1 / 15

การสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียง Noise Survey and measurements

การสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียง Noise Survey and measurements. 7 ธันวาคม 2553. วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดระดับเสียงดัง. เพื่อประเมินการสัมผัสเสียงตามกฎหมาย : เป็นการตรวจวัดเสียงในโรงงาน เพื่อประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับเสียงที่อันตรายอันจะนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินหรือไม่

issac
Download Presentation

การสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียง Noise Survey and measurements

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียงNoise Survey and measurements 7 ธันวาคม 2553

  2. วัตถุประสงค์ของการตรวจวัดระดับเสียงดังวัตถุประสงค์ของการตรวจวัดระดับเสียงดัง • เพื่อประเมินการสัมผัสเสียงตามกฎหมาย : เป็นการตรวจวัดเสียงในโรงงาน เพื่อประเมินว่าผู้ปฏิบัติงานได้รับเสียงที่อันตรายอันจะนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินหรือไม่ • การตรวจเพื่อทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน :เป็นการตรวจวัดเพื่อเฝ้าระวังเสียงดัง และจัดทำแผนผังเส้นเสียง (Noise contour map) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารกับพนักงานโดยกำหนดเป็นพื้นที่อันตรายของเสียง ที่จำเป็นต้องติดป้ายเตือนและกำหนดให้มีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง • การตรวจวัดเพื่อดำเนินการควบคุมเสียง : เพื่อนำผลไปพิจารณาหาแนวทางในการควบคุมเสียง

  3. การสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียงมีกี่ประเภทตอบ : 2 ประเภท (แบบเบื้องต้น, แบบละเอียด) • การสำรวจและตรวจวัดแบบเบื้องต้น (Preliminary noise survey & Measurements): รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่มีอยู่ + เดินสำรวจพื้นที่ทำงานในโรงงาน + ตรวจวัดระดับเสียงเบื้องต้น • ประโยชน์ : • - ช่วยคัดกรองพื้นที่ที่น่าจะมีปัญหาเสียงดัง • - ช่วยในการเลือกเครื่องมือวัดเพิ่มเติมที่ถูกต้องในการสำรวจ & ตรวจวัดแบบละเอียด • สิ่งที่จะได้จากการสำรวจเบื้องต้น : • - พื้นที่ที่เสียงดังน้อยกว่า 85 เดซิเบลเอ แสดงว่าพื้นที่นั้นๆ น่าจะปลอดภัยจากเสียงดัง • - พื้นที่ที่เสียงดัง 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป จำเป็นต้องทำการตรวจวัดอย่างละเอียด

  4. Class / Type ของเครื่องวัดเสียง

  5. แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียงเบื้องต้นแบบบันทึกข้อมูลการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียงเบื้องต้น • ข้อมูลจำเป็นในแบบบันทึก : • 1. เครื่องมือวัด ยี่ห้อ.............. รุ่น................Serial No…………… Class……ได้มาตรฐาน................................. • การ Calibrate เครื่องมือวัด : ทำก่อนและหลังตรวจวัด (Internal calibration) • การสอบเทียบเครื่องมือกับห้องปฏิบัติการ : สถาบันที่สอบเทียบ.................วันที่สอบเทียบ........................ NL-20 IEC 61672-1:2002 2 00878078 Rion ผลการตรวจวัดเสียง

  6. รูปแบบเสียงที่เกิดขึ้นรูปแบบเสียงที่เกิดขึ้น • - เสียงดังแบบคงที่ (Steady noise) : 10 วินาทีเสียงดังเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 3 เดซิเบล เช่น เสียงพัดลม เครื่องทอผ้า เครื่องปั่นด้าย เป็นต้น • - เสียงดังแบบไม่คงที่ (non-steady noise) : มีการเปลี่ยนแปลงเสียงเกิน 10 เดซิเบล แต่ดังซ้ำๆ ต่อเนื่องกัน เช่น เสียงเครื่องเจียร, เครื่องบดพลาสติก เป็นต้น • -เสียงดังเป็นช่วงๆ (Intermittent noise): เสียงดังไม่ต่อเนื่อง โดยจะมีเสียงที่ดังและเบาสลับไปมาเป็นระยะๆ เช่นเสียงเครื่องปั๊ม/อัดลม • -เสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse noise) เสียงที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วใน 1 วินาที เช่น เสียงตอกเสาเข็ม, การทุบ/เคาะโลหะ

