300 likes | 904 Views
เรื่อง ผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทง นำเสนอโดย นางสาว กานตรัตน์ รินไชยา รหัส 45103402 สาขา สัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ ทองวิทยา. สัมมนาสัตว์ปีก. บทนำ.
E N D
เรื่องผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทงเรื่องผลของช่วงเวลาและความยาวนานในการจำกัดปริมาณอาหาร ในระยะ เจริญเติบโตที่มีต่อลักษณะต่างๆของแม่พันธุ์ไก่กระทง นำเสนอโดย นางสาว กานตรัตน์ รินไชยา รหัส 45103402 สาขา สัตวศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นรินทร์ ทองวิทยา สัมมนาสัตว์ปีก
บทนำ ★ การเลี้ยงไก่แม่พันธุ์เป็นงานที่ยุ่งยาก ต้องมีการเอาใจใส่ในการจัดการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์ของผู้เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์คือ ต้องการให้ได้ผลผลิตไข่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ตามศักยภาพของสายพันธุ์นั้น ๆ ซึ่งจำนวนลูกไก่ที่ผลิตได้นั้นเป็นผลมาจากผลผลิตไข่ที่มีความเหมาะสมต่อการฟัก ซึ่งปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการฟักออกของลูกไก่ ได้แก่ ขนาดรูปร่างของแม่ไก่ , ความสมบูรณ์พันธุ์ เป็นต้น ★ การจำกัดปริมาณอาหารในไก่แม่พันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแม่พันธุ์ไก่กระทง ถือว่าเป็นการจัดการที่มีความสำคัญ เนื่องจากแม่พันธุ์ไก่กระทงมักจะมีนิสัยกินอาหารมาก ทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก และ มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
( Mack , 1972) ผลดีในการควบคุมน้ำหนักตัวแม่พันธุ์ไก่กระทงเมื่อเปรียบเทียบกับไก่พันธุ์ไข่ มีดังนี้ 1. ไก่แม่พันธุ์มีอายุเมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรกช้า 2. ไข่ฟองแรกที่ได้มีขนาดใหญ่ 3. ผลผลิตไข่เมื่อสิ้นสุดระยะให้ผลผลิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 4. อัตราการตายลดลง 5. ค่าใช่จ่ายในด้านค่าอาหารลดลง 6. อัตราการฟักออกเพิ่มมากขึ้น 7. ความสมบูรณ์พันธุ์เพิ่มมากขึ้น
✿ ( เกียรติศักดิ์ , 2545 ) สายพันธุ์ไก่กระทงมีแนวโน้มจะกินอาหารมากกว่าที่ได้มีการแนะนำไว้จากบริษัทผู้ผลิต ด้วยเหตุนี้การให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เป็นสาเหตุให้ไก่อ้วนมากเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ✿ เนื่องจากในปัจจุบัน การจำกัดปริมาณอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่งผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Walfare) เนื่องจากการจำกัดปริมาณอาหารจะส่งผลให้ไก่เกิดความเครียด ✿ มีงานวิจัยหลาย ๆ งานได้เสนอเกี่ยวกับเรื่องช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจำกัดปริมาณอาหารแตกต่างกันไป ดังนั้นการวิเคราะห์หาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจำกัดปริมาณอาหารในแม่พันธุ์ไก่กระทงจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลี้ยงไก่แม่พันธุ์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันมีข้อจำกัดทางการค้ามากมาย และที่สำคัญที่สุดเป็นเรื่องของ Animal Welfare
เนื้อเรื่อง การจำกัดปริมาณอาหารนับว่า เป็นการจัดการที่มีความสำคัญในการเลี้ยงแม่พันธุ์ไก่กระทง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงในเชิงการค้า ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตลูกไก่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีผลทำให้ไก่แม่พันธุ์แสดงศักยภาพทางด้านการผลิต ได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดปริมาณอาหารเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวข้องกับ สวัสดิภาพของสัตว์ การจำกัดปริมาณเป็นเวลานานเกินไปจะส่งผลให้ไก่เกิดความเครียด ซึ่งจากการวิจัยพบว่าการจำกัดอาหารเพียงบางช่วงระยะเจริญเติบโต ส่งผลดีต่อแม่พันธุ์ไก่กระทงในหลายๆด้าน ได้แก่
✿ น้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกาย ✿ อายุ น้ำหนักตัว น้ำหนักรังไข่และท่อนำ ไข่ เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก ✿ จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ ✿ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์
น้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกายน้ำหนักตัวและส่วนประกอบของร่างกาย การจำกัดปริมาณอาหารนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ ควบคุมน้ำหนักตัวไก่ไม่ให้อ้วนมากเกินไป ( Bruggeman et al , 1999) ได้ทำการวิเคราะห์หาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการจำกัดปริมาณอาหารในแม่พันธุ์ไก่กระทงระยะเจริญเติบโต โดยทำการทดลองในไก่กระทงพันธุ์ Hybro G จำนวน 500 ตัว พบว่าที่อายุ 15 สัปดาห์ แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-14 สัปดาห์ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับ Yuet al , 1992 ซึ่งได้ทำการทดลองเรื่องผลของการให้อาหารระยะเจริญเติบโตและระยะให้ผลผลิตที่มีต่อลักษณะการเจริญเติบโตและลักษณะของซาก โดยทำการทดลองในแม่พันธุ์ไก่กระทงพันธุ์ Indain River จำนวน 400 ตัว พบว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 2
กราฟที่ 1 น้ำหนักตัวของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน ตั้งแต่อายุ 2-32 สัปดาห์ ( A = ab libitum R = restriction ) ที่มา : Bruggeman et al, 1999
กราฟที่ 2 น้ำหนักตัวของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน ที่มา : Yu et al , 1992
► นอกจากนั้นยังพบว่าไม่เพียงแต่แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าแล้ว ความยาวของแข้งยังมีขนาดสั้นกว่าด้วย ตารางที่ 1 ☻นั่นแสดงให้เห็นว่า การเจริญของแข้ง ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ ► เปอร์เซ็นต์ของเถ้าซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึง การเปลี่ยนแร่ธาตุของกระดูก ซึ่งกระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียมซึ่งไก่สามารถนำมาใช้ในการสร้างเปลือกไข่เมื่อแม่ไก่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ Yu et al , 1992ได้กล่าวไว้ว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ มีเปอร์เซ็นต์เถ้าสูงกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 2 ☻นั่นแสดงให้เห็นว่าการจำกัดปริมาณอาหารนั้น มีผลเพียงเล็กน้อยต่อการเจริญของกระดูก
ตารางที่ 2 องค์ประกอบของร่างกายในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่และจำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ตารางที่ 1 ความยาวของแข้งในแม่ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน
อายุ น้ำหนักตัว น้ำหนักรังไข่และท่อนำไข่ เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก ► Bruggeman et al , 1999 ได้สรุปไว้ว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-15 สัปดาห์ จะเริ่มวางไข่ฟองแรกช้ากว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับ Yu et al , 1992 ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ มีอายุเมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรกล่าช้ากว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเดียวกันกราฟที่ 3 ► น้ำหนักของรังไข่และท่อนำไข่ในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่และจำกัดปริมาณให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-15 สัปดาห์นั้นมีน้ำหนักไม่แตกต่างกัน ตารางที่ 3 (สมปอง , 2537) ขนาด และรูปร่างของท่อนำไข่จะแตกต่างกันไปตามชนิดและอายุของสัตว์ ☻ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการให้อาหารไม่มีผลต่อการเจริญของรังไข่และท่อนำไข่ การเจริญของรังไข่และท่อนำไข่ขึ้นอยู่กับอายุที่เพิ่มมากขึ้นของสัตว์
