390 likes | 664 Views
การเขียนวิทยานิพนธ์. รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การเขียนวิทยานิพนธ์. “ไม่มีใครเขียนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เขียนเก่งเพราะฝึกฝน”. “ไม่เคยมีใครเขียนได้ดีในครั้งเดียว”. 1. ก่อนลงมือเขียน :. นักศึกษาควรจะ.
E N D
การเขียนวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุรศักดิ์ วัฒเนสก์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเขียนวิทยานิพนธ์ “ไม่มีใครเขียนเก่งมาตั้งแต่เกิด แต่เขียนเก่งเพราะฝึกฝน” “ไม่เคยมีใครเขียนได้ดีในครั้งเดียว” 1. ก่อนลงมือเขียน : นักศึกษาควรจะ • - เรียนรู้และฝึกหัดใช้ word processing program • - ทดลองเขียน หรือส่งบางส่วนของผลการค้นคว้าเพื่อตีพิมพ์ • วางเค้าโครงร่าง (outline) และระบุประเด็นต่างๆเป็นลำดับที่จะ • เขียนถึงให้เรียบร้อยเสียก่อน 2/32
2. การเตรียมตัวเขียน ขั้นตอนการวางเค้าโครงเรื่อง: 1. รวบรวมความรู้ ความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะ เขียน จากที่บันทึกไว้ระหว่างการค้นคว้าวิจัยและจาก ข้อมูลเพิ่มเติม (ยังไม่ต้องเรียงลำดับอะไร) 2. จัดหมวดหมู่ของสิ่งที่รวบรวมไว้ โดยอาจจะแบ่งตาม ลำดับเหตุการณ์ ความสำคัญของประเด็น ตามเหตุ และผล ฯลฯ 3/32
3. จัดลำดับให้เป็นระเบียบ เพื่อให้การติดตามเรื่องราว ทำได้ง่าย เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง โดยแบ่งออก เป็นบท หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หรือหัวข้อย่อย 4. ทบทวนเค้าโครงร่างที่วางไว้ และปรับปรุงแก้ไข หากจำเป็น การเขียน น่าจะกำหนดไว้ได้เลยว่า ต้องมีการร่างและปรับปรุงแก้ไขมากกว่าหนึ่งครั้ง 4/32
- เขียนตามลำดับ บท หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ที่วาง โครงเรื่องไว้แล้ว 2.1 ร่างครั้งแรก - เน้นเนื้อหาและความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ ยังไม่ต้องพะวงเกี่ยวกับเรื่องความสละสลวยของ ภาษา หรือการเลือกใช้คำ - ควรเขียนเว้นบรรทัดห่างๆ เพื่อไว้ใส่ข้อความเพิ่ม เติม หรือปรับปรุงข้อความในภายหลัง - ควรอ้างอิงให้ถูกต้องสมบูรณ์ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ 5/32
2.2 แก้ไขร่างครั้งแรก - ระหว่างเขียนร่างครั้งแรก ถ้าพบข้อบกพร่อง เช่น ที่เกี่ยวกับเนื้อหา หลักฐาน เหตุผล หรือข้อมูล ฯลฯ ควรทำหมายเหตุบันทึกไว้ว่า จะต้องแก้ไขปรับปรุง อะไรบ้าง เพราะจะทำให้ ความคิดต่อเนื่องขาดตอนไปไม่ลื่นไหล ไม่ควรแก้ไขในทันทีที่พบ - เมื่อเขียนร่างครั้งแรกเสร็จแล้ว จึงค่อยแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมร่างครั้งแรก 6/32
2.3 แก้ไขร่างครั้งที่สอง - อาจแก้ไข ปรับปรุงเนื้อหา หรือ รายละเอียดเนื้อความบทต่างๆ เพิ่มจากการแก้ไขครั้งแรก - ควรแก้ไข ปรับปรุงภาษา ความสละสลวย พร้อมกันไปด้วย โดยเน้นความชัดเจน การสื่อความหมาย - พยายามตัดถ้อยคำฟุ่มเฟือย ทุกคำที่เขียนต้องตอบได้ว่า เขียนไว้ทำไม 7/32
