600 likes | 804 Views
การบริหารพนักงานราชการ. พนักงานราชการ. พนักงานราชการ หมายถึง. บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจาก งบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น.
E N D
การบริหารพนักงานราชการการบริหารพนักงานราชการ
พนักงานราชการ พนักงานราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจาก งบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการนั้น
การเปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการ • มติ ครม. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 และ หนังสือ คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ สำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008.5 / คพร. / 24 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547 ให้เปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว ดังนี้
ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณประเภทงบบุคลากรรายการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งปฏิบัติงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
ลูกจ้างชั่วคราวในปีงบประมาณ 2547 ที่จ้าง จากงบประมาณประเภทงบบุคลากรรายการ ค่าจ้างชั่วคราว แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีการจ้างจากเงินหลายประเภท โดยมีสัดส่วนระยะเวลาการจ้างด้วยงบประมาณประเภท งบบุคลากรรายการค่าจ้างชั่วคราวมากกว่า ระยะเวลาการจ้างด้วยเงินประเภทอื่น เป็นระยะเวลาปฏิบัติงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่อง ของลูกจ้างชั่วคราว • นับระยะเวลาเป็นปีตามปีงบประมาณ ตั้งแต่ วันที่เริ่มจ้างจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2547 เศษของปีถ้าครบ 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่อง ของลูกจ้างชั่วคราว • ระยะเวลาที่ลูกจ้างชั่วคราวคนเดียวปฏิบัติงาน เป็นประจำต่อเนื่อง ให้นับระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งรวมกันได้ ทั้งนี้ ให้เว้น ช่วงของการจ้างได้ ถ้าการเว้นช่วงนั้นเป็นการรอการดำเนินการจ้าง
การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่อง ของลูกจ้างชั่วคราว • กรณีที่มีการตัดโอนภารกิจจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนึ่ง และลูกจ้างชั่วคราว ผู้นั้นเป็นผู้ที่ถูกตัดโอนตามตำแหน่งไปยัง ส่วนราชการใหม่ ก็ให้นับระยะเวลาการ ปฏิบัติงานของลูกจ้างชั่วคราวผู้นั้นเป็น การจ้างต่อเนื่องกันได้ตามข้างต้น
การเปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการของกรมชลประทาน กรมชลประทานได้เปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการ จำนวน 3 รอบ รวมทั้งสิ้น 2,808 อัตรา
การเปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการของกรมชลประทาน • รอบที่ 1 จำนวน 2,655 อัตรา กลุ่ม 1 = 1,774 อัตรา กลุ่ม 2 = 881 อัตรา
การเปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการของกรมชลประทาน • รอบที่ 2 จำนวน 75 อัตรา กลุ่ม 1 = 26 อัตรา กลุ่ม 2 = 49 อัตรา
การเปลี่ยนสภาพลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานราชการของกรมชลประทาน • รอบที่ 3 จำนวน 78 อัตรา กลุ่ม 1 = 2 อัตรา กลุ่ม 2 = 76 อัตรา
ประเภทของพนักงานราชการประเภทของพนักงานราชการ 1. พนักงานราชการทั่วไป พนักงานราชการ มี 2 ประเภท รวม 6 กลุ่มงาน 2. พนักงานราชการพิเศษ
พนักงานราชการทั่วไป ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั่วไป ของส่วนราชการในด้านงานบริการ งานเทคนิค งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ หรืองานเชี่ยวชาญเฉพาะ
พนักงานราชการพิเศษ ได้แก่ พนักงานราชการซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ หรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษเพื่อปฏิบัติงานในเรื่องที่มีความสำคัญ และจำเป็นเฉพาะเรื่องของส่วนราชการ หรือมีความจำเป็นต้องใช้บุคคลในลักษณะดังกล่าว
