1 / 14

ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน

ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน. นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓. ตัวชี้วัดผลลัพธ์. สัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า ๑๕๐ ไมโครกรัมต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๕๐

istas
Download Presentation

ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกัน โรคขาดสารไอโอดีน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนตัวชี้วัดโครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๒๑ธันวาคม ๒๕๕๓

  2. ตัวชี้วัดผลลัพธ์ • สัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า ๑๕๐ ไมโครกรัมต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๕๐ • ระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมธัยรอยด์ในทารกแรกเกิด (Thyroid Stimulating Hormone : TSH) มากกว่า ๑๑.๒ มิลลิยูนิตต่อลิตร ไม่เกินร้อยละ ๓

  3. ตัวชี้วัดระดับกระบวนการตัวชี้วัดระดับกระบวนการ ๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของเกลือบริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขจากแหล่งผลิตในประเทศ มีการเติมไอโอดีน และร้อยละ ๘๐ ของแหล่งผลิต / นำเข้า / สถานที่จำหน่าย มีการผลิต / นำเข้า / จำหน่ายเกลือบริโภคที่มีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค ๑ กิโลกรัม ๒. ความครอบคลุมการใช้เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนคุณภาพของครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน ๔. ร้อยละ ๑๐๐ ของชุมชน / หมู่บ้านในทุกจังหวัดเข้าสู่กระบวนการ “ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน”

  4. ระบบเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล

  5. ระบบเฝ้าระวังคุณภาพเกลือบริโภค • จากแหล่งผลิต / นำเข้า • โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดที่มีโรงงาน / แหล่งผลิต / นำเข้า ปีละครั้ง โดยการเก็บตัวอย่างเกลือบริโภคส่งให้หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารส่วนภูมิภาค หากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และมีการดำเนินการทางด้านกฎหมาย ให้ส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ • ณ แหล่งจำหน่าย • โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการตามแผนการเก็บตัวอย่างของหน่วยเคลื่อนที่ฯทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น ๑,๓๐๐ ตัวอย่าง

  6. ระบบเฝ้าระวังคุณภาพเกลือ • ตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนที่ครัวเรือน • โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เป็นผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการตามแผนการตรวจสอบคุณภาพเกลือในครัวเรือนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โดยสุ่มตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนที่ครัวเรือนทุกอำเภอๆละ ๓๐๐ ครัวเรือน ปีละ ๒ ครั้ง ในเดือนธันวาคม และมิถุนายน

  7. ระบบเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในประชากร • ติดตามการได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ • โดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ในประเด็นการบริหารจัดการ ความครอบคลุม ความคล่องตัว และความพึงพอใจ • ตรวจไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ • โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามระบบเฝ้าระวัง โดยสุ่มตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์จังหวัดละ ๓๐๐ ราย ทุกจังหวัดในช่วง ๓ ปีแรก (พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๕) • ติดตามผลการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด ( TSH) ในทุกจังหวัด • โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการตรวจคัดกรองและตรวจยืนยัน

  8. หมู่บ้านไอโอดีน เกณฑ์ชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน • ชุมชน / หมู่บ้าน มีนโยบายและมาตรการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน • ผู้นำชุมชนและแกนนำชุมชน / หมู่บ้าน และประชาชน รับรู้ ตระหนัก และปฏิบัติ เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้ • มีการสุ่มตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ณ แหล่งผลิต สถานที่จำหน่าย ร้านอาหาร ครัวเรือน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ปีละ ๒ ครั้ง

  9. แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน ๑. ติดตามตรวจสอบคุณภาพการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนให้มีปริมาณไอโอดีนในระดับที่เหมาะสม (๓๐ – ๕๐ ppm) ๒. ประเมินพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน แหล่งไอโอดีนที่ประชาชนได้รับมาจากแหล่งใดบ้าง ประชาชนบริโภคไอโอดีนมากเกินความเหมาะสมหรือไม่ ๓. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ระดับไอโอดีนในปัสสาวะ ๔. ติดตามเฝ้าระวังอัตราคอพอกในประชากร ๕. ติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีอาการเข้าได้กับ Iodine-induced hyperthyroidism และ Autoimmune hypothyroidism หรือ Hashimoto’s thyroiditis