3. การเขียนอย่างมีคุณภาพ 3.1 หลักการพื้นฐานของงานเขียนที่ดี “ ซื่อสัตย์ ชัดเจน ไม่ลวดลาย แต่หลากหลาย” ซื่อสัตย์ ข้อมูล สิ่งที่ค้นพบ ที่นำเสนอ ต้องเป็นจริง ชัดเจน ถูกต้องแน่นอน ไม่คลุมเครือ ไม่ลวดลาย กะทัดรัด ตรงไปตรงมา ไม่เยิ่นเย้อ หลากหลาย เขียนให้น่าอ่าน โดยเลือกคำ ข้อความ ประโยค ที่แตกต่างกันในการสื่อความ 8/32
3.2 กฎ กติกา มารยาท 3.2.1 พึงละเว้น - การลอกเลียนความคิดของผู้อื่น ไม่ว่าจะ โดยตรง ดัดแปลง หรือแต่งเติม 3.2.2 พึงแสดงความขอบคุณ - ต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ 3.2.3 พึงยกย่อง ให้เกียรติเจ้าของผลงาน - โดยระบุชื่อเจ้าของผลงานที่ยืมมาใช้ 9/32
3.2.4 พึงตรงต่อเวลา - โดยส่ง”ร่าง”งานเขียนให้อาจารย์ที่ปรึกษาตามกำหนดหรือก่อนกำหนด 3.2.5 พึงรายงานผล เสนอข้อสรุป แสดงความคิดเห็น -ตามความเป็นจริงด้วยเจตนาบริสุทธิ์ โดยเฉพาะในกรณีที่ผลการวิจัยขัดแย้ง หรือแตกต่างจากที่ผู้อื่นเคยทำมาแล้ว ไม่ต้องกลัวความขัดแย้งทางวิชาการ 10/32
3.3 ข้อเตือนใจ วิทยานิพนธ์ ไม่ใช่กวีนิพนธ์ หรือ นวนิยาย ต้องเขียนจากข้อมูลที่เป็นจริง จากการค้นคว้า ทดลอง และวิจัย ต้องเขียนให้ชัดเจน เชิงบรรยาย สื่อความตรงไปตรงมา แบบร้อยแก้ว ต้องเข้าใจประเด็นหลักของเรื่องที่จะเขียนอย่างกระจ่าง แจ้ง 11/32
3.4 คุณภาพที่ดีสี่ประการของงานเขียน ต้องมี - ความถูกต้อง - ความชัดแจ้งและเรียบง่าย - ความกระชับ -เอกภาพ สัมพันธภาพ สารัตถภาพ 12/32
3.4.1 ความถูกต้อง การเขียนรายงานที่ถูกต้องเป็นจริง เป็นการแสดงความ ซื่อสัตย์ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณอันดีงาม ดังนั้น อย่า • เลือกนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงที่สนับสนุน • ข้อสรุปที่มีอยู่ • ละเว้นไม่นำเสนอข้อมูลที่ขัดแย้งกับข้อสรุป • ที่มี • หลอกตัวเองและผู้อ่าน ความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์ทั้งฉบับขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อเขียน 13/32
สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นพิเศษได้แก่สิ่งที่ควรตรวจสอบเป็นพิเศษได้แก่ ตัวเลข ศัพท์เทคนิคและศัพท์ชื่อเฉพาะ ผลลัพธ์การคำนวณ ตำแหน่งจุดทศนิยม สูตรเคมี 14/32
3.4.2 ความชัดแจ้งและความเรียบง่าย บันได 12 ขั้น สู่งานเขียนที่ชัดเจน 1. เขียนให้กระชับ 2. เลือกใช้คำที่เหมาะสม 3. อย่าใช้ วลี หรือข้อความซ้ำกันบ่อย 4. เขียนประโยคในลักษณะ passive voice 5. เขียนให้ตรงประเด็น 6. เลี่ยงประโยคที่มีคำขยายยาวๆ 7. เลือกใช้ประโยคบอกเล่า เลี่ยงประโยคปฏิเสธ 15/32
8. เลี่ยงการใช้คำหรือวลี ที่รู้ความหมายกัน เฉพาะใน กลุ่ม (jargon) 9.พึงระวังการวางตำแหน่งวลี หรือข้อความในวงเล็บ เพื่อการขยายความ 10. หลีกเลี่ยงการเขียนที่เปลี่ยนประเด็น แนวคิด แบบทันทีทันใด 11.ใช้การแต่งประโยค (การเรียงคำ การวางส่วนขยาย) รูปแบบเดียวกัน เมื่อต้องการสื่อความทำนองเดียวกัน 12. จัดลำดับความคิดตามเหตุผล เริ่มจากง่ายไปยาก 16/32