พนักงานราชการทั่วไป ประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน (2) กลุ่มงานเทคนิค (1) กลุ่มงานบริการ (4) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ (3) กลุ่มงานบริหารทั่วไป (5) กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ
พนักงานราชการพิเศษ ประกอบด้วย 1 กลุ่มงาน (6) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ
การกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการ กำหนดตามประเภท และลักษณะงาน ตามกลุ่มงานพนักงานราชการ ซึ่งไม่ใช่ เป็นงานจ้างเหมาบริการ
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (1) กลุ่มงานบริการ คุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะงาน • ม.3 , ม.ศ.3 , ม.6 , ปวช. , ปวท. , ปวส. • งานปฏิบัติระดับต้น ไม่ซับซ้อน มีขั้นตอนชัดเจน ไม่ใช้ทักษะเฉพาะ
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (2) กลุ่มงานเทคนิค คุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะงาน • ปวช. , ปวท. , ปวส. หรือ • ใช้ความรู้ความชำนาญทางเทคนิคซึ่งต้องผ่านการศึกษาในระบบ หรืองานที่ปฏิบัติโดยใช้ทักษะเฉพาะบุคคล • มีประสบการณ์ในงานที่จะปฏิบัติไม่น้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (3) กลุ่มงานบริหารทั่วไป คุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะงาน • ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ • เช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่มี ความจำเป็นเร่งด่วน และมีระยะเวลา การปฏิบัติที่แน่นอน หรือ • ไม่ใช้ลักษณะเช่นเดียวกับที่ข้าราชการปฏิบัติ แต่จำเป็นต้องใช้วุฒิปริญญา
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (4) กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะงาน • ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี • ไม่อาจมอบให้มีผู้คุณวุฒิอย่างอื่นปฏิบัติแทนได้ และ • ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี + ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ • มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือ • ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี + ใบประกาศนียบัตรรับรองในสาขาวิชาชีพ • เป็นงานทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือ • เป็นงานที่ขาดแคลน
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (5) กลุ่มงานเชี่ยวชาญฉพาะ ลักษณะงาน • ใช้ความรู้ ประสบการณ์ หลักวิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ • พัฒนาระบบ / มาตรฐานงานที่ใช้ความรู้และประสบการณ์ เชี่ยวชาญเฉพาะ
(5) กลุ่มงานเชี่ยวชาญฉพาะ (ต่อ) คุณสมบัติเฉพาะ • ป.ตรี + ประสบการณ์ 6 ปี • ป.โท + ประสบการณ์ 4 ปี • ป.เอก + ประสบการณ์ 2 ปี • ป.ตรี + ประกาศนียบัตรรับรองในสาขาวิชาชีพ + ประสบการณ์ 6 ปี • ป.โท + ประกาศนียบัตรรับรองในสาขาวิชาชีพ + ประสบการณ์ 4 ปี • ป.เอก + ประกาศนียบัตรรับรองในสาขาวิชาชีพ + ประสบการณ์ 2 ปี • ประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี + ผลงาน
ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงาน (6) กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ คุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะงาน • ใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และเชี่ยวชาญพิเศษระดับสูงเป็นที่ยอมรับ • ส่วนราชการกำหนดคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ตามระดับของความเชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับสากล ระดับประเทศ ระดับทั่วไป) • งานหรือโครงการที่ไม่อาจหาผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมในหน่วยงานได้ • ไม่เป็นงานประจำ
การพิจารณาความมีทักษะหรือประสบการณ์การพิจารณาความมีทักษะหรือประสบการณ์ • หนังสือรับรองการทำงาน • การทดสอบทักษะ และการทดลองปฏิบัติเฉพาะบุคคล • มีผลงานแสดงถึงความมีประสบการณ์
การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับอายุการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับอายุ • กำหนดตามความเหมาะสมของลักษณะงาน -งานที่ต้องใช้ความพร้อมทางสมรรถภาพของร่างกาย / งานที่เสี่ยงอันตราย / งานที่ต้องตรากตรำ / งานที่มีผลเสียต่อสุขภาพ - งานที่ใช้ความรู้ / ความเชี่ยวชาญ / ประสบการณ์ ขาดแคลน
