1 / 63

โรคนิวคาสเซิล และการ ควบคุมป้องกันโรค

โรคนิวคาสเซิล และการ ควบคุมป้องกันโรค. จารุณี สาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตรวจสอบ ชีว วัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298.

isi
Download Presentation

โรคนิวคาสเซิล และการ ควบคุมป้องกันโรค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคนิวคาสเซิลและการควบคุมป้องกันโรคโรคนิวคาสเซิลและการควบคุมป้องกันโรค จารุณีสาตรา นายสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298

  2. สาเหตุของโรคนิวคาสเซิลสาเหตุของโรคนิวคาสเซิล • เกิดจากเชื้อไวรัส avian paramyxovirus type 1 (APMV-1) • ตระกูลอาวัลลาไวรัส (Avulavirus) • ครอบครัวพารามิกโซไวริดี (Paramyxoviridae) ซึ่งมี 9 ซีโรไทป์ คือ APMV-1 ถึง APMV-9

  3. ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • มีการตรวจพบเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิล(NDV) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 (1926) • โรคนิวคาสเซิลได้แพร่ระบาดไปหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย • ในหลายประเทศมีการใช้วัคซีนในการป้องกันโรค • แต่มีน้อยประเทศที่ผลิตไก่ในเชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ ประเทศไทย บราซิล อเมริกา

  4. ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • ความแตกต่างสเตรนของ NDV ทำให้พยาธิสภาพที่เกิดในไก่เปลี่ยนแปลงไป • จึงมีการจัดกลุ่มของเชื้อ NDV ตามที่ทำให้เกิดอาการในไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม (pathotypes) คือ 1. Viscerotropic velogenic 2. Neurotropic velogenic 3. Mesogenic 4. Lentogenic or respiratory 5. Asymtomatic enteric

  5. ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) 1. Viscerotropicvelogenic: เป็นฟอร์มที่มีวิการรุนแรง มักพบวิการเลือดออกตามลำไส้ (haemorrhagic intestinal lesion) 2. Neurotropicvelogenic: เป็นฟอร์มที่มีอัตราการตายสูง มักตามด้วยอาการทางระบบหายใจและอาการทางประสาท 3. Mesogenic: เป็นฟอร์มที่มีอาการทางระบบหายใจ บางรายอาจมีอาการทางประสาท แต่มีอัตราการตายต่ำ 4. Lentogenic or respiratory: เป็นฟอร์มที่มีการติดเชื้อทางระบบหายใจ แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการ 5. Asymtomatic enteric: เป็นฟอร์มที่มีการติดเชื้อทางระบบทางเดินอาหาร แต่ไม่แสดงอาการ

  6. ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • การจัดกลุ่ม Pathotypeไม่ได้ตัดกันชัดเจน ถึงแม้จะใช้การติดเชื้อในไก่ปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF) แต่ก็ยังมีการข้ามกันอยู่ • อาจเกิดอาการในไก่ที่ให้ NDV สเตรนที่รุนแรงน้อย (mild strain) ถ้ามีการติดเชื้อร่วมกับเชื้อ (organisms) อื่น หรือมีการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อม • เชื้อ NDV สามารถติดคนได้ (human pathogen): มีรายงานว่ามีอาการ 1-2 วัน และหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ส่วนใหญ่พบว่าติดเชื้อทางตา โดยมีอาการตาแดง น้ำตาไหล ตาบวม ตาอักเสบ หรือมีเลือดออก(sub-conjunctivalhaemorrage) ถึงแม้ว่าอาการที่ตาอาจรุนแรงแต่มักจะไม่มีผลต่อ cornea

  7. ความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล (ต่อ) • การติดเชื้อแบบ generalised infection ในบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่น ปวดหัวและมีไข้ อาจมีหรือไม่มีอาการตาอักเสบ • มีหลักฐานว่าทั้งสเตรนของวัคซีนและสเตรนที่รุนแรงต่อไก่ อาจติดเชื้อและทำให้มีอาการในคน • ไม่มีหลักฐานว่ามีการแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คน

  8. การควบคุมและป้องกันโรคนิวคาสเซิลการควบคุมและป้องกันโรคนิวคาสเซิล • 1. การตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว • 2. การทำลายสัตว์ป่วย • 3. การควบคุมการเคลื่อนย้าย • 4. การควบคุมพาหะของโรค • 5. การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส • 6. การเลือกใช้วัคซีนที่เหมาะสม • 7. การตรวจติดตาม

  9. เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรคเทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค • การตรวจพิสูจน์เชื้อ ในหลายประเทศโรคนิวคาสเซิลต้องควบคุมโดยทางการ และเชื้อไวรัสมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายจากห้องปฏิบัติการ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงเพื่อพิจารณาระดับความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยและการแยกชนิดของเชื้อไวรัส Facility ที่กำหนดสำหรับระดับความปลอดภัยที่ใช้ ขึ้นกับผลการประเมินความเสี่ยง และข้อกำหนดโดย OIE Chapter 1.1.2 Biosafety and biosecurity in the veterinary microbiology laboratory and animal facilities.

  10. เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค(ต่อ)เทคนิคการตรวจวินิจฉัยโรค(ต่อ) 1.1 ตัวอย่างที่ใช้แยกเชื้อไวรัส การตรวจวินิจฉัยโรคนิวคาสเซิลจากฝูงสัตว์ปีกที่ป่วยรุนแรงและมีอัตราการตายสูงมักใช้การตรวจแยกเชื้อจากสัตว์ปีกที่ตายหรือฆ่าให้ตาย ตัวอย่างจากไก่ตาย ใช้ swab จากช่องคอ (oro-nasal swab) รวมทั้งเนื้อเยื่อจากปอด ไต ลำไส้ ม้าม สมอง ตับและหัวใจอาจเก็บรวมกันหรือแยกกัน แต่ตัวอย่างจากลำไส้มักเก็บแยกจากตัวอย่างอื่น ตัวอย่างจากไก่เป็น ควรทำ swab จากหลอดลม (tracheal swab) และจาก cloaca

  11. การตรวจแยกเชื้อ • ใช้สำลีพันปลายไม้ป้ายที่โคนลิ้น (tracheal swab) หรือป้ายจากก้น (cloacal swab) หรืออุจจาระของไก่ที่มีชีวิต หรือจากการรวมเอาอุจจาระและอวัยวะต่างๆ ของไก่ที่ตาย • นำมาใส่ลงในสารละลายที่มีแอนติไบโอติก ได้ซัสเพนชั่นเพื่อนำไปฉีดเข้าไข่ไก่ฟัก อายุ 9-11 วัน แล้วบ่มในตู้ฟักไข่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 4-7 วัน • นำน้ำไข่ฟัก (allantoic fluid) ไปตรวจการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (HA test) แล้วตรวจความจำเพาะของเชื้อโดยใช้ซีรั่มต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิล ( HI test)

  12. การตรวจความรุนแรงของเชื้อการตรวจความรุนแรงของเชื้อ • สามารถตรวจความรุนแรงของเชื้อที่แยกได้ใหม่โดยการฉีดเข้าสมองลูกไก่ปลอดเชื้อโรคตามระบุ (SPF eggs) เพื่อหาค่า ICPIหรือตรวจทางเทคนิคโมเล็คคิวล่า เช่น พีซีอาร์(PCR) เชื้อพิษทับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง (virulent strain) ซึ่งแยกได้จากไก่ป่วยในประเทศไทย และผ่านเชื้อในไก่ SPF ตรวจหาค่า ICPI 2 ครั้ง ได้เท่ากับ1.86และ1.875ตามลำดับ

  13. วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นและชนิดเชื้อตาย แบ่งตามสเตรนของเชื้อไวรัสที่ใช้ผลิต Lentogenic strain: low virulence ; Hitchner-B1, La Sota, V4, NDW, B1B1, QV4, 12 และ F Mesogenic strain: moderate virulence ; Roakin, Mukteswar, Komrmarov, MP ข้อกำหนดของ EU วัคซีนชนิดเชื้อเป็นต้องมีค่า ICPI ≤ 0.4 วัคซีนชนิดเชื้อตายต้องมีค่า ICPI ≤ 0.7

  14. ประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น สเตรนลาโซต้า ในลูกไก่ SPF อายุ 1 สัปดาห์Efficacy of live Newcastle disease vaccine, La-sota strain, in one day old SPF chicks จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298

  15. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 5/54 ต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง สเตรนลพบุรี (NDV1) และสเตรนบางเขน (NDV3)