4. หลักเกณฑ์บางประการเกี่ยวกับการเขียน 4.1 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ 4.1.1 เลือกใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามความจำเป็น เพื่อให้การแบ่งข้อความต่างๆชัดเจนยิ่งขึ้น 4.1.2 ถ้าจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ยึดหลักไวยากรณ์ 4.1.3 การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และเครื่องหมายอื่นๆ กับสูตร สัญลักษณ์ คำย่อ อักษรย่อฯลฯ ขึ้นกับ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 17/32
4.2 การใช้ตัวเลขในข้อความบรรยาย 4.2.1 เขียนเป็นตัวหนังสือสำหรับเลขหลักหน่วย (1-9) ส่วนเลขหลักสิบขึ้นไปให้ใช้ตัวเลข 4.2.2 ตัวเลขตั้งแต่หกหน่วยขึ้นไปให้เขียนตัวอักษรกำกับไว้ใน วงเล็บ 4.3 การสะกดคำ 4.3.1 ใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นเกณฑ์ 4.3.2 การเขียนทับศัพท์คำภาษาต่างประเทศเป็น ภาษาไทยให้ใช้หลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน 18/32
4.4 ตาราง 4.4.1 ตารางที่นำเสนอจะจัดทำขึ้นเอง หรือคัดลอกจากที่อื่น ก็ได้ แต่ต้องระบุที่มาด้วย 4.4.2 การอ้างอิงตารางให้อ้างตามหมายเลขตาราง ว่า ตามตาราง.... 4.4.3 ทุกตารางที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ จะต้องมีการกล่าว ถึงในส่วนของเนื้อความ 4.5 รูปภาพ ทำในลักษณะเดียวกับตาราง 19/32
5. การเขียนบทสรุปและบทคัดย่อ 5.1 บทสรุป - เมื่อเขียนจบแต่ละหัวข้อใหญ่ หรืออย่างน้อยเมื่อเขียน จบแต่ละบท ควรมีข้อสรุปของหัวข้อ หรือบทนั้นๆเป็น ย่อหน้าส่งท้าย เพื่อให้เห็นชัดเจนว่า สาระสำคัญที่เขียน มาของหัวข้อหรือบทนั้นๆ คืออะไร อาจขมวดปม หรือ เปิดประเด็นเพิ่ม เพื่อนำไปสู่เนื้อหาตอนต่อไป 20/32
ถ้าทุกบทมีข้อสรุปแล้วการเขียนบทสรุปเป็นเพียง ถ้าทุกบทมีข้อสรุปแล้วการเขียนบทสรุปเป็นเพียง • การรวบรวมข้อสรุป เชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ • และสื่อความให้เห็นว่า งานวิจัยที่ทำค้นพบความรู้ • ใหม่อะไรสอดคล้องกับสมมติฐานหรือตรงตามวัตถุ • ประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ 5.2 บทคัดย่อ - เป็นส่วนสำคัญที่สุดของวิทยานิพนธ์ เพราะเป็นส่วน ของสาระของงานวิจัยนั้น - ต้องสะท้อนให้เห็นได้ว่า งานวิจัยนั้นเกี่ยวกับอะไร ทำ อย่างไร ได้ผลหรือค้นพบอะไรบ้าง 21/32
ลักษณะของบทคัดย่อที่ดีลักษณะของบทคัดย่อที่ดี - มีความหมายสมบูรณ์โดยตัวเอง - ชัดเจน กระชับ - มีสาระสำคัญของงานและข้อสรุป - ต้องไม่มี การอ้างอิง การยกตัวอย่าง ข้อความ สมการ ภาพ คำวิจารณ์ คำฟุ่มเฟือย 22/32