ระบบการสรรหาและเลือกสรรระบบการสรรหาและเลือกสรร
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรรหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรร กลุ่มพนักงานราชการทั่วไป • หลักสมรรถนะ (Competency Based) หลักการ • ความเท่าเทียมในโอกาส • ความคล่องตัวของส่วนราชการ • หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กลุ่มพนักงานราชการทั่วไปกลุ่มพนักงานราชการทั่วไป • ส่วนราชการจัดทำประกาศรับสมัคร โดยระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง คุณสมบัติ ของ ผู้มีสิทธิ์สมัคร หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกสรร เกณฑ์การตัดสิน และอื่น ๆ ที่ผู้สมัครควรทราบ การ สรรหา • ประกาศโดยเปิดเผย ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ • รับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วันทำการ
กลุ่มพนักงานราชการทั่วไปกลุ่มพนักงานราชการทั่วไป คุณสมบัติ • มีคุณสมบัติทั่วไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ส่วนราชการจะกำหนด 2. มีคุณวุฒิ หรือประสบการณ์ตามคุณสมบัติเฉพาะ ของกลุ่มงาน
กลุ่มพนักงานราชการทั่วไปกลุ่มพนักงานราชการทั่วไป หลักเกณฑ์การเลือกสรร ใช้การทดสอบสมรรถนะ (Competency) ที่จำเป็นสำหรับ การปฏิบัติงานในตำแหน่งตามที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งส่วนราชการสามารถเลือกวิธีการประเมินสมรรถนะ ที่กำหนดขึ้นด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ร่วมกัน เช่น สอบข้อเขียน ทดสอบตัวอย่างงาน หรือ สอบสัมภาษณ์ เป็นต้น
กลุ่มพนักงานราชการทั่วไปกลุ่มพนักงานราชการทั่วไป เกณฑ์ การตัดสิน ส่วนราชการกำหนดตามความ เหมาะสมกับตำแหน่ง อายุบัญชีไม่เกิน 1 ปี ผู้รับผิดชอบดำเนินการ คณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรรหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและเลือกสรร กลุ่มพนักงานราชการพิเศษ • หลักสมรรถนะ (Competency Based) หลักการ • ความคล่องตัวของส่วนราชการ • หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กลุ่มพนักงานราชการพิเศษกลุ่มพนักงานราชการพิเศษ คุณสมบัติ • มีคุณสมบัติทั่วไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 2. มีคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และผลงานตามที่ คกก.การบริหารงานพนักงานราชการกำหนด
กลุ่มพนักงานราชการพิเศษกลุ่มพนักงานราชการพิเศษ วิธีการ หัวหน้าส่วนราชการ เป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการ • การสรรหา (หัวหน้าส่วนราชการสรรหาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถาบันการเงิน สมาคมอาชีพ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยดำเนินการจ้างที่ปรึกษาในงานประเภทเดียวกัน หรือศูนย์ ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลังในด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น) • การเลือกสรร (หัวหน้าส่วนราชการเลือกสรรจากผู้ที่ได้ทำการ สรรหามาทั้งหมด)
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักการ ประเมินบนพื้นฐานผลสำเร็จ และผลสัมฤทธิ์ของงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานราชการ ทั่วไป • วัตถุประสงค์ เลิกจ้าง จ่ายค่าตอบแทน ต่อสัญญาจ้าง อื่น ๆ • สิ่งที่ประเมิน • จ่ายค่าตอบแทน • จ่ายค่าตอบแทน ต่อสัญญาจ้าง การมุ่งผลสัมฤทธิ์ บริการที่ดี คุณภาพงาน การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ความทันเวลา จริยธรรม ความร่วมแรงร่วมใจ
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน พนักงานราชการ ทั่วไป • น้ำหนักองค์ประกอบ ผลงาน : ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 • ระยะเวลาการประเมิน ครั้งที่ 2 : 1 เม.ย. – 30 ก.ย. ครั้งที่ 1 : 1 ต.ค. - 31 มี.ค. • ระดับผลการประเมิน • ผู้ประเมิน ผู้บังคับบัญชาระดับต้น • แบ่งเป็น3 ระดับ คณะกรรมการกลั่นกรอง ( ดีเด่น ดี ควรปรับปรุง) การปฏิบัติผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน • แบบประเมิน พนักงานราชการทั่วไป ตามตัวอย่างแบบประเมินแนบท้ายประกาศ • การเลิกจ้าง ผลการประเมินต่ำกว่าดีติดต่อกัน 2 ครั้ง • ระดับผลการประเมิน ผลเฉลี่ยย้อนหลังไม่เกิน 4 ปี ไม่ต่ำกว่าระดับดี
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน • ผู้ประเมิน พนักงานราชการ พิเศษ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้รับผิดชอบโครงการ • ระยะเวลาประเมิน • ระยะเวลาประเมิน ส่วนราชการกำหนด เช่น เดือนละ 1 ครั้ง หรือตาม ระยะเวลาโครงการ เช่น 25 % ผลงาน คุณลักษณะ • ระดับผลการประเมิน แบ่งเป็น 3 ระดับ (ดีเด่น ดี พอใช้) • แบบประเมิน :ตามตัวอย่างแบบประเมินแนบท้ายประกาศ
ระบบค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ระบบค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์
ค่าตอบแทน ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินเดือนซึ่งจ่ายให้แก่พนักงานราชการในการปฏิบัติงานให้แก่ส่วนราชการ ตามอัตราที่กำหนด ค่าตอบแทนพิเศษ หมายถึง เงินที่จ่ายเพิ่มให้กับพนักงานราชการ เมื่อมีผล การประเมินการปฏิบัติงาน คุณภาพ และ ปริมาณงาน ในระดับดีเด่น
... สิทธิประโยชน์ ... สิทธิประโยชน์ หมายถึง สิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พนักงานราชการอาจดได้รับ คือ • การลา • สิทธิในการรับค่าตอบแทนระหว่างลา • ค่าเบี้ยประชุม • ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลางาน • สิทธิในการได้รับรถประจำตำแหน่ง • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ • สิทธิในการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ • สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (สิทธิประโยชน์จากกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม)
สิทธิการลา ประเภทของการลา 1. การลาป่วย:มีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง (การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุญาตอาจสั่งให้มีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการรับรองประกอบการลา) 2. การลาคลอดบุตร:มีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน 3. การลากิจส่วนตัว:มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ปีละไม่เกิน 10 วัน
สิทธิการลา ประเภทของการลา 4. การลาพักผ่อน:มีสิทธิลาพักผ่อนปีละ 10 วันทำการ (สำหรับในปีแรกที่ได้รับการจ้างเป็นพนักงานราชการยังไม่ครบ 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน) 5. การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหารเข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลองความ พรั่งพร้อมตามกฏหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (เมื่อพ้นจาการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ให้รายงานตัวกลับเข้า ปฏิบัติงานภายใน 7 วัน)
สิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา 1. การลาป่วย :ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่ง ไม่เกิน 30 วัน 2. การลาคลอดบุตร:ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ ไม่เกิน 45 วัน อีก 45 วัน ให้ได้รับจากสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ ตามสิทธิที่เกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
สิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา 3. การลากิจส่วนตัว :ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ปีหนึ่ง ไม่เกิน 10 วัน 4. การลาพักผ่อนประจำปี:ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ ปีหนึ่งไม่เกิน 10 วัน
สิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาสิทธิได้รับค่าตอบแทนระหว่างลา 5. การลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหารเข้ารับการระดมพล หรือเพื่อทดลอง ความพรั่งพร้อม:ให้ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาได้ ปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน