E N D
ข้อ 6 . ประเทศไทยมีแนวโน้มที่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ในภาพรวม ท่านคิดว่า “ผู้สูงอายุ” หมายความว่าอย่างไร หากท่านเป็นพนักงานของเทศบาลและได้รับมอบหมายภารกิจให้ดูแลสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ท่านจะดำเนินการอย่างไรบ้าง และมีวิธีดำเนินการอย่างไร จงอธิบาย
ความหมาย ของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลไม่ว่าเป็นเพศชายหรือเป็นเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่มีความเสื่อมตามวัยตามสภาพ มีกำลังลดลง เชื่องช้า มีความเสื่อมสมรรถภาพด้านร่างกาย และมีความต้านทานโรคลดลง ทำให้เกิดโรคประจำตัว และอยู่ในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต
การเปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุการเปลี่ยนแปลงของวัยสูงอายุ • 1) การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย (Biological change) • (1.1) ระบบผิวหนัง ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าจะบางลง การยืดหยุ่นของผิวหนังจะไม่ดี ไขมันใต้ผิวหนังลดน้อยลง ทำให้ผิวหนังเหี่ยวและมีรอยย่น การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังลดลงทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้ง่าย และเมื่อเกิดแผลบริเวณผิวหนังจะหายช้าลง ต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนังทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจะลดลง • (1.2) ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกจำนวนและขนาดเส้นใยของกล้ามเนื้อจะลดลง มีพังผืดเข้ามาแทนที่มากขึ้น มีผลทำให้ความเข็งแรงและความว่องไวในการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง (วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2533) การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะมีผลต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ส่วนกระดูกนั้นแคลเซี่ยมจะสลายออกจากกระดูกมากขึ้น ทำให้เปราะและหักง่าย ความยาวของกระดูกสันหลังจะสั้นลง เนื่องจากหมอนรองกระดูกบางลง และกระดูกสันหลังผุมากขึ้น ทำให้หลังโกงหรือหลังค่อมได้
(1.3) ระบบไหลเวียนโลหิต โครงสร้างของหัวใจจะไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีแคลเซียมมาเกาะบริเวณลิ้นหัวใจมากขึ้น ทำให้ลิ้นหัวใจจะแข็งและหนาขึ้น การปิดเปิดของลิ้นหัวใจไม่ดี เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วได้ ส่วนหลอดเลือดก็จะมีผนังหนาขึ้นและมีความยืดหยุ่นน้อยลงผนังเลือดตีบแคบลง ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น • (1.4) ระบบทางเดินอาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีฟันเนื่องจากฟันผุ ทำให้การเคี้ยวอาหารไม่สะดวก ต่อมน้ำลายผลิตเอนไซม์และน้ำย่อยน้อยลง กระเพาะอาหารมีการหลั่งน้ำย่อยลง ประสิทธิภาพการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารไม่ดี ท้องอืดง่าย เกิดภาวการณ์ขาดสารอาหารได้ง่าย การขับถ่ายไม่ปกติ ท้องผูกได้ง่าย • (1.5) ระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้สูงอายุขนาดของไตจะเล็กลงและหน่วยไตมีจำนวนน้อยลง ทำให้การทำหน้าที่ของไตเสื่อม ขับของเสียน้อยลง เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง • (1.6) ระบบประสาท ในผู้สูงอายุเซลล์สมองและเซลล์ประสาทมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ สมองเริ่มเสื่อมลง ทำให้ความรู้สึกช้า หลงลืมง่าย พูดจาซ้ำซาก เกิดภาวะย้ำคิดย้ำทำ การเคลื่อนไหวช้า การทรงตัวไม่ดี ทำให้หกล้มง่าย เกิดอาการสั่นตามร่างกาย
(1.7) ประสาทสัมผัส ในผู้สูงอายุพบว่าการได้ยินของหูลดลง มีอาการหูตึงมากขึ้น เวลาพูดด้วยต้องพูดเสียงดังและต้องพูดซ้ำ การรับกลิ่นไม่ดี เพราะมีการเสื่อมของเยื่อบุโพรงจมูก การรับรสของลิ้นเสียไป เนื่องจากต่อมรับรสมีจำนวนน้อยลง ทำให้รับประทานอาหารไม่อร่อย เกิดภาวะเบื่ออาหาร สายตาจะมองเห็นไม่ชัด แก้วตาเริ่มขุ่นมัวเกิดอาการต้อกระจกความยืดหยุ่นของแก้วตาลดลง • (1.8) ระบบต่อมไร้ท่อ จะมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมลง โดยเฉพาะต่อมใต้สมองจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการทำงานลดลง การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองและต่อมธัยรอยด์ลดลง ต่อมเพศทำงานไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ทำให้ระบบสืบพันธ์เสื่อมลงและสูญเสียหน้าที่ ในเพศหญิงความรู้สึกทางเพศจะลดลง ในเพศชายการทำงานของต่อมเพศก็จะเสื่อมสภาพเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถึงกับทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงมาก ผู้สูงอายุชายยังคงมีความต้องการทางเพศอยู่บ้าง
2) การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจหรืออารมณ์ (Psychological change) • การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เช่น ความเจ็บป่วย การเสื่อมของระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความวิตกกังวล และความกดดัน การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ของผู้สูงอายุที่พบส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น เพื่อนฝูง บทบาทในการเป็นหัวหน้าครอบครัวและสังคม ทำให้มีความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่าไร้ประโยชน์สูญเสียความภูมิใจ หวาดระแวงเกี่ยวกับการเจ็บป่วย กลัวความตาย กลัวถูกทอดทิ้ง มีอารมณ์เศร้า หมดกำลังใจ ว้าเหว่ หงุดหงิด เบื่อสิ่งต่างๆ และเรียกร้องความสนใจ เป็นต้น
3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม (Social change) • ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทหรือพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการเกษียณอายุทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น การกระทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำลดลง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือสูญเสียสถานภาพและบทบาททางสังคม รู้สึกว่าตนเองด้อยคุณค่า การสมาคมกับเพื่อนฝูง ผู้ร่วมงานน้อยลง ทั้งยังทำให้ขาดรายได้จาก • เดิมที่เคยมีอยู่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางครอบครัว โดยเมื่อลูกๆ เจริญเติบโตมีครอบครัวเป็นของตนเองก็ต้องการสร้างครอบครัวใหม่ บุคคลในครอบครัวที่เคยอยู่ด้วยกันก็แยกย้ายกันไป ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง ผู้สูงอายุจึงต้องเผชิญกับความสูญเสียมากขึ้น มองโลกในแง่ร้าย ซึมเศร้าและสิ้นหวังซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคจิตในวัยชราได้(วชิรภรณ์ สุมนวงศ์, 2536) • จะเห็นได้ว่า ในผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายด้าน ทั้งในด้านร่างกายที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ประสิทธิภาพการทำหน้าที่ต่างๆ ก็ลดลงด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก มีความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า ได้ประโยชน์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุ
สถิติของผู้สูงอายุ • การมีจำนวน และสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมายถึงว่า ประเทศมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น ในการเตรียมรองรับการดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ยังมีผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริหารประเทศ ทั้งนี้ เพราะเมื่อโครงสร้างประชากร เริ่มขยับไปสู่การมีประชากรสูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วนของประชากรวัยทำงาน ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ก็จะลดน้อยลง การศึกษาอัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุ ซึ่งคำนวณโดยการหารจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปี และมากกว่า ด้วยจำนวนประชากรในวัยแรงงาน (อายุ 15 – 59 ปี) แสดงว่า ในปี พ.ศ. 2533 มีประชากรวัยแรงงาน 10 คน ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ 1 คน (อัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุเท่ากับ .1161) และยังมีการประมาณการว่า ในปี พ.ศ. 2563 ภาระของประชากรวัยแรงงาน ในการดูแลผู้สูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชากรวัยแรงงาน ประมาณ 4 คน จะต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 คน (อัตราการเป็นภาระวัยสูงอายุเท่ากับ .2350)
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุไทยพระราชบัญญัติผู้สูงอายุไทย • เพื่อสิทธิ การคุ้มครอง และสวัสดิการ รัฐจึงได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนที่ 130 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 มกราคม 2547 พระราชบัญญัตินี้มีทั้งหมด 24 มาตรา โดยสรุป คือ คุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุน ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีสัญชาติไทยในด้านต่างๆ ที่สำคัญคือ การแพทย์และการสาธารณสุข การศาสนา ข้อมูลข่าวสาร การประกอบอาชีพ การพัฒนาตนเอง การศึกษา การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย การช่วยเหลือ การยกเว้น การลดหย่อนค่าธรรมเนียม และภาษีอากร เบี้ยเลี้ยงชีพ ที่อยู่อาศัย การสงเคราะห์การจัดงานศพตามประเพณี และอื่นๆตามประกาศของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อย โอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นกรรมการและเลขานุการ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ผู้สูงอายุในประเทศต้องเผชิญปัญหาต่างๆ เช่นเดียวกับผู้สูงอายุในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ • เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โครงสร้างทางประชากรของประเทศจึงเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือผู้สูงอายุมีจำนวน 3.5 ล้านคน (จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 57.2 ล้านคน) ในปี ค.ศ.1991 (พ.ศ. 2534) จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านคน และ 6.9 ล้านคนในปี ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) และ ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) ตามลำดับ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมมีผลทำให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลง และทำให้ผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งเพราะครอบครัวไม่สามารถรับภาระได้
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการดำเนินชีวิตในสังคม จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รัฐจึงควรจัดเตรียมโครงการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและชุมชนต่อไป • รัฐไม่มีโครงการในระดับประเทศเพื่อให้ความเกื้อหนุนผู้สูงอายุที่ยังคงมีความสามารถและประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ต่อไป ทั้งๆ ที่ ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้อื่นได้ • ผู้สูงอายุส่วนมากเป็นผู้ยากจนโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพและดูแลตนเองได้ เพราะอายุมากและมีปัญหาสุขภาพ ดังนั้นรัฐควรมีโครงการต่างๆ เพื่ออบรมให้ผู้สูงอายุมีความชำนาญและทักษะในการประกอบอาชีพ
แนวคิดเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขแนวคิดเกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุข • ความหมายและองค์ประกอบของความอยู่ดีมีสุข • “ความอยู่ดีมีสุขหมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ” • ความอยู่ดีมีสุขตามความหมายข้างต้นครอบคลุมทุกมิติของการดำรงชีวิตที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวม และสามารถจำแนกองค์ประกอบได้เป็น 5 ด้านคือ 1)ด้านสุขภาพอนามัย 2) ความรู้ 3) รายได้และการกระจายรายได้ 4 ) ชีวิตครอบครัว 5)สภาพแวดล้อม ซึ่งทุกองค์ประกอบจะต้องดำเนินการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดผลต่อความอยู่ดีมีสุขของคนได้อย่างแท้จริง
1) สุขภาพอนามัยหมายถึง ภาวะที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันเกิดจากการสร้างสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา รวมถึงการมีภาวะโภชนาการที่ดี การรู้จักป้องกันดูแลสุขภาพที่ดีของตนเองและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้คนมีอายุยืนยาว สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ • 2) ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการยกระดับความอยู่ดีมีสุขของคนไทย เพราะความรู้ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของคนให้มีทักษะความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่คนเราจะมีความรู้ได้นั้น จะต้องได้รับการศึกษา การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างโอกาส และพัฒนาสติปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนให้สามารถ “คิดเป็น ทำเป็น” เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองและใช้ประสบการณ์ ศักยภาพ และทักษะของตนให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติภารกิจในสังคมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
3) รายได้และการกระจายรายได้ ความขัดสนในด้านรายได้ในการยังชีพ การมีปัญหาความยากจนที่รุนแรงและความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในระดับสูง ย่อมสะท้อนการอยู่อย่างเป็นทุกข์ในสังคม ดังนั้น ความอยู่ดีมีสุขที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอำนาจซื้อเพียงพอต่อการดำรงชีวิตที่ได้มาตรฐาน และหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนและมีการกระจายรายได้ในกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง • 4) ชีวิตครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญยิ่งต่อคนในการดำรงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวถือเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ “ความอยู่ดีมีสุข”ครอบครัวอยู่ดีมีสุขคือ ครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น รู้บทบาทหน้าที่ของครอบครัว มีความสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ลดปัจจัยเสี่ยงของครอบครัว สามารถพึ่งตนเองได้ และมีการเกื้อกูลสังคมอย่างมีคุณธรรม • 5) สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต เป็นอีกมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี เอื้อต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคม การมีสภาพแวดล้อมที่ดีหมายความรวมถึงการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง การได้รับบริการสาธารณูปโภคที่พอเพียง และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลคุณภาพการดำรงชีวิตให้เกิดการสนับสนุนความอยู่ดีมีสุขของคน
สรุปเกี่ยวกับความหมายและผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ • ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลไม่ว่าเป็นเพศชายหรือเป็นเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้ที่มีความเสื่อมตามวัยตามสภาพ มีกำลังลดลง เชื่องช้า มีความเสื่อมสมรรถภาพด้านร่างกาย และมีความต้านทานโรคลดลง ทำให้เกิดโรคประจำตัว อยู่ในช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต และทุกปีจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือ ประชากรผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ประมาณ 11.8 ของประชากร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาและเป็นภาระของประเทศในด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจโดยรวม
ด้านสังคม • ภาระด้านสังคม ส่งผลในการจัดระบบคุ้มครองและดูแลผู้สูงอายุ ให้ลูกหลานเป็นผู้ดูแลและต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สังคมไทยก็มีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงลักษณะครอบครัวแบบครองครัวขยาย ลูกหลานก็ต้องแยกไปมีครอบครัวใหม่ อยู่รวมกันเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อแม่ลูกมากขึ้น อันเนื่องมาจากการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่แบบสังคมชนบทไปอยู่สังคมเมือง ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุนั้นถูกปล่อยไว้ให้โดดเดี่ยวมากขึ้น ในสังคมไทยผู้สูงอายุในชนบทนั้น เคยมีบทบาทในการถ่ายทอดคุณธรรมและวัฒนธรรมให้แก่ลูกหลาน และเป็นวัยที่ควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่ลูกหลาน ผู้สูงอายุกลับถูกปล่อยทิ้งไว้ให้โดดเดี่ยวแล้วชีวิตของผู้สูงอายุจึงถูกสั่งให้เป็นภาระของสังคมและเป็นภารกิจของหน่วยงานบริการสังคม ดังเห็นได้จากปัจจุบันมีหน่วยงานจำนวนมากทั้งหน่วยงานของรัฐบาล ส่วนกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรเอกชนต่างๆ ได้เข้ามาดำเนินกิจกรรม โดยมีนโยบายและภารกิจด้านการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก • ด้านเศรษฐกิจ • การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อรายจ่ายของภาครัฐ ด้านสวัสดิการสังคมเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เงินออมของประเทศมีแนวโน้มลดลงด้วย การที่ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นนี้ ทำให้เป็นภาระของท้องถิ่น จังหวัด และประเทศในการพัฒนาไปทางด้านต่างๆ ได้
การจัดการดูแลสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลการจัดการดูแลสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาล • สำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลนั้น ต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวที่อบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ” • คือ “ความอยู่ดีมีสุข” ตามความหมายข้างต้นครอบคลุมทุกมิติของการดำรงชีวิตที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวม และสามารถจำแนกองค์ประกอบได้เป็น 5 ด้านคือ 1)ด้านสุขภาพอนามัย 2) ความรู้ 3) รายได้และการกระจายรายได้ 4 ) ชีวิตครอบครัว 5)สภาพแวดล้อม ซึ่งทุกองค์ประกอบจะต้องดำเนินการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดผลต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง
1. แนวทางการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ • (1.1) ด้านสุขภาพ • จัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขเพื่อตรวจสุขภาพให้ประชาชน หรือจัดสถานที่เพื่อให้ผู้สูงอายุพบปะพูดคุยกัน • กำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น เช่น มีการตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุเป็นประจำทุกเดือนจัดหาเครื่องออกกำลังกายตามทุกชุมชนอย่างครบถ้วนจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการบ่อย ๆ เพื่อสร้างความรักความสามัคคีในชุมชนจัดหาน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภคให้ประชาชนอย่างเพียงพอจัดหาอุปกรณ์ในการดำเนินกิจวัตรประจำวันให้กับผู้สูงอายุ เช่น แว่นสายตา เครื่องช่วยฟังเสียง ไม้ค้ำยัน เป็นต้น • จัดเจ้าหน้าที่ให้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ เป็นประจำสม่ำเสมอ • ส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่ผู้สูงอายุให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่น สนับสนุนเป็นอาหารเสริมให้แก่ผู้สูงอายุ • จัดบริการด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง • พิจารณาจัดสรรงบประมาณในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนให้มากขึ้นครอบคลุมทุกด้าน • ปรับปรุงด้านการบริการสาธารณสุขอย่างเพียงพอและพัฒนาให้ดีขึ้น
(1.2) ด้านความรู้ • จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กิจกรรมที่ทำ เช่น ส่งเสริมความรู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นต้น • จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชน เช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ การสอนความรู้ด้านภาษา การสอนความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ เป็นต้น • มีหน่วยงานให้คำปรึกษา แนะนำแก่วัยรุ่น เพื่อลดปัญหาสังคม • มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และทั่วถึง • สนับสนุนผู้สูงอายุให้เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น • จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุและคนในครอบครัว • จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกเยี่ยมเยือนผู้สูงอายุ พูดคุย แนะนำ ให้คำปรึกษา • จัดทำเอกสารเผยแพร่ในเรื่องสุขภาพ • จัดรายการเสียงตามสายด้านสุขภาพเป็นประจำทุกวัน • มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาลให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง • ส่งเสริมความรู้ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะและสร้างประสบการณ์ให้มีความรู้สามารถช่วยเหลือประชาชนในละแวกชุมชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
(1.3) ด้านรายได้และการกระจายรายได้ • ส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีประโยชน์ต่อครอบครัว และสังคม • ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีผู้สืบทอด สืบสานไม่ให้เลือนหายไปจากท้องถิ่น เช่น การจักสานไม้ไผ่ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ • จัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ • ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนอย่างจริงจัง • เพิ่มเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
(1.4) ด้านชีวิตครอบครัว • จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน • วางแผนและจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันครอบครัว • ส่งเสริมให้ครอบครัวเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ • (1.5) ด้านสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต • ปรับปรุงสวนสาธารณะให้ร่มรื่น โดยจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจจัดทำโครงการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรมให้แก่ผู้ยากไร้ • ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ลำคลองให้สะอาดปราศจากขยะปลูกต้นไม้ในชุมชน ถางป่าที่รกร้าง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หนู และแมลงมีพิษต่าง ๆจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ชุมชนสะอาด น่ามอง และไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจัดหาถังรองรับขยะให้เพียงพอ • จัดให้มีตลาดสดที่สะอาดถูกสุขลักษณะ • ดูแลสถานที่ต่างๆ ให้ปลอดภัย จัดทำป้ายเตือนให้ประชาชนขับขี่รถตามซอกซอยต่างๆ ให้ช้าๆ เพื่อความปลอดภัยกันทุกคนในชุมชน จัดเวรยามและสายตรวจประจำชุมชน เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน
2. จัดทำบัตรอเนกประสงค์หรือบัตรพลเมืองอาวุโส (Senior Citizen Card) • สิทธิประโยชน์ผู้ถือบัตรพลเมืองอาวุโสจะได้รับขณะอยู่ในเขตเทศบาล เช่น ขึ้นรถเมล์เทศบาลเสียค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย หรือฟรี ต้นทางที่อำเภอชนแดน ปลายทาง ในตัวเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ รักษาพยาบาล ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องรอคิว ได้รับส่วนลดค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าห้องพักผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชนแดน ได้ส่วนลด ๕๐% นั่งรถรางชมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเพชรบูรณ์หรือสถานที่เที่ยวรอบเมืองฟรี รวมถึงไปสักการบูชาพระพุทธมหาธรรมราชองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งวัดที่มีชื่อเสียงในจังหวัด เป็นต้น อีกทั้งในกรณีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวก็จะได้รับการดูแลและเยี่ยมบ้านโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง