 7.พัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้ด้านสมุนไพร 8.กำหนดกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

  35. จากการสัมภาษณ์ อนุกรรมการด้านส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรให้ครบวงจร อนุกรรมการด้านกำหนดมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร และอนุกรรมการด้านปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่ออุตสาหกรรมสมุนไพรในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร พบว่า ผลการดำเนินงานในปี 2546 เป็นดังนี้คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ได้จัดทำแผนงานซึ่งเป็นงานประจำที่แต่ละหน่วยงานต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ยุทธศาสตร์ที่ 3 ได้จัดทำมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร 2 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว และหญ้าปักกิ่ง (หญ้าเทวดา) จัดทำชุดตรวจสอบขมิ้นชัน และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำมาตรฐานสมุนไพร ประสะมะแว้ง, กระชายดำ, กระเจี๊ยบแดง, รางจืด, จันทร์แดง, แป๊ะตำปึง และมะระขี้นก ในปี 2547 ยุทธศาสตร์ที่ 6 ได้ทำการปรับปรุงคำจำกัดความของสมุนไพร และยาแผนไทยในพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากรอผลการพิจารณา พระราชบัญญัติยาฉบับใหม่

  36. แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่จะสนับสนุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้เกิดรายได้เชิงพาณิชย์ แต่ในเชิงปฏิบัติ กลับพบว่ามีการดำเนินการตามแผนน้อยมาก แผนที่มีการดำเนินการอย่าง จริงจังคือ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการตลาดสมุนไพร แต่ที่เหลือไม่มีการดำเนินการต่อเนื่องจากขาดการสนับสนุนหรือติดขัด ด้านกฎหมาย คือพระราชบัญญัติยา ส่วนในยุทธศาสตร์ที่ 1 และยุทธศาสตร์ที่ 3 ขาดงบประมาณสนับสนุนจึง ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนด

  37. ผลการศึกษา4.สภาพปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการพัฒนาสมุนไพรเชิงพาณิชย์

  38. ปัญหาของผู้ประกอบการระดับ OTOP • การจัดหาสมุนไพรที่ใช้ในการผลิต มีปัญหาที่วัตถุดิบมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการผลิต, วัตถุดิบไม่สะอาด • ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายคือ ทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ • การพัฒนาตำรับต้องจ้างผู้อื่นทำ มีปัญหาเรื่องเครื่องมือ และเทคนิค • มีปัญหาทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อกำหนด ทำให้ดำเนินงานล่าช้า 5. ต้องจ้างผู้อื่นผลิตระดับอุตสาหกรรม 6. ปัญหาด้านการตลาดภายในประเทศที่พบคือไม่มีตัวแทนจำหน่ายทุนน้อย, สมุนไพรหมดอายุ

  39. ปัญหาของผู้ประกอบการระดับ SME 1. สมุนไพรที่ใช้ มีการเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบ วัตถุดิบเก็บได้ไม่นาน ขาดแคลนวัตถุดิบ วัตถุดิบจากต่างประเทศราคาแพง เกิดการปนเปื้อน ปริมาณสารสำคัญไม่สม่ำเสมอ 2. ในการพัฒนาตำรับพบความไม่คงตัวของผลิตภัณฑ์ ด้อยคุณภาพ ไม่ตรงตามมาตรฐาน ไม่คุ้มทุน 3. ปัญหากฎหมาย เช่น ชื่อซ้ำ ทำให้เสียเวลารอสินค้าออกสู่ตลาด 4. บุคลากรที่ทำหน้าที่การผลิตระดับอุตสาหกรรมไม่เพียงพอกับความ ต้องการ 5. ด้านการตลาดในการวางจำหน่ายในประเทศถูกปิดกั้นไม่ให้เผยแพร่ 6. ปัญหาการกีกกันในตลาดต่างประเทศ

  40. ปัญหาของผู้ประกอบการระดับผู้ส่งออกปัญหาของผู้ประกอบการระดับผู้ส่งออก 1. ในการจัดซื้อวัตถุดิบมักพบปัญหาการปนเปื้อนจากวัสดุแปลกปลอม 2. การควบคุมคุณภาพโดยการส่งตรวจไปยังหน่วยงานภายนอกที่เชื่อถือได้นั้น พบว่าผลตรวจช้า และค่าใช้จ่ายในการตรวจต่อครั้งสูง 3. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาตำรับที่พบเกิดขึ้นจากเครื่องมือราคาแพง 4. ไม่สามารถปรับแต่งเครื่องมือที่นำเข้าจากต่างประเทศ อะไหล่ราคาแพง 5. พนักงานมีการหมุนเวียนเข้า ออกสูง 6. ค่าสารเคมีและอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีราคาสูง 7. ภาษาอังกฤษของพนักงานที่ทำหน้าที่การตลาดต่างประเทศยังไม่ดี

  41. ข้อเสนอแนะ จากการศึกษา มีข้อเสนอกลยุทธ์และแนวนโยบายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สมุนไพรในเชิงพาณิชย์ ดังนี้

  42. วิสัยทัศน์หลักการพัฒนาสินค้าให้มีเอกลักษณ์ของตนเองและคุณภาพเป็นที่เชื่อถือ (Product differentiation-Unique and Quality) กลยุทธ์หลัก คือ สนับสนุนแนวคิดใหม่ วิจัยพัฒนา สร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ ผลักดันส่งออก Strategic goals(RIVER) 1. Resource ให้มีทรัพยากรที่ดีในการผลิต เกษตรอินทรีย์ บุคลากร การสนับสนุนจากรัฐ 2. Innovation สนับสนุนแนวคิดใหม่ และการสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสินค้าให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง 3. Value การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ให้คุณภาพเป็นที่เชื่อถือเพื่อสร้าง Brand ของไทย “Thailand brand” 4. Export Intensive ผลักดันและส่งเสริมการส่งออก 5. Research & Development-based เน้นการวิจัยและพัฒนา

  43. ผู้ร่วมศึกษาวิจัย ศ. ดร. อำพล ไมตรีเวช รศ. ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ รศ. ดร. ณัฐนันท์ สินชัยพานิช รศ. ดร. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล นายสนธิชัย สินชัยพานิช

More Related