  16. อุปกรณ์และวิธีการ การทดสอบความคุ้มโรค (Potency test) ในแต่ละชุดการทดลอง แบ่งลูกไก่ SPF (White leg horn) อายุ 1 สัปดาห์ ออก เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Live Newcastle disease vaccine, La-sota strain กลุ่มที่ 2 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็นกลุ่มควบคุม

  17. อุปกรณ์และวิธีการ (ต่อ) ให้วัคซีนโดยการหยอดตาตัวละประมาณ 30 ไมโครลิตร ให้เชื้อพิษทับด้วยไวรัส โรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง ในปริมาณ 10 4.5 LD50/ มล. โดยการฉีดเข้ากล้าม ตัวละ 1 มล. กลุ่มที่ 1 และ 2 หลังให้วัคซีน 14 วัน สังเกตอาการหลังฉีดพิษทับ 14 วัน เจาะเลือดก่อนให้วัคซีน ก่อนให้เชื้อพิษทับ และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เพื่อนำไปตรวจวัด HI titer เมื่อครบ 14 วัน ปลดไก่ทุกตัว และผ่าซากเพื่อตรวจดูวิการ

  18. ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV1) ในไก่ SPF

  19. ตารางที่ 2ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น สเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง(NDV3) ในไก่ SPF

  20. ตารางที่ 3ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิล ชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่ฟาร์ม (Lohmann breed)

  21. สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 10/54 สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV1) 100% และ 95% ตามลำดับ ➨ วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 และ 5/54 สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) 90% และ 100% ตามลำดับ ➨ดังนั้นวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดย กรมปศุสัตว์ สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ SPF ตามมาตรฐาน OIE และ ASEAN กำหนด

  22. สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นสเตรนลาโซต้าที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ ชุดที่ 1/54 เมื่อให้วัคซีนโดยการหยอดตา 1 ครั้ง และ 2 ครั้ง สามารถให้ความคุ้มโรคในไก่ฟาร์ม (Lohmann breed) ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) 70% และ80% ตามลำดับ

  23. ประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนต่างๆ ต่อเชื้อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในไก่กระทงEfficacy of various vaccination programs against virulent Newcastle disease virus in broiler chickens จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 สวนีย์ ตระการรังสี 1 วิลาสินี ท้าวเพชร 1 Macelo T Paniago2 1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298, jaruneesatra@hotmail.com 2 CEVA Animal Health Asia Pacific

  24. วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ โปรแกรมวัคซีนต่างๆ ต่อเชื้อไวรัสโรค นิวคาสเซิลที่รุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันจากแม่

  25. การทดลอง ใช้ไก่กระทงสายพันธุ์ Lohmann อายุ 1 วัน จำนวน 140 ตัว แบ่งไก่ออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม A, B, C, D, E, F และ G กลุ่มละ 20 ตัว กลุ่ม H เป็นไก่ SPF อายุ 1 วัน จำนวน 10 ตัว

  26. การทดลอง กลุ่ม A ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน กลุ่ม B ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วันแล้วให้ B1 (oral) ที่อายุ 10 วัน กลุ่ม C ให้ CEVAC Broiler ND K SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วันแล้วให้ Lasota (oral) ที่อายุ 10 วัน

  27. การทดลอง (ต่อ) กลุ่ม D ให้ Vectormune HVT-NDV (SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน กลุ่ม E ให้ Vectormune HVT-NDV (SC) + Vitrabron L (IN) ที่อายุ 1 วัน แล้วให้ B1 (oral) ที่อายุ 10 วัน กลุ่ม F ไม่ให้วัคซีน และไม่ให้เชื้อพิษทับ (Broiler Negative Control)

  28. การทดลอง (ต่อ) กลุ่ม G ไม่ให้วัคซีน แต่ให้เชื้อพิษทับ (Broiler Positive Control) กลุ่ม H ไม่ให้วัคซีน แต่ให้เชื้อพิษทับ (SPF-Positive Control)

  29. ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)

  30. ตารางที่ 2ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)

  31. ตารางที่ 3ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)

  32. ตารางที่ 4ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมวัคซีนนิวคาสเซิลต่างๆ ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ในไก่กระทง (Lohmann breed)

  33. สรุปและวิจารณ์ ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ให้ความคุ้มโรค 70% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) ให้ความคุ้มโรค 100% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ Lasota (oral ) ให้ความคุ้มโรค 95% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ให้ความคุ้มโรค 100% ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) ให้ความคุ้มโรค 100%

  34. สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ที่อายุ 20 วัน ภูมิคุ้มกันจากแม่ลดต่ำมากและไม่ให้ความ คุ้มโรคต่อเชื้อไวรัสนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง (NDV3) ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Cevac Broiler ND K + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 ร่วมกับ B1 (oral ) หรือ Lasota ที่ Day 10 ก็ให้ ความคุ้มโรคต่อเชื้อ NDV3 ได้ดี (95-100%) ➨ ไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีน Vector HVT-NDV + Vitrabron (IN) ที่ Day 1 หรือใช้ร่วมกับ B1 ที่ Day 10 ให้ความคุ้มโรคต่อเชื้อ NDV3 ได้ 100%

  35. ประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด ในลูกไก่ SPF อายุ 1 วันEfficacy of three types of live Newcastle disease vaccine in one day old SPF chicks จารุณีสาตราฐิตวัฒน์จันทวร กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298

  36. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด คือ • ชนิดแช่แข็ง(frozen) สเตรน QV4 • ชนิดดูดแห้ง(freeze dried) สเตรน La Sota • ชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรน B1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ(combined ND+IB)

  37. อุปกรณ์และวิธีการ การทดสอบความคุ้มโรค (Potency test) แบ่งลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน ออก เป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Frozen, QV4 strain กลุ่มที่ 2 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Freeze dried, La Sota strain กลุ่มที่ 3 จำนวน 20 ตัว ให้วัคซีน Combined ND+IB, B1B1 strain กลุ่มที่ 4 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็น Control group 1 กลุ่มที่ 5 จำนวน 10 ตัว ไม่ให้วัคซีนเป็น Control group 2

  38. อุปกรณ์และวิธีการ (ต่อ) ให้วัคซีนโดยการหยอดตาตัวละประมาณ 30 ไมโครลิตร ให้เชื้อพิษทับด้วยไวรัส โรคนิวคาสเซิลสเตรนรุนแรง ในปริมาณ 10 4.5 LD50/ มล. โดยการฉีดเข้ากล้าม ตัวละ 1 มล. กลุ่มที่ 1, 2 และ 4 หลังให้วัคซีน 14 วัน กลุ่มที่ 3 และ 5 หลังให้วัคซีน 21 วัน สังเกตอาการหลังฉีดพิษทับ 14 วัน เจาะเลือดก่อนให้วัคซีน ก่อนให้เชื้อพิษทับ และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เพื่อนำไปตรวจวัด HI titer เมื่อครบ 14 วัน ปลดไก่ทุกตัว และผ่าซากเพื่อตรวจดูวิการ

  39. ตารางที่ 1ผลการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 ชนิด โดยการตรวจหาปริมาณไวรัสในวัคซีนและทดสอบความคุ้มโรคต่อเชื้อพิษทับไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรงในลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน

  40. รูปที่ 1 ค่าเฉลี่ยระดับแอนติบอดีในซีรั่ม (Geometric Mean HI titer) ในไก่แต่ละกลุ่ม ที่ให้วัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรน QV4 (Frozen) ชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota (Freeze deied) และชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรน B1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ (Combined ND+IB)ทั้งก่อนให้วัคซีน(Pre-vaccinated) ก่อนให้เชื้อพิษทับ (Pre-challenge) และหลังให้เชื้อพิษทับ (Post-challenge)

  41. สรุปและวิจารณ์ ➨วัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นทั้ง 3 ชนิด สามารถกระตุ้นระดับแอนติบอดีในซีรั่มก่อนให้เชื้อพิษทับ ดังนี้ • วัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรนQV4, GMHI titer = 30.91±1.35 • วัคซีนชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota, GMHI titer = 118.60±1.32 • ชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลและหลอดลมอักเสบติดต่อสเตรนB1B1 GMHI titer = 64.00±1.05 ➨ดังนั้นวัคซีนชนิดดูดแห้งสเตรน La Sota สามารถกระตุ้น HI titer ได้สูงสุด

  42. สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ไก่กลุ่มที่ 1 และ 3 ซึ่งได้รับวัคซีนชนิดแช่แข็งสเตรน QV4 และชนิดวัคซีนรวมนิวคาสเซิลสเตรนB1B1 และหลอดลมอักเสบติดต่อ มีค่าเฉลี่ย HI titer หลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน เท่ากับ 92.41±0.84 และ 330.84±1.21 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย HI titer ก่อนให้เชื้อพิษทับ แสดงว่าเชื้อไวรัสพิษทับสามารถเข้าไปร่างกายไก่ และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด(HIR) ให้สูงขึ้น