6. ตัวอย่างการใช้ภาษาในการเขียน ตัวอย่างคำฟุ่มเฟือย “ เขาเดินทางไปสำรวจตามลำพังโดยไม่มีผู้ติดตาม(แม้แต่คนเดียว)” “ ล้อมรอบทุกๆด้านโดย” “แบ่งครึ่งออกเป็นสองส่วน(เท่าๆกัน)” “ตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ” ตัวอย่างการเขียนที่ถอดความจากภาษาอังกฤษโดยตรง “การนำเสนอเช่นนี้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ” ควรเขียนเป็น “ การนำเสนอเช่นนี้เข้าใจได้ง่าย ” 23/32
“มันเป็นความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม”“มันเป็นความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม” ควรเขียนเป็น “ผู้วิจัยจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติม” ตัวอย่างคำ/ประโยคกำกวม ความหมายไม่ชัดเจน “การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นเฉพาะต้นไม้ที่มีชื่อในวรรณคดี” “นักศึกษาวิ่งชนอาจารย์ล้มลงแขนหัก” ตัวอย่างคำขยายอยู่ผิดที่ “ ตัวอย่างถูกเก็บไว้เพื่อการวิเคราะห์ต่อไปในหลอดแก้ว” “ เขาถูกฟ้องฐานวิ่งราวทรัพย์ในศาลอาญา” 24/32
7. การทำหลักฐานอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม การทำหลักฐานอ้างอิงที่นิยมทำกันมี 2 ระบบ คือ (1) ระบบนาม-ปี (Name-Year System) (2) ระบบหมายเลข(Number System) 25/32
7.1 ระบบนาม-ปี 7.1.1 ระบุเฉพาะนามสกุลของผู้เขียน และปีที่พิมพ์ เช่น Thompson(1986;1987) ทำได้ 3 แบบ คือ หรือ Williams and Thompson(1986) หรือ Smith et al.(1991) ถ้าผู้เขียนคนเดียวกัน มีเอกสารตีพิมพ์หลายเรื่อง และ พิมพ์ในปีเดียวกัน ให้ใส่อักษร a, b, c ไว้ท้ายปีที่พิมพ์ เช่น Thompson(1985a; 1985b) 26/32
7.1.2 ระบุทั้งชื่อและนามสกุลของผู้เขียน ปีที่พิมพ์ สง่า สรรพศรี (2525) Direk E. Thompson (1985) 7.1.3 ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และ เลขหน้าของเอกสาร เช่น อัญชลี ดุษฎีพรรณ์ (2527:101) หรือ Nicolas Ferguson and Maire O’Reilly (1979a: 35-40) 27/32
การลงรายชื่อเอกสารอ้างอิงระบบนาม-ปี ไว้ท้ายเล่มในส่วนของบรรณานุกรมนั้น มีหลักดังนี้ • เรียงรายชื่อตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการ • ระบุปีที่พิมพ์ถัดจากชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง • แยกรายการสิ่งพิมพ์ภาษาไทยและอังกฤษออกจากกัน ตัวอย่าง ณรงค์ รัตนะ. 2528ก. การครอบครองและการรอบรู้เทคโนโลยี ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:[ยูเนสโก] ศูนย์ถ่ายทอดเทคโน- โลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน. 28/32
สง่า สรรพศรี. 2525. ทรัพยากรธรรมชาติ และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: อักษรสยาม การพิมพ์. อัญชลี ดุษฎีพรรณ์. 2527. การวางแผนให้บริการทันตสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิท- ยาลัยเชียงใหม่. Becker, L. J.,and Saligman, C. 1981. “Welcome to the energy crisis”. Journal of Social Issues, 57(2) : 1-7. 29/32
7.2 ระบบหมายเลข 7.2.1 ใส่หมายเลขก่อนหลังตามลำดับที่อ้างอิง แบ่งย่อยเป็น 2 รูปแบบ คือ 7.2.2 ใส่หมายเลขก่อนหลังตามลำดับอักษร 30/32