กราฟที่ 3 อายุเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (เมื่อเริ่มวางไข่ฟองแรก) ในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน Ad libitum Restriction
จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ จำนวนผลผลิตไข่และลักษณะของไข่ Bruggeman et al , 1999 ได้สรุปเอาไว้ว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงอายุระหว่าง 7-14 สัปดาห์ ให้ผลผลิตไข่เฉลี่ยสูงที่สุด จำนวนผลผลิตไข่เฉลี่ยต่อตัวต่อสัปดาห์ต่ำที่สุดในแม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ตลอดระยะให้ผลผลิต ตารางที่ 4 ซึ่งสอดคล้องกับ Yu et al, 1992 ซึ่งได้สรุปว่า แม่พันธุ์ไก่กระทงที่ให้กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ให้ผลผลิตไข่น้อยกว่าแม่พันธุ์ไก่กระทงที่จำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน กราฟที่ 4
การให้แม่พันธุ์ไก่กระทงกินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 5-18 สัปดาห์ ส่งผลให้การวางไข่เบี่ยงเบน และจำนวนไข่ที่ผิดปกติ(ไข่เปลือกนิ่ม , ไข่เปลือกบาง , ไข่แฝด) เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 5 นอกจากนั้นยังพบว่าการให้แม่พันธุ์ไก่กระทงกินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงอายุระหว่าง 4-18 สัปดาห์ ส่งผลให้ความสมบูรณ์พันธุ์(Fertility) อัตราการฟักออก(Hatchability) และจำนวนลูกไก่ที่ได้หลังจาการฟัก (Viabity) ลดลงเมื่อเทียบกับการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาเดียวกัน ตารางที่ 6
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนผลผลิตไข่เฉลี่ยต่อสัปดาห์ , ผลผลิตไข่รวม และ ผลผลิตไข่ฟัก รวมเมื่อสิ้นสุดระยะให้ผลผลิต
กราฟที่ 4 เปอร์เซ็นต์ Hen - day production( 20-60 สัปดาห์)ของแม่พันธุ์ไก่กระทงที่มีรูปแบบการให้อาหารแตกต่างกัน
ตารางที่ 5 ผลของการให้อาหารในระยะเจริญเติบโต (4-18 สัปดาห์ )และระยะให้ผลผลิต ( 18-62 สัปดาห์) ต่อการเกิดการเจริญของถุงไข่พร้อมกัน การวางไข่เบี่ยงเบน และไข่ผิดปกติ การวางไข่เบี่ยงเบน ไข่เปลือกบาง จำนวนไข่แฝด
ตารางที่ 6 ผลของการให้อาหารในระยะเจริญเติบโตระยะเจริญเติบโต (4-18 สัปดาห์ )และระยะให้ผลผลิต ( 18-62 สัปดาห์) ต่อความสมบูรณ์พันธุ์(Fertility) อัตราการฟักออก(Hatchability) และจำนวนลูกไก่ที่ได้หลังจาการฟัก (Viabity)
กราฟที่ 6 แสดงระดับฮอร์โมน LH และ FSH ในต่อม pituitaries ในแม่พันธุ์ไก่กระทงซึ่งมีลำดับของการให้อาหารแตกต่างกัน
สรุปผลการทดลอง การจำกัดปริมาณการให้อาหารในช่วงอายุระหว่าง 5 สัปดาห์ไปจนถึงระยะก่อนไก่ให้ผลผลิต(prebreeding) ส่งผลดีทำให้จำนวนผลผลิตไข่เพิ่มมากขึ้น จำนวนไข่เข้าฟักเพิ่มมากขึ้น อัตราการฟักออกเป็นลูกไก่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจำนวนลูกไก่ที่ได้จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่เลี้ยงแม่พันธุ์ไก่กระทงในเชิงธุรกิจ ทำให้ได้ผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการจำกัดปริมาณอาหารในช่วงเวลาดังกล่าวส่งผลดีดังที่กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้ไก่กินอาหารอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นการสิ้นเปลืองค่าอาหารแล้ว ทำให้น้ำหนักตัวไก่เพิ่มมากขึ้น จำนวนผลผลิตไข่ที่ได้ ยังน้อยกว่าการจำกัดปริมาณอาหารอีกด้วย ทั้งนี้ตามหลักความจริงที่ว่าไก่ต่างสายพันธุ์กันย่อมมีลักษณะการเจริญเติบโตแตกต่างกัน อายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แตกต่างกันไป ดังนั้น การนำวิธีการจำกัดปริมาณอาหารไปใช้จะต้องมีความยืดหยุ่นในการนำไปใช้