  10. แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน ความต้องการไอโอดีนต่อวันในแต่ละกลุ่มอายุ ทารกแรกเกิด - ๕ ปี ๙๐ ไมโครกรัม* เด็กวัยเรียนอายุ ๖ - ๑๒ ปี ๑๒๐ ไมโครกรัม* เด็กวัยรุ่น ๑๓ - ๑๘ ปีและผู้ใหญ่ ๑๕๐ ไมโครกรัม* หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ๒๕๐ ไมโครกรัม** ไม่ควรได้รับไอโอดีนเกินวันละ ๕๐๐ ไมโครกรัม *กองโภชนาการ กรมอนามัย พ.ศ. ๒๕๔๖ **WHO/UNICEF/ICCIDD ๒๐๐๗

  11. แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน รายบุคคล กรณีพบว่ามีผู้ที่เป็นคอพอกหรือต่อมธัยรอยด์โต ผู้ที่มีปัญหา hyperthyroidism หรือ hypothyroidism ๑) ซักประวัติการได้รับไอโอดีน ประวัติโรคประจำตัว ๒) ตรวจ T4และ/หรือ FT4 และ TSH ๓) แนะนำการบริโภคไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม ๔) ให้การรักษาทางการแพทย์ตามภาวะผิดปกติของผู้ป่วย

  12. แนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไอโอดีนเกิน รายพื้นที่(MUIC > ๒๕๐ µg/l ในหญิงตั้งครรภ์) ๑)ทบทวนสถานการณ์การบริโภคหรือได้รับสารไอโอดีนในกลุ่มประชากร ๒) ตรวจสอบการบริหารจัดการเรื่องยาเม็ดเสริมไอโอดีนที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ กำหนดไว้ หรืออัตราส่วนของการผสมน้ำยาไอโอดีนเข้มข้นในน้ำดื่มเสริมไอโอดีนเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดาร ๓) ดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุที่ตรวจพบ

  13. แนวทางในการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะไอโอดีนเกินแนวทางในการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะไอโอดีนเกิน ผลกระทบต่อร่างกายจากการได้รับไอโอดีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมการบริโภค ข้อมูลภาวะไอโอดีนของพื้นที่ เกลือ -ปริมาณบริโภค(กรัมต่อวัน) -ปริมาณไอโอดีนในเกลือ (ไมโครกรัมต่อเกลือ 1 กรัม) แหล่งอาหารที่มีไอโอดีน -ปริมาณอาหารที่บริโภค -ปริมาณไอโอดีน (ไมโครกรัมต่อหน่วย) น้ำดื่มเสริมไอโอดีน -ปริมาณที่ดื่มต่อวัน -ความเข้มข้นของไอโอดีน ยาเม็ดเสริมไอโอดีน -จำนวนเม็ด -ปริมาณไอโอดีนต่อเม็ด ยารักษาโรคที่มีไอโอดีน -จำนวนเม็ด -ปริมาณไอโอดีนต่อเม็ด ฯลฯ คิดเป็นผลรวมของปริมาณไอโอดีนที่ได้รับต่อวัน และระยะเวลาที่ได้รับต่อเนื่อง ไอโอดีนในปัสสาวะของกลุ่มประชาชนในพื้นที่ - เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - เด็กวัยเรียน - หญิงตั้งครรภ์ (อาจมีการเฝ้าระวังในกลุ่มประชากรนอกเหนือจาก 3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่) อัตราคอพอก* - เด็กวัยเรียน - ประชากรทั่วไป (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่) ผู้ที่มีปัญหา hyperthyroidism* ชีพจรเต้นเร็ว น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย มือสั่น ฯลฯ ผู้ที่มีปัญหา hypothyroidism* อาการไม่ชัดเจน อาจพบอาการเหล่านี้ได้แก่ เหนื่อยล้า ซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่มทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ง่วงผิดปกติ เส้นผมหยาบและแห้ง ผิวแห้ง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ขาบวม รอบตาบวม ชีพจรเต้นช้า ฯลฯ * ผลกระทบต่อร่างกายจากการได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจตรวจพบได้ทั้งในลักษณะของอาการคอพอก hyperthyroidism หรือ hypothyroidism ขึ้นอยู่กับปริมาณไอโอดีน และระยะเวลาที่ได้รับไอโอดีน

  14. ไอโอดีนมีคุณค่า เสริมปัญญาคนทุกวัย ขอบคุณครับ

More Related