  43. สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨ ในขณะที่ไก่กลุ่มที่ 2 ซึ่งได้รับวัคซีนชนิดดูดแห้ง สเตรน La Sotaมีค่าเฉลี่ย HI titer หลังให้เชื้อพิษทับเท่ากับ 118.60±1.49ซึ่งเท่ากับค่าเฉลี่ย HI titer ก่อนให้เชื้อพิษทับแสดงว่าอาจเนื่องจากเชื้อไวรัสพิษทับไม่สามารถเข้าไปในร่างกายไก่เพื่อกระตุ้น HIR ดังนั้นวัคซีนดูดแห้งชนิดเดี่ยวสเตรน La Sota จึงเป็นวัคซีนที่ต้านเชื้อพิษทับได้ดีที่สุด

  44. สรุปและวิจารณ์ (ต่อ) ➨การทดลองใช้ไก่ SPF ซึ่งเป็นไก่ที่ไม่มีภูมิต้านทาน ต่อไวรัสโรคนิวคาสเซิลในการทดสอบคุณภาพวัคซีน แต่เมื่อนำวัคซีนออกไปใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ ที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อนหรือเป็นภูมิคุ้มกันที่เกิด จากการติดเชื้อตามธรรมชาติ อาจทำให้มีแอนติบอดีไปฆ่าฤทธิ์(neutralized)ไวรัสในวัคซีนบางส่วนได้ จึงควรทำการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็นในไก่ฟาร์มและไก่พื้นบ้านด้วย

  45. ศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัย ความคุ้มโรคแรกเริ่ม และระดับความคุ้มโรค ของวัคซีนนิวคาสเซิลสเตรนไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ 3 สเตรนComparison of safety, onset and level of protection afforded by three apathogenic enteric vaccine strains against Newcastle disease จารุณีสาตรา1ฐิตวัฒน์จันทวร1 สวนีย์ ตระการรังสี 1MACELO T PANIAGO 2 1 กลุ่มตรวจสอบชีววัตถุสำหรับสัตว์สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ 1212 อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา 30130 โทรศัพท์ 0-4427-9948 โทรสาร 0-4431-3298, JARUNEESATRA@HOTMAIL.COM 2 CEVA ANIMAL HEALTH ASIA PACIFIC

  46. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความคุ้มโรคแรกเริ่มและระดับความคุ้มโรค ที่ถูกกระตุ้นโดยวัคซีนนิวคาสเซิลชนิดเชื้อเป็น 3 สเตรน ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ คือ • สเตรน PHY.LMV.42 • สเตรน VG/GA • สเตรน Ulster 2C

  47. การทดลอง ใช้ไก่ SPF อายุ 1 วัน จำนวน 210 ตัว แบ่งไก่ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม A ให้วัคซีน สเตรน PHY.LMV.42 กลุ่ม B ให้วัคซีน สเตรน VG/GA กลุ่ม C ให้วัคซีน สเตรน Ulster 2C กลุ่ม D ไม่ให้วัคซีน เป็นกลุ่มควบคุม

  48. การทดลอง (ต่อ) แต่ละกลุ่ม แยกออกเป็น 3 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยที่ 1 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 3 วัน กลุ่มย่อยที่ 2 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 7 วัน กลุ่มย่อยที่ 3 ให้เชื้อพิษทับหลังให้วัคซีน 10 วัน สังเกตและบันทึก อาการ การตายของไก่ทดลอง นาน 14 วัน

  49. การทดลอง (ต่อ) สุ่มเจาะเลือดไก่เมื่ออายุ 1 วัน หลังให้วัคซีน 3 วัน, 7 วัน และ 10 วัน และหลังให้เชื้อพิษทับ 14 วัน แล้วนำไปตรวจทางซีรั่มวิทยาเพื่อหาค่า HI titer และ ELISA titer

  50. ตารางที่ 1ผลการทดสอบความคุ้มโรคแรกเริ่ม ของวัคซีนนิวคาสเซิลสเตรนไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ 3 สเตรน ต่อเชื้อพิษทับไวรัสโรคนิวคาสเซิลชนิดรุนแรง ในลูกไก่ SPF อายุ 1 วัน

More Related