1 / 11

เรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม ตามระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

เรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม ตามระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา. โดย นายวินัย เรืองศรี เลขานุการแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา 6 สิงหาคม 2551. วิธีการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม.

ivan-dudley
Download Presentation

เรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม ตามระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมตามระบบกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา โดย นายวินัย เรืองศรี เลขานุการแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา 6 สิงหาคม 2551

  2. วิธีการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมวิธีการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม • การออกกฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ • กฎหมายนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติNational Environmental Policy Act :NEPA 1970 • กฎหมายน้ำสะอาดClean Water Act • กฎหมายอากาศสะอาดClean Air Act • การจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการบังคับใช้กฎหมายฯ • สภาที่ปรึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมCouncil on Environmental Quality :CEQ • หน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมEnvironmental Protection Agency : EPA • การใช้กระบวนการชี้ขาดทางศาล เพื่อตรวจสอบและระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม • การฟ้องคดีโดยประชาชน Citizen Suit • การตรวจสอบถ่วงดุลย์การกระทำของฝ่ายปกครอง Judicial Review

  3. การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในอดีตการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในอดีต • 1960 เริ่มนำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก ADRมาใช้ • เป็นแนวคิดที่เพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาทแทนการฟ้องคดีต่อศาล • ช่วยลดภาระทางคดี เช่น ค่าใช้จ่าย เวลา และคดีคั่งค้างเท่านั้น • 3 รูปแบบ • การเจรจาต่อรองNegotiation(วิธีการที่เก่าแก่ที่สุด) • การไกล่เกลี่ยMediation • อนุญาโตตุลาการ Arbitration (ตามสัญญา/กฎหมาย) • The Conservative Foundation Study ศึกษาข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม 160 เรื่อง คู่กรณี 132 ราย สมัครใจใช้วิธีการระงับข้อพิพาทด้วยการเจรจาต่อรอง ทำให้ข้อพิพาท 103 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 78 บรรลุความตกลงและระงับข้อพิพาทกันได้โดยสันติวิธี

  4. การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันการระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน • “กระบวนการระงับความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม”ECR • แนวคิดในเชิงป้องกัน โดยการจัดการ/ระงับความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเกิดข้อพิพาทหรือก่อนฟ้องคดีทางสิ่งแวดล้อม เพราะความขัดแย้งอาจส่งกระทบที่รุนแรงจนกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนยากที่จะแก้ไขได้ในภายหลัง • 1998 รัฐสภาสหรัฐจัดตั้งสถาบันระงับความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมThe US Institute for Environmental Conflict Resolution • เป็นหน่วยงานอิสระ ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะช่วยเหลือในด้านการต่อรองเจรจา การไกล่เกลี่ย และการระงับข้อพิพาททางเลือกอื่นนอกเหนือจากการใช้สิทธิฟ้องคดีทางศาล • ข้อพิพาททางแพ่ง และข้อพิพาททางปกครอง รวมถึงนโยบายและกฎเกณฑ์ต่างๆ • ข้อพิพาทภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน • ข้อพิพาทระหว่างรัฐกับอกชน หรือเอกชนกับเอกชน

  5. การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน (ต่อ) • กรอบของการดำเนินการ • ในช่วงกระบวนของการวางแผน /กำหนดนโยบาย /การออกกฎระเบียบ • ในช่วงขั้นตอนการตัดสินใจ /การบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการดำเนินคดี • ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานระดับรัฐบาลกลาง มลรัฐ ท้องถิ่น • วัตถุประสงค์ • เพื่อแก้ไขความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงประสิทธิภาพในการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานรัฐด้วยวิธีการที่เหมาะสม • เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่หน่วยงานรัฐ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการและการแก้ไขความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม • เพื่อเสนอแนวทางและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่หน่วยงานของรัฐในการแก้ไขความขัดแย้งและการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม

  6. การระงับข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน (ต่อ) • ตัวอย่างปัญหาความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม • ปัญหาการจัดการและการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะ ป่าไม้ และการอนุรักษ์แหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ใช้สอยในอนาคต • ปัญหาการใช้หรือแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ • ปัญหาการจัดหาสถานที่ตั้งโครงการ สิ่งปลูกสร้าง สิ่งก่อสร้าง หรือโรงงานอุตสาหกรรม • ปัญหาการจัดการและการใช้ประโยชน์เขตอนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ • ปัญหาสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ • ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับชนเผ่า • ปัญหาภาวะมลพิษต่างๆ

  7. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทฯข้อสังเกตเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทฯ • คดีอาญา ไม่ใช้ADR / ECR(ต่างกับแนวคิดกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์) • คดีปกครอง ซึ่งคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและใช้อำนาจตามกฎหมายหาชน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ ก็สามารถใช้ADR / ECRเพื่อทำการเจรจาต่อรองหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหรือความขัดแย้งทางสิ่งแวดล้อม กับคู่กรณีอีกฝ่ายที่เป็นเอกชนได้(ต่างกับแนวคิดที่ว่าหน่วยงานรัฐไม่อยู่ในฐานะเจรจาต่อรองกับเอกชนได้เลย เพราะไม่มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีปกครอง) • ข้อจำกัดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • The Administrative Dispute Resolution Act : ADRA 1996 ข้อจำกัดในการใช้ADR เช่น กาณีที่ต้องอาศัยคำชี้ขาดของศาลเพื่อสร้างบรรทัดฐานทางคดี หรือกรณีต้องการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะ หรือข้อตกลงอาจมีผลกระทบต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่มิใช่คู่กรณี หรือเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น • The Alternative Dispute Resolution Act 1998 • The Negotiated Rulemaking Act 1990 • แต่เรามีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ 2545 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่งเท่านั้น

  8. กรณีศึกษาการระงับข้อพิพาททางฯ • คดี BLM Scattered Apples Timber Sale Mediation : Apr-Oct 2005 • กลุ่มอนุรักษ์ชุมชน Williams, Oregonฟ้องร้องthe U.S. Bureau of Land Management (BLM)กล่าวหาเรื่องการทำสัญญาอนุญาตให้เอกชนทำไม้ในเชิงพาณิชย์ • สถาบันได้รับการร้องขอให้ประเมินสถานการณ์. และเห็นว่า การใช้วิธีการไกล่เกลี่ยสามารถนำมาใช้ระงับความขัดแย้งทางคดีได้ และเสนอแนะให้คู่กรณีใช้วิธีการดังกล่าวในการแก้ปัญหา คู่พิพาทตกลงที่จะทำการไกล่เกลี่ยในประเด็นเรื่องการกระจายไม้ที่จะทำการค้าขายโดยตัวแทนทางกฎหมายของแต่ละฝ่ายได้เข้าร่วมเจรจากับผู้ไกล่เกลี่ย และกำหนดกระบวนการทำงานร่วมกัน เงื่อนไข และวางหลักการพื้นฐานในการที่จะไกล่เกลี่ยกัน • ใช้เวลาเพียง 7 เดือน ก็สามารถบรรลุข้อตกลงและมีการถอนฟ้องคดีในที่สุด • ทำข้อตกลงยอมให้มีการค้าขายไม้เพียงร้อยละ 75 ส่วนต้นไม้ที่เหลือเนื้อที่ 152 เอเคอร์ ให้คงไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่อไป • รัฐบาลกลางอาจต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายจากการผิดสัญญาแก่คู่สัญญาเอกชน • คู่พิพาทเสียค่าใช้จ่ายเพียง $66,000 • ผลการไกล่เกลี่ยถือเป็นต้นแบบของการแก้ไขความขัดแย้งในทำนองเดียวกันนี้ • ข้อตกลงยังได้กำหนดเงื่อนไขที่สำคัญแก่ชุมชนให้มีส่วนร่วมดุแลการตัดต้นไม้ และสามารถทำงานร่วมเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจดูการทำงานของคู่สัญญาเอกชนได้อีกทางหนึ่ง

  9. กรณีศึกษาการระงับข้อพิพาททางเลือก (ต่อ) • กรณี Dixie-Fishlake Forest Plan Revision nuary 2002 - September 2005 • ปี 2001 หัวหน้าสำนักงานป่าไม้ 2 แห่ง The Dixie and Fishlake National Forests ต้องการทบทวนแผนงานบริหารจัดการป่าฉบับเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน ทางสถาบันได้ให้ความช่วยเหลือโดยมีผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่นเข้าร่วมดำเนินการด้วยตั้งแต่เริ่มต้น แผนงานจึงสะท้อนถึงความต้องการในระดับท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ชุมชนยังสามารถนำเสนอความต้องการเฉพาะของตนปัญหาต่างๆได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำไม้ ค้าไม้ การสร้างเส้นทางสัญจร การจัดสรรพื้นที่พักผ่อน พื้นที่เลี้ยงสัตว์ และพื้นที่ป่าไม้ • กระบวนการแก้ไขปัญหาเริ่มในปี 2002 จนในปี 2003 สามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ป่าเฉพาะ และในปี 2004 ขั้นตอนต่างๆประสบปัญหาอุปสรรคมากมาย เช่น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบได้โยกย้ายและไม่ได้มีการแต่งตั้งทดแทน เกิดความสับสนและสังคมขาดความไว้วางใจในกระบวนการร่วมมือของภาครัฐ จนสถาบันต้องยุติการให้ความช่วยเหลือในที่สุด Lessons Learned • บทเรียน คือ ภาครัฐต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อระยะเวลาการวางแผนโครงการต่างๆ และการปรับเปลี่ยนบุคลากรผู้รับผิดชอบอาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือ เพราะข้อตกลงที่แน่นอนของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการได้รับการร่วมมือ • การตรวจสอบทำให้กระบวนการดำเนินไปได้ตามแผนที่วางไว้ • เป็นตัวอย่างของความร่วมมือจากภายในและภายนอกหน่วยงานรัฐ • ระบบแบ่งหน้าที่กันทำและการแลกเปลี่ยนทำให้เกิดการเรียนรู้

  10. กรณีศึกษาการระงับข้อพิพาททางเลือก (ต่อ) • กรณี Military Community Compatibility Committee (MC3) • ปัญหาความขัดแย้งจากเสียงของเครื่องบินฝึกซ้อมที่ฐานทัพอากาศ the Davis Monthan Air Force Baseซึ่งก่อความเดือดร้อนมานานแก่ชาวบ้านแถบTucson • จนกระทั่งในปี 2005 ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น สถาบันได้เชิญชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาพูดคุย กลุ่มชาวบ้านตกลงที่จะหาหนทางลดเสียงดังโดยฐานทัพยังคงให้การฝึกซ้อมได้ โดยจัดหาผู้อำนวยการหรือผู้ประสานงานในการเจรจา • มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายทหารและพลเรือน the Military Community Compatibility Committee (MC3) ขึ้น ประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้าน ผู้ประกอบธุรกิจ คณาจารย์จากสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบ ผู้นำองค์กรปกครองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จากฐานทัพอากาศ และผู้แทนจากวุฒิสมาชิกในพื้นที่ • คณะกรรมการร่วม MC3 เสนอแนวทาง 24 ข้อ เกี่ยวกับการปฏิบัติการของฐานทัพอากาศ และระบียบการใช้ที่ดิน • ในเดือนกันยายน 2006 มีการแจ้งแนวทางทั้งหมดแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฐานทัพอากาศ รัฐบาลส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งเห็นชอบด้วยกับแนวทางดังกล่าว • ในที่สุดการร้องเรียนเกี่ยวกับผลกระทบทางเสียงเริ่มลดน้อยลง

  11. ด้วยความขอบคุณTHANK YOU วินัย เรืองศรี WINAI RUANGSRI ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อม RESEARCH JUSTICE OF THE GREEN BENCH

More Related