  7. เวลาตรวจวัดแต่ละจุดนานเท่าไหร่เวลาตรวจวัดแต่ละจุดนานเท่าไหร่ • ตรวจวัดในช่วงเวลาสั้นๆ • อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตรูปแบบของเสียง ถ้าเป็นไปได้ควรครอบคลุมรอบของการเกิดเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสตลอดเวลาการทำงาน

  8. ขั้นตอนการตรวจวัด • เปิดเครื่อง • เช็คสภาพภายนอก : แบตฯ เพียงพอ / มี Wind screen • Calibration ก่อนใช้ ( 2 แบบ Intenal cal., External cal.) • เตรียมอุปกรณ์อื่นๆ : ขาตั้งกล้อง, แบบบันทึกผล, แผนผัง • ตั้งค่าเครื่องวัด : เลือกถ่วงน้ำหนักแบบ A, Slow • วิธีวัดเป็นจุด : วัดที่ระดับหูของผู้ปฏิบัติไม่เกิน 30 ซม. , ถือเครื่องมือห่างจากตัวผู้วัดมากที่สุดโดยยื่นเครื่องวัดให้สุดแขน เพื่อป้องกันการบดบังหรือสะท้อนเสียงจากตัวผู้วัด / ใช้ขาตั้งกล้องแทนคนถือ..เยี่ยมสุด • ตรวจเสร็จ Cal. เครื่องอีกครั้ง หากค่าเบี่ยงมากกว่า 1 เดซิเบล แสดงว่าค่าที่วัดทั้งหมดใช้ไม่ได้ ให้หาเครื่องใหม่ + วัดใหม่

  9. ส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องวัดเสียงส่วนประกอบพื้นฐานของเครื่องวัดเสียง Electronic Circuits Frequency Weighting Network Or Filter (A / B / C / D) Amplifier Level Range Control Time Weighting Network (Fast / Slow / Impulse) Display Micro phone Preamplifier

  10. การสำรวจและตรวจวัดอย่างละเอียด (Detailed noise survey & Measurements): เป็นการตรวจวัดอย่างละเอียดในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีปัญหาเสียงดัง (จากข้อมูลการตรวจวัดเบื้องต้นที่ทำไปแล้ว) • ประโยชน์ : • - เพื่อประเมินการสัมผัสเสียงของพนักงานว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ • - ป้องกันปัญหาการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน

  11. แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียงอย่างละเอียด • ข้อมูลจำเป็นในแบบบันทึก : • 1. เครื่องมือวัด ยี่ห้อ.............. รุ่น................Serial No…………… Class……ได้มาตรฐาน................................. • การ Calibrate เครื่องมือวัด : ทำก่อนและหลังตรวจวัด (Internal calibration) • การสอบเทียบเครื่องมือกับห้องปฏิบัติการ : สถาบันที่สอบเทียบ.................วันที่สอบเทียบ........................ 2 Rion IEC 61672-1:2002 NL-20 00878078 ผลการตรวจวัดเสียง

  12. กฎหมายและมาตรฐานเสียงดังในสถานประกอบการกฎหมายและมาตรฐานเสียงดังในสถานประกอบการ

  13. ผลการคาดการณ์ %ของผู้สัมผัสเสียงที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หากสัมผัสเสียงที่ 80, 85 , 90 เดซิเบลเอตลอดชีวิตการทำงาน

  14. การใช้และบำรุงรักษาเครื่องวัดระดับเสียงการใช้และบำรุงรักษาเครื่องวัดระดับเสียง • ระวังไม่ให้ตกหล่นหรือกระแทกสิ่งใดๆ (ราคาแพง, ประกอบด้วยวงจรอิเลคทรอนิกส์,บอบบาง) • ในการเคลื่อนย้ายหรือใช้ในภาคสนาม ต้องบรรจุไว้ในกระเป๋าบรรจุเครื่องโดยเฉพาะ • หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด, ถอดแบตเตอรี่ • สอบเทียบทุก 1 ปี

  15. เอกสารอ้างอิง • เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา หน่วย 1-5 สุขศาสตร์อุตสาหกรรม : การประเมิน (Industrial Hygiene : Evaluation); มